ASTVผู้จัดการรายวัน-ตลาดหลักทรัพย์ฯออกเกณฑ์รับผู้ค้าทองที่มีใบไลเซ่นประกอบธุรกิจนายหน้าและจัดจำหน่ายลงทุนเป็นซับโบรกหวังเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการเทรดกองทุนรวมอีทีเอฟทองคำ แต่ต้องมีระบบป้องกันไม่ให้ซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทอื่น
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้มีการส่งหนังสือเวียนไปยังบริษัทหลักทรัพย์(บล.)ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่องแนวทางปฏิบัติการรับผู้ค้าทองที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าค้าและจัดจำหน่ายหน่วยลงทุน (LBDU) เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สมาชิกตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจาก ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมให้มีหลักทรัพย์หลากหลายประเภทเข้ามาจดทะเบียน เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ลงทุน และส่งเสริมให้อีทีเอฟมีสภาพคล่อง และเป็นที่รู้จักกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการธุรกิจทองคำมีส่วนร่วมในการซื้อขายกองทุนรวมอีทีเอฟทองคำเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯโดยผู้ค้าทองที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าค้าและจัดจำหน่ายหน่วยลงทุน LBDUจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สามารถส่งคำสั่งซื้อขายกองทุนรวมอีทีเอฟทองคำผ่านบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ฯในฐานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สมาชิก (Sub-broker) โดยการทำสัญญาเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์กับสมาชิกตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ฯ
อย่างไรก็ตามจากการที่บริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สมาชิกได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งจำกัดเฉพาะ ประเภทหลักทรัพย์ที่กฎหมายกำหนด ตลาดหลักทรัพย์ฯจึงเห็นควรให้สมาชิกและบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สมาชิกรับรองว่าได้จัดให้มีระบบป้องกันเพื่อไม่ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สมาชิกซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนประเภทอื่นในฐานะนายหน้าหรือตัวแทนของลูกค้า นอกเหนือจากหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายกำหนดไว้ในสัญญาระหว่างสมาชิกและบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สมาชิก พร้อมทั้งขอให้ระบุเพิ่มเติมว่า บริษัทจะไม่นำข้อมูลของหลักทรัพย์อื่นนอกเหนือจากหลักทรัพย์ที่บริษัท ได้รับอนุญาตตามกฎหมายกำหนดซึ่งได้รับจากระบบการซื้อขายไปให้หรือจำหน่ายแก่ลูกค้าหรือบุคคลอื่นไม่ว่าจะโดยวิธีการใด ยกเว้นจะได้รับอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์
ก่อนหน้านี้ นายบุญเลิศ สิริภัทรวณิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออสสิริส จำกัดกล่าวถึงการจัดตั้งอีทีเอฟ ทองคำว่าเรื่องนี้จะทำให้การซื้อขายสินทรัพย์ทองคำในมุมของนักลงทุนมีมิติหลากหลายมากขึ้นรวมถึงเพียบพร้อมเทียบเท่ากับระดับสากลได้ไม่ว่าจะเป็น กองทุนที่ลงทุนในทองคำ กองทุนETF ทองคำ โกลด์ฟิวเจอร์ส และ ทองคำแท่ง โดยมองว่า ปัจจุบันมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.)ของไทยหลายแห่งจัดตั้งกองทุนทองคำขึ้นมาตอบสนองนักลงทุนแต่กองทุนเหล่านั้น มีต้นทุนในการบริหารสูงในระดับหนึ่ง เพราะต้องเสียค่าธรรมเนียม (ฟี)ให้แก่กองทุนทองคำในต่างประเทศ และต้นทุน ในอัตราแลกเปลี่ยนที่ต้องแปลงค่าจากค่าเงินบาท เป็นเงินสกุลดอลลาร์หรือสกุลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ลงทุนในกองทุนทองคำต่างประเทศ
แต่ถ้าในประเทศไทย มีการจัดตั้งอีทีเอฟทองคำได้จริง มองว่าเรื่องดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ให้ทั้งนักลงทุนและบลจ.ด้วยเนื่องจากจะช่วยลดต้นทุนทางการเงิน หรือต้นทุนค่าใช้จ่ายลง โดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าฟีให้แก่กองทุนทองคำในต่างประเทศ เช่นเดียวกับต้นทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่ลงทุนในอีทีเอฟ ในประเทศมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น จากต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ลดลง
"อีทีเอฟ ทองคำ มีข้อดี 3 ประการ คือ 1.ช่วยทำให้เม็ดเงินลงทุนไม่ไหลออกไปต่างประเทศมากนัก เพราะบลจ.สามารถจัดตั้งกองทุนทองคำที่สามารถใช้เกณฑ์หรือข้อมูลพื้นฐานอ้างอิงจากอีทีเอฟ ทองคำในประเทศได้ 2.ในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมองว่าอีทีเอฟ คืออีกเครื่องมือที่สามารถช่วยกระจายหรือป้องกันความเสี่ยงจากการผันผวนของราคาทองคำได้ โดยเฉพาะบรรดาร้านทองคำ
3.ไม่มีความซับซ้อนมากเกินไป เนื่องจากอีทีเอฟ ทองคำที่จัดตั้งในประเทศ ดังนั้นน้ำหนักทองคำที่ใช้จัดตั้งอีทีเอฟก็จะมีน้ำหนักปกติเท่ากับทองคำที่ขายอยู่ในประเทศ นั่นคือ96.5% ซึ่งจุดนี้ จะช่วยไม่ให้นักลงทุนสับสนกับราคาทองคำได้ เพราะทั้งโกดล์ ฟิวเจอร์สทองคำแท่งและทองคำรูปพรรณ รวมถึงอีทีเอฟทองคำที่จะมีออกมา ก็ใช้มาตรฐานในเรื่องน้ำหนักเดียวกันหมด"
ดังนั้น โดยภาพรวมเชื่อว่า อีทีเอฟทองคำในประเทศ จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารน้อยกว่า มีความเสี่ยงที่ต่ำหรือลดลงมามากกว่ากองทุนทองคำ ที่ต้องนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ นอกจากนี้ความเคลื่อนไหวของอีทีเอฟ ทองคำในประเทศ ยังสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบต่างๆเกิดขึ้น เหมือนราคาทองคำทั่วไป และช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือต่อเครื่องมือการลงทุนด้านทองคำในประเภทต่างๆด้วย
ส่วนการเตรียมความพร้อมทางธุรกิจ เพื่อรองรับการเปิดเสรีหลักทรัพย์ที่จะเกิดขึ้นในปลายปีนี้ นายบุญเลิศ กล่าวว่า บริษัทยังไม่มีแนวคิดให้บริษัทต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนกับบริษัท แต่ยอมรับว่ามีความสนใจที่จะหาพาร์ตเนอร์จากต่างประเทศเข้ามาร่วมลงทุนด้วยเช่นกันแต่เป็นการแลกเปลี่ยนทางความชำนาญมากกว่า
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้มีการส่งหนังสือเวียนไปยังบริษัทหลักทรัพย์(บล.)ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่องแนวทางปฏิบัติการรับผู้ค้าทองที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าค้าและจัดจำหน่ายหน่วยลงทุน (LBDU) เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สมาชิกตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจาก ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมให้มีหลักทรัพย์หลากหลายประเภทเข้ามาจดทะเบียน เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ลงทุน และส่งเสริมให้อีทีเอฟมีสภาพคล่อง และเป็นที่รู้จักกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการธุรกิจทองคำมีส่วนร่วมในการซื้อขายกองทุนรวมอีทีเอฟทองคำเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯโดยผู้ค้าทองที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าค้าและจัดจำหน่ายหน่วยลงทุน LBDUจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สามารถส่งคำสั่งซื้อขายกองทุนรวมอีทีเอฟทองคำผ่านบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ฯในฐานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สมาชิก (Sub-broker) โดยการทำสัญญาเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์กับสมาชิกตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ฯ
อย่างไรก็ตามจากการที่บริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สมาชิกได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งจำกัดเฉพาะ ประเภทหลักทรัพย์ที่กฎหมายกำหนด ตลาดหลักทรัพย์ฯจึงเห็นควรให้สมาชิกและบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สมาชิกรับรองว่าได้จัดให้มีระบบป้องกันเพื่อไม่ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สมาชิกซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนประเภทอื่นในฐานะนายหน้าหรือตัวแทนของลูกค้า นอกเหนือจากหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายกำหนดไว้ในสัญญาระหว่างสมาชิกและบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สมาชิก พร้อมทั้งขอให้ระบุเพิ่มเติมว่า บริษัทจะไม่นำข้อมูลของหลักทรัพย์อื่นนอกเหนือจากหลักทรัพย์ที่บริษัท ได้รับอนุญาตตามกฎหมายกำหนดซึ่งได้รับจากระบบการซื้อขายไปให้หรือจำหน่ายแก่ลูกค้าหรือบุคคลอื่นไม่ว่าจะโดยวิธีการใด ยกเว้นจะได้รับอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์
ก่อนหน้านี้ นายบุญเลิศ สิริภัทรวณิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออสสิริส จำกัดกล่าวถึงการจัดตั้งอีทีเอฟ ทองคำว่าเรื่องนี้จะทำให้การซื้อขายสินทรัพย์ทองคำในมุมของนักลงทุนมีมิติหลากหลายมากขึ้นรวมถึงเพียบพร้อมเทียบเท่ากับระดับสากลได้ไม่ว่าจะเป็น กองทุนที่ลงทุนในทองคำ กองทุนETF ทองคำ โกลด์ฟิวเจอร์ส และ ทองคำแท่ง โดยมองว่า ปัจจุบันมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.)ของไทยหลายแห่งจัดตั้งกองทุนทองคำขึ้นมาตอบสนองนักลงทุนแต่กองทุนเหล่านั้น มีต้นทุนในการบริหารสูงในระดับหนึ่ง เพราะต้องเสียค่าธรรมเนียม (ฟี)ให้แก่กองทุนทองคำในต่างประเทศ และต้นทุน ในอัตราแลกเปลี่ยนที่ต้องแปลงค่าจากค่าเงินบาท เป็นเงินสกุลดอลลาร์หรือสกุลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ลงทุนในกองทุนทองคำต่างประเทศ
แต่ถ้าในประเทศไทย มีการจัดตั้งอีทีเอฟทองคำได้จริง มองว่าเรื่องดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ให้ทั้งนักลงทุนและบลจ.ด้วยเนื่องจากจะช่วยลดต้นทุนทางการเงิน หรือต้นทุนค่าใช้จ่ายลง โดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าฟีให้แก่กองทุนทองคำในต่างประเทศ เช่นเดียวกับต้นทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่ลงทุนในอีทีเอฟ ในประเทศมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น จากต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ลดลง
"อีทีเอฟ ทองคำ มีข้อดี 3 ประการ คือ 1.ช่วยทำให้เม็ดเงินลงทุนไม่ไหลออกไปต่างประเทศมากนัก เพราะบลจ.สามารถจัดตั้งกองทุนทองคำที่สามารถใช้เกณฑ์หรือข้อมูลพื้นฐานอ้างอิงจากอีทีเอฟ ทองคำในประเทศได้ 2.ในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมองว่าอีทีเอฟ คืออีกเครื่องมือที่สามารถช่วยกระจายหรือป้องกันความเสี่ยงจากการผันผวนของราคาทองคำได้ โดยเฉพาะบรรดาร้านทองคำ
3.ไม่มีความซับซ้อนมากเกินไป เนื่องจากอีทีเอฟ ทองคำที่จัดตั้งในประเทศ ดังนั้นน้ำหนักทองคำที่ใช้จัดตั้งอีทีเอฟก็จะมีน้ำหนักปกติเท่ากับทองคำที่ขายอยู่ในประเทศ นั่นคือ96.5% ซึ่งจุดนี้ จะช่วยไม่ให้นักลงทุนสับสนกับราคาทองคำได้ เพราะทั้งโกดล์ ฟิวเจอร์สทองคำแท่งและทองคำรูปพรรณ รวมถึงอีทีเอฟทองคำที่จะมีออกมา ก็ใช้มาตรฐานในเรื่องน้ำหนักเดียวกันหมด"
ดังนั้น โดยภาพรวมเชื่อว่า อีทีเอฟทองคำในประเทศ จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารน้อยกว่า มีความเสี่ยงที่ต่ำหรือลดลงมามากกว่ากองทุนทองคำ ที่ต้องนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ นอกจากนี้ความเคลื่อนไหวของอีทีเอฟ ทองคำในประเทศ ยังสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบต่างๆเกิดขึ้น เหมือนราคาทองคำทั่วไป และช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือต่อเครื่องมือการลงทุนด้านทองคำในประเภทต่างๆด้วย
ส่วนการเตรียมความพร้อมทางธุรกิจ เพื่อรองรับการเปิดเสรีหลักทรัพย์ที่จะเกิดขึ้นในปลายปีนี้ นายบุญเลิศ กล่าวว่า บริษัทยังไม่มีแนวคิดให้บริษัทต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนกับบริษัท แต่ยอมรับว่ามีความสนใจที่จะหาพาร์ตเนอร์จากต่างประเทศเข้ามาร่วมลงทุนด้วยเช่นกันแต่เป็นการแลกเปลี่ยนทางความชำนาญมากกว่า