ASTVผู้จัดการรายวัน-"ทรูมูฟ"เล่นงาน"ดีแทค" แจ้งความกองปราบดำเนินคดีทำผิดกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เหตุผู้ถือหุ้นใหญ่ในธุรกิจโทรคมนาคมเป็นคนต่างชาติ แถมยังแหกตา"พาณิชย์"แจ้งสัดส่วนถือหุ้นต่างชาติไว้แค่ 49% แต่แจ้งตลาดหุ้นนอร์เวย์และสิงคโปร์ไว้สูงถึง 66.50% ด้านดีแทคสวนทันควัน ทำธุรกิจถูกต้อง แต่ถูกเล่นงาน เพราะดันไปขวาง 3G
วานนี้ (14 มิ.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่กองปราบปราม นางศุภสรณ์ โหรชัยยะ อายุ 32 ปี ตัวแทน บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ได้เดินทางเข้าพบ พ.ต.อ.สำราญ ยินดีอารมณ์ รอง ผบก.ป. เพื่อแจ้งความดำเนินคดีต่อบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กลุ่มบุคคล และกลุ่มบริษัทที่มีพฤติกรรมสนับสนุนคนต่างด้าว คือ ดีแทค ที่เป็นนิติบุคคลให้สามารถทำธุรกิจโทรคมนาคมที่เป็นธุรกิจต้องห้ามของต่างด้าวได้ โดยหลีกเลี่ยง มาตรา 4 พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่าวด้าว พ.ศ. 2542 และข้อหาแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชน และนำเอกสารดังกล่าวไปใช้สำหรับเป็นพยานหลักฐานโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนประมวลกฎหมายอาญา
ทั้งนี้ ในการเข้าร้องทุกข์ดังกล่าว นางศุภสรณ์ พร้อมพนักงาน บริษัท ทรูมูฟ ได้นำเอกสารที่เกี่ยวข้องมาแจกจ่ายสื่อมวลชน เช่น รายงานผลการพิจารณา เรื่องร้องเรียนกรณีปัญหาการถือหุ้น การครอบงำกิจการ และการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยคนต่างด้าวที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมของคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ประกาศ ณ วันที่ 21 เม.ย.2554 และเอกสารสรุปการถือหุ้นของดีแทค มามอบให้พนักงานสอบสวนเพื่อประกอบการพิจารณา
นางศุภสรณ์กล่าวว่า ดีแทคได้แจ้งสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าวกับกระทรวงพาณิชย์ไว้ 49% แต่ความเป็นจริงบริษัท เทเลนอร์ ได้แจ้งข้อมูลการถือหุ้นต่อตลาดหลักทรัพย์ที่ประเทศนอร์เวย์และประเทศสิงคโปร์ว่า เทเลนอร์ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจต่างประเทศ ถือหุ้นในดีแทคเป็นสัดส่วนประมาณ 66.50% ซึ่งเป็นการกระทำผิด ฝ่าฝืนกฎหมายไทยอย่างชัดแจ้ง เพราะเป็นการประกอบธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ และต้องใช้คลื่นความถี่ ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติที่มีค่าสูงและมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับรายงานผลการพิจารณาของคณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร
ทั้งนี้ ทรูมูฟ มีความจำเป็นต้องดำเนินการแจ้งความต่อตำรวจกองปราบปราม เพื่อให้ดำเนินคดีดีแทค ซึ่งมีเทเลนอร์ที่เป็นรัฐวิสาหกิจต่างประเทศเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กระทำความผิดฝ่าฝืนกฎหมายไทย ตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 มาตรา 4 รวมทั้งกลุ่มบุคคล และกลุ่มบริษัทต่างๆ ที่สนับสนุนและเอื้อประโยชน์ให้คนต่างด้าวที่เป็นนิติบุคคลให้สามารถทำธุรกิจโทรคมนาคมที่เป็นธุรกิจต้องห้ามของคนต่างด้าว และจะผลักดันให้มีความชัดเจนในการตีความเรื่องสัญชาติของดีแทค ซึ่งหากมีการตีความที่ชัดเจนโดยศาลแล้ว จะทำให้กรณีต่างๆ ในวงการโทรคมนาคมชัดเจนขึ้น
"ที่แจ้งว่าต่างด้าวถือหุ้นเพียง 49% แต่มีการกระจายไปยังตัวบุคคล มีการส่งเงินเข้ามาที่ดีแทค คุมกิจการบริษัท สามารถปลดบอร์ดได้ เปลี่ยนตัวผู้บริหารได้ ซึ่งเป็นการครอบงำกิจการ"
สำหรับสัดส่วนผู้ถือหุ้นดีแทคตามรายงานผลการพิจารณาของคณะกรรมาธิการสื่อสารโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสัดส่วนบุคคลและนิติบุคคลไทยที่เป็นผู้ถือหุ้นคนไทยรวมกัน 28.65% ขณะที่สัดส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นต่างด้าวรวมกัน 71.35% ประกอบด้วย 1. เทเลนอร์ เอเชีย (สิงคโปร์) 39.58% 2.ไทยเทลโค โฮลดิ้งส์ 25.59% 3.NORTRUST NOMINEES LIMITED-NTGS 3.46% 4.THE CENTRAL DEPOSITORY PTE.LTD. 1.24% 5.STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY FOR LONDON 0.98% 6.HSBC (SINGAPROE) NOMINEES PTE LTD. 054%
นางศุภสรณ์กล่าวว่า การเข้ามาลงทุนของต่างประเทศต้องเข้ามาอย่างจริงใจ โปร่งใส และเปิดเผยข้อมูลชัดเจน และเนื่องจากดีแทคมีผู้ถือหุ้น คือ เทเลนอร์ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจต่างประเทศ จำเป็นต้องแสดงตนให้ชัดเจนที่จะเข้ามาทำธุรกิจโทรคมนาคมในไทย ซึ่งเป็นธุรกิจต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว ไม่ใช่กระจายการถือหุ้นให้กลุ่มบุคคลและกลุ่มบริษัทต่างๆ จำนวนมากเป็นผู้ถือหุ้นแทน เพื่อปกปิดสัญชาติ และทำให้คนทั่วไปหลงผิดว่า เป็นบริษัทสัญชาติไทย ซึ่งตามรายงานผลการพิจารณา คณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ชี้ว่าดีแทคเป็น "คนต่างด้าว"
"เราอยากให้ไทยมี 3G ใช้ แต่ดีแทคฟ้องให้ยับยั้ง ทั้งที่เขาถือหุ้นผิดกฎหมายไทย และเมื่อกฎหมายไม่ชัด การแข่งขันเสรีก็เกิดไม่ได้ ต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตีความให้ชัดเจนก่อน ทั้งนี้ ได้รับมอบหมายเพียงการให้ฟ้องเอาผิดกับดีแทค แต่ยังไม่มีคำสั่งให้ดำเนินการฟ้องกับผู้ประกอบการโทรคมนาคมรายอื่นที่มีต่างชาติถือหุ้นอยู่"นางศุภสรณ์กล่าว
ด้านพ.ต.อ.สำราญ กล่าวว่า ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการสอบสวนข้อเท็จจริงว่าคำฟ้องมีมูลหรือไม่ หลังจากนั้นจะเรียกดีแทคมาสอบปากคำ และสืบพยานเพิ่มซึ่งหากคดีมีมูลก็จะพิจารณาส่งฟ้องต่อไป
นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค กล่าวว่า ดีแทคดำเนินธุรกิจภายใต้กฏหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของไทยทุกประการ ในฐานะที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย ได้มีการเปิดเผยข้อมูลโครงสร้างผู้ถือหุ้นต่อสาธารณชน และกระทรวงพาณิชย์อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ดีแทคขอยืนยันในความมุ่งมั่นที่จะมอบประสบการณ์การสื่อสารที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า และคนไทยทุกคน และดำเนินธุรกิจภายใต้หลักธรรมาภิบาล หากมีการเปลี่ยนแปลงด้านกฏระเบียบข้อบังคับใดๆ เรายินดีที่จะปฏิบัติตาม
แหล่งข่าวจากดีแทค กล่าวว่า ดีแทคคงจะต้องรอหมายเรียกจากตำรวจเพื่อไปให้ปากคำ แต่การที่ทรูมูฟออกมาเอาผิดเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าวนั้น มองว่ากรณีดังกล่าวเป็นเรื่องของนักลงทุน ซึ่งหากการถือครองหุ้นเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายว่าด้วยพ.ร.บ.การประกอบกิจการของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542ดีแทคก็จะต้องปรับโครงการการถือครองหุ้นใหม่ โดยการกระจายหุ้นให้เป็นไปตามสัดส่วนที่กฏหมายกำหนด
"ดีแทคยืนยันว่าปฏิบัติถูกต้อง เพราะบริษัทดำเนินธุรกิจมาเป็น 10 กว่าปี ก็ทำตามระเบียบของกระทรวงพาณิชย์ทุกอย่าง เดิมรัฐบาลต้องการให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ จึงเปิดกว้างเพื่อให้นักลงทุนเข้ามา ซึ่งก็มีนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ถ้าการดำเนินการลักษณะนี้แล้วผิดก็คงจะกระทบในทุกๆ อุตสาหกรรมไม่ใช่แค่ดีแทค"แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม ดีแทคมองว่าการแจ้งความดังกล่าว เป็นเรื่องที่ทรูมูฟต้องการที่จะต่อรองให้ดีแทคถอนฟ้อง ที่ดีแทคได้ร้องขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งระงับการดำเนินธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ที่มีการทำสัญญาระหว่าง บริษัท กสท โทรคมนาคม กับกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ทั้งการให้บริการระบบ CDMA และ 3G HSPA แต่ศาลมีคำสั่งไม่คุ้มครอง รับเฉพาะการขอให้ยกเลิกมติบอร์ดกสท ที่อนุมัติให้มีการลงนามในสัญญาการให้บริการมือถือรูปแบบใหม่เมื่อวันที่ 14 ม.ค.2554 และมีการลงนามในสัญญาไปเมื่อวันที่ 17 ม.ค.2554 ไว้พิจารณา
"เรื่องต่างด้าว เป็นเรื่องที่เปิดช่องให้คู่แข่งโจมตีมาตลอด อยากถามว่าที่ผ่านมา ดีแทคทำความเสียหายให้กับประเทศชาติตรงไหนและมีผลกระทบต่อความมั่นคงหรือไม่ ก็ไม่ใช่ มีแต่จะพัฒนาการให้บริการแก่ประชาชนมากกว่าจะเห็นผลประโยชน์ธุรกิจส่วนตัว"แหล่งข่าวกล่าว
วานนี้ (14 มิ.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่กองปราบปราม นางศุภสรณ์ โหรชัยยะ อายุ 32 ปี ตัวแทน บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ได้เดินทางเข้าพบ พ.ต.อ.สำราญ ยินดีอารมณ์ รอง ผบก.ป. เพื่อแจ้งความดำเนินคดีต่อบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กลุ่มบุคคล และกลุ่มบริษัทที่มีพฤติกรรมสนับสนุนคนต่างด้าว คือ ดีแทค ที่เป็นนิติบุคคลให้สามารถทำธุรกิจโทรคมนาคมที่เป็นธุรกิจต้องห้ามของต่างด้าวได้ โดยหลีกเลี่ยง มาตรา 4 พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่าวด้าว พ.ศ. 2542 และข้อหาแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชน และนำเอกสารดังกล่าวไปใช้สำหรับเป็นพยานหลักฐานโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนประมวลกฎหมายอาญา
ทั้งนี้ ในการเข้าร้องทุกข์ดังกล่าว นางศุภสรณ์ พร้อมพนักงาน บริษัท ทรูมูฟ ได้นำเอกสารที่เกี่ยวข้องมาแจกจ่ายสื่อมวลชน เช่น รายงานผลการพิจารณา เรื่องร้องเรียนกรณีปัญหาการถือหุ้น การครอบงำกิจการ และการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยคนต่างด้าวที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมของคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ประกาศ ณ วันที่ 21 เม.ย.2554 และเอกสารสรุปการถือหุ้นของดีแทค มามอบให้พนักงานสอบสวนเพื่อประกอบการพิจารณา
นางศุภสรณ์กล่าวว่า ดีแทคได้แจ้งสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าวกับกระทรวงพาณิชย์ไว้ 49% แต่ความเป็นจริงบริษัท เทเลนอร์ ได้แจ้งข้อมูลการถือหุ้นต่อตลาดหลักทรัพย์ที่ประเทศนอร์เวย์และประเทศสิงคโปร์ว่า เทเลนอร์ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจต่างประเทศ ถือหุ้นในดีแทคเป็นสัดส่วนประมาณ 66.50% ซึ่งเป็นการกระทำผิด ฝ่าฝืนกฎหมายไทยอย่างชัดแจ้ง เพราะเป็นการประกอบธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ และต้องใช้คลื่นความถี่ ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติที่มีค่าสูงและมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับรายงานผลการพิจารณาของคณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร
ทั้งนี้ ทรูมูฟ มีความจำเป็นต้องดำเนินการแจ้งความต่อตำรวจกองปราบปราม เพื่อให้ดำเนินคดีดีแทค ซึ่งมีเทเลนอร์ที่เป็นรัฐวิสาหกิจต่างประเทศเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กระทำความผิดฝ่าฝืนกฎหมายไทย ตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 มาตรา 4 รวมทั้งกลุ่มบุคคล และกลุ่มบริษัทต่างๆ ที่สนับสนุนและเอื้อประโยชน์ให้คนต่างด้าวที่เป็นนิติบุคคลให้สามารถทำธุรกิจโทรคมนาคมที่เป็นธุรกิจต้องห้ามของคนต่างด้าว และจะผลักดันให้มีความชัดเจนในการตีความเรื่องสัญชาติของดีแทค ซึ่งหากมีการตีความที่ชัดเจนโดยศาลแล้ว จะทำให้กรณีต่างๆ ในวงการโทรคมนาคมชัดเจนขึ้น
"ที่แจ้งว่าต่างด้าวถือหุ้นเพียง 49% แต่มีการกระจายไปยังตัวบุคคล มีการส่งเงินเข้ามาที่ดีแทค คุมกิจการบริษัท สามารถปลดบอร์ดได้ เปลี่ยนตัวผู้บริหารได้ ซึ่งเป็นการครอบงำกิจการ"
สำหรับสัดส่วนผู้ถือหุ้นดีแทคตามรายงานผลการพิจารณาของคณะกรรมาธิการสื่อสารโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสัดส่วนบุคคลและนิติบุคคลไทยที่เป็นผู้ถือหุ้นคนไทยรวมกัน 28.65% ขณะที่สัดส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นต่างด้าวรวมกัน 71.35% ประกอบด้วย 1. เทเลนอร์ เอเชีย (สิงคโปร์) 39.58% 2.ไทยเทลโค โฮลดิ้งส์ 25.59% 3.NORTRUST NOMINEES LIMITED-NTGS 3.46% 4.THE CENTRAL DEPOSITORY PTE.LTD. 1.24% 5.STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY FOR LONDON 0.98% 6.HSBC (SINGAPROE) NOMINEES PTE LTD. 054%
นางศุภสรณ์กล่าวว่า การเข้ามาลงทุนของต่างประเทศต้องเข้ามาอย่างจริงใจ โปร่งใส และเปิดเผยข้อมูลชัดเจน และเนื่องจากดีแทคมีผู้ถือหุ้น คือ เทเลนอร์ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจต่างประเทศ จำเป็นต้องแสดงตนให้ชัดเจนที่จะเข้ามาทำธุรกิจโทรคมนาคมในไทย ซึ่งเป็นธุรกิจต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว ไม่ใช่กระจายการถือหุ้นให้กลุ่มบุคคลและกลุ่มบริษัทต่างๆ จำนวนมากเป็นผู้ถือหุ้นแทน เพื่อปกปิดสัญชาติ และทำให้คนทั่วไปหลงผิดว่า เป็นบริษัทสัญชาติไทย ซึ่งตามรายงานผลการพิจารณา คณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ชี้ว่าดีแทคเป็น "คนต่างด้าว"
"เราอยากให้ไทยมี 3G ใช้ แต่ดีแทคฟ้องให้ยับยั้ง ทั้งที่เขาถือหุ้นผิดกฎหมายไทย และเมื่อกฎหมายไม่ชัด การแข่งขันเสรีก็เกิดไม่ได้ ต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตีความให้ชัดเจนก่อน ทั้งนี้ ได้รับมอบหมายเพียงการให้ฟ้องเอาผิดกับดีแทค แต่ยังไม่มีคำสั่งให้ดำเนินการฟ้องกับผู้ประกอบการโทรคมนาคมรายอื่นที่มีต่างชาติถือหุ้นอยู่"นางศุภสรณ์กล่าว
ด้านพ.ต.อ.สำราญ กล่าวว่า ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการสอบสวนข้อเท็จจริงว่าคำฟ้องมีมูลหรือไม่ หลังจากนั้นจะเรียกดีแทคมาสอบปากคำ และสืบพยานเพิ่มซึ่งหากคดีมีมูลก็จะพิจารณาส่งฟ้องต่อไป
นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค กล่าวว่า ดีแทคดำเนินธุรกิจภายใต้กฏหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของไทยทุกประการ ในฐานะที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย ได้มีการเปิดเผยข้อมูลโครงสร้างผู้ถือหุ้นต่อสาธารณชน และกระทรวงพาณิชย์อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ดีแทคขอยืนยันในความมุ่งมั่นที่จะมอบประสบการณ์การสื่อสารที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า และคนไทยทุกคน และดำเนินธุรกิจภายใต้หลักธรรมาภิบาล หากมีการเปลี่ยนแปลงด้านกฏระเบียบข้อบังคับใดๆ เรายินดีที่จะปฏิบัติตาม
แหล่งข่าวจากดีแทค กล่าวว่า ดีแทคคงจะต้องรอหมายเรียกจากตำรวจเพื่อไปให้ปากคำ แต่การที่ทรูมูฟออกมาเอาผิดเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าวนั้น มองว่ากรณีดังกล่าวเป็นเรื่องของนักลงทุน ซึ่งหากการถือครองหุ้นเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายว่าด้วยพ.ร.บ.การประกอบกิจการของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542ดีแทคก็จะต้องปรับโครงการการถือครองหุ้นใหม่ โดยการกระจายหุ้นให้เป็นไปตามสัดส่วนที่กฏหมายกำหนด
"ดีแทคยืนยันว่าปฏิบัติถูกต้อง เพราะบริษัทดำเนินธุรกิจมาเป็น 10 กว่าปี ก็ทำตามระเบียบของกระทรวงพาณิชย์ทุกอย่าง เดิมรัฐบาลต้องการให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ จึงเปิดกว้างเพื่อให้นักลงทุนเข้ามา ซึ่งก็มีนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ถ้าการดำเนินการลักษณะนี้แล้วผิดก็คงจะกระทบในทุกๆ อุตสาหกรรมไม่ใช่แค่ดีแทค"แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม ดีแทคมองว่าการแจ้งความดังกล่าว เป็นเรื่องที่ทรูมูฟต้องการที่จะต่อรองให้ดีแทคถอนฟ้อง ที่ดีแทคได้ร้องขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งระงับการดำเนินธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ที่มีการทำสัญญาระหว่าง บริษัท กสท โทรคมนาคม กับกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ทั้งการให้บริการระบบ CDMA และ 3G HSPA แต่ศาลมีคำสั่งไม่คุ้มครอง รับเฉพาะการขอให้ยกเลิกมติบอร์ดกสท ที่อนุมัติให้มีการลงนามในสัญญาการให้บริการมือถือรูปแบบใหม่เมื่อวันที่ 14 ม.ค.2554 และมีการลงนามในสัญญาไปเมื่อวันที่ 17 ม.ค.2554 ไว้พิจารณา
"เรื่องต่างด้าว เป็นเรื่องที่เปิดช่องให้คู่แข่งโจมตีมาตลอด อยากถามว่าที่ผ่านมา ดีแทคทำความเสียหายให้กับประเทศชาติตรงไหนและมีผลกระทบต่อความมั่นคงหรือไม่ ก็ไม่ใช่ มีแต่จะพัฒนาการให้บริการแก่ประชาชนมากกว่าจะเห็นผลประโยชน์ธุรกิจส่วนตัว"แหล่งข่าวกล่าว