ASTVผู้จัดการรายวัน-ครม.อนุมัติงบพันล้าน ซ่อมถนน โรงพยาบาลที่เสียหายจากน้ำท่วมภาคใต้ ส่วนปัญหาเงินเยียวยา "มาร์ค"ลั่นทุกอย่างต้องเป็นไปตามเกณฑ์ ใครมั่วนิ่มเจอเล่นงานตามกฎหมาย ด้านส.อ.ท.เผยโรงงานเสียหายกว่าหมื่นล้าน เตรียมหารือภาครัฐช่วย สธ.ส่งกรมควบคุมโรง กรมอนามัย เข้าฟื้นฟู
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (12 เม.ย.) ว่า ครม.อนุมัติงบ 935,364,032 ล้านบาท เพื่อให้กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และหน่วยบัญชาการทหารพัฒนานำไปซ่อมแซมและฟื้นฟูเส้นทางคมนาคมที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยภาคใต้ ปี 2554 ตามที่คณะกรรมการอำนวยการกำกับ ติดตาม ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.) เสนอมา
ทั้งนี้ ในการประชุมครม. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มอบให้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ไปดูแลกรณีที่สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะมอบสิทธิสัมปทานคลื่นความถี่ให้แก่ใคร จะต้องมีเงื่อนไข เรื่องการแจ้งเตือนภัยกรณีมีเหตุภัยธรรมชาติเกิดขึ้นด้วย และยังเห็นว่าในการป้องกันน้ำท่วม มีความจำเป็นต้องมีหน่วยงานพิเศษที่มีความคล่องตัวเรื่องการทำงาน งบประมาณในการเข้ามาแก้ปัญหาภัยธรรมชาติ แม้จะมีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ทำหน้าที่อยู่แล้ว แต่ปภ.เป็นหน่วยงานระดับกรม ทำให้การทำงานติดขัดข้อกฎหมายตามระเบียบราชการ ขาดความคล่องตัวในการทำงาน
นพ.มารุต มัสยวาณิช รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.เห็นชอบอนุมัติงบประมาณ 88,231,340 ล้านบาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุขขอมา เพื่อนำไปช่วยเหลือปรับปรุง ฟื้นฟู สถานบริการสาธารณสุข 199 แห่งที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในภาคใต้ด้วย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการช่วยเหลือเยียวยาจากน้ำท่วมปลายปี 2553 ที่เกิดมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ ว่า ทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ซึ่งได้กำหนดไว้ชัดเจนอยู่แล้ว คือ น้ำมาฉับพลันไม่สามารถป้องกัน และสูญเสียทรัพย์สิน ถูกน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลาที่กำหนด และถูกภัยอื่น เช่น พายุทำบ้านพัง ดินถล่ม แต่ถ้าเป็นกรณีที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ทรัพย์สินไม่เสียหาย เพราะมีเวลาเตรียมการ อาจจะท่วมขังวันสองวัน อย่างนี้ก็จะไม่ได้สิทธิ์ และกรณีที่จ.นครศรีธรรมราช หากบอกว่าจะต้องได้สิทธิ์ อีก 60 กว่าจังหวัดที่เคยท่วม ก็ต้องไปทำกันใหม่หมด เพราะว่าต้องปฏิบัติให้เหมือนกัน
"ความจริงสำหรับฝ่ายการเมืองง่ายที่สุดว่าจะจ่ายไปอย่างไรก็ได้ เพราะว่าถูกใจคน แต่เราต้องปกป้องประโยชน์ของประเทศ และต้องการให้มีมาตรฐานที่ชัดเจน ส่วนใครที่เห็นว่าการวินิจฉัยกลั่นกรองไม่ถูกต้อง ให้นำหลักฐานพิสูจน์ แล้วจะยินดีที่จะจ่ายให้ แต่ขณะเดียวกันใครที่ไปรับรองคนซึ่งไม่มีสิทธิ์ และยังยืนยันอีกเราก็จะตรวจสอบให้ แต่ต้องรับผิดชอบทางกฎหมายด้วย มิเช่นนั้นแล้วจะมีปัญหามาก การชดเชยในปีนี้ก็เหมือนกัน ซึ่งผมจะเทียบเคียงให้เห็นว่า ศาลที่ จ.พะเยา ได้จำคุกโดยไม่รอลงอาญา คนที่ไปรับรองเรื่องของการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ที่จะขอรับเงินประกันรายได้ และได้ตรวจสอบพบความเป็นจริงว่าไม่มีสิทธิ์ที่จะได้" นายอภิสิทธิ์กล่าว
ทางด้านความเคลื่อนไหวของภาคเอกชน นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ที่ภาคใต้ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายรวมอยู่ในระดับประมาณ 10,000 ล้านบาท ทำให้โรงงอุตสาหกรรมในพื้นที่จำเป็นต้องหยุดกิจการชั่วคราวนานกว่า 1-2 เดือน ดังนั้น จึงต้องการให้รัฐบาลมีโครงการชะลอการจ้างงานเพื่อช่วยบรรเทาภาระแก่ผู้ประกอบในระยะสั้นนี้ โดยได้เตรียมเตรียมเข้าไปหารือกับกระทรวงแรงงานถึงความช่วยเหลือดังกล่าว เนื่องจากผู้ประกอบการไม่ต้องการเลิกจ้างแรงงาน แต่ธุรกิจยังไม่สามารถเปิดกิจการได้
ส่วนการให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์และสาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมขังยังคงเหลือในบางอำเภอของ 3 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง และสุราษฎร์ธานี ส่วนที่เหลือสถานการณ์คลี่คลายและอยู่ระหว่างการฟื้นฟู โดยได้ให้กรมควบคุมโรคและกรมอนามัย สนับสนุนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่น้ำท่วม ในการฟื้นฟู ปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สนับสนุนคลอรีน สารส้ม น้ำยาหยดทิพย์ เพื่อปรับสภาพน้ำกินน้ำใช้ และการควบคุมพาหะนำโรค เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
ส่วนผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 64 ราย ได้แก่ นครศรีธรรมราช 27 ราย สุราษฎร์ธานี 13 ราย กระบี่ 12 ราย พัทลุง 6 ราย ชุมพร 3 ราย ตรัง 2 ราย และพังงา 1 ราย
ขณะที่โรงเรียนในภาคใต้ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ล่าสุดนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้ให้ข้อมูลว่า มีเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับความเสียหายจนถึงขณะนี้ รวมทั้งหมด 18 เขต แบ่งเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) 14 เขต และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) 4 เขต โดยมีโรงเรียนได้รับความเสียหายทั้งหมด 1,109 แห่ง แบ่งเป็นระดับประถมฯ 949 แห่ง และมัธยมฯ 160 แห่ง ซึ่งความเสียหายเบื้องต้นมูลล่าสุดค่าประมาณ 273.6 ล้านบาท
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (12 เม.ย.) ว่า ครม.อนุมัติงบ 935,364,032 ล้านบาท เพื่อให้กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และหน่วยบัญชาการทหารพัฒนานำไปซ่อมแซมและฟื้นฟูเส้นทางคมนาคมที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยภาคใต้ ปี 2554 ตามที่คณะกรรมการอำนวยการกำกับ ติดตาม ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.) เสนอมา
ทั้งนี้ ในการประชุมครม. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มอบให้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ไปดูแลกรณีที่สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะมอบสิทธิสัมปทานคลื่นความถี่ให้แก่ใคร จะต้องมีเงื่อนไข เรื่องการแจ้งเตือนภัยกรณีมีเหตุภัยธรรมชาติเกิดขึ้นด้วย และยังเห็นว่าในการป้องกันน้ำท่วม มีความจำเป็นต้องมีหน่วยงานพิเศษที่มีความคล่องตัวเรื่องการทำงาน งบประมาณในการเข้ามาแก้ปัญหาภัยธรรมชาติ แม้จะมีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ทำหน้าที่อยู่แล้ว แต่ปภ.เป็นหน่วยงานระดับกรม ทำให้การทำงานติดขัดข้อกฎหมายตามระเบียบราชการ ขาดความคล่องตัวในการทำงาน
นพ.มารุต มัสยวาณิช รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.เห็นชอบอนุมัติงบประมาณ 88,231,340 ล้านบาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุขขอมา เพื่อนำไปช่วยเหลือปรับปรุง ฟื้นฟู สถานบริการสาธารณสุข 199 แห่งที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในภาคใต้ด้วย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการช่วยเหลือเยียวยาจากน้ำท่วมปลายปี 2553 ที่เกิดมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ ว่า ทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ซึ่งได้กำหนดไว้ชัดเจนอยู่แล้ว คือ น้ำมาฉับพลันไม่สามารถป้องกัน และสูญเสียทรัพย์สิน ถูกน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลาที่กำหนด และถูกภัยอื่น เช่น พายุทำบ้านพัง ดินถล่ม แต่ถ้าเป็นกรณีที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ทรัพย์สินไม่เสียหาย เพราะมีเวลาเตรียมการ อาจจะท่วมขังวันสองวัน อย่างนี้ก็จะไม่ได้สิทธิ์ และกรณีที่จ.นครศรีธรรมราช หากบอกว่าจะต้องได้สิทธิ์ อีก 60 กว่าจังหวัดที่เคยท่วม ก็ต้องไปทำกันใหม่หมด เพราะว่าต้องปฏิบัติให้เหมือนกัน
"ความจริงสำหรับฝ่ายการเมืองง่ายที่สุดว่าจะจ่ายไปอย่างไรก็ได้ เพราะว่าถูกใจคน แต่เราต้องปกป้องประโยชน์ของประเทศ และต้องการให้มีมาตรฐานที่ชัดเจน ส่วนใครที่เห็นว่าการวินิจฉัยกลั่นกรองไม่ถูกต้อง ให้นำหลักฐานพิสูจน์ แล้วจะยินดีที่จะจ่ายให้ แต่ขณะเดียวกันใครที่ไปรับรองคนซึ่งไม่มีสิทธิ์ และยังยืนยันอีกเราก็จะตรวจสอบให้ แต่ต้องรับผิดชอบทางกฎหมายด้วย มิเช่นนั้นแล้วจะมีปัญหามาก การชดเชยในปีนี้ก็เหมือนกัน ซึ่งผมจะเทียบเคียงให้เห็นว่า ศาลที่ จ.พะเยา ได้จำคุกโดยไม่รอลงอาญา คนที่ไปรับรองเรื่องของการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ที่จะขอรับเงินประกันรายได้ และได้ตรวจสอบพบความเป็นจริงว่าไม่มีสิทธิ์ที่จะได้" นายอภิสิทธิ์กล่าว
ทางด้านความเคลื่อนไหวของภาคเอกชน นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ที่ภาคใต้ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายรวมอยู่ในระดับประมาณ 10,000 ล้านบาท ทำให้โรงงอุตสาหกรรมในพื้นที่จำเป็นต้องหยุดกิจการชั่วคราวนานกว่า 1-2 เดือน ดังนั้น จึงต้องการให้รัฐบาลมีโครงการชะลอการจ้างงานเพื่อช่วยบรรเทาภาระแก่ผู้ประกอบในระยะสั้นนี้ โดยได้เตรียมเตรียมเข้าไปหารือกับกระทรวงแรงงานถึงความช่วยเหลือดังกล่าว เนื่องจากผู้ประกอบการไม่ต้องการเลิกจ้างแรงงาน แต่ธุรกิจยังไม่สามารถเปิดกิจการได้
ส่วนการให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์และสาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมขังยังคงเหลือในบางอำเภอของ 3 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง และสุราษฎร์ธานี ส่วนที่เหลือสถานการณ์คลี่คลายและอยู่ระหว่างการฟื้นฟู โดยได้ให้กรมควบคุมโรคและกรมอนามัย สนับสนุนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่น้ำท่วม ในการฟื้นฟู ปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สนับสนุนคลอรีน สารส้ม น้ำยาหยดทิพย์ เพื่อปรับสภาพน้ำกินน้ำใช้ และการควบคุมพาหะนำโรค เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
ส่วนผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 64 ราย ได้แก่ นครศรีธรรมราช 27 ราย สุราษฎร์ธานี 13 ราย กระบี่ 12 ราย พัทลุง 6 ราย ชุมพร 3 ราย ตรัง 2 ราย และพังงา 1 ราย
ขณะที่โรงเรียนในภาคใต้ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ล่าสุดนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้ให้ข้อมูลว่า มีเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับความเสียหายจนถึงขณะนี้ รวมทั้งหมด 18 เขต แบ่งเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) 14 เขต และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) 4 เขต โดยมีโรงเรียนได้รับความเสียหายทั้งหมด 1,109 แห่ง แบ่งเป็นระดับประถมฯ 949 แห่ง และมัธยมฯ 160 แห่ง ซึ่งความเสียหายเบื้องต้นมูลล่าสุดค่าประมาณ 273.6 ล้านบาท