ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - กรมเจ้าท่าใช้งบ 24 ล้าน เคลื่อนย้ายทรายจากชายฝั่งหาดสมิหลาไปชดเชยหาดทรายแก้ว ที่ถูกคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง เพื่อเติมทรายให้กลับคืนสู่ธรรมชาติ หลังชายหาดถูกคลื่นกัดเซาะเข้ามาถึงแนวชายฝั่งด้านใน
จากกรณีที่กรมเจ้าท่าได้ทำการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อป้องกันทรายเข้าไปในร่องน้ำ ทำให้ร่องน้ำตื้นเขิน ส่งผลกระทบกับการขาดสมดุลของตะกอนทรายที่เคลื่อนที่ในแนวชายฝั่ง เนื่องจากเขื่อนกันทรายขัดขวางกระบวนการเคลื่อนที่ของตะกอนทราย กีดขวางทางน้ำไหลและการเคลื่อนที่ของคลื่น ทำให้เกิดการสะสมตะกอนทรายตามแนวเขื่อนเป็นจำนวนมากและทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง
ศูนย์พัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 4 จังหวัดสงขลา ได้ทำการสำรวจตรวจสอบพบว่า บริเวณเขื่อนกันทรายร่องน้ำปากทะเลสาบสงขลา มีตะกอนทรายสะสมเป็นจำนวนมากถึง 4 แสนคิว และมีความจำเป็นต้องทำการถ่ายเททราย (Sand Bypassing) เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รวมทั้งป้องกันการตื้นเขินของชายหาดและร่องน้ำที่ทรายเข้าไปทับถม โดยกรมเจ้าท่า ได้อนุมัติงบประมาณ 24 ล้านบาท ทำการถ่ายเททรายบริเวณชายฝั่งชายหาดสมิหลาที่มีตะกอนทรายสะสมเป็นจำนวนมาก นำทรายไปเติมในแนวชายหาดที่ถูกกัดเซาะบริเวณสำนักสงฆ์หาดทรายแก้ว อ.สิงหนคร และชายหาดบริเวณหาดแก้วรีสอร์ท ที่ในช่วงนี้ปริมาณทรายได้ร่นเข้ามาใกล้แนวฝั่งด้านใน ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะชายฝั่ง
นายณัฐชัย พลกล้า ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 4 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า การขุดลอกเพื่อถ่ายเททราย(Sand Bypassing) ร่องน้ำสงขลา เนื่องจากมีการสะสมของตะกอนทรายที่เกิดจากการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นที่ปากร่องน้ำสงขลา ทำให้มีการสะสมตะกอนทรายบริเวณชายฝั่งด้านแหลมสมิหลาสงขลาและเกิดการกัดเซาะบริเวณหาดทรายแก้ว กรมเจ้าท่าได้จัดสรรงบประมาณ จำนวน 24 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยวิธีการขนย้ายทรายข้ามเขื่อนปากร่องน้ำ นำไปทิ้งบริเวณหน้าหาดทรายแก้ว ซึ่งมีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 21เม.ย. -4 ส.ค. 2554
สำหรับวิธีการเคลื่อนย้ายทราย โดยใช้เรือลักษณะเหมือนเรือแก๊ป ตักดินใส่ในบาสแล้วลากไปทิ้งที่บริเวณชายฝั่งหาดทรายแก้ว โดยศูนย์พัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 4 จังหวัดสงขลาได้มีการสำรวจและคำนวณพื้นที่และปริมาณทรายบริเวณที่ทำการขุดลอกจะมีแผนที่ทำการสำรวจ พบว่า บริเวณนี้มีตะกอนทรายอยู่ถึง 4 แสนคิว โดยทรายนี้จะนำไปช่วยประทังการกัดเซาะชายฝั่ง เข้าเติมเต็มทรายบริเวณหาดทรายแก้วที่ถูกคลื่นซัดหายไป ให้กลับมาสู่สภาพเดิม
จากกรณีที่กรมเจ้าท่าได้ทำการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อป้องกันทรายเข้าไปในร่องน้ำ ทำให้ร่องน้ำตื้นเขิน ส่งผลกระทบกับการขาดสมดุลของตะกอนทรายที่เคลื่อนที่ในแนวชายฝั่ง เนื่องจากเขื่อนกันทรายขัดขวางกระบวนการเคลื่อนที่ของตะกอนทราย กีดขวางทางน้ำไหลและการเคลื่อนที่ของคลื่น ทำให้เกิดการสะสมตะกอนทรายตามแนวเขื่อนเป็นจำนวนมากและทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง
ศูนย์พัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 4 จังหวัดสงขลา ได้ทำการสำรวจตรวจสอบพบว่า บริเวณเขื่อนกันทรายร่องน้ำปากทะเลสาบสงขลา มีตะกอนทรายสะสมเป็นจำนวนมากถึง 4 แสนคิว และมีความจำเป็นต้องทำการถ่ายเททราย (Sand Bypassing) เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รวมทั้งป้องกันการตื้นเขินของชายหาดและร่องน้ำที่ทรายเข้าไปทับถม โดยกรมเจ้าท่า ได้อนุมัติงบประมาณ 24 ล้านบาท ทำการถ่ายเททรายบริเวณชายฝั่งชายหาดสมิหลาที่มีตะกอนทรายสะสมเป็นจำนวนมาก นำทรายไปเติมในแนวชายหาดที่ถูกกัดเซาะบริเวณสำนักสงฆ์หาดทรายแก้ว อ.สิงหนคร และชายหาดบริเวณหาดแก้วรีสอร์ท ที่ในช่วงนี้ปริมาณทรายได้ร่นเข้ามาใกล้แนวฝั่งด้านใน ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะชายฝั่ง
นายณัฐชัย พลกล้า ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 4 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า การขุดลอกเพื่อถ่ายเททราย(Sand Bypassing) ร่องน้ำสงขลา เนื่องจากมีการสะสมของตะกอนทรายที่เกิดจากการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นที่ปากร่องน้ำสงขลา ทำให้มีการสะสมตะกอนทรายบริเวณชายฝั่งด้านแหลมสมิหลาสงขลาและเกิดการกัดเซาะบริเวณหาดทรายแก้ว กรมเจ้าท่าได้จัดสรรงบประมาณ จำนวน 24 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยวิธีการขนย้ายทรายข้ามเขื่อนปากร่องน้ำ นำไปทิ้งบริเวณหน้าหาดทรายแก้ว ซึ่งมีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 21เม.ย. -4 ส.ค. 2554
สำหรับวิธีการเคลื่อนย้ายทราย โดยใช้เรือลักษณะเหมือนเรือแก๊ป ตักดินใส่ในบาสแล้วลากไปทิ้งที่บริเวณชายฝั่งหาดทรายแก้ว โดยศูนย์พัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 4 จังหวัดสงขลาได้มีการสำรวจและคำนวณพื้นที่และปริมาณทรายบริเวณที่ทำการขุดลอกจะมีแผนที่ทำการสำรวจ พบว่า บริเวณนี้มีตะกอนทรายอยู่ถึง 4 แสนคิว โดยทรายนี้จะนำไปช่วยประทังการกัดเซาะชายฝั่ง เข้าเติมเต็มทรายบริเวณหาดทรายแก้วที่ถูกคลื่นซัดหายไป ให้กลับมาสู่สภาพเดิม