นายประกิต เชวงนิรันดร์ ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.พร้อมที่จะปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ โดยขณะนี้ได้รวบรวมข้อมูลรายละเอียด ข้อดี ข้อเสีย พร้อมข้อเสนอแนะ 4 โครงการของนโยบายพรรคเพื่อไทย ที่ธ.ก.สดำเนินการได้ไว้แล้ว เพื่อเสนอให้รัฐบาลใหม่กำหนดเป็นนโยบายได้ทันทีที่เข้ามาบริหารประเทศ ทั้งการพักชำระหนี้เกษตรกร รับจำนำข้าว บัตรเครดิตชาวนา และกองทุนหมู่บ้าน
แต่ทั้งนี้อยากฝากให้รัฐบาลช่วยดูแลระบบการเงินให้ธ.ก.ส. ด้วยการช่วยชำระหนี้ในอดีต จากที่ธ.ก.ส.ดำเนินโครงการพักชำระหนี้ไป 2 ครั้งในสมัยที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ปัจจุบันธ.ก.ส.มีภาระหนี้ในอดีตอยู่ 150,000-160,000 ล้านบาท หรือรัฐบาลจะต้องใส่เงินก้อนใหม่มาเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวให้เลย เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว จะเกินความสามารถของธ.ก.ส.ที่จะดำเนินการเองได้
“อดีตนั้น การพักชำระหนี้ครั้งแรก ทำเฉพาะลูกหนี้ที่มีหนี้ไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งคิดเป็นลูกค้าธ.ก.ส. 70% จากทั้งหมด 4 ล้านครัวเรือน หรือกว่า 3 ล้านครัวเรือน เมื่อพักชำระหนี้ครั้งที่ 2 สำหรับลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) เท่านั้น คิดเป็น 20% ของลูกหนี้ทั้งหมด ซึ่งใช้เงินไปถึง 100,000 ล้านบาท และขณะนี้ยังมีเอ็นพีแอลอยู่บ้าง แต่ธ.ก.ส.ยังพอรับมือได้ ดังนั้นนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่จะพักชำระหนี้ถึง 500,000 ล้านบาทนั้น ถือว่ามาก จึงต้องมาดูรายละเอียดว่าจะให้เฉพาะหนี้ของธ.ก.ส.เท่านั้นหรือไม่ และธ.ก.ส.ต้องแบ่งกลุ่มลูกค้าชั้นดี ไม่ดี ออกจากกัน พร้อมทั้งต้องมีมาตรการดูแลทุกกลุ่มลูกค้าด้วย ไม่เช่นนั้นแล้ว จะมีปัญหาเกิดขึ้นคือ ลูกค้าที่ดีจะปล่อยให้เป็นเอ็นพีแอลเพื่อจะพักชำระหนี้ด้วย ซึ่งทำให้ธ.ก.ส.มีภาระมากขึ้น”
สำหรับการรับจำนำข้าวนั้น คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ทันทีในฤดูกาลผลิตข้าวนาปีที่คาดว่าจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.ที่จะถึงนี้เป็นต้นไป ตามนโยบายรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าตันละ 15,000 บาท และข้าวหอมมะลิตันละ 20,000 บาท ซึ่งจะเสนอข้อดีข้อเสียรูปแบบการรับจำนำแบบประทวน และแบบยุ้งฉางให้รัฐบาลพิจารณาเลือกดำเนินการ ขณะเดียวกันก็จะยุติการรับประกันราคาพืชผลไปในตัวเลย ซึ่งยอมรับว่าการรับจำนำข้าวมีข้อเสียคือ การทุจริตจำนวนมาก การเก็บรักษาข้าวไว้นานเกินไป คุณภาพจะลดลง ส่งผลให้ขายไม่ได้ราคา อีกทั้งรัฐบาลจะขายข้าวอย่างไรไม่ให้กระทบต่อราคาข้าวในประเทศ ดังนั้นหากจะเดินหน้านโยบายรับจำนำ ต้องปิดช่องโหว่เหล่านี้ให้ดี
“ช่วงปี 51-52 ธ.ก.ส.รับจำนำข้าวที่ราคาตันละ 12,000 บาท ไป 9.4 ล้านตัน เป็นนาปี 5.3 ล้านตัน นาปรัง 4.1 ล้านตัน ใช้เงินกว่า 110,000 ล้านบาท ถ้านโยบายระบุว่าไม่ต่ำกว่า 15,000-20,000 บาทนั้น คาดว่าธ.ก.ส.จะใช้เงินไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาท และจุดบอดของการรับจำนำคือการทุจริต ซึ่งรัฐบาลต้องปิดให้ได้ และธ.ก.ส.มีข้อเสนอแนะให้ลงทะเบียนเกษตรกร ด้วยการทำประชาคม เพื่อให้รู้พื้นที่เพาะปลูก และเป็นชาวนาที่ทำอาชีพทำนามานาน ไม่ใช่อยู่ดีๆ ปีนี้โผล่มาเป็นชาวนาขอเข้าร่วมโครงการในพื้นที่จำนวนมาก เป็นต้น หากเป็นมือใหม่จริง ก็ต้องทำประชาคมก่อน”
ด้านการทำบัตรเครดิตชาวนานั้น คาดว่าไม่ใช่นโยบายเร่งด่วนเหมือนพักชำระหนี้และรับจำนำ อีกทั้งปัจจุบันธ.ก.ส.ไม่มีบัตรเครดิต ดังนั้นต้องใช้เวลาในการพัฒนาระบบต่างๆ ให้พร้อมก่อน คาดว่าอาจะเป็นปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า ตามรอบฤดูกาลผลิตของเกษตรกร ยังประเมินไม่ได้ว่าต้องใช้เวลาดำเนินการ และใช้เงินจำนวนเท่าใด แต่ระหว่างนี้หากเกษตรกรต้องการซื้อปุ๋ย ซื้อยาฆ่าแมลง ก็สามารถมากู้เงินจากธ.ก.ส.ได้อยู่แล้ว
“บัตรเครดิตชาวนานั้น เบื้องต้นจะให้ใช้รูดเฉพาะซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการผลิตเท่านั้น อาทิ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เครื่องจักรกล รถไถ โดยส่วนหนึ่งจะใส่เงินเข้าบัญชีไว้ อีกส่วนหนึ่งใส่ไว้ในบัตร ที่เกษตรกรสามารถนำไปรูดซื้อสินค้าในร้านค้าที่เป็นเครือข่ายของธ.ก.ส.ได้ ซึ่งธ.ก.ศ.ได้คัดเลือกร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการไว้แล้ว โดยพิจารณาจากประวัติที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาว่า เกษตรกรจะรูดซื้อปุ๋ย แต่ไม่เอาปุ๋ย ขอให้ร้านค้าเปลี่ยนเป็นเงินสดให้แทน เป็นต้น เพราะจะทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆตามมาอีก เอาไว้อนาคตค่อยพัฒนาให้ซื้อสินค้าทั่วไปได้ หากมีประวัติการชำระหนี้ที่ดี”
ส่วนการเพิ่มเงินต่อยอดกองทุนหมู่บ้านนั้น ถ้ารัฐบาลจะดำเนินการ สามารถใส่เงินเข้าไปได้เลย ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธ.ก.ส. หากไม่ได้มากู้เงินจากธนาคาร ซึ่งก่อนหน้านี้กองทุนหมู่บ้านที่ธนาคารดูแลอยู่นั้น รัฐบาลได้ชำระหนี้ให้หมดแล้ว ไม่มีภาระเหลืออยู่
แต่ทั้งนี้อยากฝากให้รัฐบาลช่วยดูแลระบบการเงินให้ธ.ก.ส. ด้วยการช่วยชำระหนี้ในอดีต จากที่ธ.ก.ส.ดำเนินโครงการพักชำระหนี้ไป 2 ครั้งในสมัยที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ปัจจุบันธ.ก.ส.มีภาระหนี้ในอดีตอยู่ 150,000-160,000 ล้านบาท หรือรัฐบาลจะต้องใส่เงินก้อนใหม่มาเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวให้เลย เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว จะเกินความสามารถของธ.ก.ส.ที่จะดำเนินการเองได้
“อดีตนั้น การพักชำระหนี้ครั้งแรก ทำเฉพาะลูกหนี้ที่มีหนี้ไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งคิดเป็นลูกค้าธ.ก.ส. 70% จากทั้งหมด 4 ล้านครัวเรือน หรือกว่า 3 ล้านครัวเรือน เมื่อพักชำระหนี้ครั้งที่ 2 สำหรับลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) เท่านั้น คิดเป็น 20% ของลูกหนี้ทั้งหมด ซึ่งใช้เงินไปถึง 100,000 ล้านบาท และขณะนี้ยังมีเอ็นพีแอลอยู่บ้าง แต่ธ.ก.ส.ยังพอรับมือได้ ดังนั้นนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่จะพักชำระหนี้ถึง 500,000 ล้านบาทนั้น ถือว่ามาก จึงต้องมาดูรายละเอียดว่าจะให้เฉพาะหนี้ของธ.ก.ส.เท่านั้นหรือไม่ และธ.ก.ส.ต้องแบ่งกลุ่มลูกค้าชั้นดี ไม่ดี ออกจากกัน พร้อมทั้งต้องมีมาตรการดูแลทุกกลุ่มลูกค้าด้วย ไม่เช่นนั้นแล้ว จะมีปัญหาเกิดขึ้นคือ ลูกค้าที่ดีจะปล่อยให้เป็นเอ็นพีแอลเพื่อจะพักชำระหนี้ด้วย ซึ่งทำให้ธ.ก.ส.มีภาระมากขึ้น”
สำหรับการรับจำนำข้าวนั้น คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ทันทีในฤดูกาลผลิตข้าวนาปีที่คาดว่าจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.ที่จะถึงนี้เป็นต้นไป ตามนโยบายรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าตันละ 15,000 บาท และข้าวหอมมะลิตันละ 20,000 บาท ซึ่งจะเสนอข้อดีข้อเสียรูปแบบการรับจำนำแบบประทวน และแบบยุ้งฉางให้รัฐบาลพิจารณาเลือกดำเนินการ ขณะเดียวกันก็จะยุติการรับประกันราคาพืชผลไปในตัวเลย ซึ่งยอมรับว่าการรับจำนำข้าวมีข้อเสียคือ การทุจริตจำนวนมาก การเก็บรักษาข้าวไว้นานเกินไป คุณภาพจะลดลง ส่งผลให้ขายไม่ได้ราคา อีกทั้งรัฐบาลจะขายข้าวอย่างไรไม่ให้กระทบต่อราคาข้าวในประเทศ ดังนั้นหากจะเดินหน้านโยบายรับจำนำ ต้องปิดช่องโหว่เหล่านี้ให้ดี
“ช่วงปี 51-52 ธ.ก.ส.รับจำนำข้าวที่ราคาตันละ 12,000 บาท ไป 9.4 ล้านตัน เป็นนาปี 5.3 ล้านตัน นาปรัง 4.1 ล้านตัน ใช้เงินกว่า 110,000 ล้านบาท ถ้านโยบายระบุว่าไม่ต่ำกว่า 15,000-20,000 บาทนั้น คาดว่าธ.ก.ส.จะใช้เงินไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาท และจุดบอดของการรับจำนำคือการทุจริต ซึ่งรัฐบาลต้องปิดให้ได้ และธ.ก.ส.มีข้อเสนอแนะให้ลงทะเบียนเกษตรกร ด้วยการทำประชาคม เพื่อให้รู้พื้นที่เพาะปลูก และเป็นชาวนาที่ทำอาชีพทำนามานาน ไม่ใช่อยู่ดีๆ ปีนี้โผล่มาเป็นชาวนาขอเข้าร่วมโครงการในพื้นที่จำนวนมาก เป็นต้น หากเป็นมือใหม่จริง ก็ต้องทำประชาคมก่อน”
ด้านการทำบัตรเครดิตชาวนานั้น คาดว่าไม่ใช่นโยบายเร่งด่วนเหมือนพักชำระหนี้และรับจำนำ อีกทั้งปัจจุบันธ.ก.ส.ไม่มีบัตรเครดิต ดังนั้นต้องใช้เวลาในการพัฒนาระบบต่างๆ ให้พร้อมก่อน คาดว่าอาจะเป็นปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า ตามรอบฤดูกาลผลิตของเกษตรกร ยังประเมินไม่ได้ว่าต้องใช้เวลาดำเนินการ และใช้เงินจำนวนเท่าใด แต่ระหว่างนี้หากเกษตรกรต้องการซื้อปุ๋ย ซื้อยาฆ่าแมลง ก็สามารถมากู้เงินจากธ.ก.ส.ได้อยู่แล้ว
“บัตรเครดิตชาวนานั้น เบื้องต้นจะให้ใช้รูดเฉพาะซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการผลิตเท่านั้น อาทิ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เครื่องจักรกล รถไถ โดยส่วนหนึ่งจะใส่เงินเข้าบัญชีไว้ อีกส่วนหนึ่งใส่ไว้ในบัตร ที่เกษตรกรสามารถนำไปรูดซื้อสินค้าในร้านค้าที่เป็นเครือข่ายของธ.ก.ส.ได้ ซึ่งธ.ก.ศ.ได้คัดเลือกร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการไว้แล้ว โดยพิจารณาจากประวัติที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาว่า เกษตรกรจะรูดซื้อปุ๋ย แต่ไม่เอาปุ๋ย ขอให้ร้านค้าเปลี่ยนเป็นเงินสดให้แทน เป็นต้น เพราะจะทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆตามมาอีก เอาไว้อนาคตค่อยพัฒนาให้ซื้อสินค้าทั่วไปได้ หากมีประวัติการชำระหนี้ที่ดี”
ส่วนการเพิ่มเงินต่อยอดกองทุนหมู่บ้านนั้น ถ้ารัฐบาลจะดำเนินการ สามารถใส่เงินเข้าไปได้เลย ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธ.ก.ส. หากไม่ได้มากู้เงินจากธนาคาร ซึ่งก่อนหน้านี้กองทุนหมู่บ้านที่ธนาคารดูแลอยู่นั้น รัฐบาลได้ชำระหนี้ให้หมดแล้ว ไม่มีภาระเหลืออยู่