รอยเตอร์ - ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียบางเจ้า มีวี่แววว่าจะเครื่องร้อนเกินควร และส่อเค้าว่าทางการของประเทศเหล่านี้จะต้องเดินนโยบายการเงินซึ่งเข้มงวดมากขึ้น พร้อมกับจะต้องใช้มาตรการด้านค่าเงินตราที่ยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อจัดการกับปัญหาด้านเงินเฟ้อที่ทวีความรุนแรง นี้เป็นเสียงเตือนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือเอดีบี ซึ่งนำเสนอไว้ในรายงานฉบับล่าสุดและนำออกเผยแพร่เมื่อวานนี้ (6)
ในรายงานว่าด้วยแนวโน้มการพัฒนาของเอเชีย (Asian Development Outlook) ฉบับล่าสุดของตน เอดีบีทำนายว่าแนวโน้มเศรษฐกิจของเอเชียโดยรวมยังเป็นไปในทิศทางที่สามารถเติบโตต่อเนื่องภายในปี 2011-2012 โดยที่มีภัยคุกคามจากปัญหาเงินเฟ้อจ่ออยู่ใกล้ๆ
ในการนี้ เอดีบีให้ประมาณการว่า พวกเศรษฐกิจกำลังพัฒนาของเอเชีย อันครอบคลุมประเทศต่างๆ หลายหลากตั้งแต่ไทย จีน อินเดีย ไปจนถึงอาเซอร์ไบจาน จะเติบโตขยายตัวขึ้นในอัตรา 7.8% ในปี 2011 และ 7.7% ในปี 2012 ตัวเลขนี้ดูเสมือนว่าร้อนแรง แต่เอาเข้าจริงกลับแผ่วลงกว่าที่เคยทำสถิติไว้ ณ อัตรา 9% ในปี 2010 แต่ในเวลาเดียวกัน การวิเคราะห์ของเอดีบีให้ตัวเลขทำนายไว้ว่า เงินเฟ้อจะขยายตัวเร็ว โดยอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 5.3% ในปีนี้ ร้อนแรงกว่าอัตราเฉลี่ยที่ 4.4% ในปี 2010 แต่จะแผ่วลงสู่ระดับ 4.6% ในปี 2012 อย่างไรก็ตาม ในกรณีของเวียดนามกับปากีสถาน อัตราเงินเฟ้ออาจดุเดือดขึ้นไปถึงระดับเลขสองหลักทีเดียว โดยในรายของเวียดนามนั้น น่าจะได้เห็นเงินเฟ้อเคลื่อนไหวที่ระดับ 13.3% ในปีนี้
“มีสัญญาณบ่งชี้ถึงปัญหาเศรษฐกิจขยายตัวร้อนแรงเกินไป ซึ่งบางประเทศจะต้องเดินนโยบายเข้มงวดมากขึ้นในอนาคต” ชางยง รี ประธานคณะนักเศรษฐศาสตร์ของเอดีบีระบุ ขณะแถลงนำเสนอรายงานฉบับนี้ต่อสื่อมวลชนที่ฮ่องกง โดยมุ่งฉายภาพเงินเฟ้อของย่านเอเชียโดยรวม
ในการนี้ รีชี้ว่าลำพังแค่มาตรการดอกเบี้ยอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ โดยที่ว่าทางการของประเทศย่านเอเชียจะต้องใช้มาตรการอื่นๆ อีกมาก อาทิ การเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่มาตรการควบคุมค่าเงิน
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่เอเชียเผชิญอยู่นั้น นอกจากเรื่องของระดับราคาอาหารและพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นแล้ว ก็ยังมีเรื่องของตลาดแรงงาน, ปัญหาว่าด้วยตลาดบ้านที่อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกา ปัญหาหนี้ของประเทศย่านยูโรโซน ตลอดจนปัญหาว่าด้วยผลกระทบทางเศรษฐกิจจากเหตุแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น และวิกฤตนิวเคลียร์ที่ติดตามมา
**ชี้ชาติเอเชียเจอหางเลขภัยพิบัติญี่ปุ่นไม่มาก**
เนื่องจากการวิเคราะห์ของเอดีบีหยุดที่วันที่ 16 มีนาคม รายงานของสถาบันแห่งนี้ชี้ว่าผลกระทบจากมหาวิบัติในญี่ปุ่นยังเป็นอะไรที่ยากจะวัดขนาดได้ แต่เชื่อว่าจะพ่นพิษยาวต่อเนื่องราว 2 ไตรมาส โดยที่ชาติอื่นๆ ในเอเชียจะโดนหางเลขด้วยไม่มาก
“ผลกระทบจากกรณีของญี่ปุ่นในระยะสั้นนั้นจะมหาศาล แต่ผมคิดว่าในระยะยาวแล้วจะไม่มาก ขณะที่ผลกระทบต่อภูมิภาคอื่นๆ ก็จะอยู่ในระดับจำกัด ผมไม่คิดว่าจะมีภัยคุกคามสำคัญมากมายอะไรต่อภูมิภาคอื่นในช่วงนี้” ชางยง รีให้ทัศนะไว้เช่นนี้
ในรายงานว่าด้วยแนวโน้มการพัฒนาของเอเชีย (Asian Development Outlook) ฉบับล่าสุดของตน เอดีบีทำนายว่าแนวโน้มเศรษฐกิจของเอเชียโดยรวมยังเป็นไปในทิศทางที่สามารถเติบโตต่อเนื่องภายในปี 2011-2012 โดยที่มีภัยคุกคามจากปัญหาเงินเฟ้อจ่ออยู่ใกล้ๆ
ในการนี้ เอดีบีให้ประมาณการว่า พวกเศรษฐกิจกำลังพัฒนาของเอเชีย อันครอบคลุมประเทศต่างๆ หลายหลากตั้งแต่ไทย จีน อินเดีย ไปจนถึงอาเซอร์ไบจาน จะเติบโตขยายตัวขึ้นในอัตรา 7.8% ในปี 2011 และ 7.7% ในปี 2012 ตัวเลขนี้ดูเสมือนว่าร้อนแรง แต่เอาเข้าจริงกลับแผ่วลงกว่าที่เคยทำสถิติไว้ ณ อัตรา 9% ในปี 2010 แต่ในเวลาเดียวกัน การวิเคราะห์ของเอดีบีให้ตัวเลขทำนายไว้ว่า เงินเฟ้อจะขยายตัวเร็ว โดยอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 5.3% ในปีนี้ ร้อนแรงกว่าอัตราเฉลี่ยที่ 4.4% ในปี 2010 แต่จะแผ่วลงสู่ระดับ 4.6% ในปี 2012 อย่างไรก็ตาม ในกรณีของเวียดนามกับปากีสถาน อัตราเงินเฟ้ออาจดุเดือดขึ้นไปถึงระดับเลขสองหลักทีเดียว โดยในรายของเวียดนามนั้น น่าจะได้เห็นเงินเฟ้อเคลื่อนไหวที่ระดับ 13.3% ในปีนี้
“มีสัญญาณบ่งชี้ถึงปัญหาเศรษฐกิจขยายตัวร้อนแรงเกินไป ซึ่งบางประเทศจะต้องเดินนโยบายเข้มงวดมากขึ้นในอนาคต” ชางยง รี ประธานคณะนักเศรษฐศาสตร์ของเอดีบีระบุ ขณะแถลงนำเสนอรายงานฉบับนี้ต่อสื่อมวลชนที่ฮ่องกง โดยมุ่งฉายภาพเงินเฟ้อของย่านเอเชียโดยรวม
ในการนี้ รีชี้ว่าลำพังแค่มาตรการดอกเบี้ยอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ โดยที่ว่าทางการของประเทศย่านเอเชียจะต้องใช้มาตรการอื่นๆ อีกมาก อาทิ การเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่มาตรการควบคุมค่าเงิน
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่เอเชียเผชิญอยู่นั้น นอกจากเรื่องของระดับราคาอาหารและพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นแล้ว ก็ยังมีเรื่องของตลาดแรงงาน, ปัญหาว่าด้วยตลาดบ้านที่อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกา ปัญหาหนี้ของประเทศย่านยูโรโซน ตลอดจนปัญหาว่าด้วยผลกระทบทางเศรษฐกิจจากเหตุแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น และวิกฤตนิวเคลียร์ที่ติดตามมา
**ชี้ชาติเอเชียเจอหางเลขภัยพิบัติญี่ปุ่นไม่มาก**
เนื่องจากการวิเคราะห์ของเอดีบีหยุดที่วันที่ 16 มีนาคม รายงานของสถาบันแห่งนี้ชี้ว่าผลกระทบจากมหาวิบัติในญี่ปุ่นยังเป็นอะไรที่ยากจะวัดขนาดได้ แต่เชื่อว่าจะพ่นพิษยาวต่อเนื่องราว 2 ไตรมาส โดยที่ชาติอื่นๆ ในเอเชียจะโดนหางเลขด้วยไม่มาก
“ผลกระทบจากกรณีของญี่ปุ่นในระยะสั้นนั้นจะมหาศาล แต่ผมคิดว่าในระยะยาวแล้วจะไม่มาก ขณะที่ผลกระทบต่อภูมิภาคอื่นๆ ก็จะอยู่ในระดับจำกัด ผมไม่คิดว่าจะมีภัยคุกคามสำคัญมากมายอะไรต่อภูมิภาคอื่นในช่วงนี้” ชางยง รีให้ทัศนะไว้เช่นนี้