ASTVผู้จัดการรายวัน - วงการแพทย์สุดสูญเสีย เมื่อปูชนียบุคคลแห่งวงการแพทย์ "ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว" อดีตรมว.สธ.และมือผ่าตัดแยกแฝดสยามสำเร็จคู่แรกของไทย ถึงแก่กรรมด้วยวัย 1 ศตวรรษ กับอีก 37 วัน ด้วยโรคชรา ตั้งศพวัดธาตุทอง และสวดอภิธรรม 7 วัน
วานนี้ (8 ก.ค.) นายชัชวาล พริ้งพวงแก้ว บุตรชาย ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว เปิดเผยว่า ศ.นพ.เสม ได้ถึงแก่กรรมแล้วเมื่อเวลา 04.50 น. หลังจากพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลราชวิถีตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว และถึงแก่กรรมด้วยโรคชราภาพ อายุ 100 ปี 37 วัน โดยได้มีการจัดพิธีรดน้ำศพที่โรงพยาบาลราชวิถี เวลา 15.00 น. ในเย็นวานนี้ และวันนี้ (9 ก.ค.) ได้เคลื่อนศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่ศาลา 18 วัดธาตุทอง โดยจะมีพิธีรดน้ำศพเวลา 17.00 น. และสวดพระอภิธรรม 7 วัน
ด้าน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ตลอดชีวิตของ ศ.นพ.เสม ถือเป็นบุคคลที่มีคุณูปการต่อวงการสาธารณสุข โดยเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ผลักดันส่งเสริมให้เกิดโรงพยาบาลอำเภอเพื่อให้กระจายระบบบริการสาธารณสุขอย่างถ้วน หน้า ทำให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาพยาบาลมากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี และยังเป็นผู้นำเทคโนโลยีผ่าตัดแฝดสยามหญิงคู่แรกของไทยได้สำเร็จ อีกทั้งเป็นแพทย์ผู้บุกเบิกการแพทย์ชนบท และการแพทย์สมัยใหม่ นักการสาธารณสุข ผู้ร่วมจัดทำแผนสาธารณสุขแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สมัยรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ศ.นพ.เสมเป็นแพทย์นักคิดเพื่อสังคม ผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของบ้านเมืองทั้งด้านการแพทย์ การสาธารณสุขและด้านการศึกษามานานกว่ากึ่งศตวรรษ
สำหรับประวัติของศ.นพ.เสม เป็นชาวกรุงเทพฯ เกิดเมื่อวันที่ 31พ.ค.พ.ศ. 2454 การศึกษาเริ่มเรียนที่โรงเรียนวัดบรมนิวาสใกล้บ้านเป็นเวลา 4 ปี และเข้าเรียนต่อระดับมัธยมที่โรงเรียนเทพศิรินทร์อีก 8 ปี จนจบชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 8 ในระหว่างเรียน ศ.นพ.เสม ได้รับทุนการเรียนประเภทหมั่นเรียนมาโดยตลอด เมื่อจบชั้นมัธยมปีที่ 8 แล้ว โดยความช่วยเหลือของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ทำให้ได้เข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจบการศึกษาแพทย์ปริญญาแล้ว ศ.นพ.เสม ได้มีโอกาสไปศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกา อังกฤษและประเทศเยอรมนี ประชุมและดูงานในประเทศต่าง ๆ ทั้งในสหรัฐ บราซิล สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ออสเตรีย นิวซีแลนด์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น
ศ.นพ.เสม เป็นแพทย์ต้นแบบผู้มีคุณูปการต่อสังคมไทยมิแต่เฉพาะในด้านการแพทย์ สาธารณสุขและการพัฒนาสุขภาพอนามัยเท่านั้น แต่ยังมีผลงานเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในด้านการเมือง การศึกษาและการพัฒนาสังคม ท่านจึงมีบทบาทที่หลากหลายและได้รับความเคารพนับถือจากผู้คนในแวดวงต่าง เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่โลกยอมรับ เป็นผู้บริหารที่มองการณ์ไกล เป็นนักคิดที่ล้ำหน้ายุคสมัย เป็นนักปฏิบัติที่มุ่งประโยชน์ของสาธารณชน เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดำรงตนเป็นตัวอย่าง เป็นร่มเงาให้คนรุ่นหลังได้อาศัยเติบโต และเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นต่อ ๆ มาในการดำเนินชีวิตอย่างมีอุดมการณ์เพื่อสังคม
สำหรับชีวิตและผลงานอันทรงคุณค่าของศ.นพ.เสมนั้น เป็นสิ่งที่คนรุ่นหลังควรศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผลงานการปราบอหิวาต์ระบาดที่อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เมื่อเรียนจบจากโรงเรียนแพทย์ (พ.ศ.2478) การเป็นผู้บริหารคนแรกของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์หรือ “โฮงยาไทย” (พ.ศ.2480) ที่จังหวัด การก่อตั้งธนาคารเลือดแห่งแรกในประเทศไทย การปราบซิฟิลิสที่ระบาดในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 การผ่าตัดแฝดสยามรายแรกของประเทศไทยที่โรงพยาบาลเด็ก (พ.ศ.2498) การบุกเบิกสร้างโรงพยาบาลในภูมิภาค การก่อกำเนิดการสาธารณสุขมูลฐาน การให้กำเนิดนโยบายแห่งชาติทางด้านยา บัญชียาหลักแห่งชาติ (พ.ศ.2524) เป็นต้น.
วานนี้ (8 ก.ค.) นายชัชวาล พริ้งพวงแก้ว บุตรชาย ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว เปิดเผยว่า ศ.นพ.เสม ได้ถึงแก่กรรมแล้วเมื่อเวลา 04.50 น. หลังจากพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลราชวิถีตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว และถึงแก่กรรมด้วยโรคชราภาพ อายุ 100 ปี 37 วัน โดยได้มีการจัดพิธีรดน้ำศพที่โรงพยาบาลราชวิถี เวลา 15.00 น. ในเย็นวานนี้ และวันนี้ (9 ก.ค.) ได้เคลื่อนศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่ศาลา 18 วัดธาตุทอง โดยจะมีพิธีรดน้ำศพเวลา 17.00 น. และสวดพระอภิธรรม 7 วัน
ด้าน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ตลอดชีวิตของ ศ.นพ.เสม ถือเป็นบุคคลที่มีคุณูปการต่อวงการสาธารณสุข โดยเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ผลักดันส่งเสริมให้เกิดโรงพยาบาลอำเภอเพื่อให้กระจายระบบบริการสาธารณสุขอย่างถ้วน หน้า ทำให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาพยาบาลมากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี และยังเป็นผู้นำเทคโนโลยีผ่าตัดแฝดสยามหญิงคู่แรกของไทยได้สำเร็จ อีกทั้งเป็นแพทย์ผู้บุกเบิกการแพทย์ชนบท และการแพทย์สมัยใหม่ นักการสาธารณสุข ผู้ร่วมจัดทำแผนสาธารณสุขแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สมัยรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ศ.นพ.เสมเป็นแพทย์นักคิดเพื่อสังคม ผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของบ้านเมืองทั้งด้านการแพทย์ การสาธารณสุขและด้านการศึกษามานานกว่ากึ่งศตวรรษ
สำหรับประวัติของศ.นพ.เสม เป็นชาวกรุงเทพฯ เกิดเมื่อวันที่ 31พ.ค.พ.ศ. 2454 การศึกษาเริ่มเรียนที่โรงเรียนวัดบรมนิวาสใกล้บ้านเป็นเวลา 4 ปี และเข้าเรียนต่อระดับมัธยมที่โรงเรียนเทพศิรินทร์อีก 8 ปี จนจบชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 8 ในระหว่างเรียน ศ.นพ.เสม ได้รับทุนการเรียนประเภทหมั่นเรียนมาโดยตลอด เมื่อจบชั้นมัธยมปีที่ 8 แล้ว โดยความช่วยเหลือของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ทำให้ได้เข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจบการศึกษาแพทย์ปริญญาแล้ว ศ.นพ.เสม ได้มีโอกาสไปศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกา อังกฤษและประเทศเยอรมนี ประชุมและดูงานในประเทศต่าง ๆ ทั้งในสหรัฐ บราซิล สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ออสเตรีย นิวซีแลนด์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น
ศ.นพ.เสม เป็นแพทย์ต้นแบบผู้มีคุณูปการต่อสังคมไทยมิแต่เฉพาะในด้านการแพทย์ สาธารณสุขและการพัฒนาสุขภาพอนามัยเท่านั้น แต่ยังมีผลงานเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในด้านการเมือง การศึกษาและการพัฒนาสังคม ท่านจึงมีบทบาทที่หลากหลายและได้รับความเคารพนับถือจากผู้คนในแวดวงต่าง เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่โลกยอมรับ เป็นผู้บริหารที่มองการณ์ไกล เป็นนักคิดที่ล้ำหน้ายุคสมัย เป็นนักปฏิบัติที่มุ่งประโยชน์ของสาธารณชน เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดำรงตนเป็นตัวอย่าง เป็นร่มเงาให้คนรุ่นหลังได้อาศัยเติบโต และเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นต่อ ๆ มาในการดำเนินชีวิตอย่างมีอุดมการณ์เพื่อสังคม
สำหรับชีวิตและผลงานอันทรงคุณค่าของศ.นพ.เสมนั้น เป็นสิ่งที่คนรุ่นหลังควรศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผลงานการปราบอหิวาต์ระบาดที่อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เมื่อเรียนจบจากโรงเรียนแพทย์ (พ.ศ.2478) การเป็นผู้บริหารคนแรกของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์หรือ “โฮงยาไทย” (พ.ศ.2480) ที่จังหวัด การก่อตั้งธนาคารเลือดแห่งแรกในประเทศไทย การปราบซิฟิลิสที่ระบาดในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 การผ่าตัดแฝดสยามรายแรกของประเทศไทยที่โรงพยาบาลเด็ก (พ.ศ.2498) การบุกเบิกสร้างโรงพยาบาลในภูมิภาค การก่อกำเนิดการสาธารณสุขมูลฐาน การให้กำเนิดนโยบายแห่งชาติทางด้านยา บัญชียาหลักแห่งชาติ (พ.ศ.2524) เป็นต้น.