ASTVผู้จัดการรายวัน – ไทยดิ้นรักษาตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมที่ตำแหน่ง 120 องศาตะวันออก โยนให้ กสท เร่งดำเนินการหลังได้ใบอนุญาตจาก กทช. ขณะที่ กสท วาง 2 แนวทาง เสนอต่อกระทรวงไอซีทีพิจารณาก่อนจะหมดสิทธิภายใน 9 เดือน
นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ กสท กล่าวถึงการจัดส่งดาวเทียมเพื่อรักษาสิทธิวงโครจรที่ 120 องศาตะวันออกที่ไทยเหลือสิทธิเพียง 9 เดือนว่า ขณะนี้ กสท ได้มอบหมายให้นายขจรศักดิ์ สิงหเสนี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท เป็นประธานคณะทำงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน รวมถึงการของบประมาณเพื่อลงทุนเกี่ยวกับดาวเทียมที่ส่งขึ้นสู่วงโคจรดังกล่าว
แต่การดำเนินการเกี่ยวกับดาวเทียมต้องใช้เวลาไม่อย่างน้อย 25 เดือนหรือไม่ต่ำกว่า 2 ปี ระยะเวลาที่เหลือเพียง 9 เดือน กสท ไม่สามารถดำเนินการได้ทัน
ด้วยระยะเวลาที่จำกัด กสท จึงได้เสนอ 2 แนวทางให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) พิจารณา แนวทางแรก เช่าดาวเทียมต่างประเทศที่อยู่มีอยู่ในวงโคจรลากมาไว้ที่ตำแหน่ง 120 องศาตะวันออก ซึ่งรายละเอียดอาจจะต้องประสานไปยังสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ว่า ในวงโคจรที่ใกล้เคียงกับ 120 องศาตะวันออก มีดาวเทียมดวงไหนที่จะสามารถลากมาอยู่ในตำแหน่งนี้ได้ เพื่อรักษาสิทธิ์ไปก่อน จากนั้นค่อยพิจารณาการยิงดาวเทียมดวงใหม่ แนวทางที่สอง เจรจากับผู้ผลิตดาวเทียมและขอซื้อดาวเทียมที่สร้างเสร็จแล้วที่พร้อมจัดส่งได้ทันที แต่แนวทางนี้มีผลเสีย คือ จะไม่ได้สเปกดาวเทียมตามที่ต้องการ ซึ่งแนวทางดังกล่าวต้องให้ไอซีทีเป็นผู้พิจารณาและนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ด้านนางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ยอมรับว่า เรื่องการรักษาสิทธิวงโคจรดาวเทียม เสนอให้ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ล่าช้าจริง โดยเฉพาะตำแหน่งวงโคจร 120 องศาตะวันออก ที่เหลืออายุ 9 เดือน ขณะที่ตำแหน่ง 50 องศาตะวันออก เหลืออายุ 1 ปี 6 เดือน เพราะการสร้างดาวเทียมต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี และต้องใช้เงินลงทุนสูง ซึ่งกระทรวงไอซีทีจะพยายามชี้แจงและยืนยันกับไอทียู ถึงความจำเป็นในการใช้ตำแหน่งวงโคจรดังกล่าว
ส่วนเรื่องการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีการเสนอครม. เพื่อรักษาตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมล่าช้า จะดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย
สำหรับการเสนอ 2 แนวทางของ กสท หากกระทรวงไอซีทีนำเสนอครม.แล้ว สรุปว่าจะให้ กสท จัดส่งดาวเทียมดวงใหม่ กสท ก็ยินดี และผู้บริหาร กสท ยืนยันว่าไม่มีผลกระทบกับสถานะทางการเงิน เพราะขณะนี้ กสท มีกระแสเงินสดกว่า 3 หมื่นล้านบาท
“รัฐบาล ต้องการให้ดาวเทียมดวงส่งขึ้นไปที่ 120 องศาตะวันออกเป็นดาวเทียมแห่งชาติ ใช้เพื่อความมั่นคง แต่หากมีช่องสัญญาณเหลือ สามารถให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ เราก็จะเสนอทำตลาดบรอดแคส หรือบริการบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมควบคู่ไปด้วย เพราะถ้าลงทุนแล้วก็ต้องหาโอกาสทางธุรกิจด้วย” นายจิรายุทธกล่าว
ทั้งนี้ 2 แนวทาง ที่กสทวางไว้ ยังอยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบข้อดีข้อเสียให้มีความรอบด้าน เนื่องจากการดำเนินธุรกิจดาวเทียมมีความละเอียดอ่อน และเกี่ยวข้องในแง่กฎหมาย เพราะหากต้องจัดส่งดาวเทียมดวงใหม่ต้องใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
“แนวทางที่เราวางไว้คาดว่า จะทำโครงงานเสนอปลัดกระทรวงไอซีทีพิจารณาได้ใน 1-2 สัปดาห์นี้”
อย่างไรก็ตาม การที่ครม.ให้สิทธิกับ กสท ดำเนินเกี่ยวกับกิจการดาวเทียม เพราะได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ก่อนที่จะมีการแปรสภาพจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยมาเป็น กสท โทรคมนาคม ส่วนการดำเนินการขั้นต่อไป ต้องไปหารือกับคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ กสท กล่าวถึงการจัดส่งดาวเทียมเพื่อรักษาสิทธิวงโครจรที่ 120 องศาตะวันออกที่ไทยเหลือสิทธิเพียง 9 เดือนว่า ขณะนี้ กสท ได้มอบหมายให้นายขจรศักดิ์ สิงหเสนี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท เป็นประธานคณะทำงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน รวมถึงการของบประมาณเพื่อลงทุนเกี่ยวกับดาวเทียมที่ส่งขึ้นสู่วงโคจรดังกล่าว
แต่การดำเนินการเกี่ยวกับดาวเทียมต้องใช้เวลาไม่อย่างน้อย 25 เดือนหรือไม่ต่ำกว่า 2 ปี ระยะเวลาที่เหลือเพียง 9 เดือน กสท ไม่สามารถดำเนินการได้ทัน
ด้วยระยะเวลาที่จำกัด กสท จึงได้เสนอ 2 แนวทางให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) พิจารณา แนวทางแรก เช่าดาวเทียมต่างประเทศที่อยู่มีอยู่ในวงโคจรลากมาไว้ที่ตำแหน่ง 120 องศาตะวันออก ซึ่งรายละเอียดอาจจะต้องประสานไปยังสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ว่า ในวงโคจรที่ใกล้เคียงกับ 120 องศาตะวันออก มีดาวเทียมดวงไหนที่จะสามารถลากมาอยู่ในตำแหน่งนี้ได้ เพื่อรักษาสิทธิ์ไปก่อน จากนั้นค่อยพิจารณาการยิงดาวเทียมดวงใหม่ แนวทางที่สอง เจรจากับผู้ผลิตดาวเทียมและขอซื้อดาวเทียมที่สร้างเสร็จแล้วที่พร้อมจัดส่งได้ทันที แต่แนวทางนี้มีผลเสีย คือ จะไม่ได้สเปกดาวเทียมตามที่ต้องการ ซึ่งแนวทางดังกล่าวต้องให้ไอซีทีเป็นผู้พิจารณาและนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ด้านนางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ยอมรับว่า เรื่องการรักษาสิทธิวงโคจรดาวเทียม เสนอให้ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ล่าช้าจริง โดยเฉพาะตำแหน่งวงโคจร 120 องศาตะวันออก ที่เหลืออายุ 9 เดือน ขณะที่ตำแหน่ง 50 องศาตะวันออก เหลืออายุ 1 ปี 6 เดือน เพราะการสร้างดาวเทียมต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี และต้องใช้เงินลงทุนสูง ซึ่งกระทรวงไอซีทีจะพยายามชี้แจงและยืนยันกับไอทียู ถึงความจำเป็นในการใช้ตำแหน่งวงโคจรดังกล่าว
ส่วนเรื่องการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีการเสนอครม. เพื่อรักษาตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมล่าช้า จะดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย
สำหรับการเสนอ 2 แนวทางของ กสท หากกระทรวงไอซีทีนำเสนอครม.แล้ว สรุปว่าจะให้ กสท จัดส่งดาวเทียมดวงใหม่ กสท ก็ยินดี และผู้บริหาร กสท ยืนยันว่าไม่มีผลกระทบกับสถานะทางการเงิน เพราะขณะนี้ กสท มีกระแสเงินสดกว่า 3 หมื่นล้านบาท
“รัฐบาล ต้องการให้ดาวเทียมดวงส่งขึ้นไปที่ 120 องศาตะวันออกเป็นดาวเทียมแห่งชาติ ใช้เพื่อความมั่นคง แต่หากมีช่องสัญญาณเหลือ สามารถให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ เราก็จะเสนอทำตลาดบรอดแคส หรือบริการบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมควบคู่ไปด้วย เพราะถ้าลงทุนแล้วก็ต้องหาโอกาสทางธุรกิจด้วย” นายจิรายุทธกล่าว
ทั้งนี้ 2 แนวทาง ที่กสทวางไว้ ยังอยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบข้อดีข้อเสียให้มีความรอบด้าน เนื่องจากการดำเนินธุรกิจดาวเทียมมีความละเอียดอ่อน และเกี่ยวข้องในแง่กฎหมาย เพราะหากต้องจัดส่งดาวเทียมดวงใหม่ต้องใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
“แนวทางที่เราวางไว้คาดว่า จะทำโครงงานเสนอปลัดกระทรวงไอซีทีพิจารณาได้ใน 1-2 สัปดาห์นี้”
อย่างไรก็ตาม การที่ครม.ให้สิทธิกับ กสท ดำเนินเกี่ยวกับกิจการดาวเทียม เพราะได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ก่อนที่จะมีการแปรสภาพจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยมาเป็น กสท โทรคมนาคม ส่วนการดำเนินการขั้นต่อไป ต้องไปหารือกับคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)