xs
xsm
sm
md
lg

ชง3ทางลดกระทบแอลพีจี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน- พลังงานเตรียมเสนอแพคเกจอุ้มอุตสาหกรรมลดผลกระทบแอลพีจีลอยตัว 3 แนวทาง ทั้งกู้เงิน ส่งเสริมย้ายโรงงานไปตามแนวท่อและปรับราคาแบบขั้นบันได้ให้มากขึ้น เตรียมถกร่วมเอกชนเร็ว ๆนี้ ด้านเอกชนค้านจ่อยื่นชะลอให้เอสเอ็มอีปรับตัว 3 ปี

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงานเปิดเผยว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำมาตรการลดผลกระทบให้กับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่ใช้ก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี)เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตหลังก.ค.นี้จะเริ่มทยอยราคา 3 บาทต่อกิโลกรัมโดยมาตรการที่จะนำมารใช้ 3 แนวทางหลัก คือ1. การจัดหาเงินกู้อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนให้กับผู้ประกอบการ 2.การประสานงานกับปตท.ส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมใช้แอลพีจีตามแนวท่อก๊าซฯ และ 3. การปรับราคาเป็นแบบขั้นบันไดย่อยลงมาอีกขั้น
ทั้งนี้ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กรมธุรกิจพลังงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(ส.อ.ท.) จะนัดหารือเพื่อสรุปรายละเอียดอีกครั้งก่อนกำหนดเป็นมาตรการ ซึ่งกรณีการจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อสนับสนุนให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการย้ายฐานการผลิตไปใกล้กับแนวท่อก๊าซฯที่ปตท.เป็นผู้วางไว้เพราะจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้มาก
นายอำนาจ ยะโสธร เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิค สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)กล่าวว่า กลุ่มฯได้หารือและเตรียมจะเสนอต่อกระทรวงพลังงานและนายกรัฐมนตรีให้พิจารณาช่วยเหลือถึงผลกระทบการลอยตัวแอลพีจีอุตฯกับผู้ประกอบการรายกลางและเล็กด้วยการให้ชะลอการขึ้นออกไป 3ปีเพื่อให้ปรับตัวก่อนเพราะส่วนใหญ่ใช้แอลพีจีเป็นเชื้อเพลิงหลักขณะที่รายใหญ่สามารถปรับตัวได้อยู่แล้วเนื่องจากต้นทุนจะเพิ่มขึ้นจากเดิมถึงเท่าตัว
นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี) กล่าวว่า สมาคมฯเตรียมที่จะทำหนังสือคัดค้านต่อกระทรวงพลังงานถึงการปรับราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมไตรมาสละ 3 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) เป็นเวลา 4 ไตรมาสเนื่องจากจะกระทบต่อร้านค้าจำหน่ายแอลพีจี ยกเว้นแต่กระทรวงพลังงานจะแก้ไขร่าง เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีในการเก็บรักษาการกำหนดบุคคลากรที่รับผิดชอบและการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายพ.ศ. 2535 สำหรับโรงงานที่ใช้แอลพีจีพ.ศ.....ที่กรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.)อยู่ระหว่างจัดทำด้วยการกำหนดให้ผู้ใช้ก๊าซหุงต้มมากกว่า 500 กิโลกรัม(กก.)(ขนาด 48 กก.10ถังขึ้น)ไปต้องขอใบอนุญาตครอบครองและปรับเป็นถังขนาดใหญ่(เบาท์)เป็นมากกว่า 1,000 กก.ขึ้นไป ปตท.รับขยายปั๊ม NGV ไม่ทัน
นายณัฐชาติ จารุจินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลยุทธ์องค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวยอมรับว่าขณะนี้การให้บริการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ หรือ เอ็นจีวี ในหลายพื้นที่เริ่มล่าช้าเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้ประชาชนหันมาใช้บริการเอ็นจีวีมากขึ้น ขณะนี้การใช้เอ็นจีวี สูงขึ้นจากปลายปีที่แล้ว 5,900 ตันต่อวันเป็น 6,400 ตันต่อวัน ซึ่งสูงเกินคาดการณ์ ทำให้การเพิ่มปั๊มและการขนส่งเอ็นจีวีที่จะให้ครบ 500 ปั๊มในปีนี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ โดยขณะนี้ปั๊มมีทั้งหมด 438 ปั๊ม รถยนต์ประมาณ 250,000 คัน
อย่างไรก็ตาม ปตท.ได้พยายามเร่งแก้ไขปัญหาเอ็นจีวี แต่ต้องยอมรับว่าการจำหน่ายขณะนี้ขาดทุน โดยต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 14.50 บาทต่อกิโลกรัม แต่ขายในราคา 8.50 บาทต่อกิโลกรัม และได้รับการชดเชยจากกองทุนน้ำมันเพียง 2 บาทต่อกิโลกรัม โดยปีนี้คาดว่าน่าจะขาดทุนไม่ต่ำกว่า 7,000 ล้านบาท
กำลังโหลดความคิดเห็น