ASTVผู้จัดการรายวัน-น้ำท่วมใต้พ่นพิษ โรงงานจมน้ำ 1,908 แห่ง เสียหายเฉียดพันล้าน แรงงาน 2.95 หมื่นคนได้รับผลกระทบ "อุตฯ"เตรียมหาทางช่วยโรงงาน พร้อมเจรจาผู้ประกอบการช่วยจ่ายค่าแรงให้ลูกจ้างรายวันไปก่อน สั่งสำรวจเหมืองแร่ หากพบไม่มั่นคงให้ปิดชั่วคราวก่อน
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ล่าสุดได้รับรายงานความเสียหายของโรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ มีโรงงานได้รับความเสียหายรวม 1,908 โรง แบ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนโรงงาน 1,836 โรง กิจการเหมืองแร่ 62 แห่ง และกลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าโอทอป 10 กลุ่ม รวมมูลค่าความเสียหาย 991.75 ล้านบาท และมีจำนวนแรงงานที่ได้รับผลกระทบรวม 29,535 คน โดยจังหวัดนครศรีธรรมราชมีโรงงานได้รับความเสียหายมากสุด 1,800 โรงและกิจการเหมืองแร่อีก 61 แห่ง รองลงมา คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 17 โรงและกิจการเหมืองแร่ 1 แห่ง ชุมพรมีโรงงานเสียหาย 9 โรง กลุ่มโอทอป 7 กลุ่ม ส่วนชุมพรและกระบี่เสียหาย 5 โรง
“น้ำท่วมรอบนี้ เสียหายมากกว่าน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา เพราะบางโรงงานเครื่องจักรถูกน้ำพัดไปหมดเลย ซึ่งกระทรวงฯ กำลังหาทางช่วยเหลือ ทั้งตัวโรงงาน และลูกจ้าง โดยในส่วนของลูกจ้าง จะเจรจากับผู้ประกอบการที่ยังพอมีความสามารถทางการเงินอยู่ให้ช่วยจ่ายเงินชดเชยค่าจ้างในส่วนของลูกจ้างรายวันครึ่งหนึ่งของค่าแรงที่ได้รับ เพื่อบรรเทาความเดือนดร้อน”นายวิฑูรย์กล่าว
ทั้งนี้ ค่าแรงของลูกจ้างรายวันที่ได้รับในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม 5 จังหวัดภาคใต้นั้น เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 172-184 บาทต่อวัน โดยกระบี่มีค่าแรงสูงสุด 184 บาทต่อวัน ซึ่งมีแรงงานที่ได้รับผลกระทบรวม 410 คน ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีค่าแรงต่ำสุดอยู่ที่วันละ 172 บาท ขณะที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมีแรงงานได้รับผลกระทบมากสุด 24,793 คน
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมยางพารา อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา อุตสาหกรรมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมอาหารกระป๋องและกิจการ กิจการห้องเย็น และโรงงานผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ เป็นต้น
นอกจากนี้ ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ เข้าไปสำรวจพื้นที่กิจการเหมืองแร่ที่ได้รับความเสียหายทันที หลังจากสถานการณ์คลี่คลาย หากพบว่ากิจการเหมืองแร่แห่งใดที่ไม่มีความมั่นคง หรือสำรวจแล้วพบว่าเสียหายมากจนไม่สามารถดำเนินการได้ ก็จะสั่งให้ปิดดำเนินการกิจการชั่วคราว เพื่อความปลอดภัย โดยคาดว่าน่าก่อนสิ้นเดือนเม.ย.นี้น่าจะรู้ผลการสำรวจ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า กิจการเหมืองแร่ไม่มีส่วนที่ทำให้เกิดดินสไลด์หรือดินถล่ม เพราะก่อนมีการอนุญาติให้ดำเนินกิจการเหมืองแร่นั้นจะต้องมีการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) อยู่แล้ว และหลังสงกรานต์นี้ กระทรวงฯ จะลงพื้นที่สำรวจความเสียหายอีกรอบ
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ล่าสุดได้รับรายงานความเสียหายของโรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ มีโรงงานได้รับความเสียหายรวม 1,908 โรง แบ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนโรงงาน 1,836 โรง กิจการเหมืองแร่ 62 แห่ง และกลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าโอทอป 10 กลุ่ม รวมมูลค่าความเสียหาย 991.75 ล้านบาท และมีจำนวนแรงงานที่ได้รับผลกระทบรวม 29,535 คน โดยจังหวัดนครศรีธรรมราชมีโรงงานได้รับความเสียหายมากสุด 1,800 โรงและกิจการเหมืองแร่อีก 61 แห่ง รองลงมา คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 17 โรงและกิจการเหมืองแร่ 1 แห่ง ชุมพรมีโรงงานเสียหาย 9 โรง กลุ่มโอทอป 7 กลุ่ม ส่วนชุมพรและกระบี่เสียหาย 5 โรง
“น้ำท่วมรอบนี้ เสียหายมากกว่าน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา เพราะบางโรงงานเครื่องจักรถูกน้ำพัดไปหมดเลย ซึ่งกระทรวงฯ กำลังหาทางช่วยเหลือ ทั้งตัวโรงงาน และลูกจ้าง โดยในส่วนของลูกจ้าง จะเจรจากับผู้ประกอบการที่ยังพอมีความสามารถทางการเงินอยู่ให้ช่วยจ่ายเงินชดเชยค่าจ้างในส่วนของลูกจ้างรายวันครึ่งหนึ่งของค่าแรงที่ได้รับ เพื่อบรรเทาความเดือนดร้อน”นายวิฑูรย์กล่าว
ทั้งนี้ ค่าแรงของลูกจ้างรายวันที่ได้รับในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม 5 จังหวัดภาคใต้นั้น เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 172-184 บาทต่อวัน โดยกระบี่มีค่าแรงสูงสุด 184 บาทต่อวัน ซึ่งมีแรงงานที่ได้รับผลกระทบรวม 410 คน ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีค่าแรงต่ำสุดอยู่ที่วันละ 172 บาท ขณะที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมีแรงงานได้รับผลกระทบมากสุด 24,793 คน
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมยางพารา อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา อุตสาหกรรมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมอาหารกระป๋องและกิจการ กิจการห้องเย็น และโรงงานผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ เป็นต้น
นอกจากนี้ ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ เข้าไปสำรวจพื้นที่กิจการเหมืองแร่ที่ได้รับความเสียหายทันที หลังจากสถานการณ์คลี่คลาย หากพบว่ากิจการเหมืองแร่แห่งใดที่ไม่มีความมั่นคง หรือสำรวจแล้วพบว่าเสียหายมากจนไม่สามารถดำเนินการได้ ก็จะสั่งให้ปิดดำเนินการกิจการชั่วคราว เพื่อความปลอดภัย โดยคาดว่าน่าก่อนสิ้นเดือนเม.ย.นี้น่าจะรู้ผลการสำรวจ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า กิจการเหมืองแร่ไม่มีส่วนที่ทำให้เกิดดินสไลด์หรือดินถล่ม เพราะก่อนมีการอนุญาติให้ดำเนินกิจการเหมืองแร่นั้นจะต้องมีการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) อยู่แล้ว และหลังสงกรานต์นี้ กระทรวงฯ จะลงพื้นที่สำรวจความเสียหายอีกรอบ