ตราด - จังหวัดตราด เตรียมแก้ปัญหาน้ำกัดเซาะชายฝั่งบริเวณ อบต.แหลมกลัด หลังพบเนื้อที่หายต่อปีค่อนข้างมาก
นายประดิษฐ์ คุ้มชนม์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมกลัด อ.เมืองตราด เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ตำบลแหลมกลัด ทำให้เสียพื้นที่ตามแนวชายฝั่งที่มีความยาวถึง 20 กิโมเมตร ประชาชนที่เป็นเจ้าของพื้นที่ตามแนวชายฝั่งจึงได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ทางองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมกลัดจึงมีการเสนอข้อคิดเห็นในที่ประชุมเพื่อหาข้อแก้ไขกับสภาพปัญหาดังกล่าว ซึ่งพอสรุปได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือประชาชนที่อยู่ตามแนวชายฝั่งต้องการที่จะก่อสร้างทำแนวกั้นคลื่น แต่ไม่สามารถที่จะก่อสร้างได้
เนื่องจากทางจังหวัดไม่สามารถอนุมัติการสร้างได้จะต้องมีการสำรวจพื้นที่ EIA ทำการตกลงในข้อกฎหมาย ซึ่งในการประชุมร่วมกับทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด ได้มีการนำเสนอ ให้จัดทำเป็นแบบยุทธศาสตร์ โดยให้ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดออกตรวจสอบพื้นที่ตาม EIA ตามข้อตกลง ของอำเภอหรือจังหวัด เพื่อให้มีข้อสรุปที่ออกมาตรงกัน
ทั้งนี้ ถ้าหากมีการทำ EIA เป็นอย่างที่มีการเสนอ ทางจังหวัดตราดและพื้นที่ตำบลแหลมกลัดจะไม่มีการเสียพื้นที่เพิ่มเติมเพราะว่าในพื้นที่ตำบลแหลมกลัดมีความยาวที่ติดชายฝั่งประมาณ 20 กิโลเมตร ซึ่งแต่ละปีจะมีเนื้อที่หายไปประมาณ 10 ไร่ แต่ละปีน้ำทะเลจะกัดเซาะเข้าไปในพื้นที่ประมาณ 3-4 เมตร ทำให้พบพื้นที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะมีต้นไม้ริมฝั่งทะเลล้มจำนวนหลายต้นในแต่ละปี
นายประดิษฐ์ คุ้มชนม์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมกลัด อ.เมืองตราด เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ตำบลแหลมกลัด ทำให้เสียพื้นที่ตามแนวชายฝั่งที่มีความยาวถึง 20 กิโมเมตร ประชาชนที่เป็นเจ้าของพื้นที่ตามแนวชายฝั่งจึงได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ทางองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมกลัดจึงมีการเสนอข้อคิดเห็นในที่ประชุมเพื่อหาข้อแก้ไขกับสภาพปัญหาดังกล่าว ซึ่งพอสรุปได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือประชาชนที่อยู่ตามแนวชายฝั่งต้องการที่จะก่อสร้างทำแนวกั้นคลื่น แต่ไม่สามารถที่จะก่อสร้างได้
เนื่องจากทางจังหวัดไม่สามารถอนุมัติการสร้างได้จะต้องมีการสำรวจพื้นที่ EIA ทำการตกลงในข้อกฎหมาย ซึ่งในการประชุมร่วมกับทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด ได้มีการนำเสนอ ให้จัดทำเป็นแบบยุทธศาสตร์ โดยให้ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดออกตรวจสอบพื้นที่ตาม EIA ตามข้อตกลง ของอำเภอหรือจังหวัด เพื่อให้มีข้อสรุปที่ออกมาตรงกัน
ทั้งนี้ ถ้าหากมีการทำ EIA เป็นอย่างที่มีการเสนอ ทางจังหวัดตราดและพื้นที่ตำบลแหลมกลัดจะไม่มีการเสียพื้นที่เพิ่มเติมเพราะว่าในพื้นที่ตำบลแหลมกลัดมีความยาวที่ติดชายฝั่งประมาณ 20 กิโลเมตร ซึ่งแต่ละปีจะมีเนื้อที่หายไปประมาณ 10 ไร่ แต่ละปีน้ำทะเลจะกัดเซาะเข้าไปในพื้นที่ประมาณ 3-4 เมตร ทำให้พบพื้นที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะมีต้นไม้ริมฝั่งทะเลล้มจำนวนหลายต้นในแต่ละปี