ASTV ผู้จัดการรายวัน- สมาคมผู้ค้าแอลพีจียื่น “วรรณรัตน์” ชะลอบังคับใช้ร่างประกาศกระทรวงเรื่องเกณฑ์การเก็บแอลพีจีรองรับลอยตัวราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมให้มีผลทางกฏหมายจากเดิมกำหนด 1 ปีออกไปเป็น 3 ปี และขยายเพดานคุมแอลพีจีจากเกิน 500 กก.ขึ้นไปเป็นเกิน 1,000 กก.ขึ้นไป ผวาปั๊มแอลพีจี 200 แห่งเจ๊ง โดนโรงบรรจุ ผู้ค้ามาตรา 7 ฮุบส่วนแบ่งตลาด
นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าแก๊สปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมฯ ได้ยื่นหนังสือถึงน.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน เพื่อขอแก้ไขร่างประกาศกระทรวงพลังงานเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีในการเก็บรักษา การกำหนดบุคคลากรที่รับผิดชอบและการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายพ.ศ.2535 สำหรับโรงงานที่ใช้แอลพีจีพ.ศ. ... ที่กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) อยู่ระหว่างจัดทำเพื่อรองรับการลอยตัวราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรม ซึ่งคาดว่าจะประกาศได้ในก.ค.และมีผลบังคับใช้ทางกฏหมายใน 1 ปี หรือก.ค.2555 โดยขอให้มีผลบังคับใช้เป็น 3 ปีแทน
ทั้งนี้ ร่างดังกล่าวยังกำหนดให้ผู้ใช้ก๊าซหุงต้มมากกว่า 500 กิโลกรัม (กก.) (ขนาด 48 กก.10 ถังขึ้น) ไปต้องขอใบอนุญาตครอบครองและปรับเป็นถังขนาดใหญ่ (เบาท์) เพื่อความปลอดภัยและสามารถแยกราคาแอลพีจี ส่วนนี้เป็นภาคอุตสาหกรรมที่ต้องขึ้นราคาตามนโยบายรัฐ โดยสมาคมฯขอปรับเป็นมากกว่า 1,000 กก.ขึ้นไป เนื่องจากเห็นว่าจะสามารถควบคุมการใช้ได้ง่ายกว่า เพราะปัจจุบันระเบียบได้มีการบังคับให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้แอลพีจีมากกว่า 1,000 กก.ต้องแจ้งกับธพ.และขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) อยู่แล้ว
นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังได้แนบหนังสือที่วิเคราะห์ผลกระทบต่อผู้ประกอบการร้านจำหน่ายแอลพีจีให้กับภาคอุตสาหกรรม 200 แห่ง หากมีการจำกัดคำว่าแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมที่ 500 กก. จะสูญเสียยอดการจำหน่ายก๊าซหุงต้มของร้านค้าปลีกในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมไปประมาณ 30-35% จากการเข้ามาแข่งขันของกลุ่มโรงบรรจุก๊าซและผู้ค้ามาตรา 7
ส่วนกรณีหากมีการจำหน่ายแอลพีจีสองราคาให้กับโรงงานกรณีที่ระดับการใช้และกักเก็บเกิน 1,000 กก.ขึ้นไปจะสูญเสียยอดการจำหน่ายก๊าซหุงต้มของผู้ค้าปลีกก๊าซหุงต้มในส่วนที่ได้เคยจำหน่ายก๊าซหุงต้มให้กับโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 9% ของยอดการจำหน่ายก๊าซหุงต้ม จากการเข้ามาแย่งตลาดของกลุ่มโรงบรรจุก๊าซและผู้ค้ามาตรา 7
นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าแก๊สปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมฯ ได้ยื่นหนังสือถึงน.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน เพื่อขอแก้ไขร่างประกาศกระทรวงพลังงานเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีในการเก็บรักษา การกำหนดบุคคลากรที่รับผิดชอบและการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายพ.ศ.2535 สำหรับโรงงานที่ใช้แอลพีจีพ.ศ. ... ที่กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) อยู่ระหว่างจัดทำเพื่อรองรับการลอยตัวราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรม ซึ่งคาดว่าจะประกาศได้ในก.ค.และมีผลบังคับใช้ทางกฏหมายใน 1 ปี หรือก.ค.2555 โดยขอให้มีผลบังคับใช้เป็น 3 ปีแทน
ทั้งนี้ ร่างดังกล่าวยังกำหนดให้ผู้ใช้ก๊าซหุงต้มมากกว่า 500 กิโลกรัม (กก.) (ขนาด 48 กก.10 ถังขึ้น) ไปต้องขอใบอนุญาตครอบครองและปรับเป็นถังขนาดใหญ่ (เบาท์) เพื่อความปลอดภัยและสามารถแยกราคาแอลพีจี ส่วนนี้เป็นภาคอุตสาหกรรมที่ต้องขึ้นราคาตามนโยบายรัฐ โดยสมาคมฯขอปรับเป็นมากกว่า 1,000 กก.ขึ้นไป เนื่องจากเห็นว่าจะสามารถควบคุมการใช้ได้ง่ายกว่า เพราะปัจจุบันระเบียบได้มีการบังคับให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้แอลพีจีมากกว่า 1,000 กก.ต้องแจ้งกับธพ.และขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) อยู่แล้ว
นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังได้แนบหนังสือที่วิเคราะห์ผลกระทบต่อผู้ประกอบการร้านจำหน่ายแอลพีจีให้กับภาคอุตสาหกรรม 200 แห่ง หากมีการจำกัดคำว่าแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมที่ 500 กก. จะสูญเสียยอดการจำหน่ายก๊าซหุงต้มของร้านค้าปลีกในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมไปประมาณ 30-35% จากการเข้ามาแข่งขันของกลุ่มโรงบรรจุก๊าซและผู้ค้ามาตรา 7
ส่วนกรณีหากมีการจำหน่ายแอลพีจีสองราคาให้กับโรงงานกรณีที่ระดับการใช้และกักเก็บเกิน 1,000 กก.ขึ้นไปจะสูญเสียยอดการจำหน่ายก๊าซหุงต้มของผู้ค้าปลีกก๊าซหุงต้มในส่วนที่ได้เคยจำหน่ายก๊าซหุงต้มให้กับโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 9% ของยอดการจำหน่ายก๊าซหุงต้ม จากการเข้ามาแย่งตลาดของกลุ่มโรงบรรจุก๊าซและผู้ค้ามาตรา 7