นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า สาเหตุที่เงินบาทอ่อนค่าลงในขณะนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากความกังวลปัญหาของกรีซที่ถูกสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์(S&P) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือมาอยู่ที่ระดับ "CCC" จากเดิม "B" โดยหลังจากที่ตลาดการเงินรับทราบข่าวนี้ก็มีผลให้ตลาดการเงินค่อนข้างมากและในหลายภาคส่วน โดยเฉพาะค่าเงินในหลายประเทศ
"ขณะนี้ปัจจัยที่มีผลต่อค่าเงินบาทยังไม่ได้มีปัจจัยใหม่หรือยังคงเป็นปัจจัยเดิมๆ ซึ่งได้แก่ เศรษฐกิจสหรัฐ การแก้ไขปัญหาหนี้ยุโรป และปัญหาการเมืองในประเทศ ซึ่งมองว่าปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อค่าเงินบาทไปอีกระยะหนึ่งและทั้ง 3 ปัจจัยเหล่านี้จะมีน้ำหนักต่อค่าเงินบาทมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงจังหวะเวลาที่เกิดปัญหานั้นขึ้นมาและขณะนี้ความเสี่ยงจากปัญหาหนี้สินของกรีซก็มีน้ำหนักมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา" ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงินกล่าว
ทั้งนี้ ประเทศกรีซกลายเป็นปัญหาของกลุ่มประเทศยุโรปไปแล้ว โดยขณะนี้ปัญหากรีซยังไม่จบ แม้จะมีการปรับลดเครดิตจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือมาหลายครั้งแล้ว และกรีซเองก็ยังไม่รู้ว่าจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร จึงมองว่าประเด็นสำคัญที่สุดในขณะนี้ คือ กรีซต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรมให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้อันดับความน่าเชื่อถือลดลงไปอีก
อนึ่ง S&P ได้ประกาศลดความน่าเชื่อถือของประเทศกรีซลง 3 ขั้น มาอยู่ที่ระดับ "CCC" ถือว่ากรีซเป็นประเทศที่มีความน่าเชื่อถือต่ำที่สุดในโลกเมื่อวันที่ 13 มิ.ย.ที่ผ่านมา
วานนี้ ค่าเงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 30-51-30.54 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากช่วงเปิดตลาดที่ระดับ 30.46-30.47 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐโดยระหว่างวันแข็งค่าสุดที่ 30.46 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และอ่อนค่าสุดที่ระดับ 30.54 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
**แจงบทบาทการเป็นนายหน้าของแบงก์**
เมื่อวานนี้(15มิ.ย.) ธปท.ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)จัดประชุมชี้แจงเรื่อง "หลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่เป็นนายหน้าประกันภัยของธนาคารพาณิชย์" ซึ่งมีตัวแทนจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเข้าร่วมรับฟัง
โดยสาระสำคัญต้องการชี้แจงให้ธนาคารพาณิชย์เข้าใจบทบาทของการเป็นนายหน้าและแนวทางที่ต้องถือปฏิบัติให้การเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้เหมาะสม เนื่องจากผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัยมีหลายประเภทและบางประเภทมีลักษณะคล้ายกับเงินฝาก จึงมองว่าผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแต่ละประเภทจะให้ความคุ้มครองหรือประโยชน์แก่ผู้เอาประกันแตกต่างกัน ฉะนั้น
ธนาคารพาณิชย์ควรชี้แจงให้ลูกค้ารับทราบอย่างชัดเจน
"ขณะนี้ปัจจัยที่มีผลต่อค่าเงินบาทยังไม่ได้มีปัจจัยใหม่หรือยังคงเป็นปัจจัยเดิมๆ ซึ่งได้แก่ เศรษฐกิจสหรัฐ การแก้ไขปัญหาหนี้ยุโรป และปัญหาการเมืองในประเทศ ซึ่งมองว่าปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อค่าเงินบาทไปอีกระยะหนึ่งและทั้ง 3 ปัจจัยเหล่านี้จะมีน้ำหนักต่อค่าเงินบาทมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงจังหวะเวลาที่เกิดปัญหานั้นขึ้นมาและขณะนี้ความเสี่ยงจากปัญหาหนี้สินของกรีซก็มีน้ำหนักมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา" ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงินกล่าว
ทั้งนี้ ประเทศกรีซกลายเป็นปัญหาของกลุ่มประเทศยุโรปไปแล้ว โดยขณะนี้ปัญหากรีซยังไม่จบ แม้จะมีการปรับลดเครดิตจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือมาหลายครั้งแล้ว และกรีซเองก็ยังไม่รู้ว่าจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร จึงมองว่าประเด็นสำคัญที่สุดในขณะนี้ คือ กรีซต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรมให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้อันดับความน่าเชื่อถือลดลงไปอีก
อนึ่ง S&P ได้ประกาศลดความน่าเชื่อถือของประเทศกรีซลง 3 ขั้น มาอยู่ที่ระดับ "CCC" ถือว่ากรีซเป็นประเทศที่มีความน่าเชื่อถือต่ำที่สุดในโลกเมื่อวันที่ 13 มิ.ย.ที่ผ่านมา
วานนี้ ค่าเงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 30-51-30.54 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากช่วงเปิดตลาดที่ระดับ 30.46-30.47 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐโดยระหว่างวันแข็งค่าสุดที่ 30.46 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และอ่อนค่าสุดที่ระดับ 30.54 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
**แจงบทบาทการเป็นนายหน้าของแบงก์**
เมื่อวานนี้(15มิ.ย.) ธปท.ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)จัดประชุมชี้แจงเรื่อง "หลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่เป็นนายหน้าประกันภัยของธนาคารพาณิชย์" ซึ่งมีตัวแทนจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเข้าร่วมรับฟัง
โดยสาระสำคัญต้องการชี้แจงให้ธนาคารพาณิชย์เข้าใจบทบาทของการเป็นนายหน้าและแนวทางที่ต้องถือปฏิบัติให้การเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้เหมาะสม เนื่องจากผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัยมีหลายประเภทและบางประเภทมีลักษณะคล้ายกับเงินฝาก จึงมองว่าผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแต่ละประเภทจะให้ความคุ้มครองหรือประโยชน์แก่ผู้เอาประกันแตกต่างกัน ฉะนั้น
ธนาคารพาณิชย์ควรชี้แจงให้ลูกค้ารับทราบอย่างชัดเจน