“ทรูมูฟ” แจ้งความดำเนินคดี “ดีแทค” ให้ต่างด้าวถือหุ้นมากถึงร้อยละ 71.35 เกินกว่ากฎหมายกำหนด แต่แจ้งสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าวกับกระทรวงพาณิชย์ไว้เพียงร้อยละ 49
วันนี้ (14 มิ.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่กองปราบปราม นางศุภสรณ์ โหรชัยยะ อายุ 32 ปี ตัวแทน บริษัท ทรูมูฟ จำกัด เดินทางเข้าพบ พ.ต.อ.สำราญ ยินดีอารมณ์ รอง ผบก.ป. เพื่อแจ้งความดำเนินคดีต่อบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กลุ่มบุคคล และกลุ่มบริษัทที่มีพฤติกรรมสนับสนุนคนต่างด้าว คือ ดีแทค ที่เป็นนิติบุคคลให้สามารถทำธุรกิจโทรคมนาคมที่เป็นธุรกิจต้องห้ามของต่างด้าวได้ โดยหลีกเลี่ยง มาตรา 4 พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่าวด้าว พ.ศ. 2542 และข้อหาแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชน และนำเอกสารดังกล่าวไปใช้สำหรับเป็นพยานหลักฐานโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนประมวลกฎหมายอาญา
ทั้งนี้ ในการเข้าร้องทุกข์ดังกล่าว นายศุภกรณ์ พร้อมพนักงาน บริษัท ทรูมูฟ ได้นำเอกสารที่เกี่ยวข้องมาแจกจ่ายสื่อมวลชน เช่น รายงานผลการพิจารณา เรื่องร้องเรียนกรณีปัญหาการถือหุ้น การครอบงำกิจการ และการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยคนต่างด้าวที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมของคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน 2554 และเอกสารสรุปการถือหุ้นของดีแทค มามอบให้พนักงานสอบสวนเพื่อประกอบการพิจารณา
โดยรายงานดังกล่าวระบุว่า ดีแทคเป็นบุคคลต่างด้าวตามกฎหมายเนื่องจากมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นโดยคนไทยร้อยละ 28.65 และมีคนต่างด้าวถือหุ้นร้อยละ 71.35
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่า ดีแทคซึ่งแจ้งสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าวกับกระทรวงพาณิชย์ไว้เพียงร้อยละ 49 แต่ปรากฏว่าบริษัท เทเลนอร์ เอเซีย จำกัด (สิงคโปร์) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจต่างประเทศ กลับแจ้งข้อมูลการถือหุ้นต่อตลาดหลักทรัพย์ที่ประเทศนอร์เวย์ และสิงคโปร์ว่า ถือหุ้นดีแทคเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 66.50 โดยกระจายการถือหุ้นให้กลุ่มบุคคลและกลุ่มบริษัทต่างๆจำนวนมากเป็นผู้ถือหุ้นแทนนั้นส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ
นางศุภสรณ์กล่าวว่า ทรูดำเนินการเรื่องนี้มากว่า 3 ปี สาเหตุที่ทำเรื่องนี้เพราะกฎหมายเขียนไว้ชัดแต่การตีความบังคับใช้ไม่ถูกต้อง ไม่สอดคล้อง เราต้องการความชัดเจน โปร่งใส เพื่อจะได้มีการแข่งขันกันอย่างเสรีในกฎเกณฑ์เดียวกันเท่าเทียมกัน
สำหรับสัดส่วนผู้ถือหุ้นบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ตามรายงานผลการพิจารณาของคณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย สัดส่วนบุคคลและนิติบุคคลไทยที่เป็นผู้ถือหุ้นคนไทยถืออยู่รวมร้อยละ 28.65 ในขณะที่สัดส่วนนิติบุคคลต่างด้าวที่เป็นผู้ถือหุ้นถือรวมอยู่ทั้งสิ้นร้อยละ 71.35 ได้แก่
1.บริษัท เทเลนอร์ เอเซีย จำกัด (สิงคโปร์) ร้อยละ 39.58 2.บริษัท ไทยเทลโค โฮลดิ้งส์ จำกัด ร้อยละ 25.59 3.NORTRUST NOMINEES LIMITED3NTGS ร้อยละ 3.46 4.THE CENTRAL DEPOSITORY PTE.LTD. ร้อยละ 1.24 5.STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY FOR LONDON ร้อยละ 0.98 และ6.HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE.LTD. ร้อยละ 0.54
วันนี้ (14 มิ.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่กองปราบปราม นางศุภสรณ์ โหรชัยยะ อายุ 32 ปี ตัวแทน บริษัท ทรูมูฟ จำกัด เดินทางเข้าพบ พ.ต.อ.สำราญ ยินดีอารมณ์ รอง ผบก.ป. เพื่อแจ้งความดำเนินคดีต่อบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กลุ่มบุคคล และกลุ่มบริษัทที่มีพฤติกรรมสนับสนุนคนต่างด้าว คือ ดีแทค ที่เป็นนิติบุคคลให้สามารถทำธุรกิจโทรคมนาคมที่เป็นธุรกิจต้องห้ามของต่างด้าวได้ โดยหลีกเลี่ยง มาตรา 4 พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่าวด้าว พ.ศ. 2542 และข้อหาแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชน และนำเอกสารดังกล่าวไปใช้สำหรับเป็นพยานหลักฐานโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนประมวลกฎหมายอาญา
ทั้งนี้ ในการเข้าร้องทุกข์ดังกล่าว นายศุภกรณ์ พร้อมพนักงาน บริษัท ทรูมูฟ ได้นำเอกสารที่เกี่ยวข้องมาแจกจ่ายสื่อมวลชน เช่น รายงานผลการพิจารณา เรื่องร้องเรียนกรณีปัญหาการถือหุ้น การครอบงำกิจการ และการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยคนต่างด้าวที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมของคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน 2554 และเอกสารสรุปการถือหุ้นของดีแทค มามอบให้พนักงานสอบสวนเพื่อประกอบการพิจารณา
โดยรายงานดังกล่าวระบุว่า ดีแทคเป็นบุคคลต่างด้าวตามกฎหมายเนื่องจากมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นโดยคนไทยร้อยละ 28.65 และมีคนต่างด้าวถือหุ้นร้อยละ 71.35
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่า ดีแทคซึ่งแจ้งสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าวกับกระทรวงพาณิชย์ไว้เพียงร้อยละ 49 แต่ปรากฏว่าบริษัท เทเลนอร์ เอเซีย จำกัด (สิงคโปร์) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจต่างประเทศ กลับแจ้งข้อมูลการถือหุ้นต่อตลาดหลักทรัพย์ที่ประเทศนอร์เวย์ และสิงคโปร์ว่า ถือหุ้นดีแทคเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 66.50 โดยกระจายการถือหุ้นให้กลุ่มบุคคลและกลุ่มบริษัทต่างๆจำนวนมากเป็นผู้ถือหุ้นแทนนั้นส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ
นางศุภสรณ์กล่าวว่า ทรูดำเนินการเรื่องนี้มากว่า 3 ปี สาเหตุที่ทำเรื่องนี้เพราะกฎหมายเขียนไว้ชัดแต่การตีความบังคับใช้ไม่ถูกต้อง ไม่สอดคล้อง เราต้องการความชัดเจน โปร่งใส เพื่อจะได้มีการแข่งขันกันอย่างเสรีในกฎเกณฑ์เดียวกันเท่าเทียมกัน
สำหรับสัดส่วนผู้ถือหุ้นบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ตามรายงานผลการพิจารณาของคณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย สัดส่วนบุคคลและนิติบุคคลไทยที่เป็นผู้ถือหุ้นคนไทยถืออยู่รวมร้อยละ 28.65 ในขณะที่สัดส่วนนิติบุคคลต่างด้าวที่เป็นผู้ถือหุ้นถือรวมอยู่ทั้งสิ้นร้อยละ 71.35 ได้แก่
1.บริษัท เทเลนอร์ เอเซีย จำกัด (สิงคโปร์) ร้อยละ 39.58 2.บริษัท ไทยเทลโค โฮลดิ้งส์ จำกัด ร้อยละ 25.59 3.NORTRUST NOMINEES LIMITED3NTGS ร้อยละ 3.46 4.THE CENTRAL DEPOSITORY PTE.LTD. ร้อยละ 1.24 5.STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY FOR LONDON ร้อยละ 0.98 และ6.HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE.LTD. ร้อยละ 0.54