วานนี้(2 พ.ค.) สวนดุสิตโพล เผยแพร่ผลการสำรวจความเห็นของประชาชน เรื่อง เสรีภาพบนความรับผิดชอบ จากประชาชน 1,378 คน ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าสื่อมวลชนมีความเป็นอิสระต่อการนำเสนอข่าวสารสูง แต่พบว่าในความเป็นอิสระดังกล่าวกลับมีความรับผิดชอบต่อการนำเสนอข่าวสารน้อย เพราะยังพบความผิดพลาดและความคลาดเคลื่อนของการนำเสนอข่าว ดังนั้นประชาชนกว่าร้อยละ 60.25 เห็นว่าสื่อมวลชนควรปรับปรุงการนำเสนอข่าว ให้มีความเป็นกลาง ตรงไปตรงมา น่าเชื่อถือและครอบคลุมทุกแง่มุม รวมไปถึงต้องยึดตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและเคารพสิทธิของผู้ที่ตกเป็นข่าว อย่างไรก็ตามประชาชนยังมีความคาดหวังว่าการทำหน้าที่ของสื่อจะมีการนำเสนอข่าวที่ถูกต้อง ไม่บิดเบือน และคงความอิสระ เป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชนต่อไป
ทั้งนี้ พบว่าประชาชนสะท้อนจุดเด่นของสื่อมวลชนปัจจุบัน คือ การนำเสนอข่าวได้รวดเร็วและทันเหตุการณ์ พร้อมกับเป็นตัวแทนของประชาชนในการตรวจสอบเรื่องต่างๆ อย่างใกล้ชิดและเจาะลึก
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อเวลา 07.45 น. ที่ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้รับมอบเข็มกลัดที่ระลึกและเสื้อยืดวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก จากนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และนายเสด็จ บุนนาค อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศ เนื่องในโอกาสวันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปีเป็น "วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก" หรือ World Press Freedom Day ตามที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาติ หรือยูเสนโก ได้ประกาศไว้ เพื่อเน้นยำถึงเจตนารมณ์และหลักการพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชน ซึ่งคือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน เพื่อให้มวลมนุษยชาติตระหนักถึงความสำคัญของสื่อมวลชนที่จะต้องมีเสรีภาพในการรายงานข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชน
ทั้งนี้ ตัวแทนสมาคมวิชาชีพสื่อได้ ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล ผ่านนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 1. ขอให้รัฐบาลแสดงความจริงใจในการปฏิรูปสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ โดยเร่งรัดให้หน่วยงานรัฐ ที่ครอบครองคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ปฏิรูปตัวเองให้ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้รัฐบาลควรระมัดระวังการแทรกแซงและใช้สื่อของรัฐเป็นเครื่องมือทางการเมือง และ2. รัฐบาลต้องยุติการออกกฎหมายที่มีลักษณะจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน โดยเฉพาะการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ปัจจุบันยังไม่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
ในโอกาสเดียวกันนี้องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนในประเทศไทย ยังได้ร่วมกันรณรงค์กับสาธารณชนเนื่องในโอกาสวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก โดยเน้นย้ำถึงการที่สื่อมวลชนจะต้องทำหน้าที่โดยเสรี ขณะเดียวกันก็ต้องยึดหลักความรับผิดชอบต่อสังคมและประชาติ ภายใต้แนวคิด "เสรีภาพบนความรับผิดชอบ".
ทั้งนี้ พบว่าประชาชนสะท้อนจุดเด่นของสื่อมวลชนปัจจุบัน คือ การนำเสนอข่าวได้รวดเร็วและทันเหตุการณ์ พร้อมกับเป็นตัวแทนของประชาชนในการตรวจสอบเรื่องต่างๆ อย่างใกล้ชิดและเจาะลึก
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อเวลา 07.45 น. ที่ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้รับมอบเข็มกลัดที่ระลึกและเสื้อยืดวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก จากนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และนายเสด็จ บุนนาค อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศ เนื่องในโอกาสวันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปีเป็น "วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก" หรือ World Press Freedom Day ตามที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาติ หรือยูเสนโก ได้ประกาศไว้ เพื่อเน้นยำถึงเจตนารมณ์และหลักการพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชน ซึ่งคือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน เพื่อให้มวลมนุษยชาติตระหนักถึงความสำคัญของสื่อมวลชนที่จะต้องมีเสรีภาพในการรายงานข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชน
ทั้งนี้ ตัวแทนสมาคมวิชาชีพสื่อได้ ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล ผ่านนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 1. ขอให้รัฐบาลแสดงความจริงใจในการปฏิรูปสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ โดยเร่งรัดให้หน่วยงานรัฐ ที่ครอบครองคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ปฏิรูปตัวเองให้ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้รัฐบาลควรระมัดระวังการแทรกแซงและใช้สื่อของรัฐเป็นเครื่องมือทางการเมือง และ2. รัฐบาลต้องยุติการออกกฎหมายที่มีลักษณะจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน โดยเฉพาะการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ปัจจุบันยังไม่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
ในโอกาสเดียวกันนี้องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนในประเทศไทย ยังได้ร่วมกันรณรงค์กับสาธารณชนเนื่องในโอกาสวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก โดยเน้นย้ำถึงการที่สื่อมวลชนจะต้องทำหน้าที่โดยเสรี ขณะเดียวกันก็ต้องยึดหลักความรับผิดชอบต่อสังคมและประชาติ ภายใต้แนวคิด "เสรีภาพบนความรับผิดชอบ".