วานนี้(5 เม.ย.)นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงการบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และการให้สิ่งของหรือเงินในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ของว่าที่ผู้สมัครลงรับเลือกตั้งส.ส.ว่า พ.ร.บ.พรรคการเมือง ได้กำหนดการบริจาคทรัพย์สินของผู้ที่จะลงสมัคร ว่าสามารถบริจาคได้ไม่เกิน 3,000 บาทต่อหนึ่งโอกาส แม้จะยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งก็ตาม แต่หากบริจาคเกินกว่า 3,000 บาทก็ไม่ถือว่าเป็นความผิด เพียงแต่ต้องนำไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ซึ่งการบริจาคสิ่งของหรือทรัพย์สินตามปกติประเพณีสงกรานต์ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นอยากให้ผู้ที่จะสมัครลงรับเลือกตั้งส.ส.และผู้สมัครท้องถิ่นที่ขณะนี้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นในบ้างพื้นที่ระมัดระวังเพราะการบริจาคนี้อาจเป็นเหตุไปสู่การร้องเรียนในเวลาต่อมาได้
ส่วนที่ พบว่าหัวคะแนนของว่าที่ผู้สมัครมีการเก็บสิ่งของที่จะช่วยเหลือประชาชนไว้ รอเวลาที่จะนำมาบริจาคในช่วงใกล้เลือกตั้งนั้น หากมีการบริจาคเมื่อใดกกต.ก็จะดูข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป แม้จะเป็นการให้หัวคะแนนหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่เปิดเผยไปบริจาคแทน กกต.ก็ต้องดูว่าเกี่ยวโยงเกี่ยวข้องถึงใครและถ้ามีการร้องเรียนก็อาจทำให้ผู้สมัครรายนั้นถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งได้
ส่วนที่ในชั้นของกรรมาธิการมีการแปรญัตติ ให้ลดวันเลือกตั้งล่วงหน้าเหลือเพียง 1 วันและลดเวลาในการลงคะแนนจาก08.00-17.00 มาเป็น 08.00-15.00 น. นั้นเห็นว่าไม่น่าจะมีปัญหา เพราะโดยหลักการที่ให้มีวันเลือกตั้งล่วงหน้าก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชนที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิในวันเลือกตั้งทั่วไปได้ และที่มองว่าการเลือกตั้งล่วงหน้าทำให้มีการทุจริต
ขนคนไปลงคะแนน และมีปัญหาเรื่องการจัดเก็บหีบบัตร นั้น การทุจริตกกต.ก็ได้มีการดำเนินการอยู่แล้ว ที่บอกว่ามีการขนคนไปลงคะแนนจนทำให้คะแนนเลือกตั้งล่วงหน้ามีผลแพ้ชนะกับอีกฝ่ายหนึ่งนั้น ถ้าตามสถิติแล้วคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าที่ผ่านมาจะไม่เกิน 5% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
และเมื่อมีการเปิดหีบนับคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าก็ไม่มีผลทำให้ชนะอย่างที่จ.สกลนคร ก็ไม่ได้มีผลให้แพ้ชนะ ขณะที่การเก็บหีบบัตรเลือกตั้งล่วงหน้าก็เข้มงวดทุกครั้ง ตั้งไว้ในสถานที่เปิดเผยมีการติดตั้งทีวีวงจรปิด ดังนั้นถ้ามีการทำอะไรที่ไม่ชอบมาพากลก็สามารถตรวจสอบได้อยู่แล้ว ตนจึงเห็นว่าควรให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าไว้ไม่ใช่ตัดทิ้งไปเลยเหมือนการเลือกตั้งท้องถิ่น
นายประพันธ์ กล่าวถึงบางพรรคการเมืองรณรงค์ให้มีการ “ โหวตโน”ในการเลือกตั้งว่า ก็เป็นการเสนอความคิดของพรรคการเมืองนั้นๆ แต่การเลือกตั้งเป็นสิทธิที่ประชาชนตัดสินใจ ซึ่งคะแนนโนโหวตหรือไม่ประสงค์ลงคะแนน ไม่มีผลอะไร ยกเว้นในเขตที่มีผู้สมัครลงรับเลือกตั้งเพียงรายเดียว หากได้คะแนนน้อยกว่าคะแนนโนโหวตก็จะต้องมีการเลือกตั้งใหม่
ทั้งนี้การเลือกตั้งครั้งนี้ก็จะเป็นตัวชี้ว่าประชาชนคิดอย่างไร และเป็นเรื่องดีที่ประชาชนจะได้ตัดสินใจเมื่อเลือกตั้งแล้วฝ่ายไหนได้เป็นรัฐบาลคงไม่สามารถทำอะไรได้ตามใจชอบได้ เพราะองค์กรตรวจสอบหรือประชาชนก็ยังทำหน้าที่อยู่
**เคาะแบ่งเขตฯหลังสงกรานต์
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการกกต. กล่าวถึงการแบ่งเขตเลือกตั้งว่า ขณะนี้ ได้รับข้อมูลเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้งจากกกต.จังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงลดจำนวนส.ส.ลง จนส่งผลให้ต้องมีการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่จำนวน 23 จังหวัดเกือบครบแล้ว โดยหลังจากนั้นก็ส่งรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมดใน 23 จังหวัดให้กกต.กลางพิจารณาต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการแบ่งเขตเลือกตั้งนั้นจะเข้าสู่วาระการพิจารณาของกกต.กลางได้หลังสงกรานต์ ซึ่งจากที่กกต.จว.เสนอรูปแบบการแบ่งเขตมายังกกต. กลางพบว่ายังมีบางจังหวัดที่มีปัญหา เพราะไม่ได้ทำประชาพิจารณ์ส่งความเห็นแนบมาให้กกต. แต่ได้ส่งรูปแบบการดำเนินการแบ่งเขตแล้วมาก่อน โดยจากการสอบถามจังหวัดที่มีการปรับลด จำนวน ส.ส.นั้นมีหลายจังหวัดที่เสนอรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งมามากกว่า 3 รูปแบบ อาทิ จ.กำแพงเพชร เสนอมา 8 รูปแบบ ลำปาง เสนอมา 7 รูปแบบ เชียงใหม่เสนอมา 6 รูปแบบ ศรีสะเกษ เสนอมา 5 รูปแบบ และมีบางจังหวัดที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ เช่น จ.ขอนแก่น นครสวรรค์ เชียงราย กทม.
ส่วนที่ พบว่าหัวคะแนนของว่าที่ผู้สมัครมีการเก็บสิ่งของที่จะช่วยเหลือประชาชนไว้ รอเวลาที่จะนำมาบริจาคในช่วงใกล้เลือกตั้งนั้น หากมีการบริจาคเมื่อใดกกต.ก็จะดูข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป แม้จะเป็นการให้หัวคะแนนหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่เปิดเผยไปบริจาคแทน กกต.ก็ต้องดูว่าเกี่ยวโยงเกี่ยวข้องถึงใครและถ้ามีการร้องเรียนก็อาจทำให้ผู้สมัครรายนั้นถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งได้
ส่วนที่ในชั้นของกรรมาธิการมีการแปรญัตติ ให้ลดวันเลือกตั้งล่วงหน้าเหลือเพียง 1 วันและลดเวลาในการลงคะแนนจาก08.00-17.00 มาเป็น 08.00-15.00 น. นั้นเห็นว่าไม่น่าจะมีปัญหา เพราะโดยหลักการที่ให้มีวันเลือกตั้งล่วงหน้าก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชนที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิในวันเลือกตั้งทั่วไปได้ และที่มองว่าการเลือกตั้งล่วงหน้าทำให้มีการทุจริต
ขนคนไปลงคะแนน และมีปัญหาเรื่องการจัดเก็บหีบบัตร นั้น การทุจริตกกต.ก็ได้มีการดำเนินการอยู่แล้ว ที่บอกว่ามีการขนคนไปลงคะแนนจนทำให้คะแนนเลือกตั้งล่วงหน้ามีผลแพ้ชนะกับอีกฝ่ายหนึ่งนั้น ถ้าตามสถิติแล้วคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าที่ผ่านมาจะไม่เกิน 5% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
และเมื่อมีการเปิดหีบนับคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าก็ไม่มีผลทำให้ชนะอย่างที่จ.สกลนคร ก็ไม่ได้มีผลให้แพ้ชนะ ขณะที่การเก็บหีบบัตรเลือกตั้งล่วงหน้าก็เข้มงวดทุกครั้ง ตั้งไว้ในสถานที่เปิดเผยมีการติดตั้งทีวีวงจรปิด ดังนั้นถ้ามีการทำอะไรที่ไม่ชอบมาพากลก็สามารถตรวจสอบได้อยู่แล้ว ตนจึงเห็นว่าควรให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าไว้ไม่ใช่ตัดทิ้งไปเลยเหมือนการเลือกตั้งท้องถิ่น
นายประพันธ์ กล่าวถึงบางพรรคการเมืองรณรงค์ให้มีการ “ โหวตโน”ในการเลือกตั้งว่า ก็เป็นการเสนอความคิดของพรรคการเมืองนั้นๆ แต่การเลือกตั้งเป็นสิทธิที่ประชาชนตัดสินใจ ซึ่งคะแนนโนโหวตหรือไม่ประสงค์ลงคะแนน ไม่มีผลอะไร ยกเว้นในเขตที่มีผู้สมัครลงรับเลือกตั้งเพียงรายเดียว หากได้คะแนนน้อยกว่าคะแนนโนโหวตก็จะต้องมีการเลือกตั้งใหม่
ทั้งนี้การเลือกตั้งครั้งนี้ก็จะเป็นตัวชี้ว่าประชาชนคิดอย่างไร และเป็นเรื่องดีที่ประชาชนจะได้ตัดสินใจเมื่อเลือกตั้งแล้วฝ่ายไหนได้เป็นรัฐบาลคงไม่สามารถทำอะไรได้ตามใจชอบได้ เพราะองค์กรตรวจสอบหรือประชาชนก็ยังทำหน้าที่อยู่
**เคาะแบ่งเขตฯหลังสงกรานต์
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการกกต. กล่าวถึงการแบ่งเขตเลือกตั้งว่า ขณะนี้ ได้รับข้อมูลเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้งจากกกต.จังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงลดจำนวนส.ส.ลง จนส่งผลให้ต้องมีการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่จำนวน 23 จังหวัดเกือบครบแล้ว โดยหลังจากนั้นก็ส่งรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมดใน 23 จังหวัดให้กกต.กลางพิจารณาต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการแบ่งเขตเลือกตั้งนั้นจะเข้าสู่วาระการพิจารณาของกกต.กลางได้หลังสงกรานต์ ซึ่งจากที่กกต.จว.เสนอรูปแบบการแบ่งเขตมายังกกต. กลางพบว่ายังมีบางจังหวัดที่มีปัญหา เพราะไม่ได้ทำประชาพิจารณ์ส่งความเห็นแนบมาให้กกต. แต่ได้ส่งรูปแบบการดำเนินการแบ่งเขตแล้วมาก่อน โดยจากการสอบถามจังหวัดที่มีการปรับลด จำนวน ส.ส.นั้นมีหลายจังหวัดที่เสนอรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งมามากกว่า 3 รูปแบบ อาทิ จ.กำแพงเพชร เสนอมา 8 รูปแบบ ลำปาง เสนอมา 7 รูปแบบ เชียงใหม่เสนอมา 6 รูปแบบ ศรีสะเกษ เสนอมา 5 รูปแบบ และมีบางจังหวัดที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ เช่น จ.ขอนแก่น นครสวรรค์ เชียงราย กทม.