xs
xsm
sm
md
lg

"Futures Contract " เคล็ด(ไม่)ลับฉบับผู้ประกอบการ (5)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สัปดาห์ที่แล้วเราได้เห็นตัวอย่างผู้ประกอบการในธุรกิจสินค้าเกษตรที่ใช้ประโยชน์จาก Futures Contract ในการป้องกันความเสี่ยงด้านราคา ทั้งการล็อคราคาขายและล็อคต้นทุนซื้อวัตถุดิบของตนได้อย่างแม่นยำ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการป้องกันความเสี่ยงด้านราคาที่สมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ตามในชีวิตจริงไม่ได้ง่ายดายเช่นนั้น

สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายไม่สามารถป้องกันความเสี่ยงด้านราคาได้ดั่งใจหวัง เกิดจากกำไรหรือขาดทุนที่เราได้ในตลาดล่วงหน้านั้น ไม่เท่ากับกำไรหรือขาดทุนที่เราเผชิญในตลาดจริง นั่นเป็นเพราะส่วนต่างระหว่างราคาล่วงหน้าใน AFET กับราคาตลาดจริง ณ วันที่เข้าซื้อขายล่วงหน้า (Actual Basis) กับส่วนต่างระหว่างราคาล่วงหน้าใน AFET กับราคาตลาดจริง ณ วันที่ปิดสถานะในอนาคต (Expected Basis) นั้นไม่เท่ากัน ทำให้ผลลัพธ์ของการล็อคราคาขายและต้นทุนซื้อวัตถุดิบคลาดเคลื่อนไปจากเป้าหมาย เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น เรามาดูตัวอย่างกัน

เริ่มต้นที่ผู้ประกอบการฝั่งขายยางกันก่อน สมมติมีสหกรณ์ชาวสวนยางกลุ่มหนึ่งกำลังรวบรวมยางเพื่อขายในอนาคต แต่ก็กลัวว่ากว่าจะถึงกำหนดขายจริง ราคายางอาจลดลง พวกเขาจึงเข้ามาป้องกันความเสี่ยงโดยการขายยางล่วงหน้าใน AFET (Short Hedging) ดังนี้

จะเห็นได้ว่า สำหรับการป้องกันความเสี่ยงด้านราคาฝั่งผู้ขายล่วงหน้า (Short Hedging)

เมื่อ ค่า Basis เพิ่มขึ้น นั่นคือ Expected Basis (8) > Actual Basis (6) แล้วระยะห่างระหว่างกราฟทั้ง 2 เส้นจะกว้างขึ้น ทำให้กำไรใน AFET น้อยกว่ารายได้ที่ลดลงในตลาดจริง ดังนั้นสหกรณ์ฯ จะขายยางได้ในราคาสุทธิ (132 บาท/กก.) ซึ่งน้อยกว่าราคาเป้าหมาย (134 บาท/กก.) และในทางกลับกัน หากค่า Basis น้อยลง

จะเห็นว่าเมื่อค่า Basis น้อยลง Expected Basis (4) < Actual Basis (6) แล้วระยะห่างระหว่างกราฟทั้ง 2 เส้นจะแคบลง ทำให้กำไรใน AFET มากกว่ารายได้ที่ลดลงในตลาดจริง ดังนั้นสหกรณ์ฯ จะขายยางได้ในราคาสุทธิ (136 บาท/กก.) ที่มากกว่าราคาเป้าหมาย (134 บาท/กก.) ทั้งนี้เราสามารถใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ เพื่อคำนวณหาราคาสุทธิที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้

ดังนั้น สำหรับการป้องกันความเสี่ยงของผู้ประกอบการฝั่งขาย (เกษตรกรชาวสวนยาง, สหกรณ์ชาวสวนยาง, พ่อค้าคนกลางที่มีสต๊อกสินค้าในมือเพื่อรอการขาย เป็นต้น) ยิ่ง Basis แคบลงเท่าไหร่ รายได้จากการขายยางก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น แล้วสำหรับผู้ประกอบการฝั่งซื้อล่ะ จะได้ผลลัพธ์เหมือนกันหรือไม่ และเราจะคาดการณ์ค่า Basis ในอนาคต (Expected Basis) ได้อย่างไร เสียดายที่หน้ากระดาษหมด ติดตามได้ในสัปดาห์หน้า
กำลังโหลดความคิดเห็น