เสียงปรบมือดังลั่นห้องประชุมขนาดใหญ่ ทั้ง 2 งาน ที่สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทยได้จัดดีเบต เชิญ 5 พรรคการเมือง มาแสดงนโยบายด้านการท่องเที่ยว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยประเด็นคำถามซึ่งเป็นที่มาของเสียงปรบมือ คือเรื่องของแนวคิดจะให้พรรคการเมืองไหนเข้ามาดูแลอุตสาหกรรมนี้ และในประเด็นเรื่องของจะเสนอชื่อบุคคลใดเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว
จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น สะท้อนได้ชัดเจนว่า คนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เบื่อหน่ายกับพรรคการเมืองเดิมๆ ที่ดูแลกระทรวงนี้ และยังต้องการเปลี่ยนรัฐมนตรีที่คุมกระทรวง โดยให้พรรคการเมืองที่จัดตั้งรัฐบาล จัดวางบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีความเข้าใจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มานั่งบริหารงาน
***สองขั้วแต่เห็นตรงกัน***
แม้ในภาคเอกชนท่องเที่ยว จะแบ่งเป็น 2 ขั้ว คือ ฟากของสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ ฟากของ สหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย แต่สิ่งหนึ่งที่ทั้ง สองกลุ่มเห็นตรงกันคือ การทำงานของเจ้ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในช่วงที่ผ่านมายังถือว่าสอบตก เพราะไม่มีความรู้จริงในอุตสาหกรรมนี้ และดูว่าทั้งรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงจะให้ความสำคัญกับงานด้านกีฬามากกว่างานด้านท่องเที่ยว ทั้งที่ทุกพรรคต่างก็เห็นตรงกันว่า ท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมสร้างรายได้เข้าประเทศ แต่ละปีเป็นเงินมหาศาล เฉลี่ยที่ 5-6 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นนโยบายขายผ้าเอาหน้ารอด เพื่อเรียกคะแนนเสียง ก่อนการเลือกตั้ง แต่พอหลังเลือกตั้ง ความเปลี่ยนแปลงของกระทรวงการท่องเที่ยวจะเกิดจริงดั่งคำพูดหรือไม่ ใครก็ตอบไม่ได้ในตอนนี้ แต่ก็ยังดี ที่เวที ดีเบต ครั้งนี้ ได้เป็นเสียงสะท้อน ให้ผู้ที่นั่งอยู่ในกระทรวงการท่องเที่ยวทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ได้สะดุ้ง กันบ้างว่า
หยุดการทำงานแบบเดิมๆ และหันมาใส่ใจงานที่รับผิดชอบอย่างจริงใจ เพราะนับจากนี้ไป ไทยคงไม่สามารถขายของเก่ากินไปวันๆ เพราะ เมื่ออาเซียนรวมเป็นหนึ่ง ไทยในฐานพี่ใหญ่ ก็ต้องมีความโดดเด่นในแผนการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อมุ่งสู่งการแข่งขันในโลกเสรีการค้า ใช่จะปล่อยไปตามบุญตามกรรมเช่นทุกวันนี้
***จับตาหลังเลือกตั้งต้องเปลี่ยนแปลง***
ดังนั้นภายหลังการเลือกตั้ง ท่องเที่ยว จึงเป็นอีกหนึ่งกระทรวงที่น่าจับตามอง เพราะมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน เพราะสัญญาปากเปล่า ที่ทุกพรรคการเมือง พูดในเวทีดีเบต ทั้ง 2 เวที ต่างออกมาในทิศทางเดียวกัน คือ จะให้ความสำคัญต่องานด้านท่องเที่ยว จัดหาคนดูแลที่เหมาะสมมีความรู้ความเชี่ยวชาญ และที่สำคัญ บางพรรคการเมืองถึงกับพูดชัดเจนว่า จะต้องมีการปรับโครงสร้างกระทรวง แยกงานท่องเที่ยวและกีฬาออกจากกัน ให้ชัดเจน
ขณะที่ภาคเอกชน นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานฝ่ายนโยบาย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จะรวบรวมนโยบายของแต่ละพรรคการเมือง ที่มาร่วมดีเบตเมื่อวันที่ 16 มิ.ย.54 ผสมกับแนวความคิดของเอกชน มาจัดทำเป็นข้อเสนอต่อรัฐบาลใหม่ ที่กำลังจะมา รวมถึง พรรคการเมืองที่จะมาดูแลกระทรวงการท่องเที่ยวฯ เพื่อ ให้ได้รับรู้และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนบริหารงาน ให้สอดคล้องกับความต้องการของเอกชน เพราะทุกพรรคก็พูดคล้ายคลึงกันว่า พร้อมเป็นผู้สนับสนุนเอกชนในทุกๆ เรื่อง
จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น สะท้อนได้ชัดเจนว่า คนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เบื่อหน่ายกับพรรคการเมืองเดิมๆ ที่ดูแลกระทรวงนี้ และยังต้องการเปลี่ยนรัฐมนตรีที่คุมกระทรวง โดยให้พรรคการเมืองที่จัดตั้งรัฐบาล จัดวางบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีความเข้าใจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มานั่งบริหารงาน
***สองขั้วแต่เห็นตรงกัน***
แม้ในภาคเอกชนท่องเที่ยว จะแบ่งเป็น 2 ขั้ว คือ ฟากของสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ ฟากของ สหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย แต่สิ่งหนึ่งที่ทั้ง สองกลุ่มเห็นตรงกันคือ การทำงานของเจ้ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในช่วงที่ผ่านมายังถือว่าสอบตก เพราะไม่มีความรู้จริงในอุตสาหกรรมนี้ และดูว่าทั้งรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงจะให้ความสำคัญกับงานด้านกีฬามากกว่างานด้านท่องเที่ยว ทั้งที่ทุกพรรคต่างก็เห็นตรงกันว่า ท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมสร้างรายได้เข้าประเทศ แต่ละปีเป็นเงินมหาศาล เฉลี่ยที่ 5-6 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นนโยบายขายผ้าเอาหน้ารอด เพื่อเรียกคะแนนเสียง ก่อนการเลือกตั้ง แต่พอหลังเลือกตั้ง ความเปลี่ยนแปลงของกระทรวงการท่องเที่ยวจะเกิดจริงดั่งคำพูดหรือไม่ ใครก็ตอบไม่ได้ในตอนนี้ แต่ก็ยังดี ที่เวที ดีเบต ครั้งนี้ ได้เป็นเสียงสะท้อน ให้ผู้ที่นั่งอยู่ในกระทรวงการท่องเที่ยวทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ได้สะดุ้ง กันบ้างว่า
หยุดการทำงานแบบเดิมๆ และหันมาใส่ใจงานที่รับผิดชอบอย่างจริงใจ เพราะนับจากนี้ไป ไทยคงไม่สามารถขายของเก่ากินไปวันๆ เพราะ เมื่ออาเซียนรวมเป็นหนึ่ง ไทยในฐานพี่ใหญ่ ก็ต้องมีความโดดเด่นในแผนการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อมุ่งสู่งการแข่งขันในโลกเสรีการค้า ใช่จะปล่อยไปตามบุญตามกรรมเช่นทุกวันนี้
***จับตาหลังเลือกตั้งต้องเปลี่ยนแปลง***
ดังนั้นภายหลังการเลือกตั้ง ท่องเที่ยว จึงเป็นอีกหนึ่งกระทรวงที่น่าจับตามอง เพราะมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน เพราะสัญญาปากเปล่า ที่ทุกพรรคการเมือง พูดในเวทีดีเบต ทั้ง 2 เวที ต่างออกมาในทิศทางเดียวกัน คือ จะให้ความสำคัญต่องานด้านท่องเที่ยว จัดหาคนดูแลที่เหมาะสมมีความรู้ความเชี่ยวชาญ และที่สำคัญ บางพรรคการเมืองถึงกับพูดชัดเจนว่า จะต้องมีการปรับโครงสร้างกระทรวง แยกงานท่องเที่ยวและกีฬาออกจากกัน ให้ชัดเจน
ขณะที่ภาคเอกชน นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานฝ่ายนโยบาย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จะรวบรวมนโยบายของแต่ละพรรคการเมือง ที่มาร่วมดีเบตเมื่อวันที่ 16 มิ.ย.54 ผสมกับแนวความคิดของเอกชน มาจัดทำเป็นข้อเสนอต่อรัฐบาลใหม่ ที่กำลังจะมา รวมถึง พรรคการเมืองที่จะมาดูแลกระทรวงการท่องเที่ยวฯ เพื่อ ให้ได้รับรู้และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนบริหารงาน ให้สอดคล้องกับความต้องการของเอกชน เพราะทุกพรรคก็พูดคล้ายคลึงกันว่า พร้อมเป็นผู้สนับสนุนเอกชนในทุกๆ เรื่อง