พลันที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศกำหนดยุบสภาในสัปดาห์แรกของเดือน พ.ค. เพื่อจัดให้มีเลือกตั้งใหม่ในช่วงปลายเดือน มิ.ย.หรือต้นเดือน ก.ค.นี้ ภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งก็เดินหน้าเตรียมการทันที จึงไม่แปลกที่รัฐบาลและฝ่ายค้านจะสามัคคีกันผ่าน “กฎหมายลูก” ว่าด้วยการเลือกตั้ง ทั้ง 3 ฉบับ
ประกอบด้วย ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งวุฒิสภา ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
โดย ส.ส.ทั้งสภาฯร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์ผ่านการเห็นชอบกฎหมายทั้ง 3 ฉบับเป็นเอกฉันท์ แบบไม่มีใครคัดค้าน ทั้ง 3 วาระอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อนในสภาฯชุดนี้ไปเมื่อวันที่ 7 เม.ย.
สะท้อนให้เห็นว่า หากสิ่งใดสมประโยชน์นักการเมืองก็ย่อมผ่านฉลุยไปด้วยดี
ไม้ถูกส่งต่อให้วุฒิสภาพิจารณาต่อ ตั้งแต่เมื่อช่วงกลางเดือน เม.ย.ซึ่งตรงกับช่วงเปลี่ยนผ่านที่มี ส.ว.สรรหาชุดใหม่ 73 คน พอดิบพอดี
หากแต่เกมที่กำลังไหลลื่นกลับต้อง “สะดุด” เวลาถูกยืดออก แม้วุฒิสภามีมติรับวาระ 1 แล้วแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับ ซึ่งมี นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ เป็นประธาน ตั้งเป้าเสร็จภายใน 1 สัปดาห์ แต่กมธ.ได้ขอต่อเวลาเพิ่มอีก 1 สัปดาห์จากกรอบเดิม โดยอ้างว่ารายละเอียดมาก และเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญ เพื่อความรอบคอบ ป้องกันข้อผิดพลาด
ไม่วายถูกมองว่า “ยึกยัก” เพราะ “รับงาน” มาถ่วงเวลาเพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง
เพราะเสียงขู่จาก คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ว่า กฎหมายลูกทั้ง 3 ฉบับต้องผ่านรัฐสภาให้แล้วเสร็จก่อนการเลือกตั้ง โดยที่ กกต.จะไม่ยอมออกระเบียบเพื่อจัดการเลือกตั้ง หากกฎหมายลูกไม่ผ่านจริงๆ
ปัญหาอาจเกิด “สุญญากาศ” หากนายกฯต้องประกาศยุบสภา ก่อนที่กฎหมายลูกจะคลอดออกมาสำเร็จ แรงกดดันจึงตกอยู่ที่วุฒิสภา และกมธ.ของนายจิตติพจน์เอง ท้ายที่สุดนายจิตติพจน์ก็ชงเข้าสู่วาระการประชุมของวุฒิสภาเพื่อพิจารณาในวาระ 2 และ 3 ต่อได้ เมื่อวานนี้ (25 เม.ย.) ทันตามนัดหมาย
แต่ก็ใช่ว่าบรรดา ส.ว.จะปล่อยผีโดยง่าย จากการอภิปรายตลอดทั้งวัน เพื่อให้มีการแก้ไขในข้อบกพร่องเล็กๆน้อยๆ ที่เกิดจากความเร่งรีบในการตรากฎหมายจากสภาฯ โดยเฉพาะประเด็น “การเลือกตั้งล่วงหน้า” ในร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งวุฒิสภา ที่ในชั้นสภาฯได้ลดทอนเหลือเพียง 1 วันจาก 2 วันที่ กกต.ได้เสนอเข้ามา
แต่ในชั้นวุฒิสภา ต้องการให้ตัดออกทั้งหมด เพระเห็นว่าเป็นการเปิดช่องให้เกิดการทุจริตเลือกตั้งได้โดยง่าย จึงมี ส.ว.บางส่วนคัดค้าน นำโดย น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. และ นายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร
เมื่อความเห็นไม่ตรงกันจึงต้องมีการลงมติตัดสินกัน ปรากฏว่า ส.ว.ส่วนใหญ่สนับสนุนคณะกรรมาธิการฯในการยืนตามร่างที่สภาฯเสนอ ซึ่งกำหนดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้า 1 วันต่อไป
ส่วนกฎหมายลูกอีก 2 ฉบับที่เหลือนั้นผ่าน“ฉลุย”ไม่ได้มีการแก้ไข หรือมีการคัดค้านแต่ประการใด
แต่ก็ไม่วายที่นายกฯอภิสิทธิ์ต้องติดตามผลการพิจารณาของวุฒิสภาอย่างใกล้ชิด เพราะห่วงว่าหากเกิดการเสนอให้แก้ไขในสาระสำคัญ โดยเฉพาะในส่วนของการเลือกตั้งล่วงหน้าที่เป็นข่าวนั้น อาจส่งผลกระทบต่อ “ปฏิทินการเมือง” ที่นายกฯวางไว้อย่างแน่นอน เพราะเมื่อเป็นเช่นนั้นก็อาจทำให้นายกฯไม่สามารถประกาศยุบสภาได้ และส่งผลเสียกับตัวเอง เพราะเป็นผู้ขีดเส้นตายเอาไว้เอง
แต่เมื่อผ่านในชั้นวุฒิสภาแล้ว คราวนี้ก็เหลือเพียงขั้นตอนการส่งให้ ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความว่ามีรายละเอียดในส่วนใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากไม่มีก็สามารถเดินหน้ามุ่งสู่สนามเลือกตั้งได้ทันที
อย่างไรก็ตาม หากสังเกตบรรยากาศในห้องประชุมวุฒิสภาเมื่อวานนี้ แม้จะไม่ได้มีการอภิปรายอย่างดุเดือด แต่ก็สัมผัสได้ถึงท่าทีที่เร่งรีบรวบรัดอยู่บ้าง โดยเฉพาะการทำหน้าที่ของ นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ประธานวุฒิสภา ซึ่งทำหน้าที่คุมเกมในการประชุม มีการทัดทานไม่ให้ ส.ว.ใช้เวลาอภิปรายนานเกินไปอยู่เนืองๆ คล้ายกับได้รับ “ใบสั่ง” มาว่าต้องให้ผ่านชั้นวุฒิสภาให้ได้
ในขณะที่ ส.ว.บางส่วนที่มีการเสนอให้แก้ไขรายละเอียดบางส่วนเพื่อความสมบูรณ์ของกฎหมาย ก็ยืนยันว่า ส.ว.ต้องทำหน้าที่เต็มที่ โดยไม่คำนึงว่ารัฐบาลหรือนายกฯ จะประกาศยุบสภาวันไหน พร้อมเหตุผลที่ว่า ส.ว.ต้องทำหน้าที่โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของผู้ใด
ไม่ว่าอย่างไรเมื่อวุฒิสภาร่วมทำคลอดกฎหมายลูก 3 ฉบับนี้ และส่งผลสามารถให้มีการยุบสภาและเลือกตั้งได้ตามที่รัฐบาลกำหนด ทั้งที่ยังมีรายละเอียดบางส่วนที่ขาดความสมบูรณ์ แต่ก็อ้างว่าจะแก้ไขในโอกาสต่อไป ก็ยังแสดงให้เห็นว่า สถานภาพของวุฒิสภาในวันนี้ ก็ไม่ต่างจาก “ตรายาง” ของรัฐบาล ที่สามารถจะสั่งให้ซ้ายหันหรือขวาหันได้ตลอด
อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นอีกว่า ขณะนี้ฝ่ายการเมืองทุกภาคส่วนต้องการมุ่งสู่สนามเลือกตั้งทั้งหมด ท่ามกลางข่าวลือที่ยังกระหึ่มว่า อาจเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองได้ทุกเมื่อ จึงไม่แปลกที่ทุกฝ่ายจะประสานความร่วมมือกันอย่างผิดปกติ
ไม่เว้นวุฒิสภาที่ควรจะทำหน้าที่เป็น “พี่เลี้ยง” มากกว่า “ลูกไล่” อย่างที่เป็นอยู่
ประกอบด้วย ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งวุฒิสภา ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
โดย ส.ส.ทั้งสภาฯร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์ผ่านการเห็นชอบกฎหมายทั้ง 3 ฉบับเป็นเอกฉันท์ แบบไม่มีใครคัดค้าน ทั้ง 3 วาระอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อนในสภาฯชุดนี้ไปเมื่อวันที่ 7 เม.ย.
สะท้อนให้เห็นว่า หากสิ่งใดสมประโยชน์นักการเมืองก็ย่อมผ่านฉลุยไปด้วยดี
ไม้ถูกส่งต่อให้วุฒิสภาพิจารณาต่อ ตั้งแต่เมื่อช่วงกลางเดือน เม.ย.ซึ่งตรงกับช่วงเปลี่ยนผ่านที่มี ส.ว.สรรหาชุดใหม่ 73 คน พอดิบพอดี
หากแต่เกมที่กำลังไหลลื่นกลับต้อง “สะดุด” เวลาถูกยืดออก แม้วุฒิสภามีมติรับวาระ 1 แล้วแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับ ซึ่งมี นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ เป็นประธาน ตั้งเป้าเสร็จภายใน 1 สัปดาห์ แต่กมธ.ได้ขอต่อเวลาเพิ่มอีก 1 สัปดาห์จากกรอบเดิม โดยอ้างว่ารายละเอียดมาก และเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญ เพื่อความรอบคอบ ป้องกันข้อผิดพลาด
ไม่วายถูกมองว่า “ยึกยัก” เพราะ “รับงาน” มาถ่วงเวลาเพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง
เพราะเสียงขู่จาก คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ว่า กฎหมายลูกทั้ง 3 ฉบับต้องผ่านรัฐสภาให้แล้วเสร็จก่อนการเลือกตั้ง โดยที่ กกต.จะไม่ยอมออกระเบียบเพื่อจัดการเลือกตั้ง หากกฎหมายลูกไม่ผ่านจริงๆ
ปัญหาอาจเกิด “สุญญากาศ” หากนายกฯต้องประกาศยุบสภา ก่อนที่กฎหมายลูกจะคลอดออกมาสำเร็จ แรงกดดันจึงตกอยู่ที่วุฒิสภา และกมธ.ของนายจิตติพจน์เอง ท้ายที่สุดนายจิตติพจน์ก็ชงเข้าสู่วาระการประชุมของวุฒิสภาเพื่อพิจารณาในวาระ 2 และ 3 ต่อได้ เมื่อวานนี้ (25 เม.ย.) ทันตามนัดหมาย
แต่ก็ใช่ว่าบรรดา ส.ว.จะปล่อยผีโดยง่าย จากการอภิปรายตลอดทั้งวัน เพื่อให้มีการแก้ไขในข้อบกพร่องเล็กๆน้อยๆ ที่เกิดจากความเร่งรีบในการตรากฎหมายจากสภาฯ โดยเฉพาะประเด็น “การเลือกตั้งล่วงหน้า” ในร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งวุฒิสภา ที่ในชั้นสภาฯได้ลดทอนเหลือเพียง 1 วันจาก 2 วันที่ กกต.ได้เสนอเข้ามา
แต่ในชั้นวุฒิสภา ต้องการให้ตัดออกทั้งหมด เพระเห็นว่าเป็นการเปิดช่องให้เกิดการทุจริตเลือกตั้งได้โดยง่าย จึงมี ส.ว.บางส่วนคัดค้าน นำโดย น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. และ นายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร
เมื่อความเห็นไม่ตรงกันจึงต้องมีการลงมติตัดสินกัน ปรากฏว่า ส.ว.ส่วนใหญ่สนับสนุนคณะกรรมาธิการฯในการยืนตามร่างที่สภาฯเสนอ ซึ่งกำหนดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้า 1 วันต่อไป
ส่วนกฎหมายลูกอีก 2 ฉบับที่เหลือนั้นผ่าน“ฉลุย”ไม่ได้มีการแก้ไข หรือมีการคัดค้านแต่ประการใด
แต่ก็ไม่วายที่นายกฯอภิสิทธิ์ต้องติดตามผลการพิจารณาของวุฒิสภาอย่างใกล้ชิด เพราะห่วงว่าหากเกิดการเสนอให้แก้ไขในสาระสำคัญ โดยเฉพาะในส่วนของการเลือกตั้งล่วงหน้าที่เป็นข่าวนั้น อาจส่งผลกระทบต่อ “ปฏิทินการเมือง” ที่นายกฯวางไว้อย่างแน่นอน เพราะเมื่อเป็นเช่นนั้นก็อาจทำให้นายกฯไม่สามารถประกาศยุบสภาได้ และส่งผลเสียกับตัวเอง เพราะเป็นผู้ขีดเส้นตายเอาไว้เอง
แต่เมื่อผ่านในชั้นวุฒิสภาแล้ว คราวนี้ก็เหลือเพียงขั้นตอนการส่งให้ ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความว่ามีรายละเอียดในส่วนใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากไม่มีก็สามารถเดินหน้ามุ่งสู่สนามเลือกตั้งได้ทันที
อย่างไรก็ตาม หากสังเกตบรรยากาศในห้องประชุมวุฒิสภาเมื่อวานนี้ แม้จะไม่ได้มีการอภิปรายอย่างดุเดือด แต่ก็สัมผัสได้ถึงท่าทีที่เร่งรีบรวบรัดอยู่บ้าง โดยเฉพาะการทำหน้าที่ของ นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ประธานวุฒิสภา ซึ่งทำหน้าที่คุมเกมในการประชุม มีการทัดทานไม่ให้ ส.ว.ใช้เวลาอภิปรายนานเกินไปอยู่เนืองๆ คล้ายกับได้รับ “ใบสั่ง” มาว่าต้องให้ผ่านชั้นวุฒิสภาให้ได้
ในขณะที่ ส.ว.บางส่วนที่มีการเสนอให้แก้ไขรายละเอียดบางส่วนเพื่อความสมบูรณ์ของกฎหมาย ก็ยืนยันว่า ส.ว.ต้องทำหน้าที่เต็มที่ โดยไม่คำนึงว่ารัฐบาลหรือนายกฯ จะประกาศยุบสภาวันไหน พร้อมเหตุผลที่ว่า ส.ว.ต้องทำหน้าที่โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของผู้ใด
ไม่ว่าอย่างไรเมื่อวุฒิสภาร่วมทำคลอดกฎหมายลูก 3 ฉบับนี้ และส่งผลสามารถให้มีการยุบสภาและเลือกตั้งได้ตามที่รัฐบาลกำหนด ทั้งที่ยังมีรายละเอียดบางส่วนที่ขาดความสมบูรณ์ แต่ก็อ้างว่าจะแก้ไขในโอกาสต่อไป ก็ยังแสดงให้เห็นว่า สถานภาพของวุฒิสภาในวันนี้ ก็ไม่ต่างจาก “ตรายาง” ของรัฐบาล ที่สามารถจะสั่งให้ซ้ายหันหรือขวาหันได้ตลอด
อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นอีกว่า ขณะนี้ฝ่ายการเมืองทุกภาคส่วนต้องการมุ่งสู่สนามเลือกตั้งทั้งหมด ท่ามกลางข่าวลือที่ยังกระหึ่มว่า อาจเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองได้ทุกเมื่อ จึงไม่แปลกที่ทุกฝ่ายจะประสานความร่วมมือกันอย่างผิดปกติ
ไม่เว้นวุฒิสภาที่ควรจะทำหน้าที่เป็น “พี่เลี้ยง” มากกว่า “ลูกไล่” อย่างที่เป็นอยู่