วานนี้ ( 29 พ.ค. ) ที่โรงแรม สวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด เครือข่ายองค์กรสื่อได้จัดสัมมนาสื่อมวลชน เรื่อง พรรคการเมืองตอบโจทย์สื่อ ปฏิรูปประเทศไทย โดยได้เชิญตัวแทนของพรรคการเมืองได้แก่ นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.สำนักนายกฯ ในฐานะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และนายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา เข้าร่วมเสวนา เพื่อแถลงนโยบายและตอบคำถามจากตัวแทนสื่อมวลชน
ในช่วงต้นได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนพรรคการเมืองแถลงนโยบาย ที่ใช้ในการหาเสียงครั้งนี้ โดยนายปลอดประสพ กล่าวว่า หากพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล มี 2 สิ่งที่ต้องทำทันที คือ
1. จะสร้างระบบยุติธรรมและสิทธิ ที่เป็นมาตรฐานเดียว รวมถึงต้องปรับบวนการยุติธรรมไม่ใช้ระบบหมาหมู่ แต่ต้องใช้เหตุผล ซึ่งต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
2. ต้องให้ทหารกลับเข้ากรมกอง เพื่อทำหน้าที่ของวีรบุรุษ ที่สำคัญทหารต้องยอมรับรัฐบาลที่มาจากประชาชน สำหรับประเด็นการปฏิวัตินั้น ตนไม่กลัว และเชื่อว่าปัจจุบันไม่มีใครยอมรับวิธีการดังกล่าวแล้ว
** "สาทิตย์-ปลอด"ปะทะคารมเดือด
ด้านนายสาทิตย์ นำเสนอเรื่องปฏิรูปที่ดินทำกิน ว่าเป็นนโยบายแรกที่พรรคประชาธิปัตย์จะดำเนินการได้ในทันที อาทิ การออกโฉนดชุมชน ภาษีที่ดิน และการเปิดเผยข้อมูลการถือครองที่ดิน สำหรับประเด็นความขัดแย้งในปัจจุบัน ที่หลายฝ่ายมองว่ามีนักการเมืองเป็นต้นเหตุ เบื้องต้นยอมรับว่า นักการเมืองเป็นหัวหอกความขัดแย้ง ดังนั้นการแก้ไขต้องไม่ใช่การออกกฎหมายหรือนิรโทษกรรมให้กับใครที่ทำผิด แต่ต้องให้คนกลาง หรือคนที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับนักการเมืองเข้าไปแก้ไข
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อนายสาทิตย์ กล่าวจบ นายปลอดประสพ ได้พูดแทรกขึ้นว่า " ขอตอบแบบมนุษย์ เวลามีใครทะเลาะถึงขั้นต่อยกัน จะเอาคนกลางมาห้าม คงไม่ได้ ต้องให้ 2 ฝ่ายหยุดกันเอง มาจับมือสัญญาว่าเลิกทะเลาะกัน ดังนั้นการปรองดองเป็นการยินยอมพร้อมใจของผู้ที่แตกแยก ไม่ใช่ให้คนอื่นมาชี้ อย่ามาโม้ ให้คนกลางมาช่วย มันเป็นเพียงนิยาย "
จากนั้น นายสาทิตย์ จึงกล่าวต่อว่า อย่างที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำคนเสื้อแดง เคยพูดบนเวทีว่า หากเพื่อไทยเป็นรัฐบาล จะดำเนินคดีกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ หรือจะย้ายผู้ว่าราชการจังหวัด และขณะนี้ นายจตุพร เข้ามาสมัครรับเลือกตั้งแล้ว ดังนั้นการแก้ไขความขัดแย้งต้องเป็นข้อเสนอที่ปราศจากการมีส่วนได้เสีย และนำไปสู่การปฏิบัติได้
ทั้งนี้ ต้องแยกความขัดแย้งเป็น 2 มิติ คือ การละเลยกระบวนการยุติธรรม ด้วยการไปลบล้างความผิด ซึ่งหากทำเช่นนั้นจริง จะเป็นการสั่นคลอนรากฐานกระบวนการยุติธรรม
ทำให้ นายปลอดประสพ กล่าวสวนขึ้นมาอีกว่า " ผมจะให้ใครเป็นปาร์ตี้ลิสต์ ไม่ใช่เรื่องของท่าน ขอให้มองในแง่ดีหน่อย ผมเอาพวกเขาที่อยู่ริมถนน เข้าสู่ระบบ จะเสียหายอะไร พวกเขาขึ้นเวทีแล้วเป็นคนหรือไม่ และวันนี้พอสมัครแล้ว เขาก็ไม่ได้ขึ้นเวทีกัน ตรงนี้ต้องเคารพกติกาของประเทศ ถึงแม้ว่าแกนนำคนเสื้อแดงไม่มีชื่อในปาร์ตี้สิสต์เพื่อไทย คนเสื้อแดงก็ยังอยู่ ผมว่าคนเราต้องรู้จักให้อภัย และมองโลกในแง่ดี ต้องให้โอกาสเขา"
จากนั้นนายสาทิตย์ กล่าวต่อว่า การเสนอคนกลางที่ไม่มีส่วนได้เสียเข้ามาเป็นกลไกปรองดอง เป็นจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ การพาดพิงบุคคลอื่น เป็นการนำเสนอด้วยความห่วงใย แต่ละเรื่องมีเหตุผลของตนเอง แต่คนที่ตัดสินใจเรื่องดังกล่าว คือ ประชาชน
** อัด"เสื้อแดง"บิดเบือนเจตนารมย์ ม.112
ด้านนายวัชระ กล่าวยอมรับว่า ความขัดแย้งปัจจุบันมาจากนักการเมือง ซึ่งคนทั้งประเทศมองแบบนั้น ดังนั้นวิธีแก้คือ นักการเมืองต้องเคารพกติกา และอยู่ภายใต้กฎหมาย และกฎเลือกตั้ง ส่วนหลังเลือกตั้งแล้วพรรคชาติไทยพัฒนา จะไปอยู่ข้างไหน ขึ้นอยู่กับมติพรรค
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในเวทีดังกล่าวสื่อมวลชนได้สอบถามถึงการบังคับใช้มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ที่ว่าด้วยความผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ นพ.วรรณรัตน์ กล่าวว่า นักการเมืองทุกคนต้องปฏิบัติตามกรอบ โดยเฉพาะขณะนี้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ได้ระบุกฎชัดเจนว่า ต้องไม่หาเสียงโดยกล่าวพาดพิงสถาบันฯ
ด้านนายสาทิตย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีคนบิดเบือนการใช้ มาตรา 112 ว่าเป็นการกลั่นแกล้งบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ทั้งที่จริงเป็นปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายที่ต้องพิสูจน์เจตนา ก่อนหน้านี้ นายอภิสิทธิ์ เคยกล่าวไว้ว่า บุคคลที่ยกเรื่องดังกล่าวมาพูด เป็นสิ่งที่ควรพิจารณว่า คนดังกล่าวมีเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่ ส่วนตัวมองว่าหากพูดถึงมาตรา 112 ต้องแยกแยะว่าเป็นเรื่องของกฎหมาย ที่จำเป็นต้องมีเพื่อพิทักษ์สถาบันฯ หรือการบังคับใช้ ที่ต้องชัดเจนว่า ไมได้มุ่งกลั่นแกล้ง
**แก้กม.ช่วยคนผิดสมานฉันท์ยาก
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้นำผู้สมัครส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ อาทิ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ และตนเอง ไปร่วมกิจกรรมโครงการเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์ โดยกกต.เป็นผู้จัด ซึ่งมีพรรคการเมืองไปส่วนมาก แต่พรรคเพื่อไทย ไม่ไป ทั้งหัวหน้าพรรค และผู้สมัคร
จึงขอตั้งข้อสังเกตุว่า ทำไมพรรคเพื่อไทยจึงไม่สนใจร่วมกิจกรรมโครงการนี้ แต่สนใจที่จะออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับคนบางคน มากกว่าหรือไม่อย่างไร เพราะถ้านายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัครส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อหมายเลข 1ไปร่วมงาน ก็จะทำให้ภาพของการเลือกตั้งสมานฉันท์มากขึ้น ดีกว่าไปใช้วิธีการต่างๆ นานา ที่อาจจะไม่สมานฉันท์ เพราะฉะนั้นจึงอยากวิงวอนไปยังพรรคเพื่อไทยว่า หากมีกิจกรรมใดที่เป็นการเลือกตั้งสมานฉันท์ ก็ควรจะมาร่วม ซึ่งอย่าหวังว่าการนิรโทษกรรมเป็นการสมานฉันท์ เพราะการนิรโทษกรรมโดยมีจุดหมายแฝงเร้นเพื่อคนๆเดียว จะไม่สามารถสมานฉันท์ได้
ในช่วงต้นได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนพรรคการเมืองแถลงนโยบาย ที่ใช้ในการหาเสียงครั้งนี้ โดยนายปลอดประสพ กล่าวว่า หากพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล มี 2 สิ่งที่ต้องทำทันที คือ
1. จะสร้างระบบยุติธรรมและสิทธิ ที่เป็นมาตรฐานเดียว รวมถึงต้องปรับบวนการยุติธรรมไม่ใช้ระบบหมาหมู่ แต่ต้องใช้เหตุผล ซึ่งต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
2. ต้องให้ทหารกลับเข้ากรมกอง เพื่อทำหน้าที่ของวีรบุรุษ ที่สำคัญทหารต้องยอมรับรัฐบาลที่มาจากประชาชน สำหรับประเด็นการปฏิวัตินั้น ตนไม่กลัว และเชื่อว่าปัจจุบันไม่มีใครยอมรับวิธีการดังกล่าวแล้ว
** "สาทิตย์-ปลอด"ปะทะคารมเดือด
ด้านนายสาทิตย์ นำเสนอเรื่องปฏิรูปที่ดินทำกิน ว่าเป็นนโยบายแรกที่พรรคประชาธิปัตย์จะดำเนินการได้ในทันที อาทิ การออกโฉนดชุมชน ภาษีที่ดิน และการเปิดเผยข้อมูลการถือครองที่ดิน สำหรับประเด็นความขัดแย้งในปัจจุบัน ที่หลายฝ่ายมองว่ามีนักการเมืองเป็นต้นเหตุ เบื้องต้นยอมรับว่า นักการเมืองเป็นหัวหอกความขัดแย้ง ดังนั้นการแก้ไขต้องไม่ใช่การออกกฎหมายหรือนิรโทษกรรมให้กับใครที่ทำผิด แต่ต้องให้คนกลาง หรือคนที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับนักการเมืองเข้าไปแก้ไข
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อนายสาทิตย์ กล่าวจบ นายปลอดประสพ ได้พูดแทรกขึ้นว่า " ขอตอบแบบมนุษย์ เวลามีใครทะเลาะถึงขั้นต่อยกัน จะเอาคนกลางมาห้าม คงไม่ได้ ต้องให้ 2 ฝ่ายหยุดกันเอง มาจับมือสัญญาว่าเลิกทะเลาะกัน ดังนั้นการปรองดองเป็นการยินยอมพร้อมใจของผู้ที่แตกแยก ไม่ใช่ให้คนอื่นมาชี้ อย่ามาโม้ ให้คนกลางมาช่วย มันเป็นเพียงนิยาย "
จากนั้น นายสาทิตย์ จึงกล่าวต่อว่า อย่างที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำคนเสื้อแดง เคยพูดบนเวทีว่า หากเพื่อไทยเป็นรัฐบาล จะดำเนินคดีกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ หรือจะย้ายผู้ว่าราชการจังหวัด และขณะนี้ นายจตุพร เข้ามาสมัครรับเลือกตั้งแล้ว ดังนั้นการแก้ไขความขัดแย้งต้องเป็นข้อเสนอที่ปราศจากการมีส่วนได้เสีย และนำไปสู่การปฏิบัติได้
ทั้งนี้ ต้องแยกความขัดแย้งเป็น 2 มิติ คือ การละเลยกระบวนการยุติธรรม ด้วยการไปลบล้างความผิด ซึ่งหากทำเช่นนั้นจริง จะเป็นการสั่นคลอนรากฐานกระบวนการยุติธรรม
ทำให้ นายปลอดประสพ กล่าวสวนขึ้นมาอีกว่า " ผมจะให้ใครเป็นปาร์ตี้ลิสต์ ไม่ใช่เรื่องของท่าน ขอให้มองในแง่ดีหน่อย ผมเอาพวกเขาที่อยู่ริมถนน เข้าสู่ระบบ จะเสียหายอะไร พวกเขาขึ้นเวทีแล้วเป็นคนหรือไม่ และวันนี้พอสมัครแล้ว เขาก็ไม่ได้ขึ้นเวทีกัน ตรงนี้ต้องเคารพกติกาของประเทศ ถึงแม้ว่าแกนนำคนเสื้อแดงไม่มีชื่อในปาร์ตี้สิสต์เพื่อไทย คนเสื้อแดงก็ยังอยู่ ผมว่าคนเราต้องรู้จักให้อภัย และมองโลกในแง่ดี ต้องให้โอกาสเขา"
จากนั้นนายสาทิตย์ กล่าวต่อว่า การเสนอคนกลางที่ไม่มีส่วนได้เสียเข้ามาเป็นกลไกปรองดอง เป็นจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ การพาดพิงบุคคลอื่น เป็นการนำเสนอด้วยความห่วงใย แต่ละเรื่องมีเหตุผลของตนเอง แต่คนที่ตัดสินใจเรื่องดังกล่าว คือ ประชาชน
** อัด"เสื้อแดง"บิดเบือนเจตนารมย์ ม.112
ด้านนายวัชระ กล่าวยอมรับว่า ความขัดแย้งปัจจุบันมาจากนักการเมือง ซึ่งคนทั้งประเทศมองแบบนั้น ดังนั้นวิธีแก้คือ นักการเมืองต้องเคารพกติกา และอยู่ภายใต้กฎหมาย และกฎเลือกตั้ง ส่วนหลังเลือกตั้งแล้วพรรคชาติไทยพัฒนา จะไปอยู่ข้างไหน ขึ้นอยู่กับมติพรรค
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในเวทีดังกล่าวสื่อมวลชนได้สอบถามถึงการบังคับใช้มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ที่ว่าด้วยความผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ นพ.วรรณรัตน์ กล่าวว่า นักการเมืองทุกคนต้องปฏิบัติตามกรอบ โดยเฉพาะขณะนี้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ได้ระบุกฎชัดเจนว่า ต้องไม่หาเสียงโดยกล่าวพาดพิงสถาบันฯ
ด้านนายสาทิตย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีคนบิดเบือนการใช้ มาตรา 112 ว่าเป็นการกลั่นแกล้งบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ทั้งที่จริงเป็นปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายที่ต้องพิสูจน์เจตนา ก่อนหน้านี้ นายอภิสิทธิ์ เคยกล่าวไว้ว่า บุคคลที่ยกเรื่องดังกล่าวมาพูด เป็นสิ่งที่ควรพิจารณว่า คนดังกล่าวมีเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่ ส่วนตัวมองว่าหากพูดถึงมาตรา 112 ต้องแยกแยะว่าเป็นเรื่องของกฎหมาย ที่จำเป็นต้องมีเพื่อพิทักษ์สถาบันฯ หรือการบังคับใช้ ที่ต้องชัดเจนว่า ไมได้มุ่งกลั่นแกล้ง
**แก้กม.ช่วยคนผิดสมานฉันท์ยาก
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้นำผู้สมัครส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ อาทิ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ และตนเอง ไปร่วมกิจกรรมโครงการเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์ โดยกกต.เป็นผู้จัด ซึ่งมีพรรคการเมืองไปส่วนมาก แต่พรรคเพื่อไทย ไม่ไป ทั้งหัวหน้าพรรค และผู้สมัคร
จึงขอตั้งข้อสังเกตุว่า ทำไมพรรคเพื่อไทยจึงไม่สนใจร่วมกิจกรรมโครงการนี้ แต่สนใจที่จะออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับคนบางคน มากกว่าหรือไม่อย่างไร เพราะถ้านายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัครส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อหมายเลข 1ไปร่วมงาน ก็จะทำให้ภาพของการเลือกตั้งสมานฉันท์มากขึ้น ดีกว่าไปใช้วิธีการต่างๆ นานา ที่อาจจะไม่สมานฉันท์ เพราะฉะนั้นจึงอยากวิงวอนไปยังพรรคเพื่อไทยว่า หากมีกิจกรรมใดที่เป็นการเลือกตั้งสมานฉันท์ ก็ควรจะมาร่วม ซึ่งอย่าหวังว่าการนิรโทษกรรมเป็นการสมานฉันท์ เพราะการนิรโทษกรรมโดยมีจุดหมายแฝงเร้นเพื่อคนๆเดียว จะไม่สามารถสมานฉันท์ได้