ทีต้า ร่วม ททท.อีสาน เร่งสำรวจพื้นที่ เตรียม บูมกรีนทัวริสซึ่ม คาด 3 เดือน ประเดิมเปิด 3 เส้นทาง ต่อยอดตลาดท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย เผยตลาดในประเทศโตเฉลี่ย 10-15% ขณะที่ ตลาด ต่างประเทศย่ำอยู่กับที่ ส่วนตลาดตะวันออกกลาง และ ตลาดนักเรียน บุกเบิกมา 3 ปี ยังไร้อนาคต
นางดวงกมล จันสุริยวงศ์ นายกสมาคมไทยท่องเที่วเชิงอนุรักษ์และผจญภัย หรือ สทอ.(TEATA) เปิดเผยว่า สมาคมฯได้ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรืออีสาน ทำการสำรวจเส้นทางท่องเที่ยว เพื่อนำมาจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน หรือ กรีนทัวริสซึ่ม คาดว่าจะแล้วเสร็จ พร้อมเปิดตัวเส้นทางท่องเที่ยวดังกล่าวได้ภายใน 2-3 เดือนนับจากนี้ โดยเบื้องต้นจะเปิดราว 2-3 เส้นทาง นำร่อง บริเวณพื้นที่อีสานกลาง และ พื้นที่ที่ติดลุ่มแม่น้ำโขง จ.อุบลราชธานี มหาสารคาม และ มุกดาหาร เป็นต้น ซึ่ง จะทำให้ อีสานมีความหลากหลายในเส้นทางท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น เพิ่มเติมจากเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ ในเรื่องประวัติศาสตร์ ปราสาทหิน และ ไดโนเสาร์ ซึ่งปัจจุบัน อีสานมีเส้นทางท่องเที่ยวรูปแบบ กรีนทัวริสซึ่ม และแนวผจญภัย ที่เป็นที่รู้จักเพียงแห่งเดียว คือ เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา
***กรีนทัวร์โตปีละ15%****
โดยสมาคมและ ททท. มองเห็นตรงกันถึงศักยภาพของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนและรูปแบบอนุรักษณ์เชิงผจญภัย ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ทั้งตลาดนักท่องเที่ยวภายในประเทศและตลาดนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ซึ่งช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาตลาดในประเทศเติบโตอย่างเห็นได้ชัดเจนเฉลี่ยปีละ 10-15% ด้วยกระแส การท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบ เช่น ท่องเที่ยวแบบช่วงเหลือสังคมชุมชนหรือ CSR และ การท่องเที่ยวแบบมีจิตสำนึก รักษ์โลกร้อน ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งได้รับการโปรโมตจาก ททท.มาต่อเนื่อง จากโครงการ เซเว่นกรีน ท่องเที่ยวชุมชนเรียนรืวิถีชีวิตและวัฒนธรรม รวมถึง ความเครียดที่เกิดขึ้นในสังคมเมือง จากการทำงาน มีผลให้คนไทยต้องการเที่ยวที่มีกิจกรรมแนว อีโคแอดเวนเจอร์ เพื่อการปลดปล่อยความเครียด
“ ตลาดนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย เราพยายามบาลานซ์ ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ให้เท่าๆกัน เพราะ ต่างประเทศ ชาติที่สนใจจะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวยุโรป และ อเมริกา แต่ขณะนี้ประเทศดังกล่าว อยู่ในช่วงเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะได้เฉพาะกลุ่มคนมีฐานะเท่านั้นที่เดินทางมาเที่ยว แต่ตลาด ตะวันออกกลาง สหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ ที่เรามุ่งเจาะกลุ่มเอสแพกหรือชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศนั้น รวมถึตลาดนักเรียนนักศึกษา มาตลอด 3 ปี แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะปัญหาการเมืองในประเทศไทย และ เศรษฐกิจ ขณะที่ตลาดในประเทศ ท่องเที่ยวแนวอีโคแอดเวนเจอร์ กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง “
ปัจจุบัน สัดส่วนนักท่องเที่ยวของตลาดอนุรักษ์และผจญภัย คิดเป็น 30% ของมูลค่าในธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งเฉลี่ยต่อปีทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศรวม เกือบ 1 ล้านล้านบาท โดยในที่นี้ 10% เป็นส่วนของ กรีนทัวริสซึ่ม แหล่งท่องเที่ยวที่ สมาคมบุกเบิกไว้ จนเป็นที่ฮิตในปัจจุบัน ได้แก่ เชียงคาน ปาย น่าน เป็นต้น
***เปิดตลาดอีมาร์เก็ตติ้งเจาะลูกค้า*****
อย่างไรก็ตาม จากปัญหาการเมืองภายในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมา ทำให้ ตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ ไม่ค่อยนำเสนอเดสติเนชั่นประเทสไทย ซึ่งการปรับตัวของผู้ประกอบการและได้ผลดี คือ การมุ่งพัฒนาเว็บไซน์ เพื่อเป็นหน้าร้าน ในการสื่อสารกับผู้บริโภคในรูปแบบอีมารเก็ตติ้ง ตามที่เข้าโครงการความร่วมมือกับ CBI ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในโปรแกรม เอ็กซสปอร์ตโค้ชชิงโปรแกรม ซึ่งสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้ เปิดตลาดหาลูกค้าจากต่างประเทศได้เป็นกอบเป็นกำ บาลานซ์สัดส่วนลูกค้าที่ซื้อตรง กับซื้อผ่านทัวรฺโอปอเรเตอร์ได้อย่างละ 50%
สำหรับภัยพิบัติ สึนามิใ นประเทศ ญี่ปุ่น ส่งผลกระทบทางอ้อมกับธุรกิจท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพราะ นักท่องเที่ยวจากยุโรปและอเมริกา ต้องมาต่อเครื่อง ที่สนามบินนาริตะ เพื่อมาประเทศไทย แต่ ช่วงนี้จากข่าวสารกัมมันตรังสีรั่วไหล ทำให้ตลาดยุโรปอเมิรกา ชะลอการเดินทาง เช่นกัน
นางดวงกมล จันสุริยวงศ์ นายกสมาคมไทยท่องเที่วเชิงอนุรักษ์และผจญภัย หรือ สทอ.(TEATA) เปิดเผยว่า สมาคมฯได้ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรืออีสาน ทำการสำรวจเส้นทางท่องเที่ยว เพื่อนำมาจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน หรือ กรีนทัวริสซึ่ม คาดว่าจะแล้วเสร็จ พร้อมเปิดตัวเส้นทางท่องเที่ยวดังกล่าวได้ภายใน 2-3 เดือนนับจากนี้ โดยเบื้องต้นจะเปิดราว 2-3 เส้นทาง นำร่อง บริเวณพื้นที่อีสานกลาง และ พื้นที่ที่ติดลุ่มแม่น้ำโขง จ.อุบลราชธานี มหาสารคาม และ มุกดาหาร เป็นต้น ซึ่ง จะทำให้ อีสานมีความหลากหลายในเส้นทางท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น เพิ่มเติมจากเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ ในเรื่องประวัติศาสตร์ ปราสาทหิน และ ไดโนเสาร์ ซึ่งปัจจุบัน อีสานมีเส้นทางท่องเที่ยวรูปแบบ กรีนทัวริสซึ่ม และแนวผจญภัย ที่เป็นที่รู้จักเพียงแห่งเดียว คือ เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา
***กรีนทัวร์โตปีละ15%****
โดยสมาคมและ ททท. มองเห็นตรงกันถึงศักยภาพของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนและรูปแบบอนุรักษณ์เชิงผจญภัย ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ทั้งตลาดนักท่องเที่ยวภายในประเทศและตลาดนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ซึ่งช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาตลาดในประเทศเติบโตอย่างเห็นได้ชัดเจนเฉลี่ยปีละ 10-15% ด้วยกระแส การท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบ เช่น ท่องเที่ยวแบบช่วงเหลือสังคมชุมชนหรือ CSR และ การท่องเที่ยวแบบมีจิตสำนึก รักษ์โลกร้อน ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งได้รับการโปรโมตจาก ททท.มาต่อเนื่อง จากโครงการ เซเว่นกรีน ท่องเที่ยวชุมชนเรียนรืวิถีชีวิตและวัฒนธรรม รวมถึง ความเครียดที่เกิดขึ้นในสังคมเมือง จากการทำงาน มีผลให้คนไทยต้องการเที่ยวที่มีกิจกรรมแนว อีโคแอดเวนเจอร์ เพื่อการปลดปล่อยความเครียด
“ ตลาดนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย เราพยายามบาลานซ์ ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ให้เท่าๆกัน เพราะ ต่างประเทศ ชาติที่สนใจจะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวยุโรป และ อเมริกา แต่ขณะนี้ประเทศดังกล่าว อยู่ในช่วงเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะได้เฉพาะกลุ่มคนมีฐานะเท่านั้นที่เดินทางมาเที่ยว แต่ตลาด ตะวันออกกลาง สหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ ที่เรามุ่งเจาะกลุ่มเอสแพกหรือชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศนั้น รวมถึตลาดนักเรียนนักศึกษา มาตลอด 3 ปี แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะปัญหาการเมืองในประเทศไทย และ เศรษฐกิจ ขณะที่ตลาดในประเทศ ท่องเที่ยวแนวอีโคแอดเวนเจอร์ กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง “
ปัจจุบัน สัดส่วนนักท่องเที่ยวของตลาดอนุรักษ์และผจญภัย คิดเป็น 30% ของมูลค่าในธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งเฉลี่ยต่อปีทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศรวม เกือบ 1 ล้านล้านบาท โดยในที่นี้ 10% เป็นส่วนของ กรีนทัวริสซึ่ม แหล่งท่องเที่ยวที่ สมาคมบุกเบิกไว้ จนเป็นที่ฮิตในปัจจุบัน ได้แก่ เชียงคาน ปาย น่าน เป็นต้น
***เปิดตลาดอีมาร์เก็ตติ้งเจาะลูกค้า*****
อย่างไรก็ตาม จากปัญหาการเมืองภายในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมา ทำให้ ตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ ไม่ค่อยนำเสนอเดสติเนชั่นประเทสไทย ซึ่งการปรับตัวของผู้ประกอบการและได้ผลดี คือ การมุ่งพัฒนาเว็บไซน์ เพื่อเป็นหน้าร้าน ในการสื่อสารกับผู้บริโภคในรูปแบบอีมารเก็ตติ้ง ตามที่เข้าโครงการความร่วมมือกับ CBI ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในโปรแกรม เอ็กซสปอร์ตโค้ชชิงโปรแกรม ซึ่งสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้ เปิดตลาดหาลูกค้าจากต่างประเทศได้เป็นกอบเป็นกำ บาลานซ์สัดส่วนลูกค้าที่ซื้อตรง กับซื้อผ่านทัวรฺโอปอเรเตอร์ได้อย่างละ 50%
สำหรับภัยพิบัติ สึนามิใ นประเทศ ญี่ปุ่น ส่งผลกระทบทางอ้อมกับธุรกิจท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพราะ นักท่องเที่ยวจากยุโรปและอเมริกา ต้องมาต่อเครื่อง ที่สนามบินนาริตะ เพื่อมาประเทศไทย แต่ ช่วงนี้จากข่าวสารกัมมันตรังสีรั่วไหล ทำให้ตลาดยุโรปอเมิรกา ชะลอการเดินทาง เช่นกัน