อำนาจต่อรองของประชาชนใช่ฉายชัดผ่าน ‘คะแนนเสียง’ เลือกพรรคการเมืองเพื่อมาเป็นรัฐบาลผ่านความพึงพอใจในนโนบาย อุดมการณ์ หรือตัวบุคคลแล้วก็จบกันเท่านั้น ทว่ายังต้องปฏิบัติการเจรจาต่อรองต่อเนื่องเพื่อจะเข้าถึงสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนด้วย เนื่องจากพรรคการเมืองส่วนมากมักละเลยนโยบายภายหลังได้รับเลือกตั้งไปแล้ว ไม่นับว่านโยบายทั้งหลายล้วนแต่ขายฝันประชานิยมที่ไม่ได้แก้ไขหรือแม้แต่แตะต้องปัญหาโครงสร้างสังคมที่กร่อนคุณภาพชีวิตผู้คนแต่อย่างใด
นัยของการปฏิรูปคุณภาพชีวิตประชาชนท่ามกลางซากปรักหักพังแตกแยกขัดแย้งและล้มเหลวในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมจึงจำเป็นต้องวางอยู่บนมโนทัศน์ที่เปิดโอกาสแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน มีความยุติธรรมเสมอภาค และเปิดกว้างให้ทุกคนที่มีความคิด วัฒนธรรม และลักษณะผลประโยชน์ที่แตกต่างกันสามารถพัฒนาศักยภาพได้สูงสุดเป็นสำคัญ โดยเฉพาะกับกลุ่มปลายอ้อปลายแขมที่ถูกอำนาจระดับต่างๆ กดทับผ่านการบังคับใช้กฎหมายสองมาตรฐาน การกำหนดนโยบายรัฐที่ทั้งเอื้อทุนและข่มขู่คุกคาม รวมทั้งยังต้องเปิดพื้นที่สาธารณะสำหรับการเจรจาต่อรองของประชาชนเพื่อเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของข้อเรียกร้องเสนอแนะรัฐบาลหรือการชุมนุมสาธารณะ
สภาวการณ์วิกฤตเช่นนี้ทำให้ไม่อาจเลี่ยงการปรับโครงสร้างอำนาจโดยการจัดสัมพันธภาพเชิงอำนาจเสียใหม่ให้เกิด ‘ดุลยภาพ’ ระหว่างรัฐ ทุน และสังคม สูงสุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่อาจปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งถึงจะเป็นฉบับที่เปิดพื้นที่การต่อรองอย่างกว้างขวางแก่กลุ่มคนต่างๆ หรือใครคนใดคนหนึ่งซึ่งถูกวาดภาพเป็นอัศวินขี่ม้าขาว หรือรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่งซึ่งมาจากเสียงข้างมากของประชาชนก็ตามที เพราะว่าวิกฤตการณ์นี้เกี่ยวร้อยรากเหง้าปัญหานานัปการของสังคมไทยไว้อย่างสลับซับซ้อนและยึดโยงทุกกลุ่มคนในสังคมเข้าด้วยกันตามที่คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) สรุปว่าปัญหาของประเทศไทยเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่เชื่อมโยงกันเองและก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำรุนแรงสุดขั้ว การปฏิรูปประเทศไทยจะไม่ได้ผลอะไรตราบใดไม่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างซึ่งบกพร่องเหล่านั้นทั้งระบบ
ด้วยเมื่อโครงสร้างการจัดสรรอำนาจกีดกันกดทับคนส่วนใหญ่ในสังคมให้เข้าไม่ถึงหรือเข้าถึง ‘ทรัพยากรธรรมชาติ-เศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง’ ได้ไม่เท่าเทียมกัน โอกาสจะพัฒนาศักยภาพจากเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง จึงไม่เท่าเทียมกันตามไปด้วยโดยปริยาย มิเช่นนั้นตลอดสายธารการพัฒนาเศรษฐกิจและประชาธิปไตยคนไทยส่วนใหญ่ไยยังคงถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพและยากจนข้นแค้นเสมอต้นเสมอปลายจนกลายเป็นปรากฏการณ์ ‘รวยกระจุกจนกระจาย’ ที่กลุ่มคนรวยสุดมีทรัพย์สินครัวเรือนถึงร้อยละ 69 และส่วนแบ่งรายได้ร้อยละ 55 ขณะที่กลุ่มคนจนสุดมีทรัพย์สินครัวเรือนแค่ร้อยละ 1 และส่วนแบ่งรายได้ร้อยละ 4.4 ที่สำคัญที่ดินที่เป็นปัจจัยสำคัญของทุกชีวิตก็ถูกผูกขาดขึ้นมากโดยกลุ่มทุนและการเมือง
ภารกิจร่วมสร้างอำนาจต่อรอง (negotiation) ของภาคประชาชนเพื่อจะเข้าถึงและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ-เศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง จึงจำเป็นยิ่งที่ภาครัฐจะต้องเปิดพื้นที่สาธารณะสำหรับคนทุกกลุ่มในการส่งเสียง (voice) แสดงความต้องการหรือสะท้อนความคับข้องหมองใจ ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างกลไกในการเพิ่มอำนาจเจรจาต่อรองแก่กลุ่มที่มีอำนาจน้อยนิดเพื่อผ่อนทอนความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ สิทธิ โอกาส อำนาจ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ที่ถ่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งพังทลายความหวังว่าอนาคตชีวิตตนเองและลูกหลานจะดีขึ้น ขยับฐานะเงยหน้าอ้าปากได้ ไม่ใช่ชั่วครั้งคราวจากการรอรับผลประโยชน์นโยบายประชานิยม (populist) ที่ไม่จีรังยั่งยืนและขึ้นกับว่าพรรคใดเป็นรัฐบาล
การปฏิรูปโครงสร้างโดยทำให้อำนาจการต่อรองกระจายไปยังทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกันจึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนของสังคมไทยในสภาวการณ์ที่ปัจจัยภายในประเทศเปราะบางและพร้อมแตกหักเป็นเงื่อนไขทางการเมืองในนามของการเรียกร้องความเป็นธรรมที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงได้ ในขณะเดียวกันกรอบโลกาภิวัตน์ก็บีบบังคับให้การทำความตกลงทางการค้าเสรีทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคีเป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์รัฐ-ทุน-สังคมต่างชาติและต่อรองบนผลประโยชน์ของคนกลุ่มน้อยที่มีพลังต่อรองภายในสูง จนทำให้ในภาพรวมเป็นสังคมท่วมท้นความเหลื่อมล้ำ ประเทศตกเป็นเบี้ยล่างต่างชาติ ต่างจากอำนาจที่ใกล้เคียงกันย่อมทำให้เกิดการต่อรองที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายได้ในสนามที่ทุกกลุ่มยินดีเข้าร่วมเจรจา
หาไม่แล้วโครงสร้างสังคมอยุติธรรมที่นำความเหลื่อมล้ำสุดขั้วมาสู่ผู้คนที่เข้าไม่ถึงอำนาจต่อรองหรือมีอำนาจต่อรองลดลงเพราะถูกเบียดขับออกจากเวทีไม่เพียงจะทำลายกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้าร่วมตัดสินใจกิจการสาธารณะ มาตรการและนโยบายต่างๆ ตามความต้องการและความจำเป็นแล้ว ยังลดทอนพลังผลิตของสังคมทั้งด้านมูลค่าสินค้าบริการและคุณค่าศิลปะ วิชาความรู้ สติปัญญา และจิตวิญญาณ ที่แฝงเร้นอยู่ในสังคมที่แม้แต่คนเล็กคนน้อยก็มีความสามารถคาดไม่ถึงเหล่านี้
ปฏิบัติการสร้างดุลยภาพทางอำนาจระหว่างรัฐ-ทุน-สังคม ของภาคประชาชนจึงต้องต่อรองเจรจากับพรรคการเมืองที่รวมตัวกันจัดตั้งรัฐบาลให้บริหารประเทศตามแนวนโยบายการสร้างเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนปฏิบัติการต่อรองต่อเนื่องผ่านการรวมกลุ่มและผสานเครือข่ายปฏิรูปด้านรายได้ สิทธิ โอกาส อำนาจ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ที่ทวีความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมขึ้นทุกๆ วัน เพื่อกำกับ ติดตาม และตรวจสอบนโยบายรัฐบาลให้ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชนหรือบริหารทรัพยากรไม่เป็นธรรมถึงแม้จะเป็นรัฐบาลตัวแทนที่เลือกมาก็ตามที เหมือนดังแนวทางการปฏิรูปของ คปร.ที่มุ่งเพิ่มพลังต่อรองของทุกกลุ่มคนในสังคมเพื่อให้เกิดดุลยภาพในการต่อรองทั้งกับกลุ่มอื่นๆ และกับสถานการณ์ความผันผวนในชีวิต โดยการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการทรัพยากรด้านต่างๆ เสียใหม่ให้เกิดความเป็นธรรมเท่าเทียม
ทั้งนี้ ถึงที่สุดแล้วปฏิบัติการสร้างอำนาจต่อรองต่อเนื่องของภาคประชาชนนอกจากจะเป็นกระบวนการปกติของทุกสังคมประชาธิปไตยที่ต้องเปิดกว้างโอกาสและพื้นที่ทุกกลุ่มในการเจรจาต่อรองกับรัฐบาลที่ถือเป็นตัวแทนคนทุกกลุ่มแล้ว ยังเป็นจุดชี้ขาดพัฒนาการทางนโยบายว่ารัฐบาลจะรับผิดชอบต่อประชาชน (accountability) โดยกล้ากำหนดนโยบายที่โปร่งใสไร้คอร์รัปชันอันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจอยุติธรรมตามความต้องการของประชาชนหรือไม่!
นัยของการปฏิรูปคุณภาพชีวิตประชาชนท่ามกลางซากปรักหักพังแตกแยกขัดแย้งและล้มเหลวในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมจึงจำเป็นต้องวางอยู่บนมโนทัศน์ที่เปิดโอกาสแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน มีความยุติธรรมเสมอภาค และเปิดกว้างให้ทุกคนที่มีความคิด วัฒนธรรม และลักษณะผลประโยชน์ที่แตกต่างกันสามารถพัฒนาศักยภาพได้สูงสุดเป็นสำคัญ โดยเฉพาะกับกลุ่มปลายอ้อปลายแขมที่ถูกอำนาจระดับต่างๆ กดทับผ่านการบังคับใช้กฎหมายสองมาตรฐาน การกำหนดนโยบายรัฐที่ทั้งเอื้อทุนและข่มขู่คุกคาม รวมทั้งยังต้องเปิดพื้นที่สาธารณะสำหรับการเจรจาต่อรองของประชาชนเพื่อเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของข้อเรียกร้องเสนอแนะรัฐบาลหรือการชุมนุมสาธารณะ
สภาวการณ์วิกฤตเช่นนี้ทำให้ไม่อาจเลี่ยงการปรับโครงสร้างอำนาจโดยการจัดสัมพันธภาพเชิงอำนาจเสียใหม่ให้เกิด ‘ดุลยภาพ’ ระหว่างรัฐ ทุน และสังคม สูงสุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่อาจปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งถึงจะเป็นฉบับที่เปิดพื้นที่การต่อรองอย่างกว้างขวางแก่กลุ่มคนต่างๆ หรือใครคนใดคนหนึ่งซึ่งถูกวาดภาพเป็นอัศวินขี่ม้าขาว หรือรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่งซึ่งมาจากเสียงข้างมากของประชาชนก็ตามที เพราะว่าวิกฤตการณ์นี้เกี่ยวร้อยรากเหง้าปัญหานานัปการของสังคมไทยไว้อย่างสลับซับซ้อนและยึดโยงทุกกลุ่มคนในสังคมเข้าด้วยกันตามที่คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) สรุปว่าปัญหาของประเทศไทยเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่เชื่อมโยงกันเองและก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำรุนแรงสุดขั้ว การปฏิรูปประเทศไทยจะไม่ได้ผลอะไรตราบใดไม่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างซึ่งบกพร่องเหล่านั้นทั้งระบบ
ด้วยเมื่อโครงสร้างการจัดสรรอำนาจกีดกันกดทับคนส่วนใหญ่ในสังคมให้เข้าไม่ถึงหรือเข้าถึง ‘ทรัพยากรธรรมชาติ-เศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง’ ได้ไม่เท่าเทียมกัน โอกาสจะพัฒนาศักยภาพจากเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง จึงไม่เท่าเทียมกันตามไปด้วยโดยปริยาย มิเช่นนั้นตลอดสายธารการพัฒนาเศรษฐกิจและประชาธิปไตยคนไทยส่วนใหญ่ไยยังคงถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพและยากจนข้นแค้นเสมอต้นเสมอปลายจนกลายเป็นปรากฏการณ์ ‘รวยกระจุกจนกระจาย’ ที่กลุ่มคนรวยสุดมีทรัพย์สินครัวเรือนถึงร้อยละ 69 และส่วนแบ่งรายได้ร้อยละ 55 ขณะที่กลุ่มคนจนสุดมีทรัพย์สินครัวเรือนแค่ร้อยละ 1 และส่วนแบ่งรายได้ร้อยละ 4.4 ที่สำคัญที่ดินที่เป็นปัจจัยสำคัญของทุกชีวิตก็ถูกผูกขาดขึ้นมากโดยกลุ่มทุนและการเมือง
ภารกิจร่วมสร้างอำนาจต่อรอง (negotiation) ของภาคประชาชนเพื่อจะเข้าถึงและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ-เศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง จึงจำเป็นยิ่งที่ภาครัฐจะต้องเปิดพื้นที่สาธารณะสำหรับคนทุกกลุ่มในการส่งเสียง (voice) แสดงความต้องการหรือสะท้อนความคับข้องหมองใจ ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างกลไกในการเพิ่มอำนาจเจรจาต่อรองแก่กลุ่มที่มีอำนาจน้อยนิดเพื่อผ่อนทอนความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ สิทธิ โอกาส อำนาจ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ที่ถ่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งพังทลายความหวังว่าอนาคตชีวิตตนเองและลูกหลานจะดีขึ้น ขยับฐานะเงยหน้าอ้าปากได้ ไม่ใช่ชั่วครั้งคราวจากการรอรับผลประโยชน์นโยบายประชานิยม (populist) ที่ไม่จีรังยั่งยืนและขึ้นกับว่าพรรคใดเป็นรัฐบาล
การปฏิรูปโครงสร้างโดยทำให้อำนาจการต่อรองกระจายไปยังทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกันจึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนของสังคมไทยในสภาวการณ์ที่ปัจจัยภายในประเทศเปราะบางและพร้อมแตกหักเป็นเงื่อนไขทางการเมืองในนามของการเรียกร้องความเป็นธรรมที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงได้ ในขณะเดียวกันกรอบโลกาภิวัตน์ก็บีบบังคับให้การทำความตกลงทางการค้าเสรีทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคีเป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์รัฐ-ทุน-สังคมต่างชาติและต่อรองบนผลประโยชน์ของคนกลุ่มน้อยที่มีพลังต่อรองภายในสูง จนทำให้ในภาพรวมเป็นสังคมท่วมท้นความเหลื่อมล้ำ ประเทศตกเป็นเบี้ยล่างต่างชาติ ต่างจากอำนาจที่ใกล้เคียงกันย่อมทำให้เกิดการต่อรองที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายได้ในสนามที่ทุกกลุ่มยินดีเข้าร่วมเจรจา
หาไม่แล้วโครงสร้างสังคมอยุติธรรมที่นำความเหลื่อมล้ำสุดขั้วมาสู่ผู้คนที่เข้าไม่ถึงอำนาจต่อรองหรือมีอำนาจต่อรองลดลงเพราะถูกเบียดขับออกจากเวทีไม่เพียงจะทำลายกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้าร่วมตัดสินใจกิจการสาธารณะ มาตรการและนโยบายต่างๆ ตามความต้องการและความจำเป็นแล้ว ยังลดทอนพลังผลิตของสังคมทั้งด้านมูลค่าสินค้าบริการและคุณค่าศิลปะ วิชาความรู้ สติปัญญา และจิตวิญญาณ ที่แฝงเร้นอยู่ในสังคมที่แม้แต่คนเล็กคนน้อยก็มีความสามารถคาดไม่ถึงเหล่านี้
ปฏิบัติการสร้างดุลยภาพทางอำนาจระหว่างรัฐ-ทุน-สังคม ของภาคประชาชนจึงต้องต่อรองเจรจากับพรรคการเมืองที่รวมตัวกันจัดตั้งรัฐบาลให้บริหารประเทศตามแนวนโยบายการสร้างเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนปฏิบัติการต่อรองต่อเนื่องผ่านการรวมกลุ่มและผสานเครือข่ายปฏิรูปด้านรายได้ สิทธิ โอกาส อำนาจ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ที่ทวีความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมขึ้นทุกๆ วัน เพื่อกำกับ ติดตาม และตรวจสอบนโยบายรัฐบาลให้ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชนหรือบริหารทรัพยากรไม่เป็นธรรมถึงแม้จะเป็นรัฐบาลตัวแทนที่เลือกมาก็ตามที เหมือนดังแนวทางการปฏิรูปของ คปร.ที่มุ่งเพิ่มพลังต่อรองของทุกกลุ่มคนในสังคมเพื่อให้เกิดดุลยภาพในการต่อรองทั้งกับกลุ่มอื่นๆ และกับสถานการณ์ความผันผวนในชีวิต โดยการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการทรัพยากรด้านต่างๆ เสียใหม่ให้เกิดความเป็นธรรมเท่าเทียม
ทั้งนี้ ถึงที่สุดแล้วปฏิบัติการสร้างอำนาจต่อรองต่อเนื่องของภาคประชาชนนอกจากจะเป็นกระบวนการปกติของทุกสังคมประชาธิปไตยที่ต้องเปิดกว้างโอกาสและพื้นที่ทุกกลุ่มในการเจรจาต่อรองกับรัฐบาลที่ถือเป็นตัวแทนคนทุกกลุ่มแล้ว ยังเป็นจุดชี้ขาดพัฒนาการทางนโยบายว่ารัฐบาลจะรับผิดชอบต่อประชาชน (accountability) โดยกล้ากำหนดนโยบายที่โปร่งใสไร้คอร์รัปชันอันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจอยุติธรรมตามความต้องการของประชาชนหรือไม่!