ASTVผู้จัดการรายวัน – ทัวร์นำเที่ยวยุโรปโวย แถวขอวีซ่ายาวเหยียด จับพิรุธมีกลุ่มคนแฝงตัวล็อกใบจอง ก่อนมาโขกราคาขายใบละเกือบ 2 พันบาท ยอมรับตัวเลขนักท่องเที่ยวไทยไปต่างประเทศปีนี้ไม่ถึงฝัน 5.8 ล้านคน ทำได้อย่างดีแค่ 5.4 ล้านคน
นายเจริญ วังอนานนท์ นายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว หรือทีทีเอเอ เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการนำเที่ยวที่นำทัวร์คนไทยไปเที่ยวยุโรป เกือบ 60 ราย ได้นัดรวมตัวกันในวันที่ 11 พ.ค. 54 เพื่อหารือกันถึงปัญหาการขอตรวจลงตรา (วีซ่า) เข้าหลายประเทศในยุโรป เพราะมีปัญหาการจองคิวสำหรับขอวีซ่าซึ่งทำได้ยากลำบาก ส่งผลให้คนไทยที่วางแผนจองแพกเกจไปเที่ยวยุโรปไม่สามารถเดินทางไปได้ตามแผนที่วางไว้
ทั้งนี้จากรายงานของสมาชิก ทีทีเอเอ ที่ทำทัวร์ไปยุโรป พบว่า การจองคิวขอวีซ่าผ่านทางอินเทอร์เน็ต มีคิวยาวมากกว่า 1-2 เดือน โดยพบว่า มีกลุ่มบุคคลนำคิวขอวีซ่าเข้าประเทศในยุโรป มาเปิดซื้อขายนอกระบบจอง แสดงว่า จำนวนคิวที่ยาวมาจาก กลุ่มบุคคลใช้รายชื่อบุคคลในสังกัดไปจองคิวทางอินเทอร์เน็ตเอาไว้ จากนั้นก็นำคิวที่ได้มาเก็งกำไรขายต่อให้กับผู้ที่ต้องการจะขอวีซ่าไปยุโรป โดยมีราคาขายที่ 1,000-5,000 บาทต่อคิว เพราะหากใครไม่ซื้อ ก็ต้องรอนานไม่ทันกับแผนการเดินทาง นอกจากนั้นยังพบปัญหาว่า สถานทูตบางแห่ง เปิดรับทำวีซ่า แค่เพียงวันละ 30 คน ซึ่งน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนที่นั่งบนเที่ยวบินของแต่ละสายการบินที่ให้บริการ
สมาคมมั่นใจว่า ประเด็นการจองคิวขอวีซ่า ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับสถานฑูต แต่อาจมีเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติการณ์ ร่วมรู้เห็น มีส่วนรู้เห็นเป็นใจกับการจองซื้อคิวเช่นนี้ก็ได้ ซึ่งหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป จะส่งผลต่อยอดการเดินทางของคนไทยไปยุโรป น้อยกว่าที่ประเมินไว้เมื่อต้นปี เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่า ทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางถูกลง เพราะค่าเงินบาทแข็งเป็นปัจจัยบวกที่สนับสนุนคนไทยให้ไปเที่ยวยุโรป
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศผ่านบริษัททัวร์ปีนี้น่าจะต่ำกว่าเป้าหมาย ที่ประเมินว่าปีนี้ คนไทยไปเที่ยวต่างประเทศ จะอยู่ที่ 5.8 ล้านคน เพิ่มขึ้น 17-18% ลดมาอยู่ที่ 5.4 ล้านคน เติบโตจากปีก่อน 7-8% ซึ่งประเด็นการขอวีซ่าก็มีส่วนที่เข้ามากระทบ รวมถึงปัญหาคนไทยชะลอการเดินทางไปเที่ยวญี่ปุ่น ในช่วงนี้ เพราะยังวิตกปัญหาการรั่วไหลของกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่
ทั้งนี้การกระตุ้นคนไทยไปเที่ยวญี่ปุ่นช่วงนี้ ล่าสุดร่วมกับองค์กรส่งเสริมการท่องเที่ยวญี่ปุ่น จัดแฟมทริปสำรวจเส้นทาง โดยนำบริษัทนำเที่ยวและสื่อมวลชนร่วมเดินทางกว่า 100 บริษัท เพื่อให้ทราบว่า แหล่งท่องเที่ยวญี่ปุ่นไปเที่ยวได้ ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาโรงไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้บริษัททัวร์กล้าที่จะขายหรือนำเสนอแพ็กเกจไปญี่ปุ่น
ให้แก่ลูกค้าตัดสินใจเดินทาง
นายเจริญ วังอนานนท์ นายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว หรือทีทีเอเอ เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการนำเที่ยวที่นำทัวร์คนไทยไปเที่ยวยุโรป เกือบ 60 ราย ได้นัดรวมตัวกันในวันที่ 11 พ.ค. 54 เพื่อหารือกันถึงปัญหาการขอตรวจลงตรา (วีซ่า) เข้าหลายประเทศในยุโรป เพราะมีปัญหาการจองคิวสำหรับขอวีซ่าซึ่งทำได้ยากลำบาก ส่งผลให้คนไทยที่วางแผนจองแพกเกจไปเที่ยวยุโรปไม่สามารถเดินทางไปได้ตามแผนที่วางไว้
ทั้งนี้จากรายงานของสมาชิก ทีทีเอเอ ที่ทำทัวร์ไปยุโรป พบว่า การจองคิวขอวีซ่าผ่านทางอินเทอร์เน็ต มีคิวยาวมากกว่า 1-2 เดือน โดยพบว่า มีกลุ่มบุคคลนำคิวขอวีซ่าเข้าประเทศในยุโรป มาเปิดซื้อขายนอกระบบจอง แสดงว่า จำนวนคิวที่ยาวมาจาก กลุ่มบุคคลใช้รายชื่อบุคคลในสังกัดไปจองคิวทางอินเทอร์เน็ตเอาไว้ จากนั้นก็นำคิวที่ได้มาเก็งกำไรขายต่อให้กับผู้ที่ต้องการจะขอวีซ่าไปยุโรป โดยมีราคาขายที่ 1,000-5,000 บาทต่อคิว เพราะหากใครไม่ซื้อ ก็ต้องรอนานไม่ทันกับแผนการเดินทาง นอกจากนั้นยังพบปัญหาว่า สถานทูตบางแห่ง เปิดรับทำวีซ่า แค่เพียงวันละ 30 คน ซึ่งน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนที่นั่งบนเที่ยวบินของแต่ละสายการบินที่ให้บริการ
สมาคมมั่นใจว่า ประเด็นการจองคิวขอวีซ่า ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับสถานฑูต แต่อาจมีเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติการณ์ ร่วมรู้เห็น มีส่วนรู้เห็นเป็นใจกับการจองซื้อคิวเช่นนี้ก็ได้ ซึ่งหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป จะส่งผลต่อยอดการเดินทางของคนไทยไปยุโรป น้อยกว่าที่ประเมินไว้เมื่อต้นปี เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่า ทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางถูกลง เพราะค่าเงินบาทแข็งเป็นปัจจัยบวกที่สนับสนุนคนไทยให้ไปเที่ยวยุโรป
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศผ่านบริษัททัวร์ปีนี้น่าจะต่ำกว่าเป้าหมาย ที่ประเมินว่าปีนี้ คนไทยไปเที่ยวต่างประเทศ จะอยู่ที่ 5.8 ล้านคน เพิ่มขึ้น 17-18% ลดมาอยู่ที่ 5.4 ล้านคน เติบโตจากปีก่อน 7-8% ซึ่งประเด็นการขอวีซ่าก็มีส่วนที่เข้ามากระทบ รวมถึงปัญหาคนไทยชะลอการเดินทางไปเที่ยวญี่ปุ่น ในช่วงนี้ เพราะยังวิตกปัญหาการรั่วไหลของกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่
ทั้งนี้การกระตุ้นคนไทยไปเที่ยวญี่ปุ่นช่วงนี้ ล่าสุดร่วมกับองค์กรส่งเสริมการท่องเที่ยวญี่ปุ่น จัดแฟมทริปสำรวจเส้นทาง โดยนำบริษัทนำเที่ยวและสื่อมวลชนร่วมเดินทางกว่า 100 บริษัท เพื่อให้ทราบว่า แหล่งท่องเที่ยวญี่ปุ่นไปเที่ยวได้ ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาโรงไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้บริษัททัวร์กล้าที่จะขายหรือนำเสนอแพ็กเกจไปญี่ปุ่น
ให้แก่ลูกค้าตัดสินใจเดินทาง