นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้ (สบน.) กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ภายในเดือนมิถุนายนนี้ กระทรวงการคลังจะดำเนินการโรดโชว์ก่อนออกขายพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ(Inflation – Linked Bond : ILB) ครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท รุ่นอายุ 10 ปี เปิดขายให้ทั้งนักลงทุนประเภทสถาบันและนักลงทุนรายย่อยทั่วไป
“สำหรับความคืบหน้าของ ILB คาดว่าจะเริ่มขายได้ในต้นเดือนกรกฎาฯ โดย จะเริ่มโรดโชว์ให้ความรู้กับผู้สนใจประมาณสัปดาห์ที่ 3 และ 4 ของเดือนมิถุนาฯ ส่วน อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง น่าจะอยู่ประมาณ 1.0-1.2% ซึ่งจะประกาศก่อนขาย 1 สัปดาห์" นายจักรกฤศฎิ์กล่าวและว่า ILB เป็นพันธบัตรรัฐบาล ที่มีผลตอบแทนแปรผันตามการ เปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งพันธบัตรดังกล่าว จะจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ย หน้าตั๋ว ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ คูณกับส่วนชดเชยเงินเฟ้อ ซึ่งอ้างอิงจากดัชนี เงินเฟ้อทั่วไปของกระทรวงพาณิชย์ โดยจะประกาศให้ทราบ 2 สัปดาห์ ก่อนจ่ายดอกเบี้ย รายงวด
นอกจากนี้ เมื่อครบอายุพันธบัตร 10 ปี ผู้ลงทุนจะได้รับเงินต้นคืน พร้อมกับ การชดเชยเงินเฟ้อบนเงินต้นด้วย โดยคำนวณจากการใช้ดัชนีอ้างอิงคูณกับเงินต้นก่อนจะหักด้วยเงินต้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดลงจนติดลบ รัฐบาลจะคุ้มครอง เงินต้นของพันธบัตรทั้งจำนวน ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ประกาศอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนเม.ย.ที่ 4.04% ขณะที่ ธปท.คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 54 ไว้ที่ 3.9% ส่วน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ขณะนี้เฉลี่ย 3.8%
ในการจำหน่ายพันธบัตรครั้งนี้ กระทรวงการคลัง ได้คัดเลือกให้ ธนาคารเอชเอสบีซี ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) KTB ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) SCB และ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) KBAN ร่วมเป็นผู้แทนจำหน่าย โดยกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำไว้ที่ 1 แสนบาท และซื้อเพิ่มได้ทุก 1 แสนบาท ขณะเดียวกัน คาดว่าจะมีการกำหนดสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรดังกล่าวของนักลงทุน สถาบันและรายย่อยด้วย แต่ต้องรอดูผลตอบรับของนักลงทุนรายย่อยจากการโรดโชว์ก่อน เนื่องจากยังมีความกังวลว่า ประชาชนทั่วไปจะสนใจ และเข้าใจการคำนวณผลตอบแทน ของพันธบัตรมากน้อยเพียงใด
นายจักรกฤศฎิ์ กล่าวว่า จากการสำรวจพบว่า นักลงทุน ต่างชาติสนใจพันธบัตรดังกล่าวค่อนข้างสูง ส่วนกลุ่มนักลงทุนในประเทศ ได้แก่ กบข.และกลุ่มบริษัทประกันชีวิต ทำให้มองว่าจะจำหน่ายพันธบัตรได้หมดทั้งจำนวน
"ถ้าไม่หมด ขายได้แค่ไหนก็แค่นั้น เพราะฐานะเงินคงคลังตอนนี้ ไม่มีความ จำเป็นต้องกู้เงิน เราออกมาเพื่อการยกระดับตลาดตราสารหนี้ไทยไปสู่สากล และเป็น เครื่องมือให้แบงก์ชาติรู้ว่า นักลงทุนคาดการณ์ต่อเงินเฟ้อแต่ละปีอย่างไร" นายจักรกฤศฎิ์กล่าวและว่า ไทยเป็นประเทศแรก ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กำลัง จะออกพันธบัตรอ้างอิงอัตราเงินเฟ้อ
“สำหรับความคืบหน้าของ ILB คาดว่าจะเริ่มขายได้ในต้นเดือนกรกฎาฯ โดย จะเริ่มโรดโชว์ให้ความรู้กับผู้สนใจประมาณสัปดาห์ที่ 3 และ 4 ของเดือนมิถุนาฯ ส่วน อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง น่าจะอยู่ประมาณ 1.0-1.2% ซึ่งจะประกาศก่อนขาย 1 สัปดาห์" นายจักรกฤศฎิ์กล่าวและว่า ILB เป็นพันธบัตรรัฐบาล ที่มีผลตอบแทนแปรผันตามการ เปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งพันธบัตรดังกล่าว จะจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ย หน้าตั๋ว ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ คูณกับส่วนชดเชยเงินเฟ้อ ซึ่งอ้างอิงจากดัชนี เงินเฟ้อทั่วไปของกระทรวงพาณิชย์ โดยจะประกาศให้ทราบ 2 สัปดาห์ ก่อนจ่ายดอกเบี้ย รายงวด
นอกจากนี้ เมื่อครบอายุพันธบัตร 10 ปี ผู้ลงทุนจะได้รับเงินต้นคืน พร้อมกับ การชดเชยเงินเฟ้อบนเงินต้นด้วย โดยคำนวณจากการใช้ดัชนีอ้างอิงคูณกับเงินต้นก่อนจะหักด้วยเงินต้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดลงจนติดลบ รัฐบาลจะคุ้มครอง เงินต้นของพันธบัตรทั้งจำนวน ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ประกาศอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนเม.ย.ที่ 4.04% ขณะที่ ธปท.คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 54 ไว้ที่ 3.9% ส่วน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ขณะนี้เฉลี่ย 3.8%
ในการจำหน่ายพันธบัตรครั้งนี้ กระทรวงการคลัง ได้คัดเลือกให้ ธนาคารเอชเอสบีซี ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) KTB ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) SCB และ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) KBAN ร่วมเป็นผู้แทนจำหน่าย โดยกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำไว้ที่ 1 แสนบาท และซื้อเพิ่มได้ทุก 1 แสนบาท ขณะเดียวกัน คาดว่าจะมีการกำหนดสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรดังกล่าวของนักลงทุน สถาบันและรายย่อยด้วย แต่ต้องรอดูผลตอบรับของนักลงทุนรายย่อยจากการโรดโชว์ก่อน เนื่องจากยังมีความกังวลว่า ประชาชนทั่วไปจะสนใจ และเข้าใจการคำนวณผลตอบแทน ของพันธบัตรมากน้อยเพียงใด
นายจักรกฤศฎิ์ กล่าวว่า จากการสำรวจพบว่า นักลงทุน ต่างชาติสนใจพันธบัตรดังกล่าวค่อนข้างสูง ส่วนกลุ่มนักลงทุนในประเทศ ได้แก่ กบข.และกลุ่มบริษัทประกันชีวิต ทำให้มองว่าจะจำหน่ายพันธบัตรได้หมดทั้งจำนวน
"ถ้าไม่หมด ขายได้แค่ไหนก็แค่นั้น เพราะฐานะเงินคงคลังตอนนี้ ไม่มีความ จำเป็นต้องกู้เงิน เราออกมาเพื่อการยกระดับตลาดตราสารหนี้ไทยไปสู่สากล และเป็น เครื่องมือให้แบงก์ชาติรู้ว่า นักลงทุนคาดการณ์ต่อเงินเฟ้อแต่ละปีอย่างไร" นายจักรกฤศฎิ์กล่าวและว่า ไทยเป็นประเทศแรก ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กำลัง จะออกพันธบัตรอ้างอิงอัตราเงินเฟ้อ