อย่าได้แปลกใจที่เวลานี้มีแกนนำเสื้อแดงบางกลุ่มกำลังเคลื่อนไหวขับไล่ ธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช. ภรรยา นพ.เหวงโตจิราการให้พ้นจากตำแหน่ง โดยอ้างเหตุผลเรื่องเผด็จการรวบอำนาจ ไม่ฟังใคร เป็นต้น แต่ถ้าสังเกตให้ดีคนที่ออกมาขับไล่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นเนื้อแท้ของ ทักษิณ และพรรคเพื่อไทย แม้ว่าหลายคนในจำนวนนั้นก่อนหน้านี้เป็นแค่ลิ่วล้อปลายแถว บางคนเป็นแค่เด็กถือกระเป๋า ส.ส.เป็นคนติดตาม ไม่เว้นแม้แต่ ณัฐวุฒิ ใสเกื้อ จตุพร พรหมพันธุ์ คนพวกนี้อยู่ในระดับปลายแถวมาก่อน เพิ่งมาโดดเด่นเป็นที่รู้จักในช่วงชุมนุมเท่านั้น แต่ถึงอย่างไรก็เป็นข้าเก่าเต่าเลี้ยง เมื่อเทียบกับ เหวง-ธิดา ที่มาทีหลัง เข้ากันได้ไม่สนิท มิหนำซ้ำยังมีเป้าหมายบางอย่างที่ไม่เหมือนกันอีกด้วย
เมื่อพิจารณาจากบรรยากาศยามนี้ทำให้รู้สึกเห็นใจและเข้าใจว่าที่นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นอย่างยิ่งว่ากำลังถูกแรงกดดันจากรอบข้างมากขึ้นทุกที นาทีนี้เสียงชื่นชมยินดี อินกับบรรยากาศชัยชนะ หรือเฉลิมฉลองเริ่มลดน้อยถอยหลังไปแล้ว มีแต่อารมณ์คาดหวังตั้งตารอว่าเมื่อไหร่สารพัดนโยบายที่ได้ประกาศให้สัญญาเอาไว้ว่าจะทำทันทีนั้นจะเห็นผลและตกมาถึงตัวชาวบ้านตาดำๆเหล่านั้นเมื่อไหร่กันแน่
ที่สำคัญจะทำได้จริงอย่างที่พูดเอาไว้หรือไม่ !!
เพราะแต่ละนโยบายที่ได้ประกาศเอาไว้ล่วงหน้าล้วนต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ไม่ว่าจะเป็น ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท จบปริญญาตรีรับเงินเดือน 15,000บาทต่อเดือน เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไม่ต่ำกว่า 1,000บาท ราคาข้าวต้องไม่ต่ำกว่าเกวียนละ 15,000 บาท พักหนี้ ลดค่าครองชีพ มาตรการลดภาษี ฯลฯ ล้วนเป็นความหวังที่หลายคนตั้งตารอ โดยเฉพาะบรรดารากหญ้าทั้งหลายที่ “เทให้หมดใจ” เลือกพรรคเพื่อไทยเข้ามาแบบถล่มทลาย
หลายคนกำลังจับตามองว่านโยบายดังกล่าวจะทำได้จริงแค่ไหน เพราะต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล แต่อีกด้านหนึ่งเปรียบรายรับรายจ่ายแล้วไม่สมดุลกัน นั่นคือ รายจ่ายทำท่าจะแซงรายได้เข้าไปทุกทีแล้ว อย่างไรก็ดีมีบางคนพยายามอธิบายว่านโยบายของพรรคเพื่อไทย จะใช้วิธีกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นหลัก เช่น การลดหย่อนภาษีให้ผู้ประกอบการสามารถนำส่วนต่างจากที่เคยเสียภาษีจาก 30 เปอร์เซ็นต์เหลือเพียง 23 เปอร์เซ็นแล้วนำไปจ่ายค่าแรงวันละ 300 บาทได้ หรือเมื่อคนงาน หรือพนักงานบริษัทที่จบปริญญาตรีได้รับเงินเดือน 15,000 บาทต่อเดือนก็สามารถนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นไปใช้จ่าย ทำให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจหลายรอบ มีรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย อะไรประมาณนั้น
อย่างไรก็ดีแม้ว่าหลายคนปรามาสว่าหลายนโยบายของพรรคเพื่อไทยจะเป็นการสร้างปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มากกว่าเป็นการแก้ปัญหาให้กับชาวบ้าน โดยเฉพาะเป็นการสร้างภาระหนี้ของชาวบ้านและบ้านเมืองในอนาคต แต่ขณะเดียวกันก็ต้องให้โอกาสพิสูจน์ฝีมือเสียก่อน ก่อนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ได้เต็มปากเต็มคำในภายหลัง
นอกจากนี้สิ่งที่หลายคนเป็นห่วงก็คือการไร้ประสบการณ์ของผู้นำรัฐบาลคือ ยิ่งลักษณ์ เพราะที่ผ่านมาเธอเพิ่งเปิดตัวลงสู่สนามการเมืองเพียงแค่ 40 วันเท่านั้น แต่ด้วยอาศัยบารมีของพี่ชาย คือ ทักษิณ ชินวัตร จนสามารถพลิกผันชีวิตในชั่วข้ามคืน และแม้จะถูกมองว่าเธอไม่ใช่นายกฯตัวจริง การบริหารงานจะถูกสั่งการทางไกลมาจากดูไบก็ตาม แต่ในฐานะนายกรัฐมนตรีก็ต้องปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
ที่สำคัญเธอจะปฏิเสธที่จะตอบคำถามรายวันไม่ได้ และนี่แหละคือแรงกดดันที่จะต้องรับไปเต็มๆ
ขณะเดียวกันเมื่อหันมาพิจารณาสถานการณ์นับจากนี้ไป เมื่อผ่านพ้นบรรยากาศเลือกตั้ง ก็จะเริ่มย้ายจากภายนอกเข้าสู่เกมการเมืองในสภาเป็นหลัก รวมไปถึงต้องประสานผลประโยชน์ให้กลมกลืนกันทุกกลุ่ม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก ทักษิณ ชินวัตร อยากกุมอำนาจรัฐผ่านทางน้องสาวคนนี้ให้นานที่สุดก็ต้องสรุปบทเรียนในอดีตอีกด้วย
อย่างที่บอกไปตั้งแต่แรกเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน มันก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย ดังจะเห็นจาก 1 ใน 7 ภารกิจเร่งด่วนของพรรคเพื่อไทย ภายใต้การนำของว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกคือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็คือ เรื่อง “ปรองดอง” แม้ว่าในความหมายของคำว่าปรองดองดังกล่าวจะมี “นัยซ่อนเร้น” อยู่ก็ตาม แต่นาทีนี้ก็ต้องไม่ทำให้สังคมเกิดความระแวง และสร้างความใม่พอใจ เกิดแรงกระเพื่อมเสียก่อนโดยไม่จำเป็น ซึ่งเชื่อว่าภายในระยะเวลาอันไกล้พรรคเพื่อไทยจะยังไม่แตะ “ของร้อน” โดยเฉพาะ การผลักดันวาระนิรโทษกรรมขึ้นมาอย่างเร่งด่วนอย่างแน่นอน
ที่น่าจับตาก็คือ น่าจะเกิดแรงกระเพื่อมจากปัญหาภายในพรรคเพื่อไทยมากกว่า เพราะหากสังเกตความเคลื่อนไหวจะพบว่าเริ่มมีการวิ่งเต้นแย่งชิงเก้าอี้รัฐมนตรีกันจ้าละหวั่น ซึ่งมีทั้งโควตาภาค โควตาส่วนตัว รวมทั้งโควตาคนเสื้อแดง สารพัด ต่างฝ่ายต่างก็แสดงพาวเวอร์เพื่อดิ้นรนเข้าสู่อำนาจให้ได้
แต่หากจะต้องเพ่งพิจารณากันเป็นพิเศษในเวลานี้ก็คือความเคลื่อนไหวของ “แกนนำคนเสื้อแดง” ที่เริ่มมองเห็นความขัดแย้งกันอย่างชัดเจน มีทั้งลักษณะขัดแย้งกันเอง และขัดแย้งกับพรรคเพื่อไทย เพราะหากพิจารณาตามธรรมชาติแล้วจะพบว่าในบรรดาคนเสื้อแดงด้วยกันนั้นมีองค์ประกอบปลีกย่อยมากมาย หลายพวกหลายประเภท มีทั้งพวกเนื้อแท้ลูกน้องเก่าในพรรคเพื่อไทย พวกที่เป็นแดงล้มเจ้า พวกที่เข้ามาเกาะเกี่ยวเข้ามาร่วมทางชั่วคราว มีทั้งนักเลงหัวไม้ สารพัด
อย่างไรก็ดีเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป สามารถชนะเลือกตั้งและกำลังจะยึดอำนาจรัฐเข้ามาอยู่ในมือแล้ว เชื่อว่าก็ต้องมีการปรับกระบวนกันใหม่ นาทีนี้เชื่อว่าคนเสื้อแดงต้องเป็นหนึ่งใน “ของร้อน” ที่ต้องหลีกเลี่ยงเอาไว้ก่อน หากไม่ต้องการสร้างเงื่อนไขขัดแย้งขึ้นมาในสังคมโดยเฉพาะกับฝ่ายตรงกันข้าม และที่สำคัญก็คือ ถ้าหากมองลึกเข้าไปในใจของ ทักษิณ ชินวัตร ในยามนี้เชื่อว่าคงต้องการลดบทบาทของ แกนนำคนเสื้อแดงลงไป เพื่อป้องกันการ “ขี่คอ” กดดันพรรคในภายหน้า
ขณะเดียวกันใช่ว่าจะต้องการเขี่ยทิ้งออกไปทั้งหมด เพราะในจำนวนนั้นยังมีลูกน้องเก่าๆ ที่เคยชุบเลี้ยงเอาไว้นานแล้ว คนพวกนี้ก็จำเป็นต้องคงอยู่ และหากสถานการณ์เปลี่ยนไปอีกทางหนึ่งก็ยังจำเป็นต้องเรียกใช้ แต่คงต้องลดบทบาทลงไปโดยปริยาย ซึ่งหลายคนก็ต้องถอดเสื้อไพร่แล้วหันมาใส่สูทเข้าสภาในฐานะ ส.ส.อยู่แล้ว ความจำเป็นในการเคลื่อนไหวข้างถนนจึงน่าจะต้องพักเอาไว้ก่อน
อย่าได้แปลกใจที่เวลานี้มีแกนนำเสื้อแดงบางกลุ่มกำลังเคลื่อนไหวขับไล่ ธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช. ภรรยา นพ.เหวงโตจิราการให้พ้นจากตำแหน่ง โดยอ้างเหตุผลเรื่องเผด็จการรวบอำนาจ ไม่ฟังใคร เป็นต้น แต่ถ้าสังเกตให้ดีคนที่ออกมาขับไล่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นเนื้อแท้ของ ทักษิณ และพรรคเพื่อไทย แม้ว่าหลายคนในจำนวนนั้นก่อนหน้านี้เป็นแค่ลิ่วล้อปลายแถว บางคนเป็นแค่เด็กถือกระเป๋า ส.ส.เป็นคนติดตาม ไม่เว้นแม้แต่ ณัฐวุฒิ ใสเกื้อ จตุพร พรหมพันธุ์ คนพวกนี้อยู่ในระดับปลายแถวมาก่อน เพิ่งมาโดดเด่นเป็นที่รู้จักในช่วงชุมนุมเท่านั้น แต่ถึงอย่างไรก็เป็นข้าเก่าเต่าเลี้ยง เมื่อเทียบกับ เหวง-ธิดา ที่มาทีหลัง เข้ากันได้ไม่สนิท มิหนำซ้ำยังมีเป้าหมายบางอย่างที่ไม่เหมือนกันอีกด้วย
ดังนั้นเมื่อมาถึงทางแยกที่ต้องตัดสินใจ ก็ต้องเลือกเอาว่าจะเขี่ยใครทิ้งไปบ้าง เพื่อตัดสิ่งที่พะรุงพะรังออกไป โดยเฉพาะพวกที่เข้ามาเกาะเกี่ยวหาผลประโยชน์ คงไว้เฉพาะบางกลุ่มที่เป็นลุกน้องเก่าๆเอาไว้เท่านั้น ขณะเดียวกันการเคลื่อนไหวก็ต้องลดบทบาทลงมา เพราะเวลานี้เมื่อปากบอกว่าจะปรองดองก็ต้องทำให้แนบเนียนให้มากที่สุด !!
เมื่อพิจารณาจากบรรยากาศยามนี้ทำให้รู้สึกเห็นใจและเข้าใจว่าที่นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นอย่างยิ่งว่ากำลังถูกแรงกดดันจากรอบข้างมากขึ้นทุกที นาทีนี้เสียงชื่นชมยินดี อินกับบรรยากาศชัยชนะ หรือเฉลิมฉลองเริ่มลดน้อยถอยหลังไปแล้ว มีแต่อารมณ์คาดหวังตั้งตารอว่าเมื่อไหร่สารพัดนโยบายที่ได้ประกาศให้สัญญาเอาไว้ว่าจะทำทันทีนั้นจะเห็นผลและตกมาถึงตัวชาวบ้านตาดำๆเหล่านั้นเมื่อไหร่กันแน่
ที่สำคัญจะทำได้จริงอย่างที่พูดเอาไว้หรือไม่ !!
เพราะแต่ละนโยบายที่ได้ประกาศเอาไว้ล่วงหน้าล้วนต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ไม่ว่าจะเป็น ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท จบปริญญาตรีรับเงินเดือน 15,000บาทต่อเดือน เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไม่ต่ำกว่า 1,000บาท ราคาข้าวต้องไม่ต่ำกว่าเกวียนละ 15,000 บาท พักหนี้ ลดค่าครองชีพ มาตรการลดภาษี ฯลฯ ล้วนเป็นความหวังที่หลายคนตั้งตารอ โดยเฉพาะบรรดารากหญ้าทั้งหลายที่ “เทให้หมดใจ” เลือกพรรคเพื่อไทยเข้ามาแบบถล่มทลาย
หลายคนกำลังจับตามองว่านโยบายดังกล่าวจะทำได้จริงแค่ไหน เพราะต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล แต่อีกด้านหนึ่งเปรียบรายรับรายจ่ายแล้วไม่สมดุลกัน นั่นคือ รายจ่ายทำท่าจะแซงรายได้เข้าไปทุกทีแล้ว อย่างไรก็ดีมีบางคนพยายามอธิบายว่านโยบายของพรรคเพื่อไทย จะใช้วิธีกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นหลัก เช่น การลดหย่อนภาษีให้ผู้ประกอบการสามารถนำส่วนต่างจากที่เคยเสียภาษีจาก 30 เปอร์เซ็นต์เหลือเพียง 23 เปอร์เซ็นแล้วนำไปจ่ายค่าแรงวันละ 300 บาทได้ หรือเมื่อคนงาน หรือพนักงานบริษัทที่จบปริญญาตรีได้รับเงินเดือน 15,000 บาทต่อเดือนก็สามารถนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นไปใช้จ่าย ทำให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจหลายรอบ มีรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย อะไรประมาณนั้น
อย่างไรก็ดีแม้ว่าหลายคนปรามาสว่าหลายนโยบายของพรรคเพื่อไทยจะเป็นการสร้างปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มากกว่าเป็นการแก้ปัญหาให้กับชาวบ้าน โดยเฉพาะเป็นการสร้างภาระหนี้ของชาวบ้านและบ้านเมืองในอนาคต แต่ขณะเดียวกันก็ต้องให้โอกาสพิสูจน์ฝีมือเสียก่อน ก่อนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ได้เต็มปากเต็มคำในภายหลัง
นอกจากนี้สิ่งที่หลายคนเป็นห่วงก็คือการไร้ประสบการณ์ของผู้นำรัฐบาลคือ ยิ่งลักษณ์ เพราะที่ผ่านมาเธอเพิ่งเปิดตัวลงสู่สนามการเมืองเพียงแค่ 40 วันเท่านั้น แต่ด้วยอาศัยบารมีของพี่ชาย คือ ทักษิณ ชินวัตร จนสามารถพลิกผันชีวิตในชั่วข้ามคืน และแม้จะถูกมองว่าเธอไม่ใช่นายกฯตัวจริง การบริหารงานจะถูกสั่งการทางไกลมาจากดูไบก็ตาม แต่ในฐานะนายกรัฐมนตรีก็ต้องปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
ที่สำคัญเธอจะปฏิเสธที่จะตอบคำถามรายวันไม่ได้ และนี่แหละคือแรงกดดันที่จะต้องรับไปเต็มๆ
ขณะเดียวกันเมื่อหันมาพิจารณาสถานการณ์นับจากนี้ไป เมื่อผ่านพ้นบรรยากาศเลือกตั้ง ก็จะเริ่มย้ายจากภายนอกเข้าสู่เกมการเมืองในสภาเป็นหลัก รวมไปถึงต้องประสานผลประโยชน์ให้กลมกลืนกันทุกกลุ่ม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก ทักษิณ ชินวัตร อยากกุมอำนาจรัฐผ่านทางน้องสาวคนนี้ให้นานที่สุดก็ต้องสรุปบทเรียนในอดีตอีกด้วย
อย่างที่บอกไปตั้งแต่แรกเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน มันก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย ดังจะเห็นจาก 1 ใน 7 ภารกิจเร่งด่วนของพรรคเพื่อไทย ภายใต้การนำของว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกคือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็คือ เรื่อง “ปรองดอง” แม้ว่าในความหมายของคำว่าปรองดองดังกล่าวจะมี “นัยซ่อนเร้น” อยู่ก็ตาม แต่นาทีนี้ก็ต้องไม่ทำให้สังคมเกิดความระแวง และสร้างความใม่พอใจ เกิดแรงกระเพื่อมเสียก่อนโดยไม่จำเป็น ซึ่งเชื่อว่าภายในระยะเวลาอันไกล้พรรคเพื่อไทยจะยังไม่แตะ “ของร้อน” โดยเฉพาะ การผลักดันวาระนิรโทษกรรมขึ้นมาอย่างเร่งด่วนอย่างแน่นอน
ที่น่าจับตาก็คือ น่าจะเกิดแรงกระเพื่อมจากปัญหาภายในพรรคเพื่อไทยมากกว่า เพราะหากสังเกตความเคลื่อนไหวจะพบว่าเริ่มมีการวิ่งเต้นแย่งชิงเก้าอี้รัฐมนตรีกันจ้าละหวั่น ซึ่งมีทั้งโควตาภาค โควตาส่วนตัว รวมทั้งโควตาคนเสื้อแดง สารพัด ต่างฝ่ายต่างก็แสดงพาวเวอร์เพื่อดิ้นรนเข้าสู่อำนาจให้ได้
แต่หากจะต้องเพ่งพิจารณากันเป็นพิเศษในเวลานี้ก็คือความเคลื่อนไหวของ “แกนนำคนเสื้อแดง” ที่เริ่มมองเห็นความขัดแย้งกันอย่างชัดเจน มีทั้งลักษณะขัดแย้งกันเอง และขัดแย้งกับพรรคเพื่อไทย เพราะหากพิจารณาตามธรรมชาติแล้วจะพบว่าในบรรดาคนเสื้อแดงด้วยกันนั้นมีองค์ประกอบปลีกย่อยมากมาย หลายพวกหลายประเภท มีทั้งพวกเนื้อแท้ลูกน้องเก่าในพรรคเพื่อไทย พวกที่เป็นแดงล้มเจ้า พวกที่เข้ามาเกาะเกี่ยวเข้ามาร่วมทางชั่วคราว มีทั้งนักเลงหัวไม้ สารพัด
อย่างไรก็ดีเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป สามารถชนะเลือกตั้งและกำลังจะยึดอำนาจรัฐเข้ามาอยู่ในมือแล้ว เชื่อว่าก็ต้องมีการปรับกระบวนกันใหม่ นาทีนี้เชื่อว่าคนเสื้อแดงต้องเป็นหนึ่งใน “ของร้อน” ที่ต้องหลีกเลี่ยงเอาไว้ก่อน หากไม่ต้องการสร้างเงื่อนไขขัดแย้งขึ้นมาในสังคมโดยเฉพาะกับฝ่ายตรงกันข้าม และที่สำคัญก็คือ ถ้าหากมองลึกเข้าไปในใจของ ทักษิณ ชินวัตร ในยามนี้เชื่อว่าคงต้องการลดบทบาทของ แกนนำคนเสื้อแดงลงไป เพื่อป้องกันการ “ขี่คอ” กดดันพรรคในภายหน้า
ขณะเดียวกันใช่ว่าจะต้องการเขี่ยทิ้งออกไปทั้งหมด เพราะในจำนวนนั้นยังมีลูกน้องเก่าๆ ที่เคยชุบเลี้ยงเอาไว้นานแล้ว คนพวกนี้ก็จำเป็นต้องคงอยู่ และหากสถานการณ์เปลี่ยนไปอีกทางหนึ่งก็ยังจำเป็นต้องเรียกใช้ แต่คงต้องลดบทบาทลงไปโดยปริยาย ซึ่งหลายคนก็ต้องถอดเสื้อไพร่แล้วหันมาใส่สูทเข้าสภาในฐานะ ส.ส.อยู่แล้ว ความจำเป็นในการเคลื่อนไหวข้างถนนจึงน่าจะต้องพักเอาไว้ก่อน
อย่าได้แปลกใจที่เวลานี้มีแกนนำเสื้อแดงบางกลุ่มกำลังเคลื่อนไหวขับไล่ ธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช. ภรรยา นพ.เหวงโตจิราการให้พ้นจากตำแหน่ง โดยอ้างเหตุผลเรื่องเผด็จการรวบอำนาจ ไม่ฟังใคร เป็นต้น แต่ถ้าสังเกตให้ดีคนที่ออกมาขับไล่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นเนื้อแท้ของ ทักษิณ และพรรคเพื่อไทย แม้ว่าหลายคนในจำนวนนั้นก่อนหน้านี้เป็นแค่ลิ่วล้อปลายแถว บางคนเป็นแค่เด็กถือกระเป๋า ส.ส.เป็นคนติดตาม ไม่เว้นแม้แต่ ณัฐวุฒิ ใสเกื้อ จตุพร พรหมพันธุ์ คนพวกนี้อยู่ในระดับปลายแถวมาก่อน เพิ่งมาโดดเด่นเป็นที่รู้จักในช่วงชุมนุมเท่านั้น แต่ถึงอย่างไรก็เป็นข้าเก่าเต่าเลี้ยง เมื่อเทียบกับ เหวง-ธิดา ที่มาทีหลัง เข้ากันได้ไม่สนิท มิหนำซ้ำยังมีเป้าหมายบางอย่างที่ไม่เหมือนกันอีกด้วย
ดังนั้นเมื่อมาถึงทางแยกที่ต้องตัดสินใจ ก็ต้องเลือกเอาว่าจะเขี่ยใครทิ้งไปบ้าง เพื่อตัดสิ่งที่พะรุงพะรังออกไป โดยเฉพาะพวกที่เข้ามาเกาะเกี่ยวหาผลประโยชน์ คงไว้เฉพาะบางกลุ่มที่เป็นลุกน้องเก่าๆเอาไว้เท่านั้น ขณะเดียวกันการเคลื่อนไหวก็ต้องลดบทบาทลงมา เพราะเวลานี้เมื่อปากบอกว่าจะปรองดองก็ต้องทำให้แนบเนียนให้มากที่สุด !!