เป็นไปตามคาดสำหรับการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ที่แม้บรรยากาศจะเป็นไปอย่างคึกคัก แต่อีกมุมหนึ่งก็เต็มไปด้วยปัญหาที่มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม.ที่มีตัวเลขผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิ์เป็นจำนวนมาก
สะท้อนให้เห็นถึงการทำงานที่ไร้ประสิทธิภาพของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดนี้
ก่อนนี้กกต.4 คนเดินทางไปต่างประเทศพร้อมกัน อ้างว่าไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งตามคำเชิญของสถานกงสุล ทั้งๆที่การจัดการเลือกตั้งในประเทศยังคงชุลมุน ส่อเค้าจะมีความวุ่ยวาย และมีการทุจริตมากที่สุด
เรียกได้ว่าเป็นทริปที่ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง ทั้งเรื่องการใช้งบประมาณ และห้วงเวลาที่เดินทาง
ปัญหาที่เกิดขึ้นในการลงคะแนนล่วงหน้านั้น ใครๆก็มองออกว่ามีโอกาสที่จะเกิดปัญหาได้สูง จากจำนวนตัวเลขผู้ใช้สิทธิ์ที่ลงทะเบียนจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ถึง 2.6 ล้านคนทั่วประเทศ อีกทั้งการปรับเวลาลงคะแนนเหลือเพียงวันเดียว ทำให้มีเวลาใช้สิทธิเพียง 7 ชั่วโมงเท่านั้น
อย่างในพื้นที่เขตบางกะปิที่มีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิมากถึง 104,016 ราย ที่ต้องจัดการให้สามารถใช้สิทธิได้ 248 รายต่อนาที จึงจะครบถ้วน ซึ่งในทางปฏิบัติไม่เห็นทางที่จะทำได้เลย
และแม้ในความเป็นจริงมีผู้มาใช้สิทธิจริงเพียง 6 หมื่นราย ก็ยังเกิดปัญหาชื่อหายตกหล่นเป็นจำนวนมาก การตรวจสอบชื่อเป็นไปอย่างล่าช้า
ภายหลังจากการปิดหีบยังพบว่ามีประชาชนอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ ทั้งที่เดินทางมาถึงคูหาแล้ว อีกหลายคนถอดใจไม่รอลงคะแนน เพราะเสียเวลามาก จนทำให้เสียสิทธิ์ไปในที่สุด
รวมไปถึงเรื่องของสถานที่จัดการลงคะแนนที่ไม่เหมาะสม จำนวนคูหาไม่เพียงพอ ส่งผลไปถึงการจราจรที่ติดขัด หรือแม้แต่สภาพภูมิอากาศที่เป็นอุปสรรคในการเดินทางมาลงคะแนน
กรณีที่หากลงทะเบียนแล้วไม่ได้มาใช้สิทธิในวันที่ 26 มิ.ย.ก็ยังคลุมเครือไม่ชัดเจนว่าจะสามารถใช้สิทธิอีกครั้งในวันที่ 3 ก.ค.ได้หรือไม่ เพราะไม่ใช่ว่าประชาชนจะไม่มาตามที่ลงทะเบียน แต่ด้วยความยากลำบาก และเวลาที่ต้องรอคอยนาน อาจทำให้หลายคนตัดสินใจไม่รอ
สำหรับผู้ที่ขาดสิทธิ์นั้น เจ้าหน้าที่ก็ทำได้เพียงการให้ประชาชนที่ไม่ได้ใช้สิทธิลงทะเบียนว่าได้มาใช้สิทธิ์แล้ว แต่ไม่ทันเวลา เพื่อรักษาสิทธิ์ตามกฎหมายไว้เท่านั้น โดยไม่มองถึงความสำคัญของ 1 สิทธิ์ 1 เสียงของประชาชนต่อการเลือกตั้ง
เรื่องเหล่านี้ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
ส่วน กกต.เองก็น่าจะทราบถึงปัญหาดีอย่าง นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ก็ได้เป็นคนหนึ่งที่ใช้สิทธิ์เลือกตั้วล่วงหน้า และสัมผัสถึงปัญหาโดยตรงที่ต้องใช้เวลานาน แต่กลับโบ้ยให้มีการแก้ไขกฎหมาย ในเรื่องของการลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์นอกพื้นที่ โดยไม่ได้มองว่าการเรียมการรับมือกับปัญหาของ กกต.มีความบกพร่อง
อย่าลืมว่า การจัดการเลือกตั้งคราวนี้ กกต.ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลมากถึงกว่า 3,800 ล้าน?บาท สูง?กว่า?งบ?ประมาณที่ กกต.?ใช้?ในการ?เลือกตั้ง?ปลาย?ปี 50 เกือบ?หนึ่งเท่าตัว
โดยเฉพาะในส่วนของสปอตโฆษณาเชิญชวนประชาชนให้ออกมาใช้สิทธิที่ผลาญงบประมาณไปมหาศาล แต่กลับไม่มีความพร้อมในการจัดการเลือกตั้ง
แล้วอย่างนี้ใครจะอยากจะออกมา “ตกระกำลำบาก” กับ “ประชาธิปไตย 4 วินาที”
ะเมื่อ “ผู้คุมกฎ” อย่าง กกต.ทำงานเข้าขั้น “ห่วยแตก” เช่นนี้ การเลือกตั้งครั้งนี้ก็คงเป้นไปตามครรลองประชาธิปไตยได้ยาก
หรืออาจเข้าขั้น “?อัปลักษณ์?” ที่สุด?ใน?ประวัติศาสตร์?การเมือง?ไทย
สะท้อนให้เห็นถึงการทำงานที่ไร้ประสิทธิภาพของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดนี้
ก่อนนี้กกต.4 คนเดินทางไปต่างประเทศพร้อมกัน อ้างว่าไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งตามคำเชิญของสถานกงสุล ทั้งๆที่การจัดการเลือกตั้งในประเทศยังคงชุลมุน ส่อเค้าจะมีความวุ่ยวาย และมีการทุจริตมากที่สุด
เรียกได้ว่าเป็นทริปที่ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง ทั้งเรื่องการใช้งบประมาณ และห้วงเวลาที่เดินทาง
ปัญหาที่เกิดขึ้นในการลงคะแนนล่วงหน้านั้น ใครๆก็มองออกว่ามีโอกาสที่จะเกิดปัญหาได้สูง จากจำนวนตัวเลขผู้ใช้สิทธิ์ที่ลงทะเบียนจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ถึง 2.6 ล้านคนทั่วประเทศ อีกทั้งการปรับเวลาลงคะแนนเหลือเพียงวันเดียว ทำให้มีเวลาใช้สิทธิเพียง 7 ชั่วโมงเท่านั้น
อย่างในพื้นที่เขตบางกะปิที่มีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิมากถึง 104,016 ราย ที่ต้องจัดการให้สามารถใช้สิทธิได้ 248 รายต่อนาที จึงจะครบถ้วน ซึ่งในทางปฏิบัติไม่เห็นทางที่จะทำได้เลย
และแม้ในความเป็นจริงมีผู้มาใช้สิทธิจริงเพียง 6 หมื่นราย ก็ยังเกิดปัญหาชื่อหายตกหล่นเป็นจำนวนมาก การตรวจสอบชื่อเป็นไปอย่างล่าช้า
ภายหลังจากการปิดหีบยังพบว่ามีประชาชนอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ ทั้งที่เดินทางมาถึงคูหาแล้ว อีกหลายคนถอดใจไม่รอลงคะแนน เพราะเสียเวลามาก จนทำให้เสียสิทธิ์ไปในที่สุด
รวมไปถึงเรื่องของสถานที่จัดการลงคะแนนที่ไม่เหมาะสม จำนวนคูหาไม่เพียงพอ ส่งผลไปถึงการจราจรที่ติดขัด หรือแม้แต่สภาพภูมิอากาศที่เป็นอุปสรรคในการเดินทางมาลงคะแนน
กรณีที่หากลงทะเบียนแล้วไม่ได้มาใช้สิทธิในวันที่ 26 มิ.ย.ก็ยังคลุมเครือไม่ชัดเจนว่าจะสามารถใช้สิทธิอีกครั้งในวันที่ 3 ก.ค.ได้หรือไม่ เพราะไม่ใช่ว่าประชาชนจะไม่มาตามที่ลงทะเบียน แต่ด้วยความยากลำบาก และเวลาที่ต้องรอคอยนาน อาจทำให้หลายคนตัดสินใจไม่รอ
สำหรับผู้ที่ขาดสิทธิ์นั้น เจ้าหน้าที่ก็ทำได้เพียงการให้ประชาชนที่ไม่ได้ใช้สิทธิลงทะเบียนว่าได้มาใช้สิทธิ์แล้ว แต่ไม่ทันเวลา เพื่อรักษาสิทธิ์ตามกฎหมายไว้เท่านั้น โดยไม่มองถึงความสำคัญของ 1 สิทธิ์ 1 เสียงของประชาชนต่อการเลือกตั้ง
เรื่องเหล่านี้ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
ส่วน กกต.เองก็น่าจะทราบถึงปัญหาดีอย่าง นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ก็ได้เป็นคนหนึ่งที่ใช้สิทธิ์เลือกตั้วล่วงหน้า และสัมผัสถึงปัญหาโดยตรงที่ต้องใช้เวลานาน แต่กลับโบ้ยให้มีการแก้ไขกฎหมาย ในเรื่องของการลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์นอกพื้นที่ โดยไม่ได้มองว่าการเรียมการรับมือกับปัญหาของ กกต.มีความบกพร่อง
อย่าลืมว่า การจัดการเลือกตั้งคราวนี้ กกต.ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลมากถึงกว่า 3,800 ล้าน?บาท สูง?กว่า?งบ?ประมาณที่ กกต.?ใช้?ในการ?เลือกตั้ง?ปลาย?ปี 50 เกือบ?หนึ่งเท่าตัว
โดยเฉพาะในส่วนของสปอตโฆษณาเชิญชวนประชาชนให้ออกมาใช้สิทธิที่ผลาญงบประมาณไปมหาศาล แต่กลับไม่มีความพร้อมในการจัดการเลือกตั้ง
แล้วอย่างนี้ใครจะอยากจะออกมา “ตกระกำลำบาก” กับ “ประชาธิปไตย 4 วินาที”
ะเมื่อ “ผู้คุมกฎ” อย่าง กกต.ทำงานเข้าขั้น “ห่วยแตก” เช่นนี้ การเลือกตั้งครั้งนี้ก็คงเป้นไปตามครรลองประชาธิปไตยได้ยาก
หรืออาจเข้าขั้น “?อัปลักษณ์?” ที่สุด?ใน?ประวัติศาสตร์?การเมือง?ไทย