เอเจนซีส์ – หลังจากทำงานหนักมาทั้งสัปดาห์ หลายคนอาจคิดว่าการนอนตื่นสายกระทั่งบ่ายในวันเสาร์จะชดเชยความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าที่สะสมมา 5 วันได้
แต่นักวิจัยบอกว่าคิดผิดแล้ว เพราะประสิทธิภาพในการทำสิ่งต่างๆ ของคนเราจะเสื่อมถอยลงถ้าได้นอนไม่ถึง 6 ชั่วโมง และไม่สามารถฟื้นคืนได้แม้นอนชดเชยในอีกสองคืนต่อมาก็ตาม
แม้การนอนตื่นสายโด่งในวันเสาร์อาจช่วยให้สมองปลอดโปร่งขึ้น แต่การทำกิจกรรมต่างๆ ยังเชื่องช้าและเงอะงะอยู่ดี
อเล็กซานดรอส วีกอนต์แซส ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับและศาสตราจารย์จิตวิทยา มหาวิทยาลัยรัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐฯ ศึกษาจากหนุ่มสาวที่ต้องใช้เวลา 13 คืนในห้องปฏิบัติการ
สี่คืนแรก อาสาสมัครจะได้นอนเต็มที่ 8 ชั่วโมง หลังจากนั้นอีก 6 คืนได้นอนแค่ 6 ชั่วโมง ส่วน 3 คืนสุดท้ายได้นอนยาวเหยียด 10 ชั่วโมง
สิ่งที่พบคือ หลังจากหนึ่งสัปดาห์ที่นอนไม่เต็มที่ การได้นอนชดเชยในสองคืนต่อมาช่วยได้แค่ทำให้ไม่รู้สึกง่วงเหงาหาวนอนเท่านั้น แต่ไม่มีผลดีต่อประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆ แต่อย่างใด
หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การนอนชดเชยในวันเสาร์-อาทิตย์หลังจากนอนไม่พอมาตลอดสัปดาห์ ไม่สามารถเยียวยาผลลบจากการพักผ่อนไม่เพียงพอที่เกิดกับสติปัญญาความคิดได้
งานวิจัยยังพบว่า ผู้หญิงรับมือการอดนอนได้ดีกว่าผู้ชาย สาเหตุอาจเนื่องมาจากผู้หญิงได้ประโยชน์จากการหลับลึกมากกว่า จึงสามารถจัดการกับผลจากการอดนอนได้ดีกว่าถ้ามีเวลานอนเต็มที่ในช่วงวันหยุด
อย่างไรก็ตาม งานศึกษาก่อนหน้านี้จากมหาวิทยาลัยวอร์วิก และยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ออฟ ลอนดอน สรุปว่า การอดนอนเชื่อมโยงกับโรคหัวใจในผู้หญิง
แต่นักวิจัยบอกว่าคิดผิดแล้ว เพราะประสิทธิภาพในการทำสิ่งต่างๆ ของคนเราจะเสื่อมถอยลงถ้าได้นอนไม่ถึง 6 ชั่วโมง และไม่สามารถฟื้นคืนได้แม้นอนชดเชยในอีกสองคืนต่อมาก็ตาม
แม้การนอนตื่นสายโด่งในวันเสาร์อาจช่วยให้สมองปลอดโปร่งขึ้น แต่การทำกิจกรรมต่างๆ ยังเชื่องช้าและเงอะงะอยู่ดี
อเล็กซานดรอส วีกอนต์แซส ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับและศาสตราจารย์จิตวิทยา มหาวิทยาลัยรัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐฯ ศึกษาจากหนุ่มสาวที่ต้องใช้เวลา 13 คืนในห้องปฏิบัติการ
สี่คืนแรก อาสาสมัครจะได้นอนเต็มที่ 8 ชั่วโมง หลังจากนั้นอีก 6 คืนได้นอนแค่ 6 ชั่วโมง ส่วน 3 คืนสุดท้ายได้นอนยาวเหยียด 10 ชั่วโมง
สิ่งที่พบคือ หลังจากหนึ่งสัปดาห์ที่นอนไม่เต็มที่ การได้นอนชดเชยในสองคืนต่อมาช่วยได้แค่ทำให้ไม่รู้สึกง่วงเหงาหาวนอนเท่านั้น แต่ไม่มีผลดีต่อประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆ แต่อย่างใด
หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การนอนชดเชยในวันเสาร์-อาทิตย์หลังจากนอนไม่พอมาตลอดสัปดาห์ ไม่สามารถเยียวยาผลลบจากการพักผ่อนไม่เพียงพอที่เกิดกับสติปัญญาความคิดได้
งานวิจัยยังพบว่า ผู้หญิงรับมือการอดนอนได้ดีกว่าผู้ชาย สาเหตุอาจเนื่องมาจากผู้หญิงได้ประโยชน์จากการหลับลึกมากกว่า จึงสามารถจัดการกับผลจากการอดนอนได้ดีกว่าถ้ามีเวลานอนเต็มที่ในช่วงวันหยุด
อย่างไรก็ตาม งานศึกษาก่อนหน้านี้จากมหาวิทยาลัยวอร์วิก และยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ออฟ ลอนดอน สรุปว่า การอดนอนเชื่อมโยงกับโรคหัวใจในผู้หญิง