ASTVผู้จัดการรายวัน - ธ.ก.ส.จี้รัฐจ่ายชดเชยพร้อมดอกเบี้ยส่วนหนี้ค้างแสนล้านจี้เร่งเคลียร์ภายใน 5 ปี พร้อมเตรียมเสนอ 2 ทางเลือก โครงการปุ๋ยสั่งตัดให้นายกฯ ชี้ขาด อุดหนุนตรง 1.5 บาทต่อกิโลกรัม หรือหันไปลดดอกเบี้ยกู้ของธ.ก.ส.ลง เดินหน้าสนองนโยบายรัฐมีสภาพคล่องกว่า 3 แสนล้านบาท เชื่อมีเงินฝากจากแบงก์ไหลเข้ามาไม่ต่ำ 5 พันล้านหลังส.ค. พร้อมออกเงินฝากใหม่ 3 ปีขายผู้สูงอายุงานมันนี่เอ็กซ์โปร์จ่ายดอกเบี้ยขั้นบันไดสูงสุด 8%
นางพูนสุข มุสิกลัด รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า แม้ปีนี้ธ.ก.ส.ต้องดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลหลายโครงการทั้งประกันรายได้เกษตรกร ประกันภัยพืชผลที่กำลังจะเริ่มแต่ธ.ก.ส.มั่นใจว่ามีสภาพคล่องเพียงพอ โดยขณะนี้มีสภาพคล่องประมาณ 3 แสนล้านบาท ส่วนหนึ่งมาจากการชำระหนี้ของเกษตรกรที่เข้ามามากสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งปีนี้มีอัตราการค้างชำระหนี้ต่ำกว่าปีก่อนจาก 7%เหลือเพียง 6% อาจเป็นเพราะเกษตรกรมีรายได้ดีขึ้นจากราคาพืชผลทางการเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น
นอกจากนั้นสภาพคล่องส่วนหนึ่งมาจากเงินฝากจากเกษตรกรและประชาชนทั่วไป โดยปีนี้ธ.ก.ส.ไม่ได้มีแผนเร่งระดมเงินฝากโดยการแข่งขันด้านอัตราดอกเบี้ยกับตลาดที่อยู่ในช่วงขาขึ้น แต่มองว่าหลังจากการคุ้มครองเงินฝากวงเงินเหลือเพียง 50 ล้านบาทต่อบัญชีมีผลบังคับใช้เดือนส.ค.นี้น่าจะมีเงินฝากจากแบงก์พาณิชย์ไหลมายังธ.ก.ส.ประมาณ 4-5 พันล้านบาท
"ธ.ก.ส.จะมีโปรโมชั่นเงินฝากช่วงสั้นและแรงออกมาเพื่อเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ล่าสุดเตรียมเปิดรับเงินฝาก 3 ปี ในงานมันนี้เอ็กซ์โปที่จะถึง โดยจำกัดวงเงินเพียง 2 พันล้านบาท และให้เฉพาะผู้สูงอายุ 55 ปีขึ้นรับฝากขั้นต่ำ 1 แสนบาทสูงสุด 1 ล้านบาท ผลตอบแทนเฉลี่ย 4.25% จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือนเริ่มจาก 3.25%สูงสุดถึง 8% โดยสามารถมายื่นจองในงานและฝากที่สาขาได้ในภายหลัง" นางพูนสุข กล่าว
อย่างไรก็ตามจากการที่ธ.ก.ส.ต้องดเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลและต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อนทำให้กระทรวงการคลังและธ.ก.ส.มีการหารือถึงการจ่ายเงินคืนของรัฐบาลให้ชัดเจนโดยผลตอบแทนที่ธ.ก.ส.ควรจะได้รับจะอยู่ที่อัตราเงินฝากเฉลี่ยของ 4 แบงก์ใหญ่บวก 1% ส่วนหนี้คงค้างของรัฐบาลกว่า 1.1 แสนล้านบาทนั้นกำหนดทยอยจ่าย 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปีงบ 55 จำนวน 5 หมื่นล้านบาท จากนั้นเหลือปีละ 3 หมื่นล้านบาท
**ชง “มาร์ค” ชี้ขาดปุ๋ยชดเชย-อุดหนุนดบ.**
ด้านนายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) กล่าวว่า โครงการปุ๋ยสั่งตัดยังมีปัญหาในรายละเอียดของการปฏิบัติ เพราะในหลักการรัฐบาลต้องการสนับสนุนให้เกษตรใช้ปุ๋ยได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด ด้วยการไปซื้อแม่ปุ๋ยมาผสมเองให้ตรงกับพื้นที่ที่ขาดแคลนธาตุนั้นๆ แต่เกษตรกรยังไม่คุ้นเคย จึงได้กำหนดสูตรปุ๋ยที่จะใช้ในโครงการดังกล่าว 6 สูตร ซึ่งคณะกรรมการได้กำหนดแนวทางอุดหนุนไว้ 2 ทางเลือกคือ อุดหนุนโดยตรง ด้วยการให้เงินช่วยเหลือ 1.5 บาทต่อกิโลกรัม หรืออุดหนุนผ่านธ.ก.ส. ด้วยการลดดอกเบี้ยเงินกู้ลง ซึ่งคณะทำงานจะนำเสนอต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมในวันที่ 6 พฤษภาคมนี้
“รัฐบาลต้องการแบ่งเบาภาระต้นทุนให้กับเกษตรจากราคาปุ๋ยที่จะเพิ่มขึ้น เช่นหากราคาปุ๋ยปัจจุบันอยู่ที่กิโลกรัมละ 1,500 บาท แต่ต้องการให้เกษตรกรจ่ายเพียงกิโลกรัมละ 1,300 บาท รัฐบาลก็จะไปอุดหนุนโดยตรงในจำนวน 1.5 บาทต่อกิโลกรัมหรือไม่เช่นนั้นก็ต้องให้ธ.ก.ส.ลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงจากปกติ 7% ก็อาจจะ 6% หรือ 4-5% แล้วรัฐบาลจะชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยให้” นายลักษณ์กล่าว
นายลักษณ์กล่าวต่อว่า ช่วงเย็นวันที่ 4 พฤษภาคม กระทรวงพาณิชย์จะประชุมร่วมกับเอกชน เพื่อพิจารณาปรับราคาปุ๋ยทั้ง 6 สูตรให้เหมาะสม ตามที่เอกชนได้ขอปรับราคามา ซึ่งรัฐบาลเห็นด้วย เพราะหากไปคุมราคาจะทำให้เกิดการขาดแคลนปุ๋ยได้ จะทำให้เป็นปัญหาใหญ่ เพราะกำลังจะเข้าสู่ฤดูการผลิตข้าวนาปี แต่การขึ้นราคาก็จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ที่จะไม่สามารถรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นด้วย รัฐบาลจึงมีแนวทางที่อุดหนุนปุ๋ยที่นำมาใช้ในการปลูกข้าวนาปี 1.5 ล้านตัน บนพื้นที่ปลูกทั่วประเทศ 57 ล้านไร่ ด้วยการใช้งบประมาณ 3.5 พันล้านบาท แต่การจะช่วยเหลือก็ต้องดูแนวทางที่เหมาะสมด้วย
"ครม.ได้เห็นชอบในหลักการที่จะเดินหน้าโครงการปุ๋ยสั่งตัด เพียงแต่เหลือรายละเอียดเท่านั้นว่าจะอุดหนุนในรูปแบบใด และจะใช้ปุ๋ยสูตรใด เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ จึงมอบหมายให้คณะทำงานกลับไปพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมก่อน ซึ่งในหลักการต้องไปวิเคราะห์สภาพดินเป็นรายแปลง เพื่อจะได้อุดหนุนปุ๋ยได้ตรงสูตร แต่เกรงว่าจะไม่ทันข้าวนาปี เบื้องต้นจะเป็นการวิเคราะห์สภาพดินในแต่ละพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง เช่น อยุธยา ซึ่งดินไม่ต่างกันมากนัก ก็จะกำหนดสูตรที่จะใช้ในพื้นที่นั้นๆออกมา ส่วนการซื้อขายของเกษตรก็ให้เป็นไปตามปกติ เพียงแต่ใครที่จะเข้าร่วมโครงการดังกล่าวก็ต้องมาขึ้นทะเบียนก่อน" นายลักษณ์กล่าว
นางพูนสุข มุสิกลัด รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า แม้ปีนี้ธ.ก.ส.ต้องดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลหลายโครงการทั้งประกันรายได้เกษตรกร ประกันภัยพืชผลที่กำลังจะเริ่มแต่ธ.ก.ส.มั่นใจว่ามีสภาพคล่องเพียงพอ โดยขณะนี้มีสภาพคล่องประมาณ 3 แสนล้านบาท ส่วนหนึ่งมาจากการชำระหนี้ของเกษตรกรที่เข้ามามากสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งปีนี้มีอัตราการค้างชำระหนี้ต่ำกว่าปีก่อนจาก 7%เหลือเพียง 6% อาจเป็นเพราะเกษตรกรมีรายได้ดีขึ้นจากราคาพืชผลทางการเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น
นอกจากนั้นสภาพคล่องส่วนหนึ่งมาจากเงินฝากจากเกษตรกรและประชาชนทั่วไป โดยปีนี้ธ.ก.ส.ไม่ได้มีแผนเร่งระดมเงินฝากโดยการแข่งขันด้านอัตราดอกเบี้ยกับตลาดที่อยู่ในช่วงขาขึ้น แต่มองว่าหลังจากการคุ้มครองเงินฝากวงเงินเหลือเพียง 50 ล้านบาทต่อบัญชีมีผลบังคับใช้เดือนส.ค.นี้น่าจะมีเงินฝากจากแบงก์พาณิชย์ไหลมายังธ.ก.ส.ประมาณ 4-5 พันล้านบาท
"ธ.ก.ส.จะมีโปรโมชั่นเงินฝากช่วงสั้นและแรงออกมาเพื่อเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ล่าสุดเตรียมเปิดรับเงินฝาก 3 ปี ในงานมันนี้เอ็กซ์โปที่จะถึง โดยจำกัดวงเงินเพียง 2 พันล้านบาท และให้เฉพาะผู้สูงอายุ 55 ปีขึ้นรับฝากขั้นต่ำ 1 แสนบาทสูงสุด 1 ล้านบาท ผลตอบแทนเฉลี่ย 4.25% จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือนเริ่มจาก 3.25%สูงสุดถึง 8% โดยสามารถมายื่นจองในงานและฝากที่สาขาได้ในภายหลัง" นางพูนสุข กล่าว
อย่างไรก็ตามจากการที่ธ.ก.ส.ต้องดเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลและต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อนทำให้กระทรวงการคลังและธ.ก.ส.มีการหารือถึงการจ่ายเงินคืนของรัฐบาลให้ชัดเจนโดยผลตอบแทนที่ธ.ก.ส.ควรจะได้รับจะอยู่ที่อัตราเงินฝากเฉลี่ยของ 4 แบงก์ใหญ่บวก 1% ส่วนหนี้คงค้างของรัฐบาลกว่า 1.1 แสนล้านบาทนั้นกำหนดทยอยจ่าย 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปีงบ 55 จำนวน 5 หมื่นล้านบาท จากนั้นเหลือปีละ 3 หมื่นล้านบาท
**ชง “มาร์ค” ชี้ขาดปุ๋ยชดเชย-อุดหนุนดบ.**
ด้านนายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) กล่าวว่า โครงการปุ๋ยสั่งตัดยังมีปัญหาในรายละเอียดของการปฏิบัติ เพราะในหลักการรัฐบาลต้องการสนับสนุนให้เกษตรใช้ปุ๋ยได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด ด้วยการไปซื้อแม่ปุ๋ยมาผสมเองให้ตรงกับพื้นที่ที่ขาดแคลนธาตุนั้นๆ แต่เกษตรกรยังไม่คุ้นเคย จึงได้กำหนดสูตรปุ๋ยที่จะใช้ในโครงการดังกล่าว 6 สูตร ซึ่งคณะกรรมการได้กำหนดแนวทางอุดหนุนไว้ 2 ทางเลือกคือ อุดหนุนโดยตรง ด้วยการให้เงินช่วยเหลือ 1.5 บาทต่อกิโลกรัม หรืออุดหนุนผ่านธ.ก.ส. ด้วยการลดดอกเบี้ยเงินกู้ลง ซึ่งคณะทำงานจะนำเสนอต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมในวันที่ 6 พฤษภาคมนี้
“รัฐบาลต้องการแบ่งเบาภาระต้นทุนให้กับเกษตรจากราคาปุ๋ยที่จะเพิ่มขึ้น เช่นหากราคาปุ๋ยปัจจุบันอยู่ที่กิโลกรัมละ 1,500 บาท แต่ต้องการให้เกษตรกรจ่ายเพียงกิโลกรัมละ 1,300 บาท รัฐบาลก็จะไปอุดหนุนโดยตรงในจำนวน 1.5 บาทต่อกิโลกรัมหรือไม่เช่นนั้นก็ต้องให้ธ.ก.ส.ลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงจากปกติ 7% ก็อาจจะ 6% หรือ 4-5% แล้วรัฐบาลจะชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยให้” นายลักษณ์กล่าว
นายลักษณ์กล่าวต่อว่า ช่วงเย็นวันที่ 4 พฤษภาคม กระทรวงพาณิชย์จะประชุมร่วมกับเอกชน เพื่อพิจารณาปรับราคาปุ๋ยทั้ง 6 สูตรให้เหมาะสม ตามที่เอกชนได้ขอปรับราคามา ซึ่งรัฐบาลเห็นด้วย เพราะหากไปคุมราคาจะทำให้เกิดการขาดแคลนปุ๋ยได้ จะทำให้เป็นปัญหาใหญ่ เพราะกำลังจะเข้าสู่ฤดูการผลิตข้าวนาปี แต่การขึ้นราคาก็จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ที่จะไม่สามารถรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นด้วย รัฐบาลจึงมีแนวทางที่อุดหนุนปุ๋ยที่นำมาใช้ในการปลูกข้าวนาปี 1.5 ล้านตัน บนพื้นที่ปลูกทั่วประเทศ 57 ล้านไร่ ด้วยการใช้งบประมาณ 3.5 พันล้านบาท แต่การจะช่วยเหลือก็ต้องดูแนวทางที่เหมาะสมด้วย
"ครม.ได้เห็นชอบในหลักการที่จะเดินหน้าโครงการปุ๋ยสั่งตัด เพียงแต่เหลือรายละเอียดเท่านั้นว่าจะอุดหนุนในรูปแบบใด และจะใช้ปุ๋ยสูตรใด เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ จึงมอบหมายให้คณะทำงานกลับไปพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมก่อน ซึ่งในหลักการต้องไปวิเคราะห์สภาพดินเป็นรายแปลง เพื่อจะได้อุดหนุนปุ๋ยได้ตรงสูตร แต่เกรงว่าจะไม่ทันข้าวนาปี เบื้องต้นจะเป็นการวิเคราะห์สภาพดินในแต่ละพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง เช่น อยุธยา ซึ่งดินไม่ต่างกันมากนัก ก็จะกำหนดสูตรที่จะใช้ในพื้นที่นั้นๆออกมา ส่วนการซื้อขายของเกษตรก็ให้เป็นไปตามปกติ เพียงแต่ใครที่จะเข้าร่วมโครงการดังกล่าวก็ต้องมาขึ้นทะเบียนก่อน" นายลักษณ์กล่าว