ASTVผู้จัดการรายวัน-พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตรการทดสอบสมรรถนะของเรือตรวจการณ์และเรือยนต์พระที่นั่งด้วยสีพระพักตร์สดใส
วานนี้ (21 มิ.ย.) เมื่อเวลา 15.05 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินจากที่ประทับชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช โดยรถเข็ญพระที่นั่ง การนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ รศ.นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีนิน หัวหน้าสำนักงานศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เป็นผู้ถวายการเข็นรถพระที่นั่ง พร้อม ศ.คลีนิค นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล พร้อมคณะแพทย์พยาบาล โดยเสด็จพระราชดำเนินผ่านตึกอานันทราช ไปยังท่าน้ำบริเวณลานสระว่ายน้ำสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมกับทรงจูงคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง
ในขณะเสด็จฯ พระราชดำเนิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระพักตร์ที่สดใส แย้มพระสรวลให้แก่พสกนิกร ประชาชนต่างกู่ร้อง ทรงพระเจริญดังกึกก้องทั่วทั้งโรงพยาบาลศิริราช ประชาชนต่างพร้อมใจกันเพื่อมารอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับเสด็จฯ และชูภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อยู่ตามสองฟากฝั่งถนนทั้งในและบริเวณด้านนอกของโรงพยาบาลศิริราช อย่างเนืองแน่น ท่ามกลางสายฝน
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอยู่ในฉลองพระองค์เชิ้ตแขนสั้นลายการ์ตูนรูป ไดโนเสาร์กับเต่าสีชมพูและสีส้ม สนับเพลาสีน้ำตาลเข้ม ฉลองพระบาทสีดำ เสด็จทอดพระเนตรการทดสอบสมรรถนะของเรือตรวจการณ์และเรือยนต์พระที่นั่ง
จากนั้น เมื่อเวลา 17.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินออกจากท่าน้ำบริเวณลานสระว่ายน้ำสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถวายพวงมาลัยสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พร้อมทั้งทรงฉายพระรูป จากนั้นเสด็จยังศาลาศิริราช 100 ปี ถวายพวงมาลัยสักการะ พระรูปหล่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อมทั้งทรงฉายพระรูป จากนั้นเสด็จพระราชดำเนิน อาคารสยามินทร์ ถวายพวงมาลัยสักการะพระรูปหล่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาเมื่อเวลา 17.48 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับยังที่ประทับชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช รวมเป็นเวลา 2 ชม. 43 นาที
บรรยากาศบริเวณโดยรอบโรงพยาบาลศิริราช และเส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน มีประชาชนจากทั่วสารทิศต่างพร้อมใจกันคอยต้อนรับเสด็จฯ กันอย่างเนืองแน่น ประชาชนต่างกู่ร้องทรงพระเจริญ ดังกึกก้องไปทั่วโรงพยาบาล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉายภาพประชาชนที่มาเฝ้าฯ รอรับเสด็จ พระองค์ทรงแย้มพระสรวลและมีพระพักตร์สดใส
สำหรับเรือตรวจการณ์และเรือพระที่นั่งที่นำออกมาทดสอบสมรรถนะในครั้งนี้ ประกอบด้วย เรือยนต์ตรวจการณ์ไฟเบอร์กลาส เรือยนต์หลวง 101 ซึ่งเป็นเรือยนต์ที่ฝ่ายเรือยนต์หลวงจัดซื้อเมื่อปีพ.ศ.2548 โดยให้กองพระราชพาหนะรับผิดชอบดูแล รักษาให้พร้อมปฏิบัตหน้าที่ตลอดเวลา เป็นเรือยนต์ขนาด 60 แรงม้า 4 จังหวะ ความเร็ว 25 น็อต เรือยนต์พระที่นั่ง M-M 1 เป็นเรือยนต์พระที่นั่งที่ฝ่ายเรือยนต์หลวงได้รับจากกรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือ เมื่อปีพ.ศ.2506 ส่วนเรือยนต์พระที่นั่ง M-M 2 ประจำการที่ฝ่ายเรือยนต์หลวงเมื่อปีพ.ศ.2511 สำหรับเรือยนต์พระที่นั่งM-M 3 เข้าประจำการในปีพ.ศ. 2521 โดยทั้งสามลำ เป็นเรือยนต์ไฟเบอร์กลาส เครื่องยนต์ติดท้าย ขนาดความยาว 4.32 เมตร กว้าง 1.80 เมตร กินน้ำลึก 0.75 เมตรความเร็ว 30 น็อต เครื่องยนต์ขนาด 60 แรงม้า 4 สูบ 4 จังหวะ
ด้านเรือยนต์พระที่นั่งM-M 4 , M-M5 และM-M 6 เป็นเรือยนต์พระที่นั่งที่สำนักพระราชวังได้ขอความอนุเคราะห์จากกรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือ จัดสร้างขึ้นเพื่อทดแทนเรือยนต์พระที่นั่งM-M 1, M-M 2 และM-M 3ซึ่งกรมอู่ทหารเรือได้ดำเนินการจัดสร้างและส่งมอบที่ฝ่ายเรือยนต์หลวงท่าวาสุกรี เมื่อวันที่ 10 มี.ค.2554 ที่ผ่านมา โดยเป็นเรือยนต์ขนาด ยาว 5.73 เมตร กว้าง 2.15 เมตร สูง 0.92เมตร กินน้ำลึก 0.64เมตร ความเร็ว 30-32 น็อต เครื่องยนต์ขนาด 115 แรงม้า 4 สูบ 4 จังหวะ ระบบหัวฉีด บรรทุกผู้โดยสาร 6-7คน
นอกจากนี้ ยังมีเรือยนต์ตรวจการณ์ไฟเบอร์กลาส เรือยนต์หลวง 201 ที่เพิ่งเข้าประจำการในวันนี้ โดยเป็นเรือยนต์ขนาด ความยาว 6.69 เมตร กว้าง 2.16 เมตร ลึก 0.99 เมตร เครื่องยนต์ขนาด 200 แรงม้า 4 สูบ 4จังหวะ ระบบหัวฉีด ความเร็ว 35-40 น็อต บรรทุกผู้โดยสาร 6-7คน โดยเรือทั้ง 8ลำนี้ ใช้ในภารกิจเป็นเรือในขบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งใช้ภารกิจตามพระราชอัธยาศัย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในการทดสอบสมรรถนะของเรือตรวจการณ์และเรือยนต์พระที่นั่งครั้งนี้เป็นอย่างมาก โดยทางกองทัพเรือได้นำเรือทั้ง 8 ลำ ล่องไปตามลำน้ำเจ้าพระยาผ่านหน้าที่ประทับ รวมเป็นจำนวน 3 รอบ
วานนี้ (21 มิ.ย.) เมื่อเวลา 15.05 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินจากที่ประทับชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช โดยรถเข็ญพระที่นั่ง การนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ รศ.นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีนิน หัวหน้าสำนักงานศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เป็นผู้ถวายการเข็นรถพระที่นั่ง พร้อม ศ.คลีนิค นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล พร้อมคณะแพทย์พยาบาล โดยเสด็จพระราชดำเนินผ่านตึกอานันทราช ไปยังท่าน้ำบริเวณลานสระว่ายน้ำสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมกับทรงจูงคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง
ในขณะเสด็จฯ พระราชดำเนิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระพักตร์ที่สดใส แย้มพระสรวลให้แก่พสกนิกร ประชาชนต่างกู่ร้อง ทรงพระเจริญดังกึกก้องทั่วทั้งโรงพยาบาลศิริราช ประชาชนต่างพร้อมใจกันเพื่อมารอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับเสด็จฯ และชูภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อยู่ตามสองฟากฝั่งถนนทั้งในและบริเวณด้านนอกของโรงพยาบาลศิริราช อย่างเนืองแน่น ท่ามกลางสายฝน
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอยู่ในฉลองพระองค์เชิ้ตแขนสั้นลายการ์ตูนรูป ไดโนเสาร์กับเต่าสีชมพูและสีส้ม สนับเพลาสีน้ำตาลเข้ม ฉลองพระบาทสีดำ เสด็จทอดพระเนตรการทดสอบสมรรถนะของเรือตรวจการณ์และเรือยนต์พระที่นั่ง
จากนั้น เมื่อเวลา 17.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินออกจากท่าน้ำบริเวณลานสระว่ายน้ำสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถวายพวงมาลัยสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พร้อมทั้งทรงฉายพระรูป จากนั้นเสด็จยังศาลาศิริราช 100 ปี ถวายพวงมาลัยสักการะ พระรูปหล่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อมทั้งทรงฉายพระรูป จากนั้นเสด็จพระราชดำเนิน อาคารสยามินทร์ ถวายพวงมาลัยสักการะพระรูปหล่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาเมื่อเวลา 17.48 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับยังที่ประทับชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช รวมเป็นเวลา 2 ชม. 43 นาที
บรรยากาศบริเวณโดยรอบโรงพยาบาลศิริราช และเส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน มีประชาชนจากทั่วสารทิศต่างพร้อมใจกันคอยต้อนรับเสด็จฯ กันอย่างเนืองแน่น ประชาชนต่างกู่ร้องทรงพระเจริญ ดังกึกก้องไปทั่วโรงพยาบาล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉายภาพประชาชนที่มาเฝ้าฯ รอรับเสด็จ พระองค์ทรงแย้มพระสรวลและมีพระพักตร์สดใส
สำหรับเรือตรวจการณ์และเรือพระที่นั่งที่นำออกมาทดสอบสมรรถนะในครั้งนี้ ประกอบด้วย เรือยนต์ตรวจการณ์ไฟเบอร์กลาส เรือยนต์หลวง 101 ซึ่งเป็นเรือยนต์ที่ฝ่ายเรือยนต์หลวงจัดซื้อเมื่อปีพ.ศ.2548 โดยให้กองพระราชพาหนะรับผิดชอบดูแล รักษาให้พร้อมปฏิบัตหน้าที่ตลอดเวลา เป็นเรือยนต์ขนาด 60 แรงม้า 4 จังหวะ ความเร็ว 25 น็อต เรือยนต์พระที่นั่ง M-M 1 เป็นเรือยนต์พระที่นั่งที่ฝ่ายเรือยนต์หลวงได้รับจากกรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือ เมื่อปีพ.ศ.2506 ส่วนเรือยนต์พระที่นั่ง M-M 2 ประจำการที่ฝ่ายเรือยนต์หลวงเมื่อปีพ.ศ.2511 สำหรับเรือยนต์พระที่นั่งM-M 3 เข้าประจำการในปีพ.ศ. 2521 โดยทั้งสามลำ เป็นเรือยนต์ไฟเบอร์กลาส เครื่องยนต์ติดท้าย ขนาดความยาว 4.32 เมตร กว้าง 1.80 เมตร กินน้ำลึก 0.75 เมตรความเร็ว 30 น็อต เครื่องยนต์ขนาด 60 แรงม้า 4 สูบ 4 จังหวะ
ด้านเรือยนต์พระที่นั่งM-M 4 , M-M5 และM-M 6 เป็นเรือยนต์พระที่นั่งที่สำนักพระราชวังได้ขอความอนุเคราะห์จากกรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือ จัดสร้างขึ้นเพื่อทดแทนเรือยนต์พระที่นั่งM-M 1, M-M 2 และM-M 3ซึ่งกรมอู่ทหารเรือได้ดำเนินการจัดสร้างและส่งมอบที่ฝ่ายเรือยนต์หลวงท่าวาสุกรี เมื่อวันที่ 10 มี.ค.2554 ที่ผ่านมา โดยเป็นเรือยนต์ขนาด ยาว 5.73 เมตร กว้าง 2.15 เมตร สูง 0.92เมตร กินน้ำลึก 0.64เมตร ความเร็ว 30-32 น็อต เครื่องยนต์ขนาด 115 แรงม้า 4 สูบ 4 จังหวะ ระบบหัวฉีด บรรทุกผู้โดยสาร 6-7คน
นอกจากนี้ ยังมีเรือยนต์ตรวจการณ์ไฟเบอร์กลาส เรือยนต์หลวง 201 ที่เพิ่งเข้าประจำการในวันนี้ โดยเป็นเรือยนต์ขนาด ความยาว 6.69 เมตร กว้าง 2.16 เมตร ลึก 0.99 เมตร เครื่องยนต์ขนาด 200 แรงม้า 4 สูบ 4จังหวะ ระบบหัวฉีด ความเร็ว 35-40 น็อต บรรทุกผู้โดยสาร 6-7คน โดยเรือทั้ง 8ลำนี้ ใช้ในภารกิจเป็นเรือในขบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งใช้ภารกิจตามพระราชอัธยาศัย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในการทดสอบสมรรถนะของเรือตรวจการณ์และเรือยนต์พระที่นั่งครั้งนี้เป็นอย่างมาก โดยทางกองทัพเรือได้นำเรือทั้ง 8 ลำ ล่องไปตามลำน้ำเจ้าพระยาผ่านหน้าที่ประทับ รวมเป็นจำนวน 3 รอบ