ASTVผู้จัดการรายวัน - "สุเทพ" อ้างเหตุ ครม.ขอถอนเจบีซี เพราะคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญระบุชัด บันทึกยังไม่ถึงที่สุดที่จะให้สภารับรอง ชี้ต้องไปเจรจาต่อ ยืนยันไม่ได้ทำผิดกฎหมาย โยนกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงอาเซียน - เขมร พธม. ระบุเป็นถือเป็นชัยชนะของประชาชนอีกขั้นหนึ่ง แม้ว่าไม่ใช่เป้าหมายหลัก
เมื่อวันที่ 13 เมษายน ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง กล่าวถึงกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติถอนร่างบันทึกเจบีซีออกจากสภาผู้แทนราษฎรว่า เมื่อวันที่ 12 เมษายน ได้มีการปรึกษาหารือในเรื่องนี้ และได้ถามความเห็นจากนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฎษฎีกา และรัฐมนตรีทุกคน ซึ่งทุกคนเห็นว่าข้อความในคำวินิจฉัยของรัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นชัดเจนว่ากระบวนการทำงานร่วมกันของคณะกรรมการ ผู้แทนของเราที่อยู่ในเจบีซีนั้นยังไม่สิ้นสุด ไม่ครบถ้วนถึงขั้นที่จะนำมาเสนอให้รัฐสภาให้คำรับรอง เพราะว่ารัฐสภาได้ให้กรอบในการทำงานอยู่แล้วและงานก็ยังไม่เสร็จ ต้องไปเจรจาและทำกันจนเสร็จเรียบร้อยแล้วถึงวันนั้นจึงจะได้ข้อสรุปว่ากระทบต่อเขตแดนของไทยตรงไหน และต้องมีการขยับปรับเปลี่ยนตรงไหน ซึ่งตอนนั้นถึงจะนำมาเสนอขอรับความเห็นชอบของรัฐสภา โดยนี่คือการตีความตามคำวินิจฉัยของรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ไม่ถือว่ามีการทำผิดขั้นตอนตามกฎระเบียบใช่หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่ถืออย่างนั้น คือเรื่องการปฎิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ที่จะต้องนำเรื่องเหล่านี้เสนอเข้าที่ประชุมรัฐสภา ยังมีข้อสงสัยอยู่ตลอดเวลาว่าเรื่องไหนต้องเสนอเรื่องไหนไม่ต้องเสนอตอนไหน เพราะกฎหมายยังไม่ชัด ทำให้การตีความต่างคนก็คิดกันไปต่างๆนาๆ แต่คราวนี้เห็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเราต้องถือว่าเชี่ยวชาญที่สุดแล้ว เมื่ออ่านโดยละเอียดก็สามารถเข้าใจได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าไม่ใช่ขั้นตอนที่จะต้องนำมาเสนอต่อรัฐสภา
ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะทำให้เข้ารางวัดของพันธมิตรฯ ที่เคยระบุว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและในที่สุดก็ต้องถอนร่าง นายสุเทพ กล่าวว่า คนละอย่างกับที่พันธมิตรฯพูดว่าผิดกฎหมาย แต่นี่ไม่ใช่การผิดกฎหมายหรือไม่ผิดกฎหมาย แต่เห็นว่าการปฎิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายยังไม่ถึงเวลาที่จะนำมาเสนอ เมื่อถามว่า การพิจารณาที่ล่าช้าจะกระทบประเทศเพื่อนบ้านคู่กรณีของเราหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า การที่เราถอนร่างบันทึกเจบีซีออกไป หมายความว่าการทำงานของคณะกรรมการเขตแดนร่วมก็ยังเดินหน้าต่อไปได้ สามารถไปประชุมกับเขาได้ห้าครั้งสิบครั้งยี่สิบครั้งจนเสร็จงาน ปีสองปีห้าปีอะไรก็แล้วแต่ ถึงตอนนั้นเมื่อได้ข้อสรุปทั้งหมดค่อยนำมาเสนอรัฐสภา
เมื่อถามว่า ทางกระทรวงการต่างประเทศต้องอธิบายตรงนี้ให้กับประเทศกัมพูชาหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า กต.ก็ไปอธิบายเรื่องนี้ให้ทั้งทางกัมพูชาและอาเซียน หรือสหประชาชาติในวันข้างหน้าว่า ไม่มีอะไรที่เป็นอุปสรรคในการเจรจาทวิภาคีระหว่างไทยกับกัมพูชาอีกต่อไป เพราะเมื่อก่อนถ้าไปปรึกษาหารือกันก็ต้องกลับมาขออนุมัติรัฐสภาขอความเห็นชอบ แต่ต่อไปนี้ประชุมอย่างต่อเนื่องได้เลย
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 12 เมษายน ครม.มีมติให้ถอนข้อตกลงเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา หรือเจบีซี ทั้ง 3 ฉบับออกจากรัฐสภา และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการไปตามขั้นตอนในเรื่องของการเจรจา การทำความตกลง แต่ถ้าจะมีเรื่องของการทำสัญญาก็เสนอให้รัฐสภาพิจารณาต่อไป เนื่องจากครม.ได้รับทราบผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าการดำเนินการข้อตกลงเขตแดนไทย-กัมพูชายังมีขั้นตอนที่จะต้องดำเนินการของฝ่ายบริหารอีกหลายขั้นตอน
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) กล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรีมีมติให้ถอดร่างบันทึกผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) 3 ฉบับออกจากวาระการประชุมร่วมของรัฐสภา ว่า ถือเป็นชัยชนะของประชาชนอีกขั้นหนึ่ง แม้ว่าไม่ใช่เป้าหมายหลักก็ตาม แต่ได้แสดงให้เห็นว่าความพยายามผลักดันของรัฐบาลที่จะนำร่างบันทึกการประชุมเจบีซีเข้าที่ประชุมรัฐสภาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา
ในขณะที่พันธมิตรฯต้องทำทุกวิถีทาง ทั้งการชุมนุม หรือยื่นหนังสือกดดัน เพื่อชะลอความพยายามของรัฐบาลนั้น สะท้อนให้เห็นว่าที่สุดแล้วความดื้อแพ่งของรัฐบาลก็ไม่อาจต้านทานข้อเท็จจริงและข้อมูลของประชาชนได้
"เป็นชัยชนะในแง่ของการใช้ปัญญาและข้อมูล ว่าสิ่งที่พันธมิตรฯ คณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย และภาคประชาชน ต่อสู้มานั้น ยืนยันอย่างชัดเจนว่าถูกต้องทุกประการ" นายปานเทพ กล่าว.
เมื่อวันที่ 13 เมษายน ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง กล่าวถึงกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติถอนร่างบันทึกเจบีซีออกจากสภาผู้แทนราษฎรว่า เมื่อวันที่ 12 เมษายน ได้มีการปรึกษาหารือในเรื่องนี้ และได้ถามความเห็นจากนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฎษฎีกา และรัฐมนตรีทุกคน ซึ่งทุกคนเห็นว่าข้อความในคำวินิจฉัยของรัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นชัดเจนว่ากระบวนการทำงานร่วมกันของคณะกรรมการ ผู้แทนของเราที่อยู่ในเจบีซีนั้นยังไม่สิ้นสุด ไม่ครบถ้วนถึงขั้นที่จะนำมาเสนอให้รัฐสภาให้คำรับรอง เพราะว่ารัฐสภาได้ให้กรอบในการทำงานอยู่แล้วและงานก็ยังไม่เสร็จ ต้องไปเจรจาและทำกันจนเสร็จเรียบร้อยแล้วถึงวันนั้นจึงจะได้ข้อสรุปว่ากระทบต่อเขตแดนของไทยตรงไหน และต้องมีการขยับปรับเปลี่ยนตรงไหน ซึ่งตอนนั้นถึงจะนำมาเสนอขอรับความเห็นชอบของรัฐสภา โดยนี่คือการตีความตามคำวินิจฉัยของรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ไม่ถือว่ามีการทำผิดขั้นตอนตามกฎระเบียบใช่หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่ถืออย่างนั้น คือเรื่องการปฎิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ที่จะต้องนำเรื่องเหล่านี้เสนอเข้าที่ประชุมรัฐสภา ยังมีข้อสงสัยอยู่ตลอดเวลาว่าเรื่องไหนต้องเสนอเรื่องไหนไม่ต้องเสนอตอนไหน เพราะกฎหมายยังไม่ชัด ทำให้การตีความต่างคนก็คิดกันไปต่างๆนาๆ แต่คราวนี้เห็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเราต้องถือว่าเชี่ยวชาญที่สุดแล้ว เมื่ออ่านโดยละเอียดก็สามารถเข้าใจได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าไม่ใช่ขั้นตอนที่จะต้องนำมาเสนอต่อรัฐสภา
ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะทำให้เข้ารางวัดของพันธมิตรฯ ที่เคยระบุว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและในที่สุดก็ต้องถอนร่าง นายสุเทพ กล่าวว่า คนละอย่างกับที่พันธมิตรฯพูดว่าผิดกฎหมาย แต่นี่ไม่ใช่การผิดกฎหมายหรือไม่ผิดกฎหมาย แต่เห็นว่าการปฎิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายยังไม่ถึงเวลาที่จะนำมาเสนอ เมื่อถามว่า การพิจารณาที่ล่าช้าจะกระทบประเทศเพื่อนบ้านคู่กรณีของเราหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า การที่เราถอนร่างบันทึกเจบีซีออกไป หมายความว่าการทำงานของคณะกรรมการเขตแดนร่วมก็ยังเดินหน้าต่อไปได้ สามารถไปประชุมกับเขาได้ห้าครั้งสิบครั้งยี่สิบครั้งจนเสร็จงาน ปีสองปีห้าปีอะไรก็แล้วแต่ ถึงตอนนั้นเมื่อได้ข้อสรุปทั้งหมดค่อยนำมาเสนอรัฐสภา
เมื่อถามว่า ทางกระทรวงการต่างประเทศต้องอธิบายตรงนี้ให้กับประเทศกัมพูชาหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า กต.ก็ไปอธิบายเรื่องนี้ให้ทั้งทางกัมพูชาและอาเซียน หรือสหประชาชาติในวันข้างหน้าว่า ไม่มีอะไรที่เป็นอุปสรรคในการเจรจาทวิภาคีระหว่างไทยกับกัมพูชาอีกต่อไป เพราะเมื่อก่อนถ้าไปปรึกษาหารือกันก็ต้องกลับมาขออนุมัติรัฐสภาขอความเห็นชอบ แต่ต่อไปนี้ประชุมอย่างต่อเนื่องได้เลย
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 12 เมษายน ครม.มีมติให้ถอนข้อตกลงเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา หรือเจบีซี ทั้ง 3 ฉบับออกจากรัฐสภา และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการไปตามขั้นตอนในเรื่องของการเจรจา การทำความตกลง แต่ถ้าจะมีเรื่องของการทำสัญญาก็เสนอให้รัฐสภาพิจารณาต่อไป เนื่องจากครม.ได้รับทราบผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าการดำเนินการข้อตกลงเขตแดนไทย-กัมพูชายังมีขั้นตอนที่จะต้องดำเนินการของฝ่ายบริหารอีกหลายขั้นตอน
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) กล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรีมีมติให้ถอดร่างบันทึกผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) 3 ฉบับออกจากวาระการประชุมร่วมของรัฐสภา ว่า ถือเป็นชัยชนะของประชาชนอีกขั้นหนึ่ง แม้ว่าไม่ใช่เป้าหมายหลักก็ตาม แต่ได้แสดงให้เห็นว่าความพยายามผลักดันของรัฐบาลที่จะนำร่างบันทึกการประชุมเจบีซีเข้าที่ประชุมรัฐสภาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา
ในขณะที่พันธมิตรฯต้องทำทุกวิถีทาง ทั้งการชุมนุม หรือยื่นหนังสือกดดัน เพื่อชะลอความพยายามของรัฐบาลนั้น สะท้อนให้เห็นว่าที่สุดแล้วความดื้อแพ่งของรัฐบาลก็ไม่อาจต้านทานข้อเท็จจริงและข้อมูลของประชาชนได้
"เป็นชัยชนะในแง่ของการใช้ปัญญาและข้อมูล ว่าสิ่งที่พันธมิตรฯ คณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย และภาคประชาชน ต่อสู้มานั้น ยืนยันอย่างชัดเจนว่าถูกต้องทุกประการ" นายปานเทพ กล่าว.