ASTVผู้จัดการรายวัน - สำนักผังเมืองเผย ผังเมืองกทม.ใหม่อาจได้ใช้ 15 พ.ค.56 เผยเปลี่ยนสีผังเมือง 10 ทำเลตามลักษณของพื้นที่ แจ้งวัฒนา รามอินทรา ศรีนครินทร์-บางนา แนวแอร์พอร์ตลิงค์ฯ เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาที่อยู่อาศัย ขณะที่ถนนสุขสวัสดิ์ บางขุนเทียนลดปริมาณความหนาแน่นตามศักยภาพ ชี้ราคาประเมินที่ดินใหม่ปรับขึ้นทั่วปท.15% ด้านศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ เผยบ้านเดี่ยว-ทาวน์เฮาส์-คอนดดตบเท้าขึ้นราคา
นางสาวปัญญาภัสสร์ นพพันธ์ ผู้อำนวยการกองวางแผนพัฒนาเมือง สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ผังเมืองฉบับปัจจุบันที่ได้ต่ออายุมาแล้วตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2554 โดยจะหมดอายุในอีก 1 ปีข้างหน้าคือ 14 พ.ค.2555 และมีความเป็นไปได้ว่าจะต่ออายุออกไปอีก 1 ปีจนถึงปี 2556 เนื่องจากร่างผังเมืองฉบับใหม่นี้ยังมีการดำเนินงานในอีกหลายขั้นตอน ซึ่งเกรงว่าจะเสร็จไม่ทันปี พ.ค. 2555
สำหรับผังเมืองใหม่นี้จะปรับให้สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของเมือง ตามโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ รวมไปถึงตามศักยภาพของพื้นที่ การคมนาคม ซึ่งในเบื้องต้นจะมี 10 ทำเลที่มีการเปลี่ยนแปลงของสีผังเมือง โดยในส่วนของการเพิ่มศักยภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ แจ้งวัฒนะ เนื่องจากมีการขยายตัวของจำนวนประชากรตามศูนย์ราชการแห่งใหม่ ส่วนเกียกกายซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ที่อาจจะต้อมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวเนื่องไปตั้งอยู่ในย่านนั้น เช่น ทำเนียบรัฐบาล
นอกจากนี้เป็นการเพิ่มศักยภาพการใช้ที่ดินตามการสนับสนุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น ลาดกระบัง วงเวียนใหญ่การสนับสนุนการพัฒนาที่สอดคล้องกับระบบราง ได้แก่ มีนบุรี บริเวณรถไฟฟ้าสายสีแดง หัวหมาก, ศูนย์ชุมชนชานเมืองตลิ่งชัน,ศรีนครินทร์-บางนา เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู ,รามอินทรา จุดตัดของถนนวงแหวนรอบนอก, จัดตัดบางนา-สุขุมวิท รัชดาภิเษก จรัลสนิทวงศ์ที่มีรถไฟฟ้าสายสีนำเงินตัดผ่าน
ส่วนพื้นที่ ที่ลดการใช้ประโยชน์ของที่ดินลง ได้แก่ ย่านบางขุนเทียนที่ปรับจากเขตชนบทและเกษตรกรรมเป็นอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม ส่วนบริเวณริมคลองชักพระเนื่องจากถนนมีลักษณะคับแคบ และข้อห้ามในการสร้างอาคารสูงจึงปรับเปลี่ยนจากที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง.
ด้านนายชูชีพ จิตร์อำไพ ผู้อำนวยการสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ กล่าวถึงแนวโน้มราคาประเมินที่ดินและอาคารชุด 2555 ว่า ราคาประเมินที่ดินทั่วประเทศในปี 2555 จะปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย15% โดยในพื้นที่กทม.อัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 15-30% ส่วนในแนวก่อสร้างและขยายเส้นทางรถไฟฟ้ามีการปรับขึ้น 50% สำหรับในพื้นที่ภูมิภาคจะมีการปรับเพิ่มขึ้นในเมืองชายทะเลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ส่วนราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุดนั้นการปรับราคาขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งโดยพื้นที่กทม.มีการปรับประมาณ 15% โดยบริเวณที่มีราคาประเมินสูงเช่น ถนนสีลม ถนนเพลินจิต ฯลฯ นอกจากนี้ที่ดินในบริเวณแนวรถไฟฟ้าทั้งสายเก่า-ใหม่ ราคาที่ดินปรับขึ้นเฉลี่ย 50% เช่นจังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงพาดผ่าน
ทั้งนี้การปรับขึ้นของราคาประเมินที่ดินดังกล่าวนอกจากจะส่งผลดีทำให้ราคาที่ดินแพงขึ้น แต่ในทางกลับกันผู้บริโภคจะต้องเสียค่าโอนกรรมสิทธิ์แพงขึ้น รวมถึงทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์แพงขึ้นตามไปด้วย
ด้านนางสาวสิทธิเพ็ญ สิทธัตถพงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) กล่าวว่า ศูนย์ข้อมูลฯได้จัดเก็บข้อมูลราคาโครงการที่อยู่อาศัยสร้างใหม่และอยู่ระหว่างการขายในกรุงเทพฯและปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ โดยดัชนีบ้านเดี่ยวในช่วงครึ่งแรกปี 2554 เพิ่มขึ้น 1.03% เมื่อเทียบกับครึ่งหลังปี2553 และเพิ่มขึ้น 1.79% เมื่อเทียบกับครึ่งแรกปี 2553 บ้านเดี่ยวที่มีปรับราคาสูงสุด 2.97% คือขนาด76-99 ตร.ว.180 - 300 ตร.ม. ส่วนการปรับราคาน้อยสุด 1.09% ได้แก่ ขนาด 60 -75 ตร.ว. 180 - 220 ตร.ม.
ส่วนดัชนีราคาทาวน์เฮาส์ขนาดสูง 2 ชั้นและ 3 ชั้น ในช่วงครึ่งแรกปี 2554 เพิ่มขึ้น 0.98% เมื่อเทียบกับครึ่งหลังปี 2553 และเพิ่มขึ้น 3.55% เมื่อเทียบกับครึ่งแรกปี 2553 ทาวน์เฮาส์ 3 ชั้นจะมีราคาปรับมากกว่า 2 ชั้นโดยปรับเพิ่มขึ้น 4.07% ในขณะที่ขนาด 2 ชั้น ปรับราคาเพิ่มขึ้น 3.33%
สำหรับดัชนีราคาห้องชุดในกทม.ช่วงครึ่งแรกปี 2554 เพิ่มขึ้น 2.82% จากครึ่งหลังปี 2553 และเพิ่มขึ้น 7.04% เมื่อเทียบกับครึ่งแรกปี 2553 โดยกลุ่มราคาขาย 50,000 บาท/ตร.ม. ปรับมากที่สุด 11.5% กลุ่มราคาขาย 50,000 - 79,999 บาท/ ตร.ม. ปรับขึ้น 5.86% ส่วนห้องชุดราคาแพง 80,000 บาท/ ตรม. ขึ้นไปปรับน้อยที่สุด 3.76% สำหรับดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐานไตรมาส 2 ปี 2554 ปรับเพิ่มขึ้น 0.90% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 และเพิ่มขึ้น 3.90% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553
นางสาวปัญญาภัสสร์ นพพันธ์ ผู้อำนวยการกองวางแผนพัฒนาเมือง สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ผังเมืองฉบับปัจจุบันที่ได้ต่ออายุมาแล้วตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2554 โดยจะหมดอายุในอีก 1 ปีข้างหน้าคือ 14 พ.ค.2555 และมีความเป็นไปได้ว่าจะต่ออายุออกไปอีก 1 ปีจนถึงปี 2556 เนื่องจากร่างผังเมืองฉบับใหม่นี้ยังมีการดำเนินงานในอีกหลายขั้นตอน ซึ่งเกรงว่าจะเสร็จไม่ทันปี พ.ค. 2555
สำหรับผังเมืองใหม่นี้จะปรับให้สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของเมือง ตามโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ รวมไปถึงตามศักยภาพของพื้นที่ การคมนาคม ซึ่งในเบื้องต้นจะมี 10 ทำเลที่มีการเปลี่ยนแปลงของสีผังเมือง โดยในส่วนของการเพิ่มศักยภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ แจ้งวัฒนะ เนื่องจากมีการขยายตัวของจำนวนประชากรตามศูนย์ราชการแห่งใหม่ ส่วนเกียกกายซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ที่อาจจะต้อมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวเนื่องไปตั้งอยู่ในย่านนั้น เช่น ทำเนียบรัฐบาล
นอกจากนี้เป็นการเพิ่มศักยภาพการใช้ที่ดินตามการสนับสนุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น ลาดกระบัง วงเวียนใหญ่การสนับสนุนการพัฒนาที่สอดคล้องกับระบบราง ได้แก่ มีนบุรี บริเวณรถไฟฟ้าสายสีแดง หัวหมาก, ศูนย์ชุมชนชานเมืองตลิ่งชัน,ศรีนครินทร์-บางนา เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู ,รามอินทรา จุดตัดของถนนวงแหวนรอบนอก, จัดตัดบางนา-สุขุมวิท รัชดาภิเษก จรัลสนิทวงศ์ที่มีรถไฟฟ้าสายสีนำเงินตัดผ่าน
ส่วนพื้นที่ ที่ลดการใช้ประโยชน์ของที่ดินลง ได้แก่ ย่านบางขุนเทียนที่ปรับจากเขตชนบทและเกษตรกรรมเป็นอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม ส่วนบริเวณริมคลองชักพระเนื่องจากถนนมีลักษณะคับแคบ และข้อห้ามในการสร้างอาคารสูงจึงปรับเปลี่ยนจากที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง.
ด้านนายชูชีพ จิตร์อำไพ ผู้อำนวยการสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ กล่าวถึงแนวโน้มราคาประเมินที่ดินและอาคารชุด 2555 ว่า ราคาประเมินที่ดินทั่วประเทศในปี 2555 จะปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย15% โดยในพื้นที่กทม.อัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 15-30% ส่วนในแนวก่อสร้างและขยายเส้นทางรถไฟฟ้ามีการปรับขึ้น 50% สำหรับในพื้นที่ภูมิภาคจะมีการปรับเพิ่มขึ้นในเมืองชายทะเลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ส่วนราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุดนั้นการปรับราคาขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งโดยพื้นที่กทม.มีการปรับประมาณ 15% โดยบริเวณที่มีราคาประเมินสูงเช่น ถนนสีลม ถนนเพลินจิต ฯลฯ นอกจากนี้ที่ดินในบริเวณแนวรถไฟฟ้าทั้งสายเก่า-ใหม่ ราคาที่ดินปรับขึ้นเฉลี่ย 50% เช่นจังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงพาดผ่าน
ทั้งนี้การปรับขึ้นของราคาประเมินที่ดินดังกล่าวนอกจากจะส่งผลดีทำให้ราคาที่ดินแพงขึ้น แต่ในทางกลับกันผู้บริโภคจะต้องเสียค่าโอนกรรมสิทธิ์แพงขึ้น รวมถึงทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์แพงขึ้นตามไปด้วย
ด้านนางสาวสิทธิเพ็ญ สิทธัตถพงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) กล่าวว่า ศูนย์ข้อมูลฯได้จัดเก็บข้อมูลราคาโครงการที่อยู่อาศัยสร้างใหม่และอยู่ระหว่างการขายในกรุงเทพฯและปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ โดยดัชนีบ้านเดี่ยวในช่วงครึ่งแรกปี 2554 เพิ่มขึ้น 1.03% เมื่อเทียบกับครึ่งหลังปี2553 และเพิ่มขึ้น 1.79% เมื่อเทียบกับครึ่งแรกปี 2553 บ้านเดี่ยวที่มีปรับราคาสูงสุด 2.97% คือขนาด76-99 ตร.ว.180 - 300 ตร.ม. ส่วนการปรับราคาน้อยสุด 1.09% ได้แก่ ขนาด 60 -75 ตร.ว. 180 - 220 ตร.ม.
ส่วนดัชนีราคาทาวน์เฮาส์ขนาดสูง 2 ชั้นและ 3 ชั้น ในช่วงครึ่งแรกปี 2554 เพิ่มขึ้น 0.98% เมื่อเทียบกับครึ่งหลังปี 2553 และเพิ่มขึ้น 3.55% เมื่อเทียบกับครึ่งแรกปี 2553 ทาวน์เฮาส์ 3 ชั้นจะมีราคาปรับมากกว่า 2 ชั้นโดยปรับเพิ่มขึ้น 4.07% ในขณะที่ขนาด 2 ชั้น ปรับราคาเพิ่มขึ้น 3.33%
สำหรับดัชนีราคาห้องชุดในกทม.ช่วงครึ่งแรกปี 2554 เพิ่มขึ้น 2.82% จากครึ่งหลังปี 2553 และเพิ่มขึ้น 7.04% เมื่อเทียบกับครึ่งแรกปี 2553 โดยกลุ่มราคาขาย 50,000 บาท/ตร.ม. ปรับมากที่สุด 11.5% กลุ่มราคาขาย 50,000 - 79,999 บาท/ ตร.ม. ปรับขึ้น 5.86% ส่วนห้องชุดราคาแพง 80,000 บาท/ ตรม. ขึ้นไปปรับน้อยที่สุด 3.76% สำหรับดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐานไตรมาส 2 ปี 2554 ปรับเพิ่มขึ้น 0.90% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 และเพิ่มขึ้น 3.90% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553