เคเบิลภูธร ฮึดสู้ ดึง 17 สมาชิก กทม.และปริมณฑล ผนึกกำลัง กลุ่มคอนเท้นต์รายใหญ่ 14 ราย สร้างแบรนด์ “เคเบิลทีวีไทย” เสียแค่ 300 บาทต่อเดือน รุกตลาดกทม. เจาะหมู่บ้านจัดสรร เจาะขุมทรัพย์ใหญ่ของทรูวิชั่นส์ในกรุงเทพฯ
นายเกษม อินทร์แก้ว นายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สมาคมฯได้ผนึกกำลังกันระหว่าง สมาชิกฯในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล รวม 17 ราย และผู้ผลิตคอนเท้นต์ โปรไวเดอร์ ที่อยู่ในแพลตฟอร์มของเคเบิลทีวีไทย อีก 14 ราย จัดตั้งแบรนด์ “เคเบิลทีวีไทย” เพื่อรุกตลาดเคเบิลในกรุงเทพฯ เป็นการสร้างแบรนด์ใหม่ขึ้นมาเพื่อเรียกแทน เคเบิลทีวีท้องถิ่นจากนี้ไป
“เป้าหมายเราคือทำอย่างไรให้คนกรุงเทพฯมีสิทธิ์และทางเลือกใหม่ ไม่ใช่มีแค่เคเบิลรายใหญ่ในกรุงเทพฯอย่างเดียวเท่านั้นที่เรารู้จักกันอยู่เพียงรายเดียว ที่ครองตลาดอยู่และเก็บค่าบริการก็สูงกว่าของเราด้วย ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่นึกว่าเคเบิลทีวีภูธรเป็นเคเบิลเถื่อนซึ่งไม่ใช่เราถุกกฎหมายทำมากว่า 28 ปีแล้ว เพียงแต่ว่าเราไม่มีโอกาสเท่านั้น ล่าสุดสมาชิกของสมาคมฯก็ได้รับใบอนุญาติอีกกว่า 50 รายเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานี้เอง” นายเกษมกล่าวย้ำ
สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการเคเบิลทีวี 17 ราย ที่เข้าร่วมประกอบด้วย บจ.เจริญยิ่ง(8888), บจ.ไทยซุ่นเคเบิลทีวี, บจ.ไทยซินแอดวานซ์เทคโนโลยี่, บจ.ไฮเทคเคเบิลเทเลวิชั่น, บจ.นวมินทร์เคเบิลทีวีเน็ตเวิร์ค, บจ.แฮปปี้โฮมเคเบิลทีวี, บจ.วิสต้าไลน์, หจก.สนุกเคเบิลทีวี, บจ.เอ็มเอสเอสกทม, บจ.บางกอกเทเลวิชั่นเซอร์วิส, บจ.แมคเวิลด์เน็ทเวิร์ค, บจ.เอ็มเอสเอสปทุมธานี, บจ.ตะวันเคเบิลเน็ต, บจ.ปราการเคเบิลทีวี, บจ.ส่งความสุข และ บจ.เอ็มเอสเอสนนทบุรี
นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ตัวแทนฝ่ายผู้ผลิตรายการ กล่าวว่า ส่วนผู้ผลิตคอนเท้นต์รายใหญ่ 14 ราย ประกอบด้วย บมจ. จีเอ็มเอ็ม, บมจ.ทีวีไดเร็ค, บมจ.เนชั่นบรอดคาสติ้ง, บมจ.อาร์เอส, บจ.โมโนเทคโนโลยี, บจ.พีเอ็มดีพลัส, บจ.สปริงคอร์ปอเรชั่น, บจ.เอชพลัสแชนแนล, บจ.โรสมีเดียฯ, บจ.ไทยมงคลมัลติมีเดีย, บจ.ฟาร์มแชนแนล , บจ.เอลท์มีเดียเน็ตเวิร์ค, บจ.บุญทันตา54 และ บจ.ศิลป์อารีน่าซินดิเคชั่น
รายการของกลุ่มเราจะมีประมาณ 50-60 ช่องจาก 14 รายใหญ่นี้ ซึ่งทางเราก็มีหลายช่องดาวเทียม และรายการก็ไม่ได้อยู่ในช่องของเคเบิลทีวีรายใหญ่เดิมด้วย ซึ่งคอนเท้นต์ของเราคงไม่เหมือนเดิม และเราคงไม่ได้ไปแย่งจากทรูวิชั่นส์ เพียงแต่ว่าจะเข้ามาเสริมตลาด ซึ่งคนกรุงเทพฯมีกำลังซื้อมากพอที่จะติตตั้งเพิ่มอีกระบบเท่านั้น หรืออาจจะแย่งตลาดกับรายใหญ่เดิมบ้างเล็กน้อยแต่ก็ไม่ใช่สาระสำคัญ
นายวิชิต เอื้ออารีวรกุล อุปนายก สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สำหรับในช่วงแรกนี้ออกแคมเปญ “ติดตั้ง ฟรี ดูฟรี 1 เดือน 100,000 รายแรก” เริ่ม 21 มิถุนายนเป็นเวลา 1 เดือน ทั้งนี้ผู้สนใจเสียค่าติตตั้ง 1,500 บาท เสียค่าสมาชิก 300 บาทต่อเดือน และสามารถเพิ่มจุดรับชมได้อีก แต่เสียเพียงค่าอุปกรณ์ไม่เสียค่าบริการเพิ่มแต่อย่างใด รับชมได้มากกว่า 60-80 ช่อง ทั้งไทยและต่างประเทศ สัดส่วนรายการลิขสิทธิ์ไทย 70% และรายการลิขสิทธิ์ตปท. 30% โดยใช้งบตลาดรวมกว่า 200 ล้านบาทจากสมาชิกทั้งหมดลงขันกัน ในการโปรโมท ในช่วง 3 เดือนแรกนี้
ธุรกิจเคเบิลทีวีในกรุงเทพฯทุกวันนี้เติบโตมากถึง 30-35% เติบโตมากกว่าต่างจังหวัดอีก เพราะการเติบโตของชุมชนเมืองมากขึ้น ซึ่งในส่วนของสมาคมฯมีสมาชิกรวม 4 ล้านราย ดังนั้นเราจึงต้องเข้ามารองรับตลาดนี้
ปัจจุบันฐานผู้รับชมของผู้ประกอบการของสมาชิกสมาคมฯในกทม.และปริมณฑลมีประมาณ 700,000 ครัวเรือน ตั้งเป้าหมายภายในสิ้นปีนี้จะเพิ่มฐานผู้รับชมในกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็น 1,000,000 ครัวเรือนได้ ขณะที่หากแยกเป็นสัดส่วนผู้รับชมในแพลตฟอร์มต่างๆคือ แพลตฟอร์มของทรูวิชั่นส์ ผ่านทางหมู่บ้านจัดสรรรายใหญ่ 20%-30% แพลตฟอร์มทีวีดาวเทียมผ่านทางหมู่บ้านระดับเล็กกว่า 30% และแพลตฟอร์มเคเบิลทีวี ผ่านตามอาคารสูงต่างๆ 40% ซึ่งรวมแล้ว 3 แพลตฟอร์ม คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 45% ของจำนวนครัวเรือนในกรุงเทพฯ ที่มีประมาณ 3 ล้านครัวเรือน
ผู้สื่อข่าว รายงานว่า การรวมตัวกันครั้งนี้ของสมาคมเคเบิลทีวีถือได้ว่าเป็นการเข้ารุกประชิดกับทางทรูวิชั่นส์อย่างปฎิเสธไม่ได้ ซึ่งตลาดในกทม.และปริมณฑลซึ่งเป็นฐานใหญ่ของทรูวิชั่นส์ โดยจำนวนสมาชิกของทรูฯที่มีมากกว่า 450,000 ราย มีมากในกรุงเทพฯ และการคิดค่าบริการของทรูฯ ก็จะคิดเป็นแพคเกจหลายระดับราคา และคิดราคาเพิ่มต่อจุดบริการที่เพิ่มขึ้นในการเชื่อมต่อโทรทัศน์แต่ละจุดด้วย อีกทั้งคอนเท้นต์หลายอย่างทรูก็ไม่มีเมื่อเทียบกับทางสมาคมเคเบิลฯนี้
นายเกษม อินทร์แก้ว นายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สมาคมฯได้ผนึกกำลังกันระหว่าง สมาชิกฯในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล รวม 17 ราย และผู้ผลิตคอนเท้นต์ โปรไวเดอร์ ที่อยู่ในแพลตฟอร์มของเคเบิลทีวีไทย อีก 14 ราย จัดตั้งแบรนด์ “เคเบิลทีวีไทย” เพื่อรุกตลาดเคเบิลในกรุงเทพฯ เป็นการสร้างแบรนด์ใหม่ขึ้นมาเพื่อเรียกแทน เคเบิลทีวีท้องถิ่นจากนี้ไป
“เป้าหมายเราคือทำอย่างไรให้คนกรุงเทพฯมีสิทธิ์และทางเลือกใหม่ ไม่ใช่มีแค่เคเบิลรายใหญ่ในกรุงเทพฯอย่างเดียวเท่านั้นที่เรารู้จักกันอยู่เพียงรายเดียว ที่ครองตลาดอยู่และเก็บค่าบริการก็สูงกว่าของเราด้วย ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่นึกว่าเคเบิลทีวีภูธรเป็นเคเบิลเถื่อนซึ่งไม่ใช่เราถุกกฎหมายทำมากว่า 28 ปีแล้ว เพียงแต่ว่าเราไม่มีโอกาสเท่านั้น ล่าสุดสมาชิกของสมาคมฯก็ได้รับใบอนุญาติอีกกว่า 50 รายเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานี้เอง” นายเกษมกล่าวย้ำ
สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการเคเบิลทีวี 17 ราย ที่เข้าร่วมประกอบด้วย บจ.เจริญยิ่ง(8888), บจ.ไทยซุ่นเคเบิลทีวี, บจ.ไทยซินแอดวานซ์เทคโนโลยี่, บจ.ไฮเทคเคเบิลเทเลวิชั่น, บจ.นวมินทร์เคเบิลทีวีเน็ตเวิร์ค, บจ.แฮปปี้โฮมเคเบิลทีวี, บจ.วิสต้าไลน์, หจก.สนุกเคเบิลทีวี, บจ.เอ็มเอสเอสกทม, บจ.บางกอกเทเลวิชั่นเซอร์วิส, บจ.แมคเวิลด์เน็ทเวิร์ค, บจ.เอ็มเอสเอสปทุมธานี, บจ.ตะวันเคเบิลเน็ต, บจ.ปราการเคเบิลทีวี, บจ.ส่งความสุข และ บจ.เอ็มเอสเอสนนทบุรี
นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ตัวแทนฝ่ายผู้ผลิตรายการ กล่าวว่า ส่วนผู้ผลิตคอนเท้นต์รายใหญ่ 14 ราย ประกอบด้วย บมจ. จีเอ็มเอ็ม, บมจ.ทีวีไดเร็ค, บมจ.เนชั่นบรอดคาสติ้ง, บมจ.อาร์เอส, บจ.โมโนเทคโนโลยี, บจ.พีเอ็มดีพลัส, บจ.สปริงคอร์ปอเรชั่น, บจ.เอชพลัสแชนแนล, บจ.โรสมีเดียฯ, บจ.ไทยมงคลมัลติมีเดีย, บจ.ฟาร์มแชนแนล , บจ.เอลท์มีเดียเน็ตเวิร์ค, บจ.บุญทันตา54 และ บจ.ศิลป์อารีน่าซินดิเคชั่น
รายการของกลุ่มเราจะมีประมาณ 50-60 ช่องจาก 14 รายใหญ่นี้ ซึ่งทางเราก็มีหลายช่องดาวเทียม และรายการก็ไม่ได้อยู่ในช่องของเคเบิลทีวีรายใหญ่เดิมด้วย ซึ่งคอนเท้นต์ของเราคงไม่เหมือนเดิม และเราคงไม่ได้ไปแย่งจากทรูวิชั่นส์ เพียงแต่ว่าจะเข้ามาเสริมตลาด ซึ่งคนกรุงเทพฯมีกำลังซื้อมากพอที่จะติตตั้งเพิ่มอีกระบบเท่านั้น หรืออาจจะแย่งตลาดกับรายใหญ่เดิมบ้างเล็กน้อยแต่ก็ไม่ใช่สาระสำคัญ
นายวิชิต เอื้ออารีวรกุล อุปนายก สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สำหรับในช่วงแรกนี้ออกแคมเปญ “ติดตั้ง ฟรี ดูฟรี 1 เดือน 100,000 รายแรก” เริ่ม 21 มิถุนายนเป็นเวลา 1 เดือน ทั้งนี้ผู้สนใจเสียค่าติตตั้ง 1,500 บาท เสียค่าสมาชิก 300 บาทต่อเดือน และสามารถเพิ่มจุดรับชมได้อีก แต่เสียเพียงค่าอุปกรณ์ไม่เสียค่าบริการเพิ่มแต่อย่างใด รับชมได้มากกว่า 60-80 ช่อง ทั้งไทยและต่างประเทศ สัดส่วนรายการลิขสิทธิ์ไทย 70% และรายการลิขสิทธิ์ตปท. 30% โดยใช้งบตลาดรวมกว่า 200 ล้านบาทจากสมาชิกทั้งหมดลงขันกัน ในการโปรโมท ในช่วง 3 เดือนแรกนี้
ธุรกิจเคเบิลทีวีในกรุงเทพฯทุกวันนี้เติบโตมากถึง 30-35% เติบโตมากกว่าต่างจังหวัดอีก เพราะการเติบโตของชุมชนเมืองมากขึ้น ซึ่งในส่วนของสมาคมฯมีสมาชิกรวม 4 ล้านราย ดังนั้นเราจึงต้องเข้ามารองรับตลาดนี้
ปัจจุบันฐานผู้รับชมของผู้ประกอบการของสมาชิกสมาคมฯในกทม.และปริมณฑลมีประมาณ 700,000 ครัวเรือน ตั้งเป้าหมายภายในสิ้นปีนี้จะเพิ่มฐานผู้รับชมในกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็น 1,000,000 ครัวเรือนได้ ขณะที่หากแยกเป็นสัดส่วนผู้รับชมในแพลตฟอร์มต่างๆคือ แพลตฟอร์มของทรูวิชั่นส์ ผ่านทางหมู่บ้านจัดสรรรายใหญ่ 20%-30% แพลตฟอร์มทีวีดาวเทียมผ่านทางหมู่บ้านระดับเล็กกว่า 30% และแพลตฟอร์มเคเบิลทีวี ผ่านตามอาคารสูงต่างๆ 40% ซึ่งรวมแล้ว 3 แพลตฟอร์ม คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 45% ของจำนวนครัวเรือนในกรุงเทพฯ ที่มีประมาณ 3 ล้านครัวเรือน
ผู้สื่อข่าว รายงานว่า การรวมตัวกันครั้งนี้ของสมาคมเคเบิลทีวีถือได้ว่าเป็นการเข้ารุกประชิดกับทางทรูวิชั่นส์อย่างปฎิเสธไม่ได้ ซึ่งตลาดในกทม.และปริมณฑลซึ่งเป็นฐานใหญ่ของทรูวิชั่นส์ โดยจำนวนสมาชิกของทรูฯที่มีมากกว่า 450,000 ราย มีมากในกรุงเทพฯ และการคิดค่าบริการของทรูฯ ก็จะคิดเป็นแพคเกจหลายระดับราคา และคิดราคาเพิ่มต่อจุดบริการที่เพิ่มขึ้นในการเชื่อมต่อโทรทัศน์แต่ละจุดด้วย อีกทั้งคอนเท้นต์หลายอย่างทรูก็ไม่มีเมื่อเทียบกับทางสมาคมเคเบิลฯนี้