xs
xsm
sm
md
lg

ตึกเตี้ยในไทยเสี่ยงพัง! ชี้งานก่อสร้างไม่รองรับแรงแผ่นดินไหว วอนรัฐออกมาตรการรับมือพิบัติภัย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน - “ทูพลัส ซอฟท์” ผู้จำหน่ายซอฟแวร์ระบบก่อสร้าง ระบุไทยมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว เผยทุกเขื่อนในไทยตั้งอยู่บนรอยเลื่อน ขณะที่อาคารในกทม.เสี่ยงสุด เหตุตั้งอยู่บนพื้นดินอ่อนโอกาศรับแรงสั่นสะเทือนสูง วอนรัฐอย่าทำแค่ระบบเตือนภัย ต้องระบุวิธีการรับมือเมื่อเกิดเหตุ "โยธาฯ"เร่งผลักดันกม.ให้อาคารเก่า ปรับปรุงเสริมความแข็งแรงต้านแรงแผ่นดินไหว

เหตุแผ่นดินไหวที่พม่า ที่สำนักสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐวัดได้ 6.8 ริกเตอร์ มีศูนย์กลางอยู่ทางเหนือของเมืองท่าขี้เหล็ก ติดกับชายแดนไทยความลึก 10 กิโลเมตร แรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้ไกลถึงกรุงเทพฯ และกรุงฮานอยของเวียดนาม มีผู้เสียชีวิตนับร้อย บ้านเรือนเสียหายจำนวนมาก และมีคนไทยในจ.เชียงรายเสียชีวิต 1 ราย เนื่องจากกำแพงบ้านพังลงมาทับ นับเป็นข่าวช็อคคนไทยเป็นอย่างมาก แม้ว่าจะไม่สร้างความเสียหายมาก แต่ทุกคนยังช็อคกับเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิ ตามด้วยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุกไหม้เป็นเหตุให้มีรังสีรั่วไหลที่ญี่ปุ่นที่สร้างความหวาดหวั่นแก่คนทั้งโลก ผ่านไปเพียง 13 วัน

แม้ว่านักวิชาการจะระบุว่า แผ่นดินไหวที่ไทยเกิดขึ้นได้ยากหรือเกิดก็ไม่รุนแรงจนสร้างความเสียหาย แต่ก็ไม่มีใครยืนยันได้ว่าจะไม่เกิดขึ้น เพราะแผ่นดินไหวเริ่มขยับเข้ามาไกลไทยทุกขณะ และหันกลับมาสำรวจอาคารบ้านเรือนในไทยว่าสามารถรับแรงสั่นสะเทือนได้มากน้อยเพียงใด

นายชาติชาย สุภัควนิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทูพลัส ซอฟท์ จำกัด ผู้จำหน่ายและให้บริการเทคโนโลยีการก่อสร้าง เปิดเผยว่า ไม่มีใครยืนยันได้ว่าจะไม่เกิดแผ่นดินไหวในไทย รวมถึงความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น เพราะเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่น และพม่าก็เป็นสิ่งยืนยันแล้ว ดังนั้น แผ่นดินไหวในไทยจึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้ เพราะรอยเลื่อนของเปลือกโลกมีอยู่ในไทยเช่นกัน และแม้ว่าจะเกิดห่างออกไป 700-800 กิโลเมตร(กม.) ไทยก็ได้รับผลกระทบเช่นที่พม่าก็แสดงให้เห็นแล้วว่าอาคารสูงในกรุงเทพฯสามารถรับแรงสั่นสะเทือนได้ และที่สำคัญที่ตั้งของกรุงเทพฯตั้งอยู่บนพื้นดินอ่อนหรือดินเหนียว ทำให้รับแรงสั่นสะเทือนได้มากกว่าพื้นดินทั่วไป

หลายคนเริ่มกลับมาตั้งคำถามว่า แล้วอาคาร บ้านเรือนในไทยจะทนแรงสั่นสะเทือนได้มากน้อยเพียงใด เพราะแม้ว่าริกเตอร์จะอยู่ที่ระดับต่ำแต่หากเกิดขึ้นไกลผิวดินก็จะสร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก ซึ่งไทยพึ่งมีกฎหมายให้อาคารสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป และอาคารสาธารณะให้สามารถต้านแผ่นดินไหวได้ เมื่อปี 50 ที่ผ่านมา ส่วนที่ภาคเหนือ เชียงใหม่เชียงรายกฎหมายกำหนดตั้งแต่ปี 40 เพราะมีรอยเลื่อนกว่า 7 แห่งในแถบภาคเหนือของไทย แต่อาคารส่วนใหญ่มักเลี่ยงกฎหมายจึงมีความเสี่ยงเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าตึกสูงส่วนใหญ่ได้ออกแบบเพื่อรองรับแผ่นดินไหวได้ระดับหนึ่งอยู่แล้ว

อาคารตั้งแต่ปี 50 สุ่มเสี่ยงถล่ม!!

“ ที่น่าเป็นห่วง คือ อาคารส่วนใหญ่สร้างก่อนปี 50 ที่มีกฎหมายกำหนด จึงมีความเป็นไปได้ว่าจะไม่สามารถต้านแรงแผ่นดินไหวได้ รวมไปถึงอาคารขนาดเล็ก อพาร์ตเมนต์ หอพัก อาคารพาณิชย์ บ้านเรือน และว่ากว่า 95% ของอาคารในกรุงเทพ ไม่สามารถทนแรงแผ่นดินไหวได โดยเฉพาะอาคารที่ชั้นล่างเปิดโล่ง มีโอกาสพังมากที่สุดเพราะฐานด้านล่างไม่แข็งแรงพอ” นายชาติชายกว่า

นายชาติชายกล่าวต่อว่า รัฐบาลหรือหน่วยงานภาครัฐควรออกมาบอกประชาชนเพื่อเตรียมรับมือ กับสิ่งที่อาจเกิดขึ้น และไม่เชื่อว่าจะเป็นการสร้างความตื่นตระหนก เพราะประชาชนมีสิทธิขั้นพื้นฐานในการรับรู้ความจริงและเตรียมตัวรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ได้เขื่อน รัฐควรมีแนวทางหรือวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น

“เราไม่ควรสร้างแค่ระบบเตือนภัย เพราะจะมีคำถามตามา ว่า เตือนแล้วทำอะไร จะหนีไปทางไหน ศูนย์หลบภัยชั่วคราวอยู่ตรงไหน ถ้าอาคารบ้านเรือน โรงพยาบาลพังหมด มีคนตายเป็นแสน ใครจะหน่วยงานแรกที่จะเข้าไปช่วยเหลือ อาคารที่จะใช้เป็นศูนย์อพยพชั่วคราว สิ่งสำคัญเหล่านี้เชื่อว่ารัฐบาลยังไม่มีคำตอบ เราควรสร้างอาคารที่จะไม่ได้รับผลกระทบจากพิบัติภัยไว้หลายๆ จุดเพื่อให้เป็นศูนย์อพยพชั่วคราวและเป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดพิบัติภัยขึ้น เพราะแม้แต่อาคารศูนย์เตือนภัยเองยังไม่รู้เลยว่าจะทนแรงสั่นสะเทือนได้หรือไม่ เรื่องเหล่านี้ควรกำหนดไว้ให้ชัด ไม่ใช่ให้เกิดเหตุแล้วค่อยคิดสั่งการเฉพาะหน้า ถ้าผู้นำเกิดเสียชีวิตไปด้วยจะทำอย่างไร” นายชาติชายกล่าว

อนึ่ง ขณะนี้ กรมโยธาธิการและผังเมือง อยู่ระหว่างยกร่างกฎกระทรวงมหาดไทย ส่งเสริมให้อาคารเก่าทุกประเภท ที่ปลูกสร้างมานานทั่วประเทศ สามารถยื่นขออนุญาตแก้ไขดัดแปลงเสริมความมั่นคงแข็งแรงในอาคาร เพื่อป้องกันแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เจ้าของอาคารที่ต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สามารถจ้างวิศวกรหรือเจ้าพนักงานออกแบบให้โดยเฉลี่ยจะมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 10% แต่จะไม่บังคับเหมือนกฎหมายฉบับอื่นแต่อย่างใด

ร่างกฎกระทรวงใหม่เสริมแรงแผ่นดินไหวสำหรับอาคารเก่า ขณะนี้ อยู่ระหว่างเสนอกระทรวงมหาดไทยและเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบ คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ดี ยังมีประเด็นปลีกย่อยที่จะต้องหารือ เช่น ระยะถ่อยร่น เมื่อปรับปรุงและก่อสร้างอาคาร อาจจะมีการยกเว้น เป็นต้น

แนะซอฟแวร์ 5 มิติช่วยผู้รับเหมา

นายชาติชายกล่าวต่อว่า การก่อสร้างอาคารที่สามารถต้านแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้นั้น หากเริ่มตั้งแต่วางแผนออกแบบจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นเพียง 2-3 % เท่านั้นเมื่อเทียบกับการก่อสร้างทั่วไป ซึ่งไทยควรให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้มากขึ้น โดยเฉพาะการก่อสร้างอาคารขนาดเล็ก อาคารสูงไม่เกิน 8 ชั่น ส่วนอาคารที่สร้างแล้วก็ควรปรับปรุงเพื่อให้ทนแรงสั่นสะเทือนได้ ซึ่งปัจจุบันการออกแบบก่อสร้างอาคารถือเป็นเรื่องง่าย เนื่องจากมีซอฟต์แวร์ช่วยในการทำงาน และก้าวไปถึงสามารถคำนาณจำนวนวัสดุที่ต้องใช้ ราคา ระยะเวลาก่อสร้างทุกขั้นตอน และสุดท้ายสามารถคำนวณต้นทุนได้อย่างถูกต้องแม่นยำ หรือที่เรียกว่า โปรแกรม Vico office Suite

ที่ผ่านมาทูพลัส ซอฟท์ได้นำเสนอโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์การก่อสร้างแบบ 3 มิติ โดยแสดงการทำงานทุกขั้นตอนแบบบูรณาการ ตั้งแต่เริ่มต้น ออกแบบสถาปัตยกรรม การวิเคราะห์ออกแบบโครงสร้าง เขียนแบบรายละเอียดโครงสร้าง การนำเสนอผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม จนถึง การตรวจสอบความถูกต้องของโมเดลอาคารทั้งหมดที่ออกแบบ ด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งเหมาะสำหรับสถาปนิก วิศวกร 

ชูจุดขายคำนวณต้นทุนก่อสร้างเม่นยำ

ปัจจุบันได้พัฒนาโปรแกรม Vico office Suite กล่าวคือ นอกเหนือจากการเห็นภาพ 3 มิติ กว้าง x ยาว x สูง แล้วยังเพิ่มมิติที่ 5 และ 6 โดยมิติที่ 5 ออกแบบมาเพื่อผู้รับเหมา โดยเมื่อได้แบบของอาคารหรืองานก่อสร้างมาแล้วระบบซอฟแวท์สามารถคำนวนหาจำนวนวัสดุแต่ละชนิดที่ต้องใช้ในการก่อสร้าง ราคา และระยะเวลาในการก่อสร้างแต่ละขั้นตอนจนกระทั้งแล้วเสร็จ ซึ่งจะทำให้ผู้รับเหมาคำนวณต้นทุนก่อสร้างอย่างถูกต้องและเม่นยำ ลดการสูญเสียของงานก่อสร้างให้เหลือน้อยที่สุด โดยค่าซอฟต์แวร์รวมถึงการฝึกอบบรมจนสามารถใช้งานได้จะอยู่ที่ 280,000 บาท

ส่วนมิติที่ 6 จะเหมาะสำหรับเจ้าของอาคาร เพราะซอฟแวร์จะนำเสนอรูปอาคารอย่างละเอียด จุดท่อน้ำ ไฟฟ้า และอื่นๆ หากเสียหรือต้องซ่อมแซม ขนาดพื้นที่อาคาร ห้อง การดูแลสารณูปโภค ทำให้การคำนวณค่าส่วนกลางถูกต้อง โดยเฉพาะบริษัทที่มีอาคารในความดูแลจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น ค่าซอฟต์แวร์และการฝึกอบบรมจะอยู่ที่ 2 ล้านบาท.
กำลังโหลดความคิดเห็น