เอเจนซีส์ – นิวยอร์กซิตี้หวังเตือนสติผู้ขับขี่ให้ลดความเร่งรีบลงบ้าง ด้วยการติดสัญญาณไฟกะพริบรูปหัวกะโหลกไว้ริมถนน
การคมนาคมนครนิวยอร์กประกาศแผนติดตั้งบอร์ดและเรดาร์ดอปเปลอร์ตรวจจับความเร็วของรถราที่ผ่านไปผ่านมา
โดยผู้ขับขี่จะเห็นภาพบนสัญญาณไฟเป็นรูปคนเดินที่คุ้นตา ซึ่งหมายถึงทางข้ามและเป็นเขตจำกัดความเร็วไม่เกิน 30 ไมล์ (48 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง
แต่ถ้าเรดาร์ตรวจพบว่า รถคันใดยังไม่ยอมชะลอความเร็ว ภาพบนสัญญาณไฟที่ทางข้ามจะเปลี่ยนจากคนเดินเป็นรูปหัวกะโหลกกะพริบ
สภาเมืองนิวยอร์กแถลงโดยอ้างอิงรายงานการวิจัยที่ระบุว่า คนเดินเท้าที่ถูกรถที่วิ่งด้วยความเร็ว 30 ไมล์ต่อชั่วโมงชน มีโอกาสรอดชีวิต 80%
อย่างไรก็ตาม ถ้าถูกชนที่ระดับความเร็ว 40 ไมล์ (64 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง โอกาสรอดชีวิตจะเหลือเพียง 30% เท่านั้น
ดังนั้น ภาพหัวกะโหลกจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งในแคมเปญโฆษณา ‘ทำไมถึงต้อง 30’ ของการคมนาคมแห่งนิวยอร์กซิตี้
ส่วนที่ 2 ของแคมเปญนี้คือ ‘เขตลดความเร็ว’ ที่ถูกนำมาใช้ในมหานครแห่งนี้โดยเริ่มต้นจากย่านแคลร์มองต์ในเขตบรองซ์เป็นจุดแรก
ในพื้นที่ดังกล่าว การจำกัดความเร็วจะลดลงอยู่ที่ 20 ไมล์ (32 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง ซึ่งการคมนาคมระบุว่า บริเวณนี้มีโรงเรียนและที่พักอาศัยจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นมากขึ้นในการควบคุมให้ความเร็วในการจราจรลดลง
แคลร์มองต์จะเป็นพื้นที่ทดสอบ โดยการคมนาคม มีแผนขยายเขตลดความเร็วออกไปในอีก 5 พื้นที่
เจเน็ตต์ ซาดิก-คาห์น กรรมาธิการการคมนาคมนิวยอร์กซิตี้ บอกว่าไม่มีภัยคุกคามต่อความปลอดภัยใดๆ จะชัดเจนยิ่งไปกว่าภัยจากความเร็วอีกแล้ว
“ความปลอดภัยเป็นหนึ่งในหลายๆ สิ่งที่ยากต่อการกำหนดขอบเขต แต่ขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่ชีวิตเราขาดไม่ได้”
ไมเคิล บลูมเบิร์ก นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก เสริมว่านับจากปี 2004 เป็นต้นมา สถิติการเสียชีวิตบนท้องถนนลดลงทุกปี โดยอัตราการลดลงนี้สูงกว่าช่วงเวลาใดๆ นับจากปี 1910 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการบันทึกสถิตินี้
นิวยอร์กซิตี้ยังอวดอ้างในคำแถลงว่า สถิติการเสียชีวิตจากการจราจรของเมืองนี้ น้อยกว่าสถิติทั่วประเทศถึง 1 ใน 3 อย่างไรก็ดี งานวิจัยไม่ได้ตรวจสอบว่า การจราจรที่แออัดของมหานครแห่งนี้มีบทบาทต่อสถิติที่ลดลงอย่างไร
การคมนาคมนครนิวยอร์กประกาศแผนติดตั้งบอร์ดและเรดาร์ดอปเปลอร์ตรวจจับความเร็วของรถราที่ผ่านไปผ่านมา
โดยผู้ขับขี่จะเห็นภาพบนสัญญาณไฟเป็นรูปคนเดินที่คุ้นตา ซึ่งหมายถึงทางข้ามและเป็นเขตจำกัดความเร็วไม่เกิน 30 ไมล์ (48 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง
แต่ถ้าเรดาร์ตรวจพบว่า รถคันใดยังไม่ยอมชะลอความเร็ว ภาพบนสัญญาณไฟที่ทางข้ามจะเปลี่ยนจากคนเดินเป็นรูปหัวกะโหลกกะพริบ
สภาเมืองนิวยอร์กแถลงโดยอ้างอิงรายงานการวิจัยที่ระบุว่า คนเดินเท้าที่ถูกรถที่วิ่งด้วยความเร็ว 30 ไมล์ต่อชั่วโมงชน มีโอกาสรอดชีวิต 80%
อย่างไรก็ตาม ถ้าถูกชนที่ระดับความเร็ว 40 ไมล์ (64 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง โอกาสรอดชีวิตจะเหลือเพียง 30% เท่านั้น
ดังนั้น ภาพหัวกะโหลกจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งในแคมเปญโฆษณา ‘ทำไมถึงต้อง 30’ ของการคมนาคมแห่งนิวยอร์กซิตี้
ส่วนที่ 2 ของแคมเปญนี้คือ ‘เขตลดความเร็ว’ ที่ถูกนำมาใช้ในมหานครแห่งนี้โดยเริ่มต้นจากย่านแคลร์มองต์ในเขตบรองซ์เป็นจุดแรก
ในพื้นที่ดังกล่าว การจำกัดความเร็วจะลดลงอยู่ที่ 20 ไมล์ (32 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง ซึ่งการคมนาคมระบุว่า บริเวณนี้มีโรงเรียนและที่พักอาศัยจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นมากขึ้นในการควบคุมให้ความเร็วในการจราจรลดลง
แคลร์มองต์จะเป็นพื้นที่ทดสอบ โดยการคมนาคม มีแผนขยายเขตลดความเร็วออกไปในอีก 5 พื้นที่
เจเน็ตต์ ซาดิก-คาห์น กรรมาธิการการคมนาคมนิวยอร์กซิตี้ บอกว่าไม่มีภัยคุกคามต่อความปลอดภัยใดๆ จะชัดเจนยิ่งไปกว่าภัยจากความเร็วอีกแล้ว
“ความปลอดภัยเป็นหนึ่งในหลายๆ สิ่งที่ยากต่อการกำหนดขอบเขต แต่ขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่ชีวิตเราขาดไม่ได้”
ไมเคิล บลูมเบิร์ก นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก เสริมว่านับจากปี 2004 เป็นต้นมา สถิติการเสียชีวิตบนท้องถนนลดลงทุกปี โดยอัตราการลดลงนี้สูงกว่าช่วงเวลาใดๆ นับจากปี 1910 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการบันทึกสถิตินี้
นิวยอร์กซิตี้ยังอวดอ้างในคำแถลงว่า สถิติการเสียชีวิตจากการจราจรของเมืองนี้ น้อยกว่าสถิติทั่วประเทศถึง 1 ใน 3 อย่างไรก็ดี งานวิจัยไม่ได้ตรวจสอบว่า การจราจรที่แออัดของมหานครแห่งนี้มีบทบาทต่อสถิติที่ลดลงอย่างไร