มนุษยชาติ มีความไม่ลงรอยกันก็เพราะความเชื่อ ความยึดมั่นถือมั่นอันสุดโต่งไปทางใด ทางหนึ่งระหว่าง ลัทธิจิตนิยม (Idealism) กับ ลัทธิวัตถุนิยม (Materialism) หรือระหว่างจิตนิยมต่อจิตนิยมด้วยกันเอง หรือระหว่างวัตถุนิยมต่อวัตถุนิยมด้วยกันเอง ด้วยลัทธิทั้ง 2 ยังไม่สมบูรณ์และไม่ใช่ทางสายกลาง ใครที่ยึดมั่นถือมั่นในลัทธิดังกล่าว จะเป็นเหตุให้สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง ย่อมเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองยาวนาน และยากที่จะแก้ไข
คำสอนพระพุทธศาสนาให้การศึกษาได้รู้ถึงความจริงตามกฎธรรมชาติ ทั้งจิตตสังขาร และวัตถุ หรือรูปสังขาร เป็นสังขตธรรม เป็นสิ่งปรุงแต่ง เป็นของผสม เป็นสัจธรรมสัมพัทธ์ (Relative Truth) เมื่อเกิดขึ้นในเบื้องต้น ต้องแปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด เกิดขึ้นเท่าไรก็ดับไปเท่านั้น ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ทั้งจิตสังขารและวัตถุ เป็นเพียงมายาไร้แก่นสารที่แท้จริง และตัวมันเองไม่อาจจะทำให้บริสุทธิ์ได้เพราะเป็นสิ่งปรุงแต่งหรือเป็นของผสม และดำรงอยู่อย่างอิสระไม่ได้ ทั้งจิตตสังขารและวัตถุ จึงไม่สามารถจะเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่งได้ ด้วยตัวของมันเองเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เมื่อไปยึดติดเพราะความหลงเข้าใจผิด ไม่ถูกตรงตามที่มันเป็น ทำให้ผู้ยึดมั่นถือมั่นสุดโต่งไปทางใดทางหนึ่งตามความคิดของตน พอใจบ้าง ยินดีบ้าง ไม่พอใจบ้าง ไม่ยินดีบ้าง เป็นต้น
ทั้งลัทธิจิตนิยม และลัทธิวัตถุนิยม ความเชื่อทั้งสองย่อมมีอยู่ ไม่อาจเข้าถึงทางสายกลางได้ เมื่อพัฒนาถึงที่สุดแล้ว จะเป็นความไร้แก่นสาร ก็เพราะว่ามันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามกฎไตรลักษณ์นั่นเอง ดุจน้ำตกที่ไหลลงจากหน้าผา แล้วจะไปยึดมั่นถือมั่นได้อย่างไร ใครยึดมั่นถือมั่นเพราะความหลงผิด (อวิชชา) ดังนั้น ควรเข้าใจอย่างถูกต้องว่าลัทธิทั้ง 2 นี้ ไม่อาจเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่งได้
พระพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธการดำรงอยู่ทั้งจิตและวัตถุ แต่ยอมรับว่าทั้งวัตถุและจิตดำรงอยู่อย่างอิงอาศัยกันในลักษณะสังขตธรรม คือ สภาวะปรุงแต่ง แปรปรวนดับไปตามกฎไตรลักษณ์กล่าวได้ว่า ศูนย์กลางของสรรพสิ่ง ผู้รู้แจ้งย่อมกล่าวว่า “ธรรม ย่อมเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่ง” “ธรรม” ในที่นี้คือ สภาวะอสังขตธรรม, สภาวะบรมธรรม, สภาวะนิพพาน, สภาวะธรรมาธิปไตย (Absolute Truth) อันเป็นสภาวะพ้นการปรุงแต่ง จึงเป็นศูนย์กลางของสภาวะสังขตธรรมทั้งรูปและนามอันแตกต่างหลากหลายทั้งปวงของสรรพสิ่ง นั่นเอง
“ภูเขายังตั้ง ตะวันยังฉาย ธรรมาธิปไตยไม่สลายจากใจมนุษยชาติ” ซึ่งจะเห็นได้ว่า จิตตสังสารทั้งที่ปรุงแต่งเป็นกุศลบ้าง และอกุศลบ้าง และเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็แปรปรวนในท่ามกลางและก็ดับไปในที่สุด พูดง่ายๆ ว่า เมื่อเกิดความกลัว โลภ โกรธ หลง เสียใจ เศร้าใจ ดีใจ ฯลฯ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องสลายไป ดำรงอยู่ไม่ได้ ไร้แก่นสาร ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนอย่างสิ้นเชิง
จะเห็นชัดว่าธรรมประกอบกันขึ้นระหว่างอสังขตธรรม (ธรรมที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งและพ้นจากกฎไตรลักษณ์ ได้แก่ นิพพาน, บรมธรรม, ธรรมาธิปไตย) กับสังขตธรรม (ธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์) หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็น สัมพันธภาพระหว่างสิ่งที่ไม่สลายกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วสลาย หรือเป็นสัมพันธภาพระหว่างสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลง หรือเป็นสัมพันธภาพระหว่างธาตุแท้กับปรากฏการณ์ หรือเป็นสัมพันธภาพระหว่างจุดมุ่งหมายกับมรรควิธี หรือวิธีการ หรือสัมพันธภาพระหว่างด้านเอกภาพกับด้านความแตกต่างหลากหลาย
เมื่อได้นำสภาวธรรมมาประยุกต์ใช้ในทางการเมืองให้ถูกต้องโดยธรรม ตามองค์ประกอบของกฎธรรมชาติ ดังลักษณะตามรูปดังนี้ วงกลมตรงกลาง คือ หลักการปกครองธรรมาธิปไตยทั้ง 9 มีลักษณะแผ่กระจายความเป็นธรรม 9 ลักษณะสู่ปวงชนในชาติ อันเป็นหลักการสำคัญที่ไม่เปลี่ยนแปลงมั่นคงยั่งยืนของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ส่วนลูกศรดำ คือ วิธีการปกครองได้แก่ หมวดและมาตราต่างๆ ที่จะต้องขึ้นต่อหลักการปกครองเสมอไป และวิธีการเป็นสิ่งที่ปรับปรุงแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงได้ตามความจำเป็น ตามยุคตามสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป
ภารกิจรัฐบาลใหม่ของนายยกรัฐมนตรีคนใหม่ คือนำเสนอการปกครองแบบธรรมาธิปไตย คือการนำกฎธรรมชาติ ดำรงอยู่ในลักษณะพระธรรมจักร บนความสัมพันธ์ในหลายๆ มิติ เช่น
สัมพันธภาพระหว่างด้านเอกภาพกับด้านความแตกต่างหลากหลาย
สัมพันธภาพระหว่างแผ่กระจายกับรวมศูนย์ เป็นปัจจัยให้เกิดดุลยภาพ
สัมพันธภาพระหว่างจุดมุ่งหมาย และมรรควิธี
สัมพันธภาพระหว่างหลักการปกครอง และวิธีการปกครอง เป็นต้น
เมื่อนำไปพิจารณาระบอบการเมือง ระบอบต้องมีธรรมและแผ่กระจายสู่ปวงชน ส่วนการปกครองต้องรวมศูนย์ หลักการดังกล่าวนี้คือเหตุปัจจัยทำให้เกิดความสมดุล หรือดุลยภาพภายในชาติ ไม่ใช่สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง “มนุษยชาติเกิดจากธรรม การถือธรรมเป็นใหญ่ สู่การปกครองธรรมาธิปไตย ย่อมเป็นความถูกต้องโดยธรรมยิ่งใหญ่ตลอดไป”
คำสอนพระพุทธศาสนาให้การศึกษาได้รู้ถึงความจริงตามกฎธรรมชาติ ทั้งจิตตสังขาร และวัตถุ หรือรูปสังขาร เป็นสังขตธรรม เป็นสิ่งปรุงแต่ง เป็นของผสม เป็นสัจธรรมสัมพัทธ์ (Relative Truth) เมื่อเกิดขึ้นในเบื้องต้น ต้องแปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด เกิดขึ้นเท่าไรก็ดับไปเท่านั้น ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ทั้งจิตสังขารและวัตถุ เป็นเพียงมายาไร้แก่นสารที่แท้จริง และตัวมันเองไม่อาจจะทำให้บริสุทธิ์ได้เพราะเป็นสิ่งปรุงแต่งหรือเป็นของผสม และดำรงอยู่อย่างอิสระไม่ได้ ทั้งจิตตสังขารและวัตถุ จึงไม่สามารถจะเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่งได้ ด้วยตัวของมันเองเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เมื่อไปยึดติดเพราะความหลงเข้าใจผิด ไม่ถูกตรงตามที่มันเป็น ทำให้ผู้ยึดมั่นถือมั่นสุดโต่งไปทางใดทางหนึ่งตามความคิดของตน พอใจบ้าง ยินดีบ้าง ไม่พอใจบ้าง ไม่ยินดีบ้าง เป็นต้น
ทั้งลัทธิจิตนิยม และลัทธิวัตถุนิยม ความเชื่อทั้งสองย่อมมีอยู่ ไม่อาจเข้าถึงทางสายกลางได้ เมื่อพัฒนาถึงที่สุดแล้ว จะเป็นความไร้แก่นสาร ก็เพราะว่ามันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามกฎไตรลักษณ์นั่นเอง ดุจน้ำตกที่ไหลลงจากหน้าผา แล้วจะไปยึดมั่นถือมั่นได้อย่างไร ใครยึดมั่นถือมั่นเพราะความหลงผิด (อวิชชา) ดังนั้น ควรเข้าใจอย่างถูกต้องว่าลัทธิทั้ง 2 นี้ ไม่อาจเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่งได้
พระพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธการดำรงอยู่ทั้งจิตและวัตถุ แต่ยอมรับว่าทั้งวัตถุและจิตดำรงอยู่อย่างอิงอาศัยกันในลักษณะสังขตธรรม คือ สภาวะปรุงแต่ง แปรปรวนดับไปตามกฎไตรลักษณ์กล่าวได้ว่า ศูนย์กลางของสรรพสิ่ง ผู้รู้แจ้งย่อมกล่าวว่า “ธรรม ย่อมเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่ง” “ธรรม” ในที่นี้คือ สภาวะอสังขตธรรม, สภาวะบรมธรรม, สภาวะนิพพาน, สภาวะธรรมาธิปไตย (Absolute Truth) อันเป็นสภาวะพ้นการปรุงแต่ง จึงเป็นศูนย์กลางของสภาวะสังขตธรรมทั้งรูปและนามอันแตกต่างหลากหลายทั้งปวงของสรรพสิ่ง นั่นเอง
“ภูเขายังตั้ง ตะวันยังฉาย ธรรมาธิปไตยไม่สลายจากใจมนุษยชาติ” ซึ่งจะเห็นได้ว่า จิตตสังสารทั้งที่ปรุงแต่งเป็นกุศลบ้าง และอกุศลบ้าง และเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็แปรปรวนในท่ามกลางและก็ดับไปในที่สุด พูดง่ายๆ ว่า เมื่อเกิดความกลัว โลภ โกรธ หลง เสียใจ เศร้าใจ ดีใจ ฯลฯ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องสลายไป ดำรงอยู่ไม่ได้ ไร้แก่นสาร ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนอย่างสิ้นเชิง
จะเห็นชัดว่าธรรมประกอบกันขึ้นระหว่างอสังขตธรรม (ธรรมที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งและพ้นจากกฎไตรลักษณ์ ได้แก่ นิพพาน, บรมธรรม, ธรรมาธิปไตย) กับสังขตธรรม (ธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์) หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็น สัมพันธภาพระหว่างสิ่งที่ไม่สลายกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วสลาย หรือเป็นสัมพันธภาพระหว่างสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลง หรือเป็นสัมพันธภาพระหว่างธาตุแท้กับปรากฏการณ์ หรือเป็นสัมพันธภาพระหว่างจุดมุ่งหมายกับมรรควิธี หรือวิธีการ หรือสัมพันธภาพระหว่างด้านเอกภาพกับด้านความแตกต่างหลากหลาย
เมื่อได้นำสภาวธรรมมาประยุกต์ใช้ในทางการเมืองให้ถูกต้องโดยธรรม ตามองค์ประกอบของกฎธรรมชาติ ดังลักษณะตามรูปดังนี้ วงกลมตรงกลาง คือ หลักการปกครองธรรมาธิปไตยทั้ง 9 มีลักษณะแผ่กระจายความเป็นธรรม 9 ลักษณะสู่ปวงชนในชาติ อันเป็นหลักการสำคัญที่ไม่เปลี่ยนแปลงมั่นคงยั่งยืนของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ส่วนลูกศรดำ คือ วิธีการปกครองได้แก่ หมวดและมาตราต่างๆ ที่จะต้องขึ้นต่อหลักการปกครองเสมอไป และวิธีการเป็นสิ่งที่ปรับปรุงแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงได้ตามความจำเป็น ตามยุคตามสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป
ภารกิจรัฐบาลใหม่ของนายยกรัฐมนตรีคนใหม่ คือนำเสนอการปกครองแบบธรรมาธิปไตย คือการนำกฎธรรมชาติ ดำรงอยู่ในลักษณะพระธรรมจักร บนความสัมพันธ์ในหลายๆ มิติ เช่น
สัมพันธภาพระหว่างด้านเอกภาพกับด้านความแตกต่างหลากหลาย
สัมพันธภาพระหว่างแผ่กระจายกับรวมศูนย์ เป็นปัจจัยให้เกิดดุลยภาพ
สัมพันธภาพระหว่างจุดมุ่งหมาย และมรรควิธี
สัมพันธภาพระหว่างหลักการปกครอง และวิธีการปกครอง เป็นต้น
เมื่อนำไปพิจารณาระบอบการเมือง ระบอบต้องมีธรรมและแผ่กระจายสู่ปวงชน ส่วนการปกครองต้องรวมศูนย์ หลักการดังกล่าวนี้คือเหตุปัจจัยทำให้เกิดความสมดุล หรือดุลยภาพภายในชาติ ไม่ใช่สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง “มนุษยชาติเกิดจากธรรม การถือธรรมเป็นใหญ่ สู่การปกครองธรรมาธิปไตย ย่อมเป็นความถูกต้องโดยธรรมยิ่งใหญ่ตลอดไป”