ASTVผู้จัดการรายวัน – เอกชนภาคท่องเที่ยวยอมรับ ถ้ารัฐปรับขึ้นค่าแรง กระทบต้นทุนธุรกิจพุ่ง ส่งผลขีดความสามารถทางการแข่งขันลด หวั่นแรงงานต่างชาติทะลักเข้าไทย เหตุมีค่าแรงจูงใจ แนะต้องปรับคุณภาพคน ไปพร้อมกับการทยอยขึ้นค่าแรง อย่าหักดิบ
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานฝ่ายนโยบายสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือสทท. กล่าวว่า มีความกังวลว่านโยบายของพรรคเพื่อไทย ที่จะปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศ และค่าแรงวุฒิปริญญาตรี เริ่มต้นเดือนละ 15,000 บาท หากจะเริ่มทีเดียวในวันที่ 1 ม.ค.55 เป็นต้นไป จะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างแน่นอน เพราะภาคท่องเที่ยวจัดอยู่ในกลุ่มธุรกิจบริการ ที่จะต้องใช้แรงงานมากและต้องเป็นแรงงานคุณภาพ โดยปกติสัดส่วนแรงงานที่ใช้ในธุรกิจท่องเที่ยวจะเป็น 15-20% ของต้นทุนรวม ซึ่งมากกว่าธุรกิจส่งออก และธุรกิจอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิค ที่ใช้แรงงานเพียง ไม่ถึง 10% ต้นทุนรวม
***แนะทยอยปรับขึ้นช่วง 4 ปี ***
ดังนั้นหากรัฐบาลประสงค์จะปรับขึ้นค่าแรง โดยความเห็นของ สทท. มองว่า ควรจะค่อยๆทยอยปรับขึ้นภายใน 4 ปี ตามเทอมของรัฐบาล ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการมีเวลาปรับตัว โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพราะการลดภาษีนิติบุคคล จะมีประโยชน์กับผู้ประกอบการรายใหญ่ มากกว่ารายเล็ก เพราะกิจการมีกำไรมากกว่า
“การขึ้นค่าแรงในอัตราส่วนดังกล่าวข้างต้น ถือเป็นการปรับขึ้นที่เดียวกว่า 50% ซึ่งจะทำให้ต้นทุนก้าวกระโดด และไม่เป็นผลดีกับธุรกิจท่องเที่ยวที่ยังต้องการการแข่งขันสูง”
อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและเงินเดือนวุฒปริญญาตรี จะทำให้เกิดการไหลเข้าของแรงงานต่างชาติเพิ่มมากขึ้นในโอกาสที่เปิดเสรีอาเซียน เพราะเป็นอัตราค่าจ้างที่จูงใจให้ต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยเฉพาะแรงงานจากประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งพูดภาษาอังกฤษได้ดีกว่าคนไทยมาก ก็จะเข้ามาแย่งตำแหน่งงานคนไทย ทางที่ดี
เราควรมีการปรับคุณภาพบุคคลากร ไปพร้อมๆกับการทยอยปรับขึ้นค่าแรง เพื่อให้เกิดความสมดุล ซึ่งสทท. จะนำประเด็นนี้ เป็นหนึ่งในหลายข้อ ที่ สทท.จะเสนอต่อรัฐบาลใหม่ ประกอบการพิจารณาจัดทำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว
***ขอดูสิทธิประโยชน์ก่อนโวย
ทางด้านนายเจริญ วังอนานนท์ นายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว หรือ ทีทีเอเอ กล่าวว่า ในส่วนของค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 300 บาท จะไม่กระทบต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยวมากนัก เพราะส่วนใหญ่เป็นแรงงานคุณภาพที่มีอัตราจ้างเกินกว่าอยู่แล้ว แต่เงินเดือนปริญญาตรีจบใหม่ 15,000 บาทต่อเดือน มีผลกระทบต่อการทำธุรกิจแน่นอน เพราะธุรกิจท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะจ้างแรงงานวุฒิปริญญาตรี
เมื่อเด็กใหม่ฐานเงินเดือนสูงขึ้น ก็จะต้องขยับฐานพนักงานเก่าด้วย จึงถือเป็นภาระที่หนักมาก แต่ทั้งนี้ คงต้องขอดูในรายละเอียดของของนโยบายให้ชัดเจนก่อน ว่าเมื่อขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแล้ว รัฐบาลจะให้สิทธิประโยชน์อะไรแก่ผู้ประกอบการบ้าง สามารถหักลบกับต้นทุนในส่วนของค่าจ้างที่จะเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ เพราะ 70% ของธุรกิจนำเที่ยว คือค่าจ้างพนักงาน
***ชี้ค่าทัวร์ปลายน้ำ***
นายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว หรือ แอตต้า กล่าวว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้ต้นทุนของทุกอย่างเพิ่มสูงขึ้น ในส่วนของภาคธุรกิจท่องเที่ยวที่จะกระทบอย่างเห็นได้ชัด เช่น ต้นทุนวัตถุดิบประกอบอาหาร ของโรงแรมจะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้โรงแรมต้องปรับขึ้นค่าห้องพัก สายการบินก็ต้องปรับขึ้นราคาตั๋ว ทั้งหมดจึงทำให้ ผู้ประกอบการทัวร์ก็ต้องปรับขึ้นราคาแพกเกจทัวร์ ตามต้นทุนที่แท้จริง
“ประเทศไทยยังไม่พร้อมที่จะปรับขึ้นค่าแรงให้สูงขนาดนั้น เพราะคุณภาพของบุคคลากรในการทำงานยังไปไม่ถึง ทางที่ดี ควรเพิ่มขีดความสามารถคน แล้วปรับขึ้นค่าแรงตามความเหมาะสมจะดีกว่า” นายกแอตต้ากล่าว
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานฝ่ายนโยบายสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือสทท. กล่าวว่า มีความกังวลว่านโยบายของพรรคเพื่อไทย ที่จะปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศ และค่าแรงวุฒิปริญญาตรี เริ่มต้นเดือนละ 15,000 บาท หากจะเริ่มทีเดียวในวันที่ 1 ม.ค.55 เป็นต้นไป จะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างแน่นอน เพราะภาคท่องเที่ยวจัดอยู่ในกลุ่มธุรกิจบริการ ที่จะต้องใช้แรงงานมากและต้องเป็นแรงงานคุณภาพ โดยปกติสัดส่วนแรงงานที่ใช้ในธุรกิจท่องเที่ยวจะเป็น 15-20% ของต้นทุนรวม ซึ่งมากกว่าธุรกิจส่งออก และธุรกิจอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิค ที่ใช้แรงงานเพียง ไม่ถึง 10% ต้นทุนรวม
***แนะทยอยปรับขึ้นช่วง 4 ปี ***
ดังนั้นหากรัฐบาลประสงค์จะปรับขึ้นค่าแรง โดยความเห็นของ สทท. มองว่า ควรจะค่อยๆทยอยปรับขึ้นภายใน 4 ปี ตามเทอมของรัฐบาล ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการมีเวลาปรับตัว โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพราะการลดภาษีนิติบุคคล จะมีประโยชน์กับผู้ประกอบการรายใหญ่ มากกว่ารายเล็ก เพราะกิจการมีกำไรมากกว่า
“การขึ้นค่าแรงในอัตราส่วนดังกล่าวข้างต้น ถือเป็นการปรับขึ้นที่เดียวกว่า 50% ซึ่งจะทำให้ต้นทุนก้าวกระโดด และไม่เป็นผลดีกับธุรกิจท่องเที่ยวที่ยังต้องการการแข่งขันสูง”
อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและเงินเดือนวุฒปริญญาตรี จะทำให้เกิดการไหลเข้าของแรงงานต่างชาติเพิ่มมากขึ้นในโอกาสที่เปิดเสรีอาเซียน เพราะเป็นอัตราค่าจ้างที่จูงใจให้ต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยเฉพาะแรงงานจากประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งพูดภาษาอังกฤษได้ดีกว่าคนไทยมาก ก็จะเข้ามาแย่งตำแหน่งงานคนไทย ทางที่ดี
เราควรมีการปรับคุณภาพบุคคลากร ไปพร้อมๆกับการทยอยปรับขึ้นค่าแรง เพื่อให้เกิดความสมดุล ซึ่งสทท. จะนำประเด็นนี้ เป็นหนึ่งในหลายข้อ ที่ สทท.จะเสนอต่อรัฐบาลใหม่ ประกอบการพิจารณาจัดทำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว
***ขอดูสิทธิประโยชน์ก่อนโวย
ทางด้านนายเจริญ วังอนานนท์ นายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว หรือ ทีทีเอเอ กล่าวว่า ในส่วนของค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 300 บาท จะไม่กระทบต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยวมากนัก เพราะส่วนใหญ่เป็นแรงงานคุณภาพที่มีอัตราจ้างเกินกว่าอยู่แล้ว แต่เงินเดือนปริญญาตรีจบใหม่ 15,000 บาทต่อเดือน มีผลกระทบต่อการทำธุรกิจแน่นอน เพราะธุรกิจท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะจ้างแรงงานวุฒิปริญญาตรี
เมื่อเด็กใหม่ฐานเงินเดือนสูงขึ้น ก็จะต้องขยับฐานพนักงานเก่าด้วย จึงถือเป็นภาระที่หนักมาก แต่ทั้งนี้ คงต้องขอดูในรายละเอียดของของนโยบายให้ชัดเจนก่อน ว่าเมื่อขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแล้ว รัฐบาลจะให้สิทธิประโยชน์อะไรแก่ผู้ประกอบการบ้าง สามารถหักลบกับต้นทุนในส่วนของค่าจ้างที่จะเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ เพราะ 70% ของธุรกิจนำเที่ยว คือค่าจ้างพนักงาน
***ชี้ค่าทัวร์ปลายน้ำ***
นายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว หรือ แอตต้า กล่าวว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้ต้นทุนของทุกอย่างเพิ่มสูงขึ้น ในส่วนของภาคธุรกิจท่องเที่ยวที่จะกระทบอย่างเห็นได้ชัด เช่น ต้นทุนวัตถุดิบประกอบอาหาร ของโรงแรมจะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้โรงแรมต้องปรับขึ้นค่าห้องพัก สายการบินก็ต้องปรับขึ้นราคาตั๋ว ทั้งหมดจึงทำให้ ผู้ประกอบการทัวร์ก็ต้องปรับขึ้นราคาแพกเกจทัวร์ ตามต้นทุนที่แท้จริง
“ประเทศไทยยังไม่พร้อมที่จะปรับขึ้นค่าแรงให้สูงขนาดนั้น เพราะคุณภาพของบุคคลากรในการทำงานยังไปไม่ถึง ทางที่ดี ควรเพิ่มขีดความสามารถคน แล้วปรับขึ้นค่าแรงตามความเหมาะสมจะดีกว่า” นายกแอตต้ากล่าว