ก่อนหน้าวันเลือกตั้งทั่วไป 3 กรกฎาคม 2554 จะเกิดขึ้น2-3 เดือนมาแล้ว ผลสำรวจโพลทุกสถาบันพยากรณ์ชัยชนะของพรรคเพื่อไทย ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ตั้งหน้าตั้งตาหาเสียงสู้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งกำลังจะเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทยและอาเซียน ในขณะที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ปากแข็ง แถลงชัยชนะของพรรคประชาธิปัตย์ตลอดเวลา กลุ่มต่อต้านระบอบทักษิณอยู่ในฐานะสับสนมากเพราะว่าไม่รู้จะเลือกพรรคอะไร พรรคประชาธิปัตย์หรือ Vote No แต่เมื่อสิ้นสุดการลงคะแนนและเปิดหีบบัตร สัญญาณชัยชนะของพรรคเพื่อไทยก็เข้มข้นขึ้น จนในที่สุดนายอภิสิทธิ์เองก็ยอมรับความพ่ายแพ้ และทำตามปกาศิตของตนประกาศลาออก
ไม่ใช่ซ้ำเติมความตั้งใจของนายอภิสิทธิ์หรือสมน้ำหน้านายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์แต่อยากจะวิเคราะห์ย้อนหลังถึงสัญญาณความพ่ายแพ้ของพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งๆ ที่มีโอกาสชนะด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น พฤติกรรมชั่วของคนเสื้อแดงที่เป็นแกนกำลังของทักษิณ หรือประเด็นที่คนส่วนใหญ่ซึ่งรักความชอบธรรมต่อต้านพฤติกรรมทุจริตคอร์รัปชันของทักษิณ หรือแม้กระทั่งวาระซ้อนเร้นของทักษิณ นางสาวยิ่งลักษณ์ และครอบครัว รวมทั้งสาวกที่เป็นหนี้ทักษิณจะปูทางกลับบ้านให้ทักษิณโดยไม่ต้องรับอาญาโทษที่กระทำความผิดกฎหมาย
นายอภิสิทธิ์เป็นคนดีที่มีความตั้งใจสูงส่ง ปรารถนาที่จะสร้างประชาธิปไตย และระบอบการเมืองตามอุดมการณ์และประสบการณ์ของตนที่ถูกหล่อหลอมตามแบบอังกฤษและนายชวน หลีกภัย แต่ล้มเหลวเพราะขาดหลักความอ่อนตัวหลายประการ จึงต้องพ่ายแพ้การเลือกตั้ง 2554 และไม่อาจจะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกวาระหนึ่ง เยี่ยงบุพการีของพรรคท่านอื่นๆ เช่น พันตรีควง อภัยวงศ์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และนายชวน หลีกภัย
พรรคประชาธิปัตย์ อันหมายความว่า ประชาชนผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย ก่อกำเนิดขึ้นเป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและอาเซียน เมื่อปี พ.ศ. 2489 มีหัวหน้าพรรคมาแล้ว 7 คน เป็นนายกรัฐมนตรี 4 คน ได้แก่ พันตรีควง ผู้ก่อตั้ง เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของพรรคและบริหารประเทศ 4 สมัย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี 4 สมัย ส่วนนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี 2 สมัย หากไม่เกิดคดี ส.ป.ก.4-01 ก็อาจจะมีโอกาสเป็นมากสมัย พรรคประชาธิปัตย์บันทึกไว้ว่า พรรคได้ผ่านช่วงเวลาการเมืองมา 5 ยุค ยุคที่ 1 ระหว่าง พ.ศ. 2489-2501 เป็นช่วงก่อตั้งพรรค เพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่มีกำลังรัฐตำรวจของ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นกำลังหลัก และมีกลุ่มทหาร 3 เหล่าทัพเป็นฐาน
ในยุคที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2511-2519 เป็นยุคเชิดชูประชาธิปไตย ต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร และถูกตราหน้าว่าเป็นพวกนิยมซ้ายคอมมิวนิสต์ ในยุคที่ 3 ระหว่าง พ.ศ. 2522-2533 ก็ต้องเป็นฝ่ายค้านรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ แต่พลิกผันเข้าร่วมรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และต่อมาร่วมรัฐบาลกับพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ในยุคที่ 4 ระหว่าง พ.ศ.2533-2544 หลัง รสช.ยึดอำนาจ และมีการเลือกตั้งเกิดวิกฤตการเมือง 17 พฤษภาคม 2535 พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มซ้ายและพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ โค่นรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร
ส่วนในยุคที่ 5 ระหว่าง พ.ศ. 2544-2551 เป็นพรรคฝ่ายค้านแพ้การเลือกตั้งพรรคไทยรักไทยของทักษิณอย่างหมดรูป และตั้งตัวต่อสู้กับเผด็จการรัฐสภาด้วย ส.ส.เพียง 128 คน ขณะที่ทักษิณซื้อพรรคเล็กพรรคน้อย เช่น พรรคความหวังใหม่ เสรีธรรม และชาติพัฒนา จนได้เสียง ส.ส.ในสภานิติบัญญัติถึง 319 เสียง ครองอำนาจรัฐแบบเบ็ดเสร็จ
บัดนี้ ประวัตินั้นก็ย้อนกลับมาเหมือนเช่นที่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับรสมาแล้ว เมื่อเพียงทศวรรษที่ผ่านมาเท่านี้เอง และอาจจะทำให้พรรคประชาธิปัตย์หมดโอกาสที่จะกลับมาบริหารประเทศอีกก็เป็นได้
หากวิเคราะห์วิกฤตของพรรคประชาธิปัตย์ในสายตาของสาธารณชนกลุ่มรักชาติ คงไม่มีอะไรเกินไปกว่ากรณีสัญญา MOU 43 ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ยอมอ่อนตัวรับหลักการของประชาชน ไปปรับเปลี่ยนเนื้อหาในสัญญาฉบับนั้น ว่าด้วยมาตราส่วนแผนที่กับกัมพูชา เพราะถือว่าเป็นสัญญาที่พรรคประชาธิปัตย์โดยนายชวนเป็นผู้ลงนาม
การที่นายอภิสิทธิ์ ไม่แสดงความเด็ดขาดกับการทุจริต คอร์รัปชัน และพวกหมิ่นสถาบันอย่างเอาจริงเอาจัง เพื่อดำรงไว้ซึ่งความชอบธรรม และอุดมการณ์จงรักภักดี เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มีกลไกอะไรไปต่อสู้กับพวกล้มสถาบันหรือตั้งใจที่จะลดพระราชอำนาจตามนิติประเพณีการปกครองของไทย
รัฐบาลอภิสิทธิ์ขาดการรวดเร็วในการแก้ปัญหา ตามสถานการณ์ต่างๆ ทั้งๆ ที่มีอำนาจในการบริหารจัดการกลับไม่ใช้กลไกของรัฐในการพยากรณ์เหตุการณ์ หรือไม่เชื่อการประเมินสถานการณ์ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม พวกล้มสถาบันและภัยธรรมชาติ นายอภิสิทธิ์ เล่นการเมืองมากไป จนหมดภาวะผู้นำ มีหลายกรณีที่ปล่อยให้เป็นมติของพรรคร่วมรัฐบาล เป็นใหญ่ในการตัดสินตกลงใจ แต่ละเลยไม่ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีในการปรับปรุงเปลี่ยน แปลงและตัดสินใจให้เป็นไปตามครรลองความชอบธรรมและถูกต้องตามสถานการณ์
นายอภิสิทธิ์ทำตัวห่างเหินกับทหารและตำรวจในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ไม่เคยไปเยี่ยมเยียนหน่วยทหาร สร้างความอบอุ่น ขวัญและกำลังใจให้กับหน่วยทหารเพราะเกรงจะถูกประณามว่าเอาใจทหาร ทั้งๆ ที่เป็นหน้าที่ของหัวหน้าฝ่ายบริหาร รวมทั้งมีบุคคลที่ใกล้ชิดกับฝ่ายทหารแต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์นั้น
ประเด็นสุดท้ายและสำคัญยิ่งที่นายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ต้องจดจำ เพราะดูแคลนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เคยมีสมาชิกพรรคร่วมรักษาแนวการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์มาตลอดตั้งแต่ พ.ศ. 2547 จนกระทั่งตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ 1
Vote No 4 เปอร์เซ็นต์จากผลการเลือกตั้งเห็นได้ว่า นายอภิสิทธิ์ทิ้งเสียงซึ่งควรจะเป็นเสียงสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์หลังจากที่เกิดวิกฤตในพรรคการเมืองใหม่ จึงนับได้ว่าเป็นความเขลาทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นบทเรียนทางการเมืองที่สำคัญยิ่งของพรรคประชาธิปัตย์อย่างแน่นอน
ไม่ใช่ซ้ำเติมความตั้งใจของนายอภิสิทธิ์หรือสมน้ำหน้านายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์แต่อยากจะวิเคราะห์ย้อนหลังถึงสัญญาณความพ่ายแพ้ของพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งๆ ที่มีโอกาสชนะด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น พฤติกรรมชั่วของคนเสื้อแดงที่เป็นแกนกำลังของทักษิณ หรือประเด็นที่คนส่วนใหญ่ซึ่งรักความชอบธรรมต่อต้านพฤติกรรมทุจริตคอร์รัปชันของทักษิณ หรือแม้กระทั่งวาระซ้อนเร้นของทักษิณ นางสาวยิ่งลักษณ์ และครอบครัว รวมทั้งสาวกที่เป็นหนี้ทักษิณจะปูทางกลับบ้านให้ทักษิณโดยไม่ต้องรับอาญาโทษที่กระทำความผิดกฎหมาย
นายอภิสิทธิ์เป็นคนดีที่มีความตั้งใจสูงส่ง ปรารถนาที่จะสร้างประชาธิปไตย และระบอบการเมืองตามอุดมการณ์และประสบการณ์ของตนที่ถูกหล่อหลอมตามแบบอังกฤษและนายชวน หลีกภัย แต่ล้มเหลวเพราะขาดหลักความอ่อนตัวหลายประการ จึงต้องพ่ายแพ้การเลือกตั้ง 2554 และไม่อาจจะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกวาระหนึ่ง เยี่ยงบุพการีของพรรคท่านอื่นๆ เช่น พันตรีควง อภัยวงศ์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และนายชวน หลีกภัย
พรรคประชาธิปัตย์ อันหมายความว่า ประชาชนผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย ก่อกำเนิดขึ้นเป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและอาเซียน เมื่อปี พ.ศ. 2489 มีหัวหน้าพรรคมาแล้ว 7 คน เป็นนายกรัฐมนตรี 4 คน ได้แก่ พันตรีควง ผู้ก่อตั้ง เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของพรรคและบริหารประเทศ 4 สมัย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี 4 สมัย ส่วนนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี 2 สมัย หากไม่เกิดคดี ส.ป.ก.4-01 ก็อาจจะมีโอกาสเป็นมากสมัย พรรคประชาธิปัตย์บันทึกไว้ว่า พรรคได้ผ่านช่วงเวลาการเมืองมา 5 ยุค ยุคที่ 1 ระหว่าง พ.ศ. 2489-2501 เป็นช่วงก่อตั้งพรรค เพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่มีกำลังรัฐตำรวจของ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นกำลังหลัก และมีกลุ่มทหาร 3 เหล่าทัพเป็นฐาน
ในยุคที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2511-2519 เป็นยุคเชิดชูประชาธิปไตย ต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร และถูกตราหน้าว่าเป็นพวกนิยมซ้ายคอมมิวนิสต์ ในยุคที่ 3 ระหว่าง พ.ศ. 2522-2533 ก็ต้องเป็นฝ่ายค้านรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ แต่พลิกผันเข้าร่วมรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และต่อมาร่วมรัฐบาลกับพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ในยุคที่ 4 ระหว่าง พ.ศ.2533-2544 หลัง รสช.ยึดอำนาจ และมีการเลือกตั้งเกิดวิกฤตการเมือง 17 พฤษภาคม 2535 พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มซ้ายและพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ โค่นรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร
ส่วนในยุคที่ 5 ระหว่าง พ.ศ. 2544-2551 เป็นพรรคฝ่ายค้านแพ้การเลือกตั้งพรรคไทยรักไทยของทักษิณอย่างหมดรูป และตั้งตัวต่อสู้กับเผด็จการรัฐสภาด้วย ส.ส.เพียง 128 คน ขณะที่ทักษิณซื้อพรรคเล็กพรรคน้อย เช่น พรรคความหวังใหม่ เสรีธรรม และชาติพัฒนา จนได้เสียง ส.ส.ในสภานิติบัญญัติถึง 319 เสียง ครองอำนาจรัฐแบบเบ็ดเสร็จ
บัดนี้ ประวัตินั้นก็ย้อนกลับมาเหมือนเช่นที่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับรสมาแล้ว เมื่อเพียงทศวรรษที่ผ่านมาเท่านี้เอง และอาจจะทำให้พรรคประชาธิปัตย์หมดโอกาสที่จะกลับมาบริหารประเทศอีกก็เป็นได้
หากวิเคราะห์วิกฤตของพรรคประชาธิปัตย์ในสายตาของสาธารณชนกลุ่มรักชาติ คงไม่มีอะไรเกินไปกว่ากรณีสัญญา MOU 43 ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ยอมอ่อนตัวรับหลักการของประชาชน ไปปรับเปลี่ยนเนื้อหาในสัญญาฉบับนั้น ว่าด้วยมาตราส่วนแผนที่กับกัมพูชา เพราะถือว่าเป็นสัญญาที่พรรคประชาธิปัตย์โดยนายชวนเป็นผู้ลงนาม
การที่นายอภิสิทธิ์ ไม่แสดงความเด็ดขาดกับการทุจริต คอร์รัปชัน และพวกหมิ่นสถาบันอย่างเอาจริงเอาจัง เพื่อดำรงไว้ซึ่งความชอบธรรม และอุดมการณ์จงรักภักดี เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มีกลไกอะไรไปต่อสู้กับพวกล้มสถาบันหรือตั้งใจที่จะลดพระราชอำนาจตามนิติประเพณีการปกครองของไทย
รัฐบาลอภิสิทธิ์ขาดการรวดเร็วในการแก้ปัญหา ตามสถานการณ์ต่างๆ ทั้งๆ ที่มีอำนาจในการบริหารจัดการกลับไม่ใช้กลไกของรัฐในการพยากรณ์เหตุการณ์ หรือไม่เชื่อการประเมินสถานการณ์ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม พวกล้มสถาบันและภัยธรรมชาติ นายอภิสิทธิ์ เล่นการเมืองมากไป จนหมดภาวะผู้นำ มีหลายกรณีที่ปล่อยให้เป็นมติของพรรคร่วมรัฐบาล เป็นใหญ่ในการตัดสินตกลงใจ แต่ละเลยไม่ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีในการปรับปรุงเปลี่ยน แปลงและตัดสินใจให้เป็นไปตามครรลองความชอบธรรมและถูกต้องตามสถานการณ์
นายอภิสิทธิ์ทำตัวห่างเหินกับทหารและตำรวจในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ไม่เคยไปเยี่ยมเยียนหน่วยทหาร สร้างความอบอุ่น ขวัญและกำลังใจให้กับหน่วยทหารเพราะเกรงจะถูกประณามว่าเอาใจทหาร ทั้งๆ ที่เป็นหน้าที่ของหัวหน้าฝ่ายบริหาร รวมทั้งมีบุคคลที่ใกล้ชิดกับฝ่ายทหารแต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์นั้น
ประเด็นสุดท้ายและสำคัญยิ่งที่นายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ต้องจดจำ เพราะดูแคลนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เคยมีสมาชิกพรรคร่วมรักษาแนวการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์มาตลอดตั้งแต่ พ.ศ. 2547 จนกระทั่งตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ 1
Vote No 4 เปอร์เซ็นต์จากผลการเลือกตั้งเห็นได้ว่า นายอภิสิทธิ์ทิ้งเสียงซึ่งควรจะเป็นเสียงสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์หลังจากที่เกิดวิกฤตในพรรคการเมืองใหม่ จึงนับได้ว่าเป็นความเขลาทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นบทเรียนทางการเมืองที่สำคัญยิ่งของพรรคประชาธิปัตย์อย่างแน่นอน