นาย ทาเคฮารุ อุเอมัทซึ ประธานเจ้าที่บริหาร บริษัท อีซี่ บาย จำกัด ( มหาชน ) เปิดเผยถึงแผนงานของบริษัทในปีนี้ว่า บริษัทได้ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนลูกค้าใหม่อีก 150,000 ราย จากปัจจุบันที่มีอยู่ 810,000 ราย โดยคาดว่าสินเชื่อใหม่จะเพิ่มขึ้น 1,500 ล้าน จากยอดสินเชื่อรวม ณ สิ้นปี 53 อยู่ที่ในระดับ 25,500 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้สิ้นปีนี้ยอดสินเชื่อคงค้างของทางบริษัทจะอยู่ที่ 27,000 ล้านบาท และตั้งเป้าผลกำไรในปีนี้ที่ 1,200 ล้านบาท จากปีที่แล้วทางมีกำไร 925 ล้านบาท ขณะที่รายได้รวมได้ตั้งเป้าไว้ที่ 8,100 ล้านบาท จากปีที่แล้วอยู่ที่ 7,800 ล้านบาท
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าและขยายฐานสินเชื่อดังกล่าว อีซี่บายจะมีการเปิดสาขาเพิ่มอีก 5 สาขา ตามหัวเมืองต่างๆในต่างจังหวัด โดยจะเริ่มสาขาแรกที่จังหวัดหนองคาย
ด้านแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปีนี้นั้น นาย ทาเคฮารุ กล่าวว่า ยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ดีอยู่ แม้วิกฤติสึนามิและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญีปุ่นจะกระทบส่งให้ชิ้นส่วนวัตถุดิบที่ใช้ประกอบรถยนต์ล่าช้าไปบ้าง ก็น่าจะเป็นผลกระทบทางอ้อมไปสู่ค่าจ้างของพนักงานที่ทำอุตสาหกรรมด้านนี้ที่จะลดลง และจะส่งผลถึงยอดใช้จ่ายที่อาจจะลดลงตามไปด้วย แต่ไม่น่าจะส่งผลกระทบโดยตรง
"ปัญหาที่เรากังวลในขณะนี้ก็คงเป็นเรื่องดอกเบี้ยขาขึ้น เนื่องจากทางบริษัทต้องกู้เงินจากแบงก์ เพื่อนำมาปล่อยกู้อีกต่อหนึ่ง ซึ่งดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นก็ทำให้ต้นทุนของเราเพิ่มขึ้น และอาจจะส่งผลให้กำไรของทางบริษัทลดลง แต่บริษัทก็จะต้องหาทางบริหารจัดการให้เกิดความสมกุลมากขึ้น โดยจะพยายามลดหนี้เสีย ลดต้นทุนในส่วนที่ไม่จำเป็น และคัดเลือกลูกค้าที่มีคุณภาพ น่าจะช่วยเหลือในเรื่องปัญหาต้นทุนได้ โดยปัจจุบัน บริษัทมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ของลูกค้าที่ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือนอยู่ที่ 3 % และลูกค้าที่ค้างชำระเกิน 3เดือนขึ้นไป อยู่ที่ 2%"
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าและขยายฐานสินเชื่อดังกล่าว อีซี่บายจะมีการเปิดสาขาเพิ่มอีก 5 สาขา ตามหัวเมืองต่างๆในต่างจังหวัด โดยจะเริ่มสาขาแรกที่จังหวัดหนองคาย
ด้านแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปีนี้นั้น นาย ทาเคฮารุ กล่าวว่า ยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ดีอยู่ แม้วิกฤติสึนามิและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญีปุ่นจะกระทบส่งให้ชิ้นส่วนวัตถุดิบที่ใช้ประกอบรถยนต์ล่าช้าไปบ้าง ก็น่าจะเป็นผลกระทบทางอ้อมไปสู่ค่าจ้างของพนักงานที่ทำอุตสาหกรรมด้านนี้ที่จะลดลง และจะส่งผลถึงยอดใช้จ่ายที่อาจจะลดลงตามไปด้วย แต่ไม่น่าจะส่งผลกระทบโดยตรง
"ปัญหาที่เรากังวลในขณะนี้ก็คงเป็นเรื่องดอกเบี้ยขาขึ้น เนื่องจากทางบริษัทต้องกู้เงินจากแบงก์ เพื่อนำมาปล่อยกู้อีกต่อหนึ่ง ซึ่งดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นก็ทำให้ต้นทุนของเราเพิ่มขึ้น และอาจจะส่งผลให้กำไรของทางบริษัทลดลง แต่บริษัทก็จะต้องหาทางบริหารจัดการให้เกิดความสมกุลมากขึ้น โดยจะพยายามลดหนี้เสีย ลดต้นทุนในส่วนที่ไม่จำเป็น และคัดเลือกลูกค้าที่มีคุณภาพ น่าจะช่วยเหลือในเรื่องปัญหาต้นทุนได้ โดยปัจจุบัน บริษัทมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ของลูกค้าที่ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือนอยู่ที่ 3 % และลูกค้าที่ค้างชำระเกิน 3เดือนขึ้นไป อยู่ที่ 2%"