ในการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคการเมืองเล็กใหญ่เสนอแนวนโยบายไม่ต่างกันนักนอกจากของพรรคหนึ่งซึ่งซุกการนิรโทษกรรมและการแก้แค้นไว้ในนามของความปรองดองและการแก้ไขนโยบายที่คล้ายกันมากได้แก่การจะเพิ่มของเปล่าให้แก่ชาวบ้านชาวเมือง ส่วนเรื่องที่ต่างกันคือใครจะให้มากกว่าซึ่งมองได้ว่าเป็นการเกทับกันในการสร้างประชานิยม ในฐานะผู้วิจารณ์การนำประชานิยมมาใช้ตั้งแต่สมัยรัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้งปี 2544 (การวิจารณ์ปรากฏในสื่อต่างๆ รวมทั้งในหนังสือชื่อ “ประชานิยม: หายนะจากอาร์เจนตินาถึงไทย?” ซึ่งพิมพ์เมื่อปี 2546 “เลียนแบบรุ่ง ลอกแบบล่ม : บทวิเคราะห์เพื่อทลายมายาภาพทักษิโณมิกส์” ซึ่งพิมพ์เมื่อปี 2548 และอีกเล่มหนึ่งซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างจัดพิมพ์ชื่อ “ประชานิยม: ทางสู่ความหายนะ”) ขอพูดถึงบางประเด็น
“ประชานิยม” ตามพจนานุกรมหมายถึง “แนวคิดและกิจกรรมทางการเมืองเกี่ยวกับเรื่องความต้องการและความปรารถนาของสามัญชน” อย่างไรก็ตาม มันถูกนำมาใช้ในหลายนัยจนมักทำให้เกิดความสับสน บางคนใช้ในนัยของอุดมการณ์ที่ยึดความต้องการของสามัญชนเป็นที่ตั้ง บางคนใช้ในนัยของปรัชญาทางการเมืองอันเนื่องมาจากการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสามัญชนกับคนชั้นสูงเพื่อชี้นำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ฯลฯ นัยที่พูดถึงกันในเมืองไทยเป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวนโยบายที่เคยใช้อยู่ในละตินอเมริกาโดยเฉพาะในอาร์เจนตินาทั้งที่มีการใช้ในประเทศอื่นด้วย
แนวนโยบายที่เคยใช้กันอยู่ในละตินอเมริกาได้แก่การมุ่งสร้างความนิยมให้พรรคและตัวนักการเมือง หรือผู้กุมอำนาจบริหารบ้านเมืองเป็นที่ตั้งผ่านการหยิบยื่นของเปล่าให้แก่ประชาชนทั่วไปหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การหยิบยื่นอาจทำผ่านโครงการ มาตรการและนโยบายของรัฐที่มองเห็นได้อย่างชัดแจ้ง แต่ส่วนใหญ่มักแฝงไว้ในโครงการและมาตรการต่างๆ เพื่อให้มีข้ออ้างที่ดูสมเหตุสมผลตามหลักวิชาการ โครงการและมาตรการเหล่านั้นอาจไม่เกี่ยวกับการใช้งบประมาณของรัฐ แต่ส่วนใหญ่จะใช้เงินไม่ในทางตรงก็ทางอ้อม
อาร์เจนตินาเป็นต้นตำหรับของประชานิยม บริบทในสังคมที่นั่นซึ่งเอื้อให้มันเกิดขึ้นคือช่องว่างระหว่างชนชั้นเจ้าของที่ดินซึ่งร่ำรวยมหาศาลกับชนชั้นกรรมกรซึ่งยากจนเป็นส่วนใหญ่ และอำนาจทางการเมืองที่ตกอยู่ในครอบครองของพวกเจ้าของที่ดิน เมื่อกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งบังคับให้ประชาชนไปออกเสียงเลือกตั้งพร้อมทั้งเปิดโอกาสอย่างกว้างขวางให้แก่นักการเมืองใหม่ๆ นักการเมืองหัวใสชื่อ ฮิโปลิโต อิริโกเยน ก็เกิดขึ้น เขาให้คำมั่นสัญญาแก่กลุ่มต่างๆ ที่เสียเปรียบทางสังคมว่าจะดำเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์ให้พวกนั้น ผลปรากฏว่าเขาชนะการเลือกตั้งครั้งแรกที่เกิดขึ้นตามกรอบรัฐธรรมนูญใหม่ในปี 2459
เมื่อมีอำนาจ เขาก็เริ่มนโยบายซื้อใจประชาชนด้วยเงินงบประมาณพร้อมกับปูฐานทางการเมืองต่อไปด้วยการใช้วิชามารสารพัดอย่างรวมทั้งจำพวกเดรัจฉาน เช่น การฆ่าตัดตอน มาตรการและโครงการประชานิยมต่างๆ สร้างความนิยมสูงให้นักการเมืองและรัฐบาลส่งผลให้ใช้กันอย่างต่อเนื่องมาจนกลายเป็นยาเสพติดที่พาสังคมไปสู่ความล้มละลาย
กระบวนการที่นำไปสู่ความล้มละลายเริ่มจากรัฐบาลใช้เงินเกินรายได้จึงนำเงินสำรองออกมาใช้จนหมดแล้วไปกู้จากต่างประเทศ เมื่อกู้มากจนไม่มีใครให้กู้อีกต่อไปก็พิมพ์ธนบัตรใหม่จำนวนมหาศาลออกมาซึ่งนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อและค่าของเงินตราตกต่ำเป็นรายวัน เมื่อเงินแทบหมดค่าและอาร์เจนตินาใช้หนี้ไม่ได้ ภาวะล้มละลายก็เกิดขึ้น 40 ปีจากวันที่เริ่มใช้ประชานิยม จากนั้นมาอาร์เจนตินาก็พัฒนาแบบล้มลุกคลุกคลานเกือบจะเป็นการถาวรเป็นเวลาถึง 55 ปี กระบวนการแนวนี้เกิดที่เวเนซุเอลาในเวลาต่อมาด้วย
เนื่องจากการใช้ประชานิยมในเมืองไทยเพิ่งเริ่มได้ 10 ปี ผู้อ่านคงจำวิวัฒนาการของมันได้จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงนอกจากจะตั้งข้อสังเกตว่า บริบทในสังคมไทยและการเสนอใช้ประชานิยมที่นำไปสู่การเลือกตั้งปี 2544 ตามด้วยรัฐบาลเริ่มใช้วิชามารรวมทั้งการฆ่าตัดตอนนั้นมีความคล้ายกันแบบชวนขนลุกกับของอาร์เจนตินาที่นำไปสู่การเลือกตั้งปี 2459 ตามด้วยการใช้วิชามารขั้นโหดเหี้ยม
เมืองไทยจะเดินเข้าสู่ความล้มละลายตามด้วยความล้มลุกคลุกคลานหรือไม่คงทำนายไม่ได้ในตอนนี้เพราะยังมีเวลากลับลำ ปัจจัยที่จะทำให้กลับลำคือการรู้สำนึกของประชาชนซึ่งจะยับยั้งนักการเมืองเลวทราม รองลงมาก็เป็นสำนักงานราชการและองค์กรอิสระที่ดูแลกิจการทางด้านการเงิน เช่น สำนักงบประมาณและธนาคารแห่งประเทศไทย เนื่องจากพรรคการเมืองเล็กใหญ่ต่างเสนอนโยบายในแนวประชานิยมเหมือนๆ กัน ในการเลือกตั้งครั้งนี้ประชาชนจึงแทบไม่มีทางเลือก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนักการเมืองของพรรคหนึ่งประกาศออกมาแล้วว่าจะย้ายข้าราชการ รื้อศาลและจัดการกับองค์กรอิสระที่ไม่ทำตามความเลวทรามของตน ประชาชนคงตัดสินใจได้ว่าจะเลือกพรรคไหน หรือไม่เลือกใครเพื่อขอไปตายดาบหน้าดีกว่าที่จะมีส่วนทำให้เมืองไทยเป็นสังคมไร้เงาหัว
“ประชานิยม” ตามพจนานุกรมหมายถึง “แนวคิดและกิจกรรมทางการเมืองเกี่ยวกับเรื่องความต้องการและความปรารถนาของสามัญชน” อย่างไรก็ตาม มันถูกนำมาใช้ในหลายนัยจนมักทำให้เกิดความสับสน บางคนใช้ในนัยของอุดมการณ์ที่ยึดความต้องการของสามัญชนเป็นที่ตั้ง บางคนใช้ในนัยของปรัชญาทางการเมืองอันเนื่องมาจากการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสามัญชนกับคนชั้นสูงเพื่อชี้นำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ฯลฯ นัยที่พูดถึงกันในเมืองไทยเป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวนโยบายที่เคยใช้อยู่ในละตินอเมริกาโดยเฉพาะในอาร์เจนตินาทั้งที่มีการใช้ในประเทศอื่นด้วย
แนวนโยบายที่เคยใช้กันอยู่ในละตินอเมริกาได้แก่การมุ่งสร้างความนิยมให้พรรคและตัวนักการเมือง หรือผู้กุมอำนาจบริหารบ้านเมืองเป็นที่ตั้งผ่านการหยิบยื่นของเปล่าให้แก่ประชาชนทั่วไปหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การหยิบยื่นอาจทำผ่านโครงการ มาตรการและนโยบายของรัฐที่มองเห็นได้อย่างชัดแจ้ง แต่ส่วนใหญ่มักแฝงไว้ในโครงการและมาตรการต่างๆ เพื่อให้มีข้ออ้างที่ดูสมเหตุสมผลตามหลักวิชาการ โครงการและมาตรการเหล่านั้นอาจไม่เกี่ยวกับการใช้งบประมาณของรัฐ แต่ส่วนใหญ่จะใช้เงินไม่ในทางตรงก็ทางอ้อม
อาร์เจนตินาเป็นต้นตำหรับของประชานิยม บริบทในสังคมที่นั่นซึ่งเอื้อให้มันเกิดขึ้นคือช่องว่างระหว่างชนชั้นเจ้าของที่ดินซึ่งร่ำรวยมหาศาลกับชนชั้นกรรมกรซึ่งยากจนเป็นส่วนใหญ่ และอำนาจทางการเมืองที่ตกอยู่ในครอบครองของพวกเจ้าของที่ดิน เมื่อกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งบังคับให้ประชาชนไปออกเสียงเลือกตั้งพร้อมทั้งเปิดโอกาสอย่างกว้างขวางให้แก่นักการเมืองใหม่ๆ นักการเมืองหัวใสชื่อ ฮิโปลิโต อิริโกเยน ก็เกิดขึ้น เขาให้คำมั่นสัญญาแก่กลุ่มต่างๆ ที่เสียเปรียบทางสังคมว่าจะดำเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์ให้พวกนั้น ผลปรากฏว่าเขาชนะการเลือกตั้งครั้งแรกที่เกิดขึ้นตามกรอบรัฐธรรมนูญใหม่ในปี 2459
เมื่อมีอำนาจ เขาก็เริ่มนโยบายซื้อใจประชาชนด้วยเงินงบประมาณพร้อมกับปูฐานทางการเมืองต่อไปด้วยการใช้วิชามารสารพัดอย่างรวมทั้งจำพวกเดรัจฉาน เช่น การฆ่าตัดตอน มาตรการและโครงการประชานิยมต่างๆ สร้างความนิยมสูงให้นักการเมืองและรัฐบาลส่งผลให้ใช้กันอย่างต่อเนื่องมาจนกลายเป็นยาเสพติดที่พาสังคมไปสู่ความล้มละลาย
กระบวนการที่นำไปสู่ความล้มละลายเริ่มจากรัฐบาลใช้เงินเกินรายได้จึงนำเงินสำรองออกมาใช้จนหมดแล้วไปกู้จากต่างประเทศ เมื่อกู้มากจนไม่มีใครให้กู้อีกต่อไปก็พิมพ์ธนบัตรใหม่จำนวนมหาศาลออกมาซึ่งนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อและค่าของเงินตราตกต่ำเป็นรายวัน เมื่อเงินแทบหมดค่าและอาร์เจนตินาใช้หนี้ไม่ได้ ภาวะล้มละลายก็เกิดขึ้น 40 ปีจากวันที่เริ่มใช้ประชานิยม จากนั้นมาอาร์เจนตินาก็พัฒนาแบบล้มลุกคลุกคลานเกือบจะเป็นการถาวรเป็นเวลาถึง 55 ปี กระบวนการแนวนี้เกิดที่เวเนซุเอลาในเวลาต่อมาด้วย
เนื่องจากการใช้ประชานิยมในเมืองไทยเพิ่งเริ่มได้ 10 ปี ผู้อ่านคงจำวิวัฒนาการของมันได้จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงนอกจากจะตั้งข้อสังเกตว่า บริบทในสังคมไทยและการเสนอใช้ประชานิยมที่นำไปสู่การเลือกตั้งปี 2544 ตามด้วยรัฐบาลเริ่มใช้วิชามารรวมทั้งการฆ่าตัดตอนนั้นมีความคล้ายกันแบบชวนขนลุกกับของอาร์เจนตินาที่นำไปสู่การเลือกตั้งปี 2459 ตามด้วยการใช้วิชามารขั้นโหดเหี้ยม
เมืองไทยจะเดินเข้าสู่ความล้มละลายตามด้วยความล้มลุกคลุกคลานหรือไม่คงทำนายไม่ได้ในตอนนี้เพราะยังมีเวลากลับลำ ปัจจัยที่จะทำให้กลับลำคือการรู้สำนึกของประชาชนซึ่งจะยับยั้งนักการเมืองเลวทราม รองลงมาก็เป็นสำนักงานราชการและองค์กรอิสระที่ดูแลกิจการทางด้านการเงิน เช่น สำนักงบประมาณและธนาคารแห่งประเทศไทย เนื่องจากพรรคการเมืองเล็กใหญ่ต่างเสนอนโยบายในแนวประชานิยมเหมือนๆ กัน ในการเลือกตั้งครั้งนี้ประชาชนจึงแทบไม่มีทางเลือก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนักการเมืองของพรรคหนึ่งประกาศออกมาแล้วว่าจะย้ายข้าราชการ รื้อศาลและจัดการกับองค์กรอิสระที่ไม่ทำตามความเลวทรามของตน ประชาชนคงตัดสินใจได้ว่าจะเลือกพรรคไหน หรือไม่เลือกใครเพื่อขอไปตายดาบหน้าดีกว่าที่จะมีส่วนทำให้เมืองไทยเป็นสังคมไร้เงาหัว