เบส เวส เทิร์น รร.เชน อเมริกา ชี้สถานการณ์โรงแรมย่านสุขุมวิทเข้ายุดวิกฤติ โอเวอร์ซัพพลาย ต้องใช้สงครามราคาถล่มสู้ 3 ดาวเริ่มต้นที่คืนละ 1,000 บาท ผู้ประกอบการหันหน้าเจรจาเจ้าหนี้สถาบันการเงินขอยืดอายุการชำระหนี้ ต้องใช้เวลาอีก 3 ปี ถ้าการเมืองนิ่งจึงฟื้น ติงรัฐไม่ควรออกนโยบายเพิ่มค่าแรงช่วงนี้ หวั่นแรงงานโดยปลด แนะทำการเมืองให้นิ่งธุรกิจจะโตไปตามกลไกตลาด
นายเกลน เดอ ซูซ่า รองประธานกรรมการฝ่ายบริหารภาคพื้นเอเชียและตะวันออกกลาง เบส เวสเทิร์น อินเตอร์เนชั่นแนล สำนักงานเอเชียและตะวันออกกลาง ผู้บริหารเชนโรงแรมรายใหญ่ ที่มีบริษัทแม่ ตั้งอยู่ที่ประเทศอเมริกา เปิดเผยว่า สถานการณ์ธุรกิจโรงแรมในย่านถนนสุขุมวิท ขณะนี้อยู่ในภาวะที่แข่งขันรุนแรง ถึงขั้นเกิดสงครามราคา โดยโรงแรมระดับ 3 ดาว มีราคาเริ่มต้นที่เพียงคือนละ 1,000 บาทเศษ รวมถึงโรงแรมระดับบนตั้งราคาเพื่อแข่งกับโรงแรมที่ระดับรองลงมา เช่น ระดับ 5 ดาว ก็ตั้งราคา 4 ดาว ส่วน 4 ดาว ก็หนีไปตั้งราคาแข่งขัน 3 ดาว ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้สะท้อนได้ชัดเจนว่าโลเกชั่นสุขุมวิท เกิดภาวะจำนวนโรงแรมและห้อง มากเกินความต้องการ หรือ โอเวอร์ซัพพลาย ตลาดจึงเป็นของผู้ซื้อ ขณะที่ผู้ประกอบการก็ต้องหนีตาย เพื่อหาเงินมาเสริมสภาพคล่อง
“สงครามราคาที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อรายได้ที่ลดลงเมื่อเทียบกับจำนวนห้องที่ถูกใช้ไป ซึ่งโยงไปถึงการคำนวนจุดคุ้มทุน ที่อาจต้องยืดออกไปจากปกติโรงแรมหนึ่งแห่งจะคุ้มทุนในราว 5-7 ปี อาจต้องขยายออกไปเป็น 10 ปี รวมถึงขยายเวลาการชำระเงินกู้ ที่ต้องช้าออกไปด้วย ปัจจุบันเริ่มมีให้เห็นแล้วว่ามีหลายผู้ประกอบการเริ่มเจรจากับสถาบันการเงิน”
ปัญหาโอเวอร์ซัพพลายขณะนี้เป็นผลจาก 4-5 ปีก่อนที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวดีมาก เกิดการลงทุนสร้างโรงแรม โดยเฉพาะย่านสุขุมวิทซึ่งเป็นแหล่งธุรกิจ แต่เมื่อเกิดเหตุความวุ่นวายทางการเมือง ทำให้ ธุรกิจ และ ท่องเที่ยวของไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯชะลอตัวลง แต่โรงแรมที่สร้างแล้ว ต้องทำต่อให้เสร็จ ส่วนโรงแรมเกิดใหม่นับจากนี้ก็คงน้อยลง ในช่วง 3 ปีนับจากนี้
สำหรับนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ กรณีกำหนดอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่วันละ 300 บาท ยอมรับว่ามีผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรม เพราะ แรงงานถือเป็นต้นทุนคงที่ของการดำเนินงาน และค่าแรงมีสัดส่วน 30-40% ของค่าใช้จ่ายในต้นทุนคงที่ เช่นเดียวกับค่าน้ำ ค่าไฟ เพราะแม้ไม่มีแขกมาใช้บริการ ก็ยังต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ โดยเฉลี่ยประเทศไทย ใช้คนบริการ 0.7คนต่อห้อง หากต้องขึ้นค่าแรง เป็นไปได้ที่จะต้องให้พนักงาน 1 คน รับผิดชอบมากกว่า 1 งาน เพื่อให้คุ้มค่ากับค่าจ้าง พร้อมรีดไขมันปรับองค์กรให้กระชับ เพื่อลดต้นทุน หากเป็นเช่นนี้ อาจกระทบต่อการให้บริการ ซึ่งถือเป็นจุดขายสำคัญของประเทศไทย
ส่วนกรณีรัฐบาลยื่นเงื่อนไขว่าขึ้นค่าแรง แลกกับการลดภาษีนิติบุคคลจาก 30 % ลงมาเหลือ 23% แท้จริงไม่ได้ช่วยธุรกิจ เพราะไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าแรงที่เพิ่มขึ้นมาก หากไม่มีผู้มาใช้บริการธุรกิจก็ไม่มีรายได้มาหักภาษีอยู่ดี
“การขึ้นค่าแรงสามารถทำได้แต่ต้องดูเวลาที่เหมาะสม โดยก่อนอื่นรัฐควรเข้ามาดำเนินการให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ดีก่อน ทำให้การเมืองมีเสถียรภาพ สร้างความเชื่อมั่น นักท่องเที่ยวก็จะกลับมา ทำให้ธุรกิจเติบโต ถึงตอนนั้นก็ขึ้นค่าแรงได้ ซึ่งไฮซีซั่นช่วง เดือนพฤศจิกายนนี้ ก็คงรับรู้ได้ว่า ธุรกิจโรงแรมดีขึ้นหรือไม่อย่างไร หากยังซบยาวคงต้องรีบแก้ไข ”
อย่างไรก็ตาม การที่ราคาโรงแรมของไทยต่ำเช่นนี้ ก็เป็นข้อได้เปรียบ เมื่อแข่งขันสิงคโปร์หรือฮ่องกง โดยไทยสามารถจับตลาดนักท่องเที่ยวทั่วไปได้ ซึ่งถือเป็นฐานลูกค้าที่ทุกโรงแรมควรมีอย่างน้อย 30-40% ของลูกค้ารวม ที่เหลือเป็นกลุ่ม คอปอเรท ส่วน 2 ประเทศดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นลูกค้านักธุรกิจและคอปอเรท
นายเกลน เสนอว่า ต้องการสนอให้ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนของไทยร่วมมือกันนำเสนอประเทศไทยออกไปสู่ทั่วโลกว่ายังเป็นจุดหมายปลายทางที่ดี โดยนำจุดเด่นหรือรางวัลต่างที่เคยได้รับมานำเสนอ แต่ทั้งหมดนั้นจะต้องอยู่ภายใต้ความมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหาทางการเมือง เพราะคนทั่วโลกจะรับทราบข้อมูลจากสื่อสารมวลชนได้อย่างรวดเร็ว สำหรับเบสเวสเทิร์น ปัจจุบัน รับบริการโรงแรมภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง 170 แห่ง เป็นโรงแรมในไทย 14 แห่ง
นายเกลน เดอ ซูซ่า รองประธานกรรมการฝ่ายบริหารภาคพื้นเอเชียและตะวันออกกลาง เบส เวสเทิร์น อินเตอร์เนชั่นแนล สำนักงานเอเชียและตะวันออกกลาง ผู้บริหารเชนโรงแรมรายใหญ่ ที่มีบริษัทแม่ ตั้งอยู่ที่ประเทศอเมริกา เปิดเผยว่า สถานการณ์ธุรกิจโรงแรมในย่านถนนสุขุมวิท ขณะนี้อยู่ในภาวะที่แข่งขันรุนแรง ถึงขั้นเกิดสงครามราคา โดยโรงแรมระดับ 3 ดาว มีราคาเริ่มต้นที่เพียงคือนละ 1,000 บาทเศษ รวมถึงโรงแรมระดับบนตั้งราคาเพื่อแข่งกับโรงแรมที่ระดับรองลงมา เช่น ระดับ 5 ดาว ก็ตั้งราคา 4 ดาว ส่วน 4 ดาว ก็หนีไปตั้งราคาแข่งขัน 3 ดาว ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้สะท้อนได้ชัดเจนว่าโลเกชั่นสุขุมวิท เกิดภาวะจำนวนโรงแรมและห้อง มากเกินความต้องการ หรือ โอเวอร์ซัพพลาย ตลาดจึงเป็นของผู้ซื้อ ขณะที่ผู้ประกอบการก็ต้องหนีตาย เพื่อหาเงินมาเสริมสภาพคล่อง
“สงครามราคาที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อรายได้ที่ลดลงเมื่อเทียบกับจำนวนห้องที่ถูกใช้ไป ซึ่งโยงไปถึงการคำนวนจุดคุ้มทุน ที่อาจต้องยืดออกไปจากปกติโรงแรมหนึ่งแห่งจะคุ้มทุนในราว 5-7 ปี อาจต้องขยายออกไปเป็น 10 ปี รวมถึงขยายเวลาการชำระเงินกู้ ที่ต้องช้าออกไปด้วย ปัจจุบันเริ่มมีให้เห็นแล้วว่ามีหลายผู้ประกอบการเริ่มเจรจากับสถาบันการเงิน”
ปัญหาโอเวอร์ซัพพลายขณะนี้เป็นผลจาก 4-5 ปีก่อนที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวดีมาก เกิดการลงทุนสร้างโรงแรม โดยเฉพาะย่านสุขุมวิทซึ่งเป็นแหล่งธุรกิจ แต่เมื่อเกิดเหตุความวุ่นวายทางการเมือง ทำให้ ธุรกิจ และ ท่องเที่ยวของไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯชะลอตัวลง แต่โรงแรมที่สร้างแล้ว ต้องทำต่อให้เสร็จ ส่วนโรงแรมเกิดใหม่นับจากนี้ก็คงน้อยลง ในช่วง 3 ปีนับจากนี้
สำหรับนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ กรณีกำหนดอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่วันละ 300 บาท ยอมรับว่ามีผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรม เพราะ แรงงานถือเป็นต้นทุนคงที่ของการดำเนินงาน และค่าแรงมีสัดส่วน 30-40% ของค่าใช้จ่ายในต้นทุนคงที่ เช่นเดียวกับค่าน้ำ ค่าไฟ เพราะแม้ไม่มีแขกมาใช้บริการ ก็ยังต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ โดยเฉลี่ยประเทศไทย ใช้คนบริการ 0.7คนต่อห้อง หากต้องขึ้นค่าแรง เป็นไปได้ที่จะต้องให้พนักงาน 1 คน รับผิดชอบมากกว่า 1 งาน เพื่อให้คุ้มค่ากับค่าจ้าง พร้อมรีดไขมันปรับองค์กรให้กระชับ เพื่อลดต้นทุน หากเป็นเช่นนี้ อาจกระทบต่อการให้บริการ ซึ่งถือเป็นจุดขายสำคัญของประเทศไทย
ส่วนกรณีรัฐบาลยื่นเงื่อนไขว่าขึ้นค่าแรง แลกกับการลดภาษีนิติบุคคลจาก 30 % ลงมาเหลือ 23% แท้จริงไม่ได้ช่วยธุรกิจ เพราะไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าแรงที่เพิ่มขึ้นมาก หากไม่มีผู้มาใช้บริการธุรกิจก็ไม่มีรายได้มาหักภาษีอยู่ดี
“การขึ้นค่าแรงสามารถทำได้แต่ต้องดูเวลาที่เหมาะสม โดยก่อนอื่นรัฐควรเข้ามาดำเนินการให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ดีก่อน ทำให้การเมืองมีเสถียรภาพ สร้างความเชื่อมั่น นักท่องเที่ยวก็จะกลับมา ทำให้ธุรกิจเติบโต ถึงตอนนั้นก็ขึ้นค่าแรงได้ ซึ่งไฮซีซั่นช่วง เดือนพฤศจิกายนนี้ ก็คงรับรู้ได้ว่า ธุรกิจโรงแรมดีขึ้นหรือไม่อย่างไร หากยังซบยาวคงต้องรีบแก้ไข ”
อย่างไรก็ตาม การที่ราคาโรงแรมของไทยต่ำเช่นนี้ ก็เป็นข้อได้เปรียบ เมื่อแข่งขันสิงคโปร์หรือฮ่องกง โดยไทยสามารถจับตลาดนักท่องเที่ยวทั่วไปได้ ซึ่งถือเป็นฐานลูกค้าที่ทุกโรงแรมควรมีอย่างน้อย 30-40% ของลูกค้ารวม ที่เหลือเป็นกลุ่ม คอปอเรท ส่วน 2 ประเทศดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นลูกค้านักธุรกิจและคอปอเรท
นายเกลน เสนอว่า ต้องการสนอให้ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนของไทยร่วมมือกันนำเสนอประเทศไทยออกไปสู่ทั่วโลกว่ายังเป็นจุดหมายปลายทางที่ดี โดยนำจุดเด่นหรือรางวัลต่างที่เคยได้รับมานำเสนอ แต่ทั้งหมดนั้นจะต้องอยู่ภายใต้ความมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหาทางการเมือง เพราะคนทั่วโลกจะรับทราบข้อมูลจากสื่อสารมวลชนได้อย่างรวดเร็ว สำหรับเบสเวสเทิร์น ปัจจุบัน รับบริการโรงแรมภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง 170 แห่ง เป็นโรงแรมในไทย 14 แห่ง