หลังเลือกตั้งการเมืองไทยยังไม่ลงตัวง่ายๆ ประเทศไทยยังไม่อาจเดินหน้าไปตามที่หวัง
เพราะไม่มีใครชนะเด็ดขาด!
วาทกรรมว่าด้วยความสมานฉันท์และการปรองดองประเภทถอยคนละก้าว หันหน้ามารักกัน ลืมความหลัง และ ฯลฯ นั้นฟังดูดี ใครพูดก็ทำให้ตัวเองดูน่ายกย่อง แต่ในความเป็นจริงตลอดประวัติศาสตร์โลกประวัติศาสตร์ไทยที่ผ่านมาเคยมีสักกี่ครั้งที่ความขัดแย้งจะจบลงขณะการต่อสู้ยังคู่คี่สูสีผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ มีแต่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะเด็ดขาดแล้วนั่นแหละความสมานฉันท์และการปรองดองจึงอาจจะเกิดขึ้น อาจจะมีข้อยกเว้นอยู่ก็แต่ในกรณีที่ต่อสู้กันยาวนานจนสูญเสียมหาศาลไปด้วยกันทุกฝ่ายสุดท้ายมีปรากฏการณ์พิเศษก่อให้เกิดการถอยกันคนละก้าวและนั่งพูดคุยกันได้ แต่ข้อยกเว้นนี้ยังมองไม่เห็นว่าจะเกิดขึ้นได้ในบ้านเรา
พรรคเพื่อไทยและคนสีแดงไม่ว่าจะได้เป็นรัฐบาลหรือไม่ก็มีความเติบกล้าขึ้นมากในรอบหลายปีที่ผ่านมา นักวิเคราะห์สถานการณ์ถ้าไม่ทรยศต่อตัวเองก็ต้องยอมรับว่านี่ไม่อาจปรามาสว่าเป็นเพราะอามิสสินจ้างกะเกณฑ์กันสถานเดียว และไม่น่าจะเพราะคนคนเดียวที่ชื่อทักษิณ ชินวัตรอีกต่อไป
คนกลุ่มนี้เริ่มลงหลักปักฐานมั่นคงในประเทศนี้และจะเป็นหนึ่งในพลังหลักที่ไม่อาจปฏิเสธได้ต่อไป
พรรคประชาธิปัตย์แม้จะแพ้แล้วแพ้อีกในสนามเลือกตั้ง แต่ยังสามารถรักษาฐานพลังสนับสนุนไว้ได้ในระดับเดิม ประกอบกับการเมืองไทยในความเป็นจริงไม่ได้ตัดสินกันเฉพาะในสนามเลือกตั้งเท่านั้น ยังมีพลังทางสังคมพลังทางประวัติศาสตร์อื่นที่มีบทบาทสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยธรรมชาติอีก ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกแต่ประการใด เพราะสังคมไทยมีเอกลักษณ์และลักษณะพิเศษแตกต่างจากสังคมตะวันตกต้นแบบระบอบประชาธิปไตยที่เรานำมาประยุกต์ใช้อย่างไม่ค่อยลงตัว
แต่สิ่งที่คนกลุ่มนี้จะต้องคิดให้หนักก็คือเมื่อมีตัวช่วยมหาศาลขนาดนี้ขณะครองอำนาจรัฐอยู่เกือบ 3 ปีแล้วทำไมไม่อาจชนะใจประชาชนทุกหมู่เหล่าทุกภาคส่วนโดยรวมได้ ทั้งๆ ที่คนกลุ่มแรกก็ไม่ได้มีอะไรโดดเด่น กลับกระทำการเกะกะเกเรไม่น่าเป็นที่ยอมรับได้ด้วยซ้ำ
มันกำลังจะพัฒนาไปเป็นความพ่ายแพ้ในเชิงโครงสร้างหรือเปล่า?
มันกำลังจะพัฒนาไปเป็นความพ่ายแพ้เพราะยืนอยู่บนด้านที่ล้าหลังกว่าของประวัติศาสตร์หรือพัฒนาการของสังคมหรือเปล่า??
ถ้าเราย้อนไปดูการถือกำเนิดของพรรคไทยรักไทยช่วงปี 2540 บวกลบ จะพบว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ทางการเมืองที่ใช้เวลา 2 ปีในการระดมนักคิดทุกแขนงมาร่วมกันจัดทำนโยบาย โดยผ่านการสำรวจจริงในพื้นที่ แม้ว่าจะแตกกันไป และในที่สุดก็หันมาใช้วิธีการเดิมๆ ของการเมืองเก่าในการชนะเลือกตั้ง แต่มันก็ได้ให้กำเนิดนโยบายของพรรคการเมืองที่มีลักษณะพิเศษออกมาทั้งเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอต่อประชาชน เป็นต้นแบบของพรรคการเมืองต่างๆ รวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์เองในชั้นหลังๆ เมื่อพรรคไทยรักไทยเข้ามาก็ดำเนินการปฏิวัติการทำงานให้การเมืองเป็นอำนาจนำยึดอำนาจมาจากระบบราชการประจำที่ขับเคลื่อนสังคมไทยมากว่า 100 ปี
ถ้าไม่มีการต่อสู้แบบตายเป็นตายเจ๊งเป็นเจ๊งของคุณสนธิ ลิ้มทองกุลที่พัฒนามาเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในเวลาต่อมาตอนครึ่งหลังของปี 2548 เป็นต้นมา เชื่อว่ายากที่พรรคไทยรักไทยจะตกจากอำนาจ และพรรคประชาธิปัตย์น่าจะเป็นผู้แพ้ถาวรไปแล้วด้วยซ้ำ
ไม่ใช่ว่าจะมีแต่คุณสนธิฯ คนเดียวที่ลุกขึ้นสู้กับด้านลบด้านเลวของพรรคไทยรักไทย ก่อนหน้านี้มีคนบางกลุ่มที่อาจจะมีความสัมพันธ์ในบางระดับกับพรรคประชาธิปัตย์ลุกขึ้นมาสู้บ้างแล้วตั้งแต่ปี 2547 แต่ทำอย่างไรก็จุดไม่ติด
คุณสนธิฯ และกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
คุณสนธิฯ และกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ ในช่วงแรกมีความใหญ่โตเพราะเป็นเสมือนศูนย์รวมของคนที่ต่อสู้กับด้านลบด้านเลวของพรรคไทยรักไทย มีจุดร่วมเดียวกันเล็กมากคือเปลี่ยนแปลงรัฐบาล แต่จุดต่างคือทิศทางของประเทศหลังจากนั้นมีหลากหลายและแตกต่างกันมากระดับ
คุณสนธิฯ และกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ เล็กลงๆ ในแต่ละปีที่ผ่านมา เพราะจุดต่างของแต่ละกลุ่มที่เข้ามาร่วมเริ่มแสดงออกมา และแยกทางเดินกันไปตามสถานการณ์ที่เข้ามาในแต่ละช่วง จนแม้ที่สุดหนึ่งในแกนนำยังแยกตัวออกไป หากไม่ทรยศต่อประวัติศาสตร์ จะพบว่าคุณสนธิฯ และกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ ไม่เพียงแต่ต่อสู้กับพรรคไทยรักไทย ยังต่อสู้กับ คมช. ต่อสู้กับรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เกือบๆ จะวางตัวเป็นกลุ่มอิสระไม่ยุ่งเกี่ยวกับใครนอกจากทำหน้าที่ยามเฝ้าแผ่นดินอยู่แล้วก็พอดีพรรคไทยรักไทยจำแลงกลับมาชนะเลือกตั้งอีกและกำลังจะหักด้ามพร้าด้วยเข่า คุณสนธิฯ และคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ จึงออกสู่ท้องถนนอีก ครั้งนี้หลังจากสูญเสียเลือดเนื้อพรรคประชาธิปัตย์กลับขึ้นไปเป็นรัฐบาลอีกครั้งในระบบการเมืองเดิมโดยไม่ผ่านการเลือกตั้งใหม่ เป็นที่รู้กันว่าอาศัยตัวช่วยมากมาย
คุณสนธิฯ และกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ กลับมาต่อสู้กับพรรคประชาธิปัตย์อีกในที่สุด
จุดเปลี่ยนสำคัญที่สุดจริงๆ ไม่ใช่คุณสนธิฯ และกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ ทิ้งพรรคประชาธิปัตย์ หากแต่เป็นพรรคประชาธิปัตย์ทิ้งคุณสนธิฯ และกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ เองต่างหาก พรรคประชาธิปัตย์ปล่อยให้เกิดกรณีสังหารคุณสนธิฯ กลางเมืองเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2552 และไม่สามารถจับกุมใครได้ทั้งๆ ที่มีหมายจับออกมาแล้ว ความนัยในกรณีนี้จะให้คุณสนธิฯ
และกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ เข้าใจได้อย่างไรในเมื่อมีข่าวในทางลับว่าคนที่ถูกออกหมายจับและผู้ต้องสงสัยในสำนวนการสอบสวนก็ไม่ได้หนีหายไปไหนนอกจากอยู่ในความคุ้มครองของเครือข่ายที่เป็นตัวช่วยของพรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง
มันไม่ใช่ความแค้นเคืองส่วนตัว แต่มันเป็นการพิสูจน์วิสัยทัศน์ของกลุ่มคนที่ครองอำนาจรัฐว่าคิดง่ายๆ คิดสั้นๆ คิดแค่ว่าจัดการคนสีแดงที่ดินแดงและที่อื่นๆ จนสลายลงไปในช่วงสงกรานต์ 2552 แล้วบ้านเมืองจะสงบหากตามมาด้วยการหายไปจากโลกของคุณสนธิฯ ที่เป็นผู้นำของกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ
วิสัยทัศน์เยี่ยงนี้มีแต่จะนำชาติไปสู่ความฉิบหาย
วิสัยทัศน์เยี่ยงนี้ไม่เข้าใจโลก ไม่เข้าใจสังคม และไม่เข้าใจมวลชนไม่ว่าสีแดงหรือสีเหลือง
อาจจะไม่ใช่พรรคประชาธิปัตย์ที่มีวิสัยทัศน์เยี่ยงนี้ แต่การไม่เดินหน้าผลักดันคลี่คลายคดีให้กระจ่าง ก็ทำให้เข้าใจได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นอย่างไร
แม้จะเล็กลงๆ จนถูกปรามาส แต่คุณสนธิฯ และกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯยังคงดำรงอยู่ แม้จะเล็กแต่ก็ยังดำรงอยู่ เป็นคนกลุ่มเล็กๆ ที่ไม่น่าจะเล็กลงไปกว่านี้อีกแล้ว เป็นการดำรงอยู่อย่างมั่นคง และมีที่ยืนชัดเจนในสังคมไทยผ่านธงนำในการต่อสู้ครั้งล่าสุดคือการรณรงค์โหวตโนปฏิเสธระบอบการเมืองประชาธิปไตยจอมปลอมซึ่งแท้จริงแล้วคือระบอบเผด็จการรัฐสภาของนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง
คุณสนธิฯ และกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ จึงเป็นกลุ่มพลังกลุ่มที่สามในสังคมไทยวันนี้
เพราะไม่มีใครชนะเด็ดขาด!
วาทกรรมว่าด้วยความสมานฉันท์และการปรองดองประเภทถอยคนละก้าว หันหน้ามารักกัน ลืมความหลัง และ ฯลฯ นั้นฟังดูดี ใครพูดก็ทำให้ตัวเองดูน่ายกย่อง แต่ในความเป็นจริงตลอดประวัติศาสตร์โลกประวัติศาสตร์ไทยที่ผ่านมาเคยมีสักกี่ครั้งที่ความขัดแย้งจะจบลงขณะการต่อสู้ยังคู่คี่สูสีผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ มีแต่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะเด็ดขาดแล้วนั่นแหละความสมานฉันท์และการปรองดองจึงอาจจะเกิดขึ้น อาจจะมีข้อยกเว้นอยู่ก็แต่ในกรณีที่ต่อสู้กันยาวนานจนสูญเสียมหาศาลไปด้วยกันทุกฝ่ายสุดท้ายมีปรากฏการณ์พิเศษก่อให้เกิดการถอยกันคนละก้าวและนั่งพูดคุยกันได้ แต่ข้อยกเว้นนี้ยังมองไม่เห็นว่าจะเกิดขึ้นได้ในบ้านเรา
พรรคเพื่อไทยและคนสีแดงไม่ว่าจะได้เป็นรัฐบาลหรือไม่ก็มีความเติบกล้าขึ้นมากในรอบหลายปีที่ผ่านมา นักวิเคราะห์สถานการณ์ถ้าไม่ทรยศต่อตัวเองก็ต้องยอมรับว่านี่ไม่อาจปรามาสว่าเป็นเพราะอามิสสินจ้างกะเกณฑ์กันสถานเดียว และไม่น่าจะเพราะคนคนเดียวที่ชื่อทักษิณ ชินวัตรอีกต่อไป
คนกลุ่มนี้เริ่มลงหลักปักฐานมั่นคงในประเทศนี้และจะเป็นหนึ่งในพลังหลักที่ไม่อาจปฏิเสธได้ต่อไป
พรรคประชาธิปัตย์แม้จะแพ้แล้วแพ้อีกในสนามเลือกตั้ง แต่ยังสามารถรักษาฐานพลังสนับสนุนไว้ได้ในระดับเดิม ประกอบกับการเมืองไทยในความเป็นจริงไม่ได้ตัดสินกันเฉพาะในสนามเลือกตั้งเท่านั้น ยังมีพลังทางสังคมพลังทางประวัติศาสตร์อื่นที่มีบทบาทสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยธรรมชาติอีก ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกแต่ประการใด เพราะสังคมไทยมีเอกลักษณ์และลักษณะพิเศษแตกต่างจากสังคมตะวันตกต้นแบบระบอบประชาธิปไตยที่เรานำมาประยุกต์ใช้อย่างไม่ค่อยลงตัว
แต่สิ่งที่คนกลุ่มนี้จะต้องคิดให้หนักก็คือเมื่อมีตัวช่วยมหาศาลขนาดนี้ขณะครองอำนาจรัฐอยู่เกือบ 3 ปีแล้วทำไมไม่อาจชนะใจประชาชนทุกหมู่เหล่าทุกภาคส่วนโดยรวมได้ ทั้งๆ ที่คนกลุ่มแรกก็ไม่ได้มีอะไรโดดเด่น กลับกระทำการเกะกะเกเรไม่น่าเป็นที่ยอมรับได้ด้วยซ้ำ
มันกำลังจะพัฒนาไปเป็นความพ่ายแพ้ในเชิงโครงสร้างหรือเปล่า?
มันกำลังจะพัฒนาไปเป็นความพ่ายแพ้เพราะยืนอยู่บนด้านที่ล้าหลังกว่าของประวัติศาสตร์หรือพัฒนาการของสังคมหรือเปล่า??
ถ้าเราย้อนไปดูการถือกำเนิดของพรรคไทยรักไทยช่วงปี 2540 บวกลบ จะพบว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ทางการเมืองที่ใช้เวลา 2 ปีในการระดมนักคิดทุกแขนงมาร่วมกันจัดทำนโยบาย โดยผ่านการสำรวจจริงในพื้นที่ แม้ว่าจะแตกกันไป และในที่สุดก็หันมาใช้วิธีการเดิมๆ ของการเมืองเก่าในการชนะเลือกตั้ง แต่มันก็ได้ให้กำเนิดนโยบายของพรรคการเมืองที่มีลักษณะพิเศษออกมาทั้งเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอต่อประชาชน เป็นต้นแบบของพรรคการเมืองต่างๆ รวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์เองในชั้นหลังๆ เมื่อพรรคไทยรักไทยเข้ามาก็ดำเนินการปฏิวัติการทำงานให้การเมืองเป็นอำนาจนำยึดอำนาจมาจากระบบราชการประจำที่ขับเคลื่อนสังคมไทยมากว่า 100 ปี
ถ้าไม่มีการต่อสู้แบบตายเป็นตายเจ๊งเป็นเจ๊งของคุณสนธิ ลิ้มทองกุลที่พัฒนามาเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในเวลาต่อมาตอนครึ่งหลังของปี 2548 เป็นต้นมา เชื่อว่ายากที่พรรคไทยรักไทยจะตกจากอำนาจ และพรรคประชาธิปัตย์น่าจะเป็นผู้แพ้ถาวรไปแล้วด้วยซ้ำ
ไม่ใช่ว่าจะมีแต่คุณสนธิฯ คนเดียวที่ลุกขึ้นสู้กับด้านลบด้านเลวของพรรคไทยรักไทย ก่อนหน้านี้มีคนบางกลุ่มที่อาจจะมีความสัมพันธ์ในบางระดับกับพรรคประชาธิปัตย์ลุกขึ้นมาสู้บ้างแล้วตั้งแต่ปี 2547 แต่ทำอย่างไรก็จุดไม่ติด
คุณสนธิฯ และกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
คุณสนธิฯ และกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ ในช่วงแรกมีความใหญ่โตเพราะเป็นเสมือนศูนย์รวมของคนที่ต่อสู้กับด้านลบด้านเลวของพรรคไทยรักไทย มีจุดร่วมเดียวกันเล็กมากคือเปลี่ยนแปลงรัฐบาล แต่จุดต่างคือทิศทางของประเทศหลังจากนั้นมีหลากหลายและแตกต่างกันมากระดับ
คุณสนธิฯ และกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ เล็กลงๆ ในแต่ละปีที่ผ่านมา เพราะจุดต่างของแต่ละกลุ่มที่เข้ามาร่วมเริ่มแสดงออกมา และแยกทางเดินกันไปตามสถานการณ์ที่เข้ามาในแต่ละช่วง จนแม้ที่สุดหนึ่งในแกนนำยังแยกตัวออกไป หากไม่ทรยศต่อประวัติศาสตร์ จะพบว่าคุณสนธิฯ และกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ ไม่เพียงแต่ต่อสู้กับพรรคไทยรักไทย ยังต่อสู้กับ คมช. ต่อสู้กับรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เกือบๆ จะวางตัวเป็นกลุ่มอิสระไม่ยุ่งเกี่ยวกับใครนอกจากทำหน้าที่ยามเฝ้าแผ่นดินอยู่แล้วก็พอดีพรรคไทยรักไทยจำแลงกลับมาชนะเลือกตั้งอีกและกำลังจะหักด้ามพร้าด้วยเข่า คุณสนธิฯ และคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ จึงออกสู่ท้องถนนอีก ครั้งนี้หลังจากสูญเสียเลือดเนื้อพรรคประชาธิปัตย์กลับขึ้นไปเป็นรัฐบาลอีกครั้งในระบบการเมืองเดิมโดยไม่ผ่านการเลือกตั้งใหม่ เป็นที่รู้กันว่าอาศัยตัวช่วยมากมาย
คุณสนธิฯ และกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ กลับมาต่อสู้กับพรรคประชาธิปัตย์อีกในที่สุด
จุดเปลี่ยนสำคัญที่สุดจริงๆ ไม่ใช่คุณสนธิฯ และกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ ทิ้งพรรคประชาธิปัตย์ หากแต่เป็นพรรคประชาธิปัตย์ทิ้งคุณสนธิฯ และกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ เองต่างหาก พรรคประชาธิปัตย์ปล่อยให้เกิดกรณีสังหารคุณสนธิฯ กลางเมืองเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2552 และไม่สามารถจับกุมใครได้ทั้งๆ ที่มีหมายจับออกมาแล้ว ความนัยในกรณีนี้จะให้คุณสนธิฯ
และกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ เข้าใจได้อย่างไรในเมื่อมีข่าวในทางลับว่าคนที่ถูกออกหมายจับและผู้ต้องสงสัยในสำนวนการสอบสวนก็ไม่ได้หนีหายไปไหนนอกจากอยู่ในความคุ้มครองของเครือข่ายที่เป็นตัวช่วยของพรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง
มันไม่ใช่ความแค้นเคืองส่วนตัว แต่มันเป็นการพิสูจน์วิสัยทัศน์ของกลุ่มคนที่ครองอำนาจรัฐว่าคิดง่ายๆ คิดสั้นๆ คิดแค่ว่าจัดการคนสีแดงที่ดินแดงและที่อื่นๆ จนสลายลงไปในช่วงสงกรานต์ 2552 แล้วบ้านเมืองจะสงบหากตามมาด้วยการหายไปจากโลกของคุณสนธิฯ ที่เป็นผู้นำของกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ
วิสัยทัศน์เยี่ยงนี้มีแต่จะนำชาติไปสู่ความฉิบหาย
วิสัยทัศน์เยี่ยงนี้ไม่เข้าใจโลก ไม่เข้าใจสังคม และไม่เข้าใจมวลชนไม่ว่าสีแดงหรือสีเหลือง
อาจจะไม่ใช่พรรคประชาธิปัตย์ที่มีวิสัยทัศน์เยี่ยงนี้ แต่การไม่เดินหน้าผลักดันคลี่คลายคดีให้กระจ่าง ก็ทำให้เข้าใจได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นอย่างไร
แม้จะเล็กลงๆ จนถูกปรามาส แต่คุณสนธิฯ และกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯยังคงดำรงอยู่ แม้จะเล็กแต่ก็ยังดำรงอยู่ เป็นคนกลุ่มเล็กๆ ที่ไม่น่าจะเล็กลงไปกว่านี้อีกแล้ว เป็นการดำรงอยู่อย่างมั่นคง และมีที่ยืนชัดเจนในสังคมไทยผ่านธงนำในการต่อสู้ครั้งล่าสุดคือการรณรงค์โหวตโนปฏิเสธระบอบการเมืองประชาธิปไตยจอมปลอมซึ่งแท้จริงแล้วคือระบอบเผด็จการรัฐสภาของนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง
คุณสนธิฯ และกลุ่มคนที่เรียกว่าพันธมิตรฯ จึงเป็นกลุ่มพลังกลุ่มที่สามในสังคมไทยวันนี้