ASTVผู้จัดการรายวัน – เอกชนยกทัพคัดค้านนโยบายขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท ชี้ธุรกิจอาหาร-บริการโดนกระทบหนักไม่แพ้ธุรกิจอื่น “โอบองแปง-ไวไว-โออิชิ” ขวางเต็มลำยันต้นทุนพุ่งไม่เลิก ไล่พรรคเพื่อไทยกลับไปคิดใหม่ให้รอบคอบกว่านี้
จากนโยบายการขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ของว่าที่รัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำทัพของพรรคเพื่อไทย ยังคงเป็นประเด็นร้อนที่ถกเถียงกันอย่างมากในวงกว้าง ถึงความเป็นไปได้ว่า จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ท่ามกลางการต่อต้านและคัดค้านของผู้ประกอบการธุรกิจภาคเอกชนทั้งหลาย ที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้
แหล่งข่าวจากภาคเอกชนให้ความเห็นว่า นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทของพรรคเพื่อไทย หากเกิดขึ้นจริง ผลกระทบจะตามมาอย่างมากมายแน่นอน โดยเฉพาะในธุรกิจอาหารและธุรกิจบริการต่างๆ เพราะธุรกิจเหล่านี้เป็นส่วนที่ยังต้องพึ่งพาแรงงานในการดำเนินธุรกิจอย่างมาก
นายนาดิม ซาเวียร์ ซาลฮานี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอบีพี คาเฟ ประเทศไทย จำกัด ผู้ประกอบการร้านโอบองแปง กล่าวอย่างชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วยกับนโยบายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท และย้ำด้วยว่า รัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทยควรจะนำประเด็นนี้กลับไปพิจารณาใหม่ให้รอบคอบและละเอียดกว่านี้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาในภาพรวมให้มากกว่านี้
นายนาดิม มองว่า ธุรกิจอาหารจะเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักธุรกิจหนึ่ง เพราะเป็นธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากในการบริการลูกค้า หากมีการปรับค่าจ้างขั้นต่าเป็น 300 บาทจริง ก็จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนดำเนินการเพิ่มขึ้นทันที ซึ่งค่าจ้างแรงงานนี้ถือเป็นสัดส่วนต้นทุนประมาณ 20% ของการประกอบธุรกิจ
“เวลาเลือกตั้ง นักการเมืองหาเสียง สัญญาไว้เยอะ แต่บางเรื่องทำไปอาจส่งผลกระทบมาก อย่างเรื่องการปรับค่าแรงขั้นต่ำทีเดียว 300 บาท บางบริษัทอาจอยู่รอดได้ บางบริษัทตายแน่นอน ผลดีอาจเกิดขึ้นบางกลุ่ม แต่สุดท้ายผู้บริโภคจะต้องรับภาระอยู่ดี” นายนาดิมกล่าว
นางสาวเบญญาภา ปริญณรัฐ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายการตลาด บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และเส้นหมี่อบแห้ง ภายใต้เครื่องหมายการค้า "ไวไว" กล่าวให้ความเห็นว่า ถ้ามีการประกาศใช้อัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทจริงแล้ว จะส่งผลกระทบทันทีต่อการประกอบธุรกิจของไวไวหรือตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแน่นอน
เบื้องต้นนี้ประเมินไว้ว่า ต้นทุนการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไวไวจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 16% ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่สูงมาก และยังไม่นับรวมกับต้นทุนเดิมก่อนหน้านี้ที่ปรับตัวสูงขึ้นมาตลอดอีก เฉลี่ย 40% จากวัตถุดิบต่างๆที่ปรับราคาไปแล้ว
ที่ผ่านมาบริษัทฯแก้ไขปัญหาด้วยการใช้วิธีการบริหารจัดการต้นทุนภายในองค์กรเพื่อลดต้นทุนเป็นหลัก เพราะยังไม่ต้องการปรับราคาสินค้าขึ้น เพราะจะกระทบต่อผู้บริโภคอย่างมาก วิธีการจากนี้ไปอาจจะต้องลดงบประมาณการทำตลาดลงบ้าง
"เรื่องปรับราคาขึ้นราคงทำทันทีไม่ได้ เพราะต้องรอดูผู้ประกอบการแบรนด์ใหญ่ก่อนว่าจะทำอย่างไร ถ้าหากแบรนด์ใหญ่ปรับราคาขึ้น เราก็ต้องปรับตามไม่มีปัญหา แต่ถ้าแบรนด์ใหญ่ไม่ปรับราคาเราก็ลำบาก"
นายไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการที่พรรคเพื่อไทยจะขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทในครั้งเดียว ซึ่งทางที่ถูกต้องควรจะขึ้นเป็นขั้นตอน และใช้เวลาสักระยะหนึ่งดีกว่า ที่จะขึ้นทีเดียว เพราะจะสร้างผลกระทบแน่นอน ซึ่งปกติค่าจ้างก็มีการปรับกันอยู่แล้ว 1-2% ต่อปี ถ้าหากปรับขึ้นมาจริงแล้วต้นทุนผู้ประกอบการก็สูงขึ้น สุดท้ายก็ต้องผลักภาระไปตกกับผู้บริโภคอยู่ดี ในการปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการต่างๆ
ด้านนายสมศักดิ์ ชายะพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอฟแอนด์เอ็น แดรี่ส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและทำตลาดนมข้นหวานภายใต้แบรนด์ ตราหมี, นมพร้อมดื่ม ไมโลฯ กล่าวให้ความเห็นว่า บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดว่าจะเป็นอย่างไรหากประกาศออกมาใช้จริง แต่ต้องขอดูความชัดเจนของนโยบายนี้อีก 1-2 เดือนว่าเป็นอย่างไร
นางสาวบุษบา จิราธิวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวถึง นโยบายเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ต่อวันว่า เป็นนโยบายที่อยากให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทย มีวิธีการที่จะนำมาใช้อย่างชัดเจน ดูว่าทั่วประเทศนั้นมีความเหมาะสมที่จะนำมานโยบายนี้มาใช้ได้จริงเพียงใด เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่หรือไม่และในแง่ของผู้ประกอบการแล้ว จะรับได้หรือไม่ ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลมีความชัดเจนในการที่จะนำเอาค่าแรง 300 บาทต่อวันมาใช้ได้จริง
นางสาวบุษบา กล่าวต่อว่า ในความเป็นจริงแล้ว อยากจะวอนขอต่อรัฐบาลชุดใหม่นี้ว่า นโยบายใดก็ตามที่เคยนำมาบริหารประเทศแล้วดีนั้น จากเดิมที่มีอยู่แล้ว ทำได้ดีอยู่แล้วก็อยากจะให้รักษาไว้ และควรส่งเสริมผลักดันให้นโยบายนั้นดำเนินต่อไป ไม่ควรเปลี่ยน ขณะที่นโยบายใหม่ๆที่นำเสนอเข้ามาใหม่นั้น ไม่ว่าจะเป็นนโยบายเพิ่มแรง 300 บาทต่อวัน หรือนโยบายปรับเงินเดือนขั้นต่ำปริญญาตรีเป็น 15,000 บาทนั้น ควรที่จะทำได้จริงเช่นกัน ทั้งนี้มองว่าการที่จะทำให้ประชาชนดีขึ้นนั้น เห็นด้วย แต่ก็ต้องมาดูมาหาวิธีการจัดการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการในการนำนโยบายใหม่ๆเข้ามาใช้ด้วยว่า มันควรที่จะทำได้จริง และไม่กระทบต่อภาคส่วนอื่นๆมากนัก
นายเคิร์ท แคมป์ ประธานกรรมการบริหารฝ่ายการตลาด เทสโก้โลตัสประเทศไทย กล่าวว่า นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท บริษัทคงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากทุกวันนี้เทสโก้โลตัสให้ค่าจ้างพนักงานสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในแต่ละพื้นที่อยู่แล้ว
จากนโยบายการขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ของว่าที่รัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำทัพของพรรคเพื่อไทย ยังคงเป็นประเด็นร้อนที่ถกเถียงกันอย่างมากในวงกว้าง ถึงความเป็นไปได้ว่า จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ท่ามกลางการต่อต้านและคัดค้านของผู้ประกอบการธุรกิจภาคเอกชนทั้งหลาย ที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้
แหล่งข่าวจากภาคเอกชนให้ความเห็นว่า นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทของพรรคเพื่อไทย หากเกิดขึ้นจริง ผลกระทบจะตามมาอย่างมากมายแน่นอน โดยเฉพาะในธุรกิจอาหารและธุรกิจบริการต่างๆ เพราะธุรกิจเหล่านี้เป็นส่วนที่ยังต้องพึ่งพาแรงงานในการดำเนินธุรกิจอย่างมาก
นายนาดิม ซาเวียร์ ซาลฮานี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอบีพี คาเฟ ประเทศไทย จำกัด ผู้ประกอบการร้านโอบองแปง กล่าวอย่างชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วยกับนโยบายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท และย้ำด้วยว่า รัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทยควรจะนำประเด็นนี้กลับไปพิจารณาใหม่ให้รอบคอบและละเอียดกว่านี้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาในภาพรวมให้มากกว่านี้
นายนาดิม มองว่า ธุรกิจอาหารจะเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักธุรกิจหนึ่ง เพราะเป็นธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากในการบริการลูกค้า หากมีการปรับค่าจ้างขั้นต่าเป็น 300 บาทจริง ก็จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนดำเนินการเพิ่มขึ้นทันที ซึ่งค่าจ้างแรงงานนี้ถือเป็นสัดส่วนต้นทุนประมาณ 20% ของการประกอบธุรกิจ
“เวลาเลือกตั้ง นักการเมืองหาเสียง สัญญาไว้เยอะ แต่บางเรื่องทำไปอาจส่งผลกระทบมาก อย่างเรื่องการปรับค่าแรงขั้นต่ำทีเดียว 300 บาท บางบริษัทอาจอยู่รอดได้ บางบริษัทตายแน่นอน ผลดีอาจเกิดขึ้นบางกลุ่ม แต่สุดท้ายผู้บริโภคจะต้องรับภาระอยู่ดี” นายนาดิมกล่าว
นางสาวเบญญาภา ปริญณรัฐ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายการตลาด บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และเส้นหมี่อบแห้ง ภายใต้เครื่องหมายการค้า "ไวไว" กล่าวให้ความเห็นว่า ถ้ามีการประกาศใช้อัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทจริงแล้ว จะส่งผลกระทบทันทีต่อการประกอบธุรกิจของไวไวหรือตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแน่นอน
เบื้องต้นนี้ประเมินไว้ว่า ต้นทุนการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไวไวจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 16% ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่สูงมาก และยังไม่นับรวมกับต้นทุนเดิมก่อนหน้านี้ที่ปรับตัวสูงขึ้นมาตลอดอีก เฉลี่ย 40% จากวัตถุดิบต่างๆที่ปรับราคาไปแล้ว
ที่ผ่านมาบริษัทฯแก้ไขปัญหาด้วยการใช้วิธีการบริหารจัดการต้นทุนภายในองค์กรเพื่อลดต้นทุนเป็นหลัก เพราะยังไม่ต้องการปรับราคาสินค้าขึ้น เพราะจะกระทบต่อผู้บริโภคอย่างมาก วิธีการจากนี้ไปอาจจะต้องลดงบประมาณการทำตลาดลงบ้าง
"เรื่องปรับราคาขึ้นราคงทำทันทีไม่ได้ เพราะต้องรอดูผู้ประกอบการแบรนด์ใหญ่ก่อนว่าจะทำอย่างไร ถ้าหากแบรนด์ใหญ่ปรับราคาขึ้น เราก็ต้องปรับตามไม่มีปัญหา แต่ถ้าแบรนด์ใหญ่ไม่ปรับราคาเราก็ลำบาก"
นายไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการที่พรรคเพื่อไทยจะขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทในครั้งเดียว ซึ่งทางที่ถูกต้องควรจะขึ้นเป็นขั้นตอน และใช้เวลาสักระยะหนึ่งดีกว่า ที่จะขึ้นทีเดียว เพราะจะสร้างผลกระทบแน่นอน ซึ่งปกติค่าจ้างก็มีการปรับกันอยู่แล้ว 1-2% ต่อปี ถ้าหากปรับขึ้นมาจริงแล้วต้นทุนผู้ประกอบการก็สูงขึ้น สุดท้ายก็ต้องผลักภาระไปตกกับผู้บริโภคอยู่ดี ในการปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการต่างๆ
ด้านนายสมศักดิ์ ชายะพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอฟแอนด์เอ็น แดรี่ส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและทำตลาดนมข้นหวานภายใต้แบรนด์ ตราหมี, นมพร้อมดื่ม ไมโลฯ กล่าวให้ความเห็นว่า บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดว่าจะเป็นอย่างไรหากประกาศออกมาใช้จริง แต่ต้องขอดูความชัดเจนของนโยบายนี้อีก 1-2 เดือนว่าเป็นอย่างไร
นางสาวบุษบา จิราธิวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวถึง นโยบายเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ต่อวันว่า เป็นนโยบายที่อยากให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทย มีวิธีการที่จะนำมาใช้อย่างชัดเจน ดูว่าทั่วประเทศนั้นมีความเหมาะสมที่จะนำมานโยบายนี้มาใช้ได้จริงเพียงใด เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่หรือไม่และในแง่ของผู้ประกอบการแล้ว จะรับได้หรือไม่ ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลมีความชัดเจนในการที่จะนำเอาค่าแรง 300 บาทต่อวันมาใช้ได้จริง
นางสาวบุษบา กล่าวต่อว่า ในความเป็นจริงแล้ว อยากจะวอนขอต่อรัฐบาลชุดใหม่นี้ว่า นโยบายใดก็ตามที่เคยนำมาบริหารประเทศแล้วดีนั้น จากเดิมที่มีอยู่แล้ว ทำได้ดีอยู่แล้วก็อยากจะให้รักษาไว้ และควรส่งเสริมผลักดันให้นโยบายนั้นดำเนินต่อไป ไม่ควรเปลี่ยน ขณะที่นโยบายใหม่ๆที่นำเสนอเข้ามาใหม่นั้น ไม่ว่าจะเป็นนโยบายเพิ่มแรง 300 บาทต่อวัน หรือนโยบายปรับเงินเดือนขั้นต่ำปริญญาตรีเป็น 15,000 บาทนั้น ควรที่จะทำได้จริงเช่นกัน ทั้งนี้มองว่าการที่จะทำให้ประชาชนดีขึ้นนั้น เห็นด้วย แต่ก็ต้องมาดูมาหาวิธีการจัดการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการในการนำนโยบายใหม่ๆเข้ามาใช้ด้วยว่า มันควรที่จะทำได้จริง และไม่กระทบต่อภาคส่วนอื่นๆมากนัก
นายเคิร์ท แคมป์ ประธานกรรมการบริหารฝ่ายการตลาด เทสโก้โลตัสประเทศไทย กล่าวว่า นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท บริษัทคงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากทุกวันนี้เทสโก้โลตัสให้ค่าจ้างพนักงานสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในแต่ละพื้นที่อยู่แล้ว