ASTVผู้จัดการรายวัน/ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวในพม่าพุ่งกว่า 100 ส่วนในไทยตายแค่คนเดียวแต่โบราณสถานเก่าแก่ “เชียงราย-น่าน-พะเยา” เสียหาย “ลูกหมาก”พระธาตุเจดีย์หลวงเชียงแสนอายุ 667 ปีหักโค่นกระทบพระธาตุองค์เล็ก "ยอดฉัตรพระธาตุจอมกิตติ" บิดงอผิดรูปชี้ไปทางทิศตะวันตก ส่วนคนกรุงตื่นตึกสูงไม่ปลอดภัย พบ 12 ตึกเกิน 15 เมตรฝั่งพระนครเสี่ยง!
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานความคืบหน้า เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศพม่าเมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุด มีผู้เสียชีวิตแล้ว 75 ราย และมีผู้บาดเจ็บมากถึง 111 ราย บ้านเรือนเสียหาย 244 หลัง วัด 14 แห่ง ที่ทำการรัฐบาล เสียหาย 9 แห่ง อย่างไรก็ตามสำนักข่าวอิระวดีของพม่า รายงานคาดคะเนว่า มีผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหว ครั้งนี้ สูงกว่า 120 ราย แล้ว แต่สำนักข่าวแห่งนี้ ไม่ได้มีการยืนยันรายละเอียด ส่วนเว็บไซต์นิตยสารอิระวดีรายงานอ้างแหล่งข่าวในพม่าว่า อาคารหลังหนึ่งในค่ายทหารของกองพันทหารราบ 316 พังถล่ม ทำให้ทหารเสียชีวิตจำนวนมาก
มีการคาดการณ์ ความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว ที่มีจุดศูนย์กลางที่ จ.ท่าขี้เหล็ก ติดกับชายแดนไทย ว่า ตัวเลขความเสียหายด้านชีวิต และทรัพย์สิน จะสูงกว่านี้ เพราะเจ้าหน้าที่ยังเข้าไม่ถึงอีกหลายพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล
**“ยอดเจดีย์หลวง 667ปีหักโค่น
สำหรับในไทยความเสียหายในพื้นที่ จ.เชียงราย พบว่าที่เขตเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน ที่วัดพระธาตุเจดีย์หลวง เขตเทศบาล ต.เวียงเชียงแสน อ.เชียงแสน พบว่าส่วนปลายของยอดเจดีย์ตั้งแต่ระวังคว่ำด้านบนสุดได้หักโค่นลงมา และกระทบกับเจดีย์เล็กที่ตั้งอยู่ใกล้ฐานของ “พระธาตุเจดีย์หลวง” ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งทิศตะวันออก จนทำให้แตกหักทั้งยอดเจดีย์และพระธาตุองค์เล็ก ขณะที่ตรงส่วนยอดที่เหลือของพระธาตุเจดีย์หลวงได้บิดงอไปทางทิศตะวันตก รวมทั้งมีร่องรอยแตกร้าวข้างเจดีย์ด้านทิศตะวันออก เกิดการพังทลายของอิฐและคอนกรีตฉาบด้านนอกเป็นโพรงขนาดใหญ่
ส่วนที่หักลงมาเรียกว่า "ลูกหมาก"หรือ "บัวหมาก"ซึ่งเป็นส่วนที่ตั้งอยู่เหนือฐานระฆังคว่ำไปจนถึงส่วนยอดสุดที่เรียกว่า "ยอดปลี"โดยกรณีของยอดปลีนั้นไม่มีฉัตรเหมือนวัดพระธาตุจอมกิตติ ได้ตกลงมาพร้อมลูกหมากจนแตกละเอียด ส่วนตัวลูกหมากปกติจะมี 9 ข้อแต่ละข้อห่างกัน 2-3 ศอกพบว่าได้หักโค่นลงมา 6 ข้อครึ่ง จึงเหลือที่ค้างอยู่ตรงฐานระฆังคว่ำประมาณ 2 ข้อครึ่ง และยังมีลักษณะเอียงตั้งแต่ฐานระฆังขึ้นไปอีกด้วย ทั้งนี้ความยาวที่หักโค่นลงมามีประมาณ 7 เมตร
สำหรับพระธาตุเจดีย์หลวง เป็นโบราณสถานที่เป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนาที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในเชียงแสน โดยความสูง 88 เมตรและฐานกว้าง 24 เมตร มีอายุเก่าแก่ประมาณ 667 ปีสร้างโดยพระเจ้าแสนภู ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนาเมื่อปี พ.ศ.1887
รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ภายหลังเกิดเหตุทางเจ้าหน้าที่สำนักงานศิลปากรภาค 8 ร่วมกับทางวัดพระธาตุเจดีย์หลวงได้กันพื้นที่ดังกล่าวเอาไว้ เพื่อจะได้เข้าไปบูรณะซ่อมแซม
**ฉัตร“พระธาตุจอมกิตติ”บิดงอ
ส่วนยอดฉัตรของ “พระธาตุจอมกิตติ” ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ซึ่งเป็นโลหะฉัตรหลายชั้นได้งอเอียงไปทางทิศตะวันตกอย่างเห็นได้ชัดแต่ยังไม่หักโค่นลงมา ส่วนที่หอระฆังวัดดอยเวา อ.แม่สาย พบมีการแตกร้าว
ส่วนโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ตรงอาคารสมเด็จย่าและอาคารเฉลิมพระเกียรติ ส่วนของเด็กทารก ได้มีการแตกร้าวหลายแห่งจนต้องอพยพผู้ป่วยลงไปนอนด้านล่าง พบรอยแตกร้าวเกิดจากจุดเชื่อมต่อของอาคาร 2 หลังที่แยกส่วนกันแต่ไม่น่าวิตกแต่อย่างใด
ส่วนที่ จ.พะเยา ที่วัดดศรีโคมคำ พระอารามหลวง ต.เวียง อ.เมืองพะเยา ได้ทำการสำรวจรอบองค์พระเจ้าตนหลวง พระคู่บ้านคู่เมืองล้านนา อายุกว่า 500 ปี ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในวิหารหลวง ผลการสำรวจพบรอยแตกร้าวที่บริเวณแขนด้านขวาขององค์พระที่วางทอดยางบนหน้าตัด โดยบริเวณแตกร้ายอยู่กึ่งกลางข้อศอกกับข้อมือ โดยมีรอยแตกร้าวยาวกว่า 2 ฟุต
**“พระธาตุแช่แห้ง”จ.น่านก็ร้าว
ส่วนที่วัดภูมินทร์ ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน พบว่าที่วัดภูมินทร์ พระอุโบสถที่มีอายุกว่า 700 ปี ผนังตัวพระวิหารโดยรอบมีรอยแตกร้าวหลายจุด ทั้งภายนอกและภายในตัวพระวิหาร พบเศษกระจกที่ใช้ประดับเชิงชายหลุดร่วง มีรอยผงปูนที่ฉาบตัวอาคารด้านนอกร่วงหล่น
ยังมีรอยแตกร้าวตามผนังอาคาร ส่งผลให้ภาพวาดจิตรกรรมวัดภูมินทร์ มีความเสียหายบนผนังภาพหลายจุด บริเวณกรอบประตู หน้าต่างมีรอยร้าว อย่างไรก็ตรามภาพปู่ม่าน ย่าม่าน ภาพกระซิบรักบันลือโลก ซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณกรอบประตูวิหาร ไม่พบรอยแตกร้าวบนผนังภาพ
**ชาวพม่าข้ามฝั่งเข้า รพ.แม่สาย
รายงานข่าวจากท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่าพบว่า คนท่าขี้เหล็กแตกตื่นกันทั้งเมือง จนมีหลายคนต้องวิ่งออกมาอยู่บนถนนส่วนเซียนพนันที่เข้าใช้บริการกาสิโนในโรงแรมเก้าชั้นต้องวิ่งหนีตายลงมา จนทำให้หลายคนได้รับบาดเจ็บ
ส่วนชาวเมืองเลน จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากชายแดนไทย-พม่า ด้าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ขึ้นไปประมาณ 5 กม.ได้มาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล อ.แม่สาย ส่วนใหญ่แขนและขาหัก รวมทั้งร่างกายฟกช้ำ
**พบแผ่นดินแยกที่แม่สายยาว1กม.
ส่วนผลกระทบเพิ่มเติมในฝั่งไทยพบว่าที่หมู่บ้านร้องพระเจ้า ต.เกาะช้าง อ.แม่สาย เกิดร่องหินแยกเป็นทางยาวประมาณ 1 กม.กว้างประมาณ 10-30 เซนติเมตร และลึก ประมาณ 1-2 เมตร
**ตึกสูงในเมืองเชียงใหม่ยังปลอดภัยดี
ส่วนที่ จ.เชียงใหม่ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้สั่งการในช่วงเช้าให้นายอำเภอทั้ง 25 อำเภอ ดำเนินการสำรวจในพื้นที่รับผิดชอบว่ามีอาคารบ้านเรือน หรือทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหายหรือไม่ แต่ไม่มีรายงานว่ามีความเสียหายใดๆ เกิดขึ้น
**ปภ.สรุป 4 จว.มี 12 อำเภอกระทบ
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า พบการเกิดอาฟเตอร์ช็อกขนาด 3.0-6.2 ริกเตอร์ ตามมากว่า 40 ครั้ง ส่งผลให้เกิดความเสียหายใน 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา และน่าน โดย จ.เชียงราย ได้รับความเสียหาย 8 อำเภอ คือ อ.แม่สาย อ.เชียงแสน อ.เมืองเชียงราย อ.ดอยหลวง อ.เชียงของ อ.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่จัน และ อ.พาน มีผู้เสียชีวิตจากการถูกกำแพงล้มทับ 1 ราย
ส่วนที่ จ.พะเยา ได้แก่ อ.เมืองพะเยา และ อ.ดอกคำใต้ และยังมีโบราณสถานได้รับความเสียหายด้วย ขณะที่ จ.น่าน วิหารวัดภูมินทร์วรวิหาร วัดช้างค้ำวรวิหาร และวัดเขาน้อย มีรอยร้าวเล็กน้อย ส่วน จ.เชียงใหม่ อาคารสำนักงานเทศบาลสันทรายหลวง อ .สันทราย ได้รับความเสียหายเล็กน้อยเช่นกัน
**กฟผ.ยันเขื่อนทั่วประเทศยังแข็งแรง
นายวีรชัย ไชยสระแก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบำรุงรักษาโยธา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ยังไม่พบถึงแรงสั่นสะเทือนและผลกระทบต่อความมั่นคงของเขื่อนทุกแห่งของ กฟผ.แต่อย่างใด โดยที่ผ่านมา กฟผ.ได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อนอย่างต่อเนื่อง โดยติดตั้งระบบตรวจวัดข้อมูลแบบอัตโนมัติที่เขื่อน ซึ่งเป็นระบบที่ครอบคลุมข้อมูลด้านพฤติกรรมเขื่อน ข้อมูลอุตุ-อุทกวิทยา และ ข้อมูลแผ่นดินไหว ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถประมวลผลข้อมูลเบื้องต้น แสดงผลเป็นรูปกราฟ ซึ่งหากมีข้อมูลที่ผิดปกติก็จะแจ้งเตือนให้ตรวจสอบได้ทันที
ขณะเดียวกันยังมีการตรวจสอบ และ บำรุงรักษาเพื่อความปลอดภัยของเขื่อนอย่างต่อเนื่อง จึงขอให้ประชาชนมั่นใจเขื่อนของ กฟผ.มีความปลอดภัยในการใช้งาน และ มีความปลอดภัยต่อชีวิตทรัพย์สินของประชาชน
**ชี้รอยเลื่อนไทยเล็ก เกิดไม่ถึง 6.7 ริคเตอร์
น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า ขอให้ประชาชนคลายความกังวลเกี่ยวกับรอยเลื่อนในเขตประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นรอยเลื่อนแม่จันหรือรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ โดยหากเกิดแผ่นดินไหวในไทยจะมีความรุนแรงไม่เกิน 6.7-6.8 ริคเตอร์ เนื่องจากเป็นรอยเลื่อนที่มีขนาดเล็กกว่ารอยเลื่อนสะแกงในพม่าที่เกิดแผ่นดินไหว
"เราประเมินว่าประเทศไทยไม่น่าจะได้รับผลกระทบร้ายแรง อาคารบ้านเรือนต่างๆ ยังรับแรงแผ่นดินไหวได้ ยกเว้นโบราณสถานต่างๆ ที่อาจพังบ้างเพราะมีอายุเก่าแก่ รอยเลื่อนที่เราเฝ้าระวังหลักๆ เน้นที่รอยเลื่อนฟิลิปปินส์ และรอยเลื่อนซุนดรามากกว่า" น.อ.สมศักดิ์กล่าว
**ทั้งวันอาฟเตอร์ช็อก 81 ครั้ง
นายต่อศักดิ์ วานิชขจร อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า เป็นแนวเลื่อนแนวเดียวกับทางเหนือของไทย ทางลาว ถือเป็นแนวรอยเลื่อนคนละแนวกับไทย แต่จุดศูนย์กลางที่เกิดใกล้กับทางไทยมาก หลังจากเกิดขึ้น 6.7 ริกเตอร์ และ 6.2 ริกเตอร์ จนเกิดแผ่นดินไหว แล้วเกิดอาฟเตอร์ช็อกรวม 7 ครั้ง ทั้งนี้ เมื่อเวลา 7.22 น. โดยสามารถวัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.5 ริกเตอร์ มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศพม่า ห่างจาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย เพียง 13 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าขณะนี้เปลือกโลกกำลังคลายตัว หลังเกิดแผ่นดินไหวโดยปล่อยพลังงานไปแล้ว ดังนั้น การเกิดแผ่นดินไหวน่าจะอ่อนลงเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ตลอดทั้งวันคาดว่าเกิดอาฟเตอร์ช็อกรวม 81 ครั้ง
ด้านนายบุรินทร์ เวชบันเทิง ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังและติดตามแผ่นดินไหวและสึนามิ กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า เป็นรอยเลื่อนที่อยู่ใต้ผืนทวีปเกิดการเคลื่อนตัว ส่งผลให้เกิดการสั่นสะเทือนบนผืนดิน แต่ยืนยันว่าไม่ใช่ผลกระทบจากภัยสึนามิที่ญี่ปุ่นอย่างแน่นอน
**12ตึกสูง ฝั่งพระนครน่าห่วง
นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารสูงในพื้นที่กทม. ที่อาคารออลซีซั่นส์ ถนนวิทยุว่า ยังไม่พบว่าอาคารในกทม.ได้รับความเสียหายจากเหตุดังกล่าว แต่จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังอาคารที่สูงกว่า 15 เมตรขึ้นไปจำนวน 2,718 อาคารโดยอยู่ในฝั่งพระนคร 2,448 อาคาร ฝั่งธนบุรี 270 อาคาร และในจำนวนนี้มี 12 อาคาร ที่กทม.ต้องตรวจสอบเป็นพิเศษ ประกอบด้วย อาคารเสริมมิตรทาวเวอร์ตึก 30 ชั้น อาาคารชุดเฟิรสทาวเวอร์ตึก 22 ชั้น, ศูนย์การค้ามาบุญครอง ตึก 29 ชั้น,ตึกออลซีซั่นส์ พร็อพเพอร์ตี้ตึก 53 ชั้นจำนวน 1 หลัง,อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ 58 ชั้น,อาคารชัยทาวเวอร์ตึก 30 ชั้น,อาคารเบญจจินดา 36 ชั้น,ตึกชินวัฒน์ 3 ตึก 32 ชั้น,อาคารไอทาวเวอร์ตึก 32 ชั้น,อาคารธนาคารทหารไทยตึก 34 ชั้น,อาคารซันทาวเวอร์ตึก 40 ชั้น 1 หลัง และ 34 ชั้น 1 หลัง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าอาคารทั้ง 12 อาคารจะไม่มีความปลอดภัยแต่อย่างใด
**เชื่อรองรับได้ไม่ต่ำกว่า 5 ริกเตอร์
นายพรเทพ กล่าวอีกว่า ได้ทำหนังสือไปยังเจ้าของอาคารเพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบในด้านของความมั่นคงแข็งแรงและวัสดุที่ใช้โดยอาคารส่วนใหญ่ได้จดทะเบียนการก่อสร้างก่อนปี 2550 ซึ่งไม่ได้รองรับในเรื่องของเหตุแผ่นดินไหวเอาไว้ ส่วนภายหลังปี 2550 ก็อยู่ในข่ายพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ปี 50 ซึ่งระบุไว้ว่าจะต้องเป็นอาคารที่รองรับแรงสั่นสะเทือนได้ไม่ต่ำกว่า 5 ริกเตอร์ สำหรับอาคารร้างที่ยังไม่สามารถเข้าไปแก้ไขได้ เนื่องจากว่ามีข้อจำกัดในเรื่องพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร จึงต้องประสานสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ปรับปรุงแก้ไขต่อไป ทั้งนี้ประชาชนสามารถสอบถามและแจ้งผ่านสายด่วนกทม.1555ได้
“อย่างไรก็ตามพบว่าเมื่อคืนมีคนโทรเข้ามาเยอะมากโดยเฉพาะผู้ที่พักอาศัยอยู่ในโรงแรมโดยส่วนใหญ่จะถามว่าเขาจะปลอดภัยไหม” นายพรเทพ กล่าว
**รพ.สังกัดสธ.เสียหายเล็กน้อย 6 แห่ง
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ได้รับรายงานได้รับความเสียหายทั้งหมด 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ซึ่งเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดได้รับความเสียหายมากที่สุด ที่ตึก68 อนุสรณ์ ซึ่งเป็นหอผู้ป่วยเด็ก ขนาด 5 ชั้น ซึ่งเป็นตึกเก่ามีรอยร้าวอยู่แล้วได้มีรอยร้าวเพิ่มขึ้น และโรงพยาบาลชุมชนอีก 5 แห่ง คือแฟลตพยาบาลของโรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวงมีรอยร้าว ทำให้พยาบาลไม่มั่นใจว่าจะสามารถอาศัยอยู่ต่อได้หรือไม่ โรงพยาบาลแม่สาย โรงพยาบาลเชียงแสน โรงพยาบาลพาน และโรงพยาบาลแม่จัน ได้รับความเสียเล็กน้อย ทั้งนี้ได้สั่งการให้เตรียมซ้อมแผนรองรับแผ่นดินไหว ไว้แล้ว
**ประเมินรพ.ในพื้นที่เสี่ยง 10 จว.
นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า ได้ให้กองแบบแผนประเมินโครงสร้างอาคารบริการของโรงพยาบาลต่างๆ โดยเฉพาะที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน น่าน พะเยา แพร่ ตาก และกาญจนบุรี เพื่อสร้างความมั่นใจผู้ป่วย
สำหรับผู้บาดเจ็บทั้งหมด 16 ราย เป็นคนไทย 4 ราย พม่า 7 ราย และจีน 5 ราย โดยเข้ารักษาที่โรงพยาบาลแม่สาย 10 ราย ส่งรักษาต่อที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ 4 ราย เป็นชาวพม่าถูกหินและบ้านถล่มทับ ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ 1 ราย ขาซ้ายหัก 1 ราย กระดูกเชิงกรานแตก 1 ราย และมือขวาหัก 1 ราย ส่วนที่เหลือ 6 รายบาดเจ็บเล็กน้อยแพทย์ให้กลับบ้านได้ และที่โรงพยาบาลเชียงแสน 6 ราย เป็นชาวจีนข้ามมาจากฝั่งลาว 5 ราย ในจำนวนนี้ 3 ราย กระดูกสันหลังหักส่งรักษาต่อที่โรงพยาบาลเอกชนศรีบุรินทร์ ส่วนผู้เสียชีวิตมี 1 ราย
**”นิพิฏฐ์”ตรวจโบราณสถานเชียงราย
นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ได้รับรายงานจากผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ว่า จากการสำรวจมีโบราณสถานหลายแห่งได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อค่ำวานนี้ นอกจากนี้ ได้รับรายงานจากหัวหน้าพิพิธภัณฑ์เชียงแสนว่า มีโบราณวัตถุหล่นจากชั้นวางหลายชิ้น จึงได้สั่งการว่าหากจำเป็นให้ปิดชั่วคราวเพื่อจัดการให้เรียบร้อย และดูแลป้องกันเรื่องอัคคีภัยด้วย โดยวันวันที่ 26 มี.ค.นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) และตนจะลงพื้นที่ จ.เชียงราย เพื่อตรวจสภาพความเสียหาย ส่วนเรื่องงบประมาณจะพิจารณาเสนอตามความเสียหายที่เกิดขึ้น.
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานความคืบหน้า เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศพม่าเมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุด มีผู้เสียชีวิตแล้ว 75 ราย และมีผู้บาดเจ็บมากถึง 111 ราย บ้านเรือนเสียหาย 244 หลัง วัด 14 แห่ง ที่ทำการรัฐบาล เสียหาย 9 แห่ง อย่างไรก็ตามสำนักข่าวอิระวดีของพม่า รายงานคาดคะเนว่า มีผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหว ครั้งนี้ สูงกว่า 120 ราย แล้ว แต่สำนักข่าวแห่งนี้ ไม่ได้มีการยืนยันรายละเอียด ส่วนเว็บไซต์นิตยสารอิระวดีรายงานอ้างแหล่งข่าวในพม่าว่า อาคารหลังหนึ่งในค่ายทหารของกองพันทหารราบ 316 พังถล่ม ทำให้ทหารเสียชีวิตจำนวนมาก
มีการคาดการณ์ ความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว ที่มีจุดศูนย์กลางที่ จ.ท่าขี้เหล็ก ติดกับชายแดนไทย ว่า ตัวเลขความเสียหายด้านชีวิต และทรัพย์สิน จะสูงกว่านี้ เพราะเจ้าหน้าที่ยังเข้าไม่ถึงอีกหลายพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล
**“ยอดเจดีย์หลวง 667ปีหักโค่น
สำหรับในไทยความเสียหายในพื้นที่ จ.เชียงราย พบว่าที่เขตเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน ที่วัดพระธาตุเจดีย์หลวง เขตเทศบาล ต.เวียงเชียงแสน อ.เชียงแสน พบว่าส่วนปลายของยอดเจดีย์ตั้งแต่ระวังคว่ำด้านบนสุดได้หักโค่นลงมา และกระทบกับเจดีย์เล็กที่ตั้งอยู่ใกล้ฐานของ “พระธาตุเจดีย์หลวง” ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งทิศตะวันออก จนทำให้แตกหักทั้งยอดเจดีย์และพระธาตุองค์เล็ก ขณะที่ตรงส่วนยอดที่เหลือของพระธาตุเจดีย์หลวงได้บิดงอไปทางทิศตะวันตก รวมทั้งมีร่องรอยแตกร้าวข้างเจดีย์ด้านทิศตะวันออก เกิดการพังทลายของอิฐและคอนกรีตฉาบด้านนอกเป็นโพรงขนาดใหญ่
ส่วนที่หักลงมาเรียกว่า "ลูกหมาก"หรือ "บัวหมาก"ซึ่งเป็นส่วนที่ตั้งอยู่เหนือฐานระฆังคว่ำไปจนถึงส่วนยอดสุดที่เรียกว่า "ยอดปลี"โดยกรณีของยอดปลีนั้นไม่มีฉัตรเหมือนวัดพระธาตุจอมกิตติ ได้ตกลงมาพร้อมลูกหมากจนแตกละเอียด ส่วนตัวลูกหมากปกติจะมี 9 ข้อแต่ละข้อห่างกัน 2-3 ศอกพบว่าได้หักโค่นลงมา 6 ข้อครึ่ง จึงเหลือที่ค้างอยู่ตรงฐานระฆังคว่ำประมาณ 2 ข้อครึ่ง และยังมีลักษณะเอียงตั้งแต่ฐานระฆังขึ้นไปอีกด้วย ทั้งนี้ความยาวที่หักโค่นลงมามีประมาณ 7 เมตร
สำหรับพระธาตุเจดีย์หลวง เป็นโบราณสถานที่เป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนาที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในเชียงแสน โดยความสูง 88 เมตรและฐานกว้าง 24 เมตร มีอายุเก่าแก่ประมาณ 667 ปีสร้างโดยพระเจ้าแสนภู ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนาเมื่อปี พ.ศ.1887
รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ภายหลังเกิดเหตุทางเจ้าหน้าที่สำนักงานศิลปากรภาค 8 ร่วมกับทางวัดพระธาตุเจดีย์หลวงได้กันพื้นที่ดังกล่าวเอาไว้ เพื่อจะได้เข้าไปบูรณะซ่อมแซม
**ฉัตร“พระธาตุจอมกิตติ”บิดงอ
ส่วนยอดฉัตรของ “พระธาตุจอมกิตติ” ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ซึ่งเป็นโลหะฉัตรหลายชั้นได้งอเอียงไปทางทิศตะวันตกอย่างเห็นได้ชัดแต่ยังไม่หักโค่นลงมา ส่วนที่หอระฆังวัดดอยเวา อ.แม่สาย พบมีการแตกร้าว
ส่วนโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ตรงอาคารสมเด็จย่าและอาคารเฉลิมพระเกียรติ ส่วนของเด็กทารก ได้มีการแตกร้าวหลายแห่งจนต้องอพยพผู้ป่วยลงไปนอนด้านล่าง พบรอยแตกร้าวเกิดจากจุดเชื่อมต่อของอาคาร 2 หลังที่แยกส่วนกันแต่ไม่น่าวิตกแต่อย่างใด
ส่วนที่ จ.พะเยา ที่วัดดศรีโคมคำ พระอารามหลวง ต.เวียง อ.เมืองพะเยา ได้ทำการสำรวจรอบองค์พระเจ้าตนหลวง พระคู่บ้านคู่เมืองล้านนา อายุกว่า 500 ปี ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในวิหารหลวง ผลการสำรวจพบรอยแตกร้าวที่บริเวณแขนด้านขวาขององค์พระที่วางทอดยางบนหน้าตัด โดยบริเวณแตกร้ายอยู่กึ่งกลางข้อศอกกับข้อมือ โดยมีรอยแตกร้าวยาวกว่า 2 ฟุต
**“พระธาตุแช่แห้ง”จ.น่านก็ร้าว
ส่วนที่วัดภูมินทร์ ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน พบว่าที่วัดภูมินทร์ พระอุโบสถที่มีอายุกว่า 700 ปี ผนังตัวพระวิหารโดยรอบมีรอยแตกร้าวหลายจุด ทั้งภายนอกและภายในตัวพระวิหาร พบเศษกระจกที่ใช้ประดับเชิงชายหลุดร่วง มีรอยผงปูนที่ฉาบตัวอาคารด้านนอกร่วงหล่น
ยังมีรอยแตกร้าวตามผนังอาคาร ส่งผลให้ภาพวาดจิตรกรรมวัดภูมินทร์ มีความเสียหายบนผนังภาพหลายจุด บริเวณกรอบประตู หน้าต่างมีรอยร้าว อย่างไรก็ตรามภาพปู่ม่าน ย่าม่าน ภาพกระซิบรักบันลือโลก ซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณกรอบประตูวิหาร ไม่พบรอยแตกร้าวบนผนังภาพ
**ชาวพม่าข้ามฝั่งเข้า รพ.แม่สาย
รายงานข่าวจากท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่าพบว่า คนท่าขี้เหล็กแตกตื่นกันทั้งเมือง จนมีหลายคนต้องวิ่งออกมาอยู่บนถนนส่วนเซียนพนันที่เข้าใช้บริการกาสิโนในโรงแรมเก้าชั้นต้องวิ่งหนีตายลงมา จนทำให้หลายคนได้รับบาดเจ็บ
ส่วนชาวเมืองเลน จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากชายแดนไทย-พม่า ด้าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ขึ้นไปประมาณ 5 กม.ได้มาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล อ.แม่สาย ส่วนใหญ่แขนและขาหัก รวมทั้งร่างกายฟกช้ำ
**พบแผ่นดินแยกที่แม่สายยาว1กม.
ส่วนผลกระทบเพิ่มเติมในฝั่งไทยพบว่าที่หมู่บ้านร้องพระเจ้า ต.เกาะช้าง อ.แม่สาย เกิดร่องหินแยกเป็นทางยาวประมาณ 1 กม.กว้างประมาณ 10-30 เซนติเมตร และลึก ประมาณ 1-2 เมตร
**ตึกสูงในเมืองเชียงใหม่ยังปลอดภัยดี
ส่วนที่ จ.เชียงใหม่ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้สั่งการในช่วงเช้าให้นายอำเภอทั้ง 25 อำเภอ ดำเนินการสำรวจในพื้นที่รับผิดชอบว่ามีอาคารบ้านเรือน หรือทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหายหรือไม่ แต่ไม่มีรายงานว่ามีความเสียหายใดๆ เกิดขึ้น
**ปภ.สรุป 4 จว.มี 12 อำเภอกระทบ
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า พบการเกิดอาฟเตอร์ช็อกขนาด 3.0-6.2 ริกเตอร์ ตามมากว่า 40 ครั้ง ส่งผลให้เกิดความเสียหายใน 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา และน่าน โดย จ.เชียงราย ได้รับความเสียหาย 8 อำเภอ คือ อ.แม่สาย อ.เชียงแสน อ.เมืองเชียงราย อ.ดอยหลวง อ.เชียงของ อ.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่จัน และ อ.พาน มีผู้เสียชีวิตจากการถูกกำแพงล้มทับ 1 ราย
ส่วนที่ จ.พะเยา ได้แก่ อ.เมืองพะเยา และ อ.ดอกคำใต้ และยังมีโบราณสถานได้รับความเสียหายด้วย ขณะที่ จ.น่าน วิหารวัดภูมินทร์วรวิหาร วัดช้างค้ำวรวิหาร และวัดเขาน้อย มีรอยร้าวเล็กน้อย ส่วน จ.เชียงใหม่ อาคารสำนักงานเทศบาลสันทรายหลวง อ .สันทราย ได้รับความเสียหายเล็กน้อยเช่นกัน
**กฟผ.ยันเขื่อนทั่วประเทศยังแข็งแรง
นายวีรชัย ไชยสระแก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบำรุงรักษาโยธา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ยังไม่พบถึงแรงสั่นสะเทือนและผลกระทบต่อความมั่นคงของเขื่อนทุกแห่งของ กฟผ.แต่อย่างใด โดยที่ผ่านมา กฟผ.ได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อนอย่างต่อเนื่อง โดยติดตั้งระบบตรวจวัดข้อมูลแบบอัตโนมัติที่เขื่อน ซึ่งเป็นระบบที่ครอบคลุมข้อมูลด้านพฤติกรรมเขื่อน ข้อมูลอุตุ-อุทกวิทยา และ ข้อมูลแผ่นดินไหว ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถประมวลผลข้อมูลเบื้องต้น แสดงผลเป็นรูปกราฟ ซึ่งหากมีข้อมูลที่ผิดปกติก็จะแจ้งเตือนให้ตรวจสอบได้ทันที
ขณะเดียวกันยังมีการตรวจสอบ และ บำรุงรักษาเพื่อความปลอดภัยของเขื่อนอย่างต่อเนื่อง จึงขอให้ประชาชนมั่นใจเขื่อนของ กฟผ.มีความปลอดภัยในการใช้งาน และ มีความปลอดภัยต่อชีวิตทรัพย์สินของประชาชน
**ชี้รอยเลื่อนไทยเล็ก เกิดไม่ถึง 6.7 ริคเตอร์
น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า ขอให้ประชาชนคลายความกังวลเกี่ยวกับรอยเลื่อนในเขตประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นรอยเลื่อนแม่จันหรือรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ โดยหากเกิดแผ่นดินไหวในไทยจะมีความรุนแรงไม่เกิน 6.7-6.8 ริคเตอร์ เนื่องจากเป็นรอยเลื่อนที่มีขนาดเล็กกว่ารอยเลื่อนสะแกงในพม่าที่เกิดแผ่นดินไหว
"เราประเมินว่าประเทศไทยไม่น่าจะได้รับผลกระทบร้ายแรง อาคารบ้านเรือนต่างๆ ยังรับแรงแผ่นดินไหวได้ ยกเว้นโบราณสถานต่างๆ ที่อาจพังบ้างเพราะมีอายุเก่าแก่ รอยเลื่อนที่เราเฝ้าระวังหลักๆ เน้นที่รอยเลื่อนฟิลิปปินส์ และรอยเลื่อนซุนดรามากกว่า" น.อ.สมศักดิ์กล่าว
**ทั้งวันอาฟเตอร์ช็อก 81 ครั้ง
นายต่อศักดิ์ วานิชขจร อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า เป็นแนวเลื่อนแนวเดียวกับทางเหนือของไทย ทางลาว ถือเป็นแนวรอยเลื่อนคนละแนวกับไทย แต่จุดศูนย์กลางที่เกิดใกล้กับทางไทยมาก หลังจากเกิดขึ้น 6.7 ริกเตอร์ และ 6.2 ริกเตอร์ จนเกิดแผ่นดินไหว แล้วเกิดอาฟเตอร์ช็อกรวม 7 ครั้ง ทั้งนี้ เมื่อเวลา 7.22 น. โดยสามารถวัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.5 ริกเตอร์ มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศพม่า ห่างจาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย เพียง 13 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าขณะนี้เปลือกโลกกำลังคลายตัว หลังเกิดแผ่นดินไหวโดยปล่อยพลังงานไปแล้ว ดังนั้น การเกิดแผ่นดินไหวน่าจะอ่อนลงเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ตลอดทั้งวันคาดว่าเกิดอาฟเตอร์ช็อกรวม 81 ครั้ง
ด้านนายบุรินทร์ เวชบันเทิง ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังและติดตามแผ่นดินไหวและสึนามิ กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า เป็นรอยเลื่อนที่อยู่ใต้ผืนทวีปเกิดการเคลื่อนตัว ส่งผลให้เกิดการสั่นสะเทือนบนผืนดิน แต่ยืนยันว่าไม่ใช่ผลกระทบจากภัยสึนามิที่ญี่ปุ่นอย่างแน่นอน
**12ตึกสูง ฝั่งพระนครน่าห่วง
นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารสูงในพื้นที่กทม. ที่อาคารออลซีซั่นส์ ถนนวิทยุว่า ยังไม่พบว่าอาคารในกทม.ได้รับความเสียหายจากเหตุดังกล่าว แต่จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังอาคารที่สูงกว่า 15 เมตรขึ้นไปจำนวน 2,718 อาคารโดยอยู่ในฝั่งพระนคร 2,448 อาคาร ฝั่งธนบุรี 270 อาคาร และในจำนวนนี้มี 12 อาคาร ที่กทม.ต้องตรวจสอบเป็นพิเศษ ประกอบด้วย อาคารเสริมมิตรทาวเวอร์ตึก 30 ชั้น อาาคารชุดเฟิรสทาวเวอร์ตึก 22 ชั้น, ศูนย์การค้ามาบุญครอง ตึก 29 ชั้น,ตึกออลซีซั่นส์ พร็อพเพอร์ตี้ตึก 53 ชั้นจำนวน 1 หลัง,อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ 58 ชั้น,อาคารชัยทาวเวอร์ตึก 30 ชั้น,อาคารเบญจจินดา 36 ชั้น,ตึกชินวัฒน์ 3 ตึก 32 ชั้น,อาคารไอทาวเวอร์ตึก 32 ชั้น,อาคารธนาคารทหารไทยตึก 34 ชั้น,อาคารซันทาวเวอร์ตึก 40 ชั้น 1 หลัง และ 34 ชั้น 1 หลัง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าอาคารทั้ง 12 อาคารจะไม่มีความปลอดภัยแต่อย่างใด
**เชื่อรองรับได้ไม่ต่ำกว่า 5 ริกเตอร์
นายพรเทพ กล่าวอีกว่า ได้ทำหนังสือไปยังเจ้าของอาคารเพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบในด้านของความมั่นคงแข็งแรงและวัสดุที่ใช้โดยอาคารส่วนใหญ่ได้จดทะเบียนการก่อสร้างก่อนปี 2550 ซึ่งไม่ได้รองรับในเรื่องของเหตุแผ่นดินไหวเอาไว้ ส่วนภายหลังปี 2550 ก็อยู่ในข่ายพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ปี 50 ซึ่งระบุไว้ว่าจะต้องเป็นอาคารที่รองรับแรงสั่นสะเทือนได้ไม่ต่ำกว่า 5 ริกเตอร์ สำหรับอาคารร้างที่ยังไม่สามารถเข้าไปแก้ไขได้ เนื่องจากว่ามีข้อจำกัดในเรื่องพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร จึงต้องประสานสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ปรับปรุงแก้ไขต่อไป ทั้งนี้ประชาชนสามารถสอบถามและแจ้งผ่านสายด่วนกทม.1555ได้
“อย่างไรก็ตามพบว่าเมื่อคืนมีคนโทรเข้ามาเยอะมากโดยเฉพาะผู้ที่พักอาศัยอยู่ในโรงแรมโดยส่วนใหญ่จะถามว่าเขาจะปลอดภัยไหม” นายพรเทพ กล่าว
**รพ.สังกัดสธ.เสียหายเล็กน้อย 6 แห่ง
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ได้รับรายงานได้รับความเสียหายทั้งหมด 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ซึ่งเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดได้รับความเสียหายมากที่สุด ที่ตึก68 อนุสรณ์ ซึ่งเป็นหอผู้ป่วยเด็ก ขนาด 5 ชั้น ซึ่งเป็นตึกเก่ามีรอยร้าวอยู่แล้วได้มีรอยร้าวเพิ่มขึ้น และโรงพยาบาลชุมชนอีก 5 แห่ง คือแฟลตพยาบาลของโรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวงมีรอยร้าว ทำให้พยาบาลไม่มั่นใจว่าจะสามารถอาศัยอยู่ต่อได้หรือไม่ โรงพยาบาลแม่สาย โรงพยาบาลเชียงแสน โรงพยาบาลพาน และโรงพยาบาลแม่จัน ได้รับความเสียเล็กน้อย ทั้งนี้ได้สั่งการให้เตรียมซ้อมแผนรองรับแผ่นดินไหว ไว้แล้ว
**ประเมินรพ.ในพื้นที่เสี่ยง 10 จว.
นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า ได้ให้กองแบบแผนประเมินโครงสร้างอาคารบริการของโรงพยาบาลต่างๆ โดยเฉพาะที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน น่าน พะเยา แพร่ ตาก และกาญจนบุรี เพื่อสร้างความมั่นใจผู้ป่วย
สำหรับผู้บาดเจ็บทั้งหมด 16 ราย เป็นคนไทย 4 ราย พม่า 7 ราย และจีน 5 ราย โดยเข้ารักษาที่โรงพยาบาลแม่สาย 10 ราย ส่งรักษาต่อที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ 4 ราย เป็นชาวพม่าถูกหินและบ้านถล่มทับ ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ 1 ราย ขาซ้ายหัก 1 ราย กระดูกเชิงกรานแตก 1 ราย และมือขวาหัก 1 ราย ส่วนที่เหลือ 6 รายบาดเจ็บเล็กน้อยแพทย์ให้กลับบ้านได้ และที่โรงพยาบาลเชียงแสน 6 ราย เป็นชาวจีนข้ามมาจากฝั่งลาว 5 ราย ในจำนวนนี้ 3 ราย กระดูกสันหลังหักส่งรักษาต่อที่โรงพยาบาลเอกชนศรีบุรินทร์ ส่วนผู้เสียชีวิตมี 1 ราย
**”นิพิฏฐ์”ตรวจโบราณสถานเชียงราย
นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ได้รับรายงานจากผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ว่า จากการสำรวจมีโบราณสถานหลายแห่งได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อค่ำวานนี้ นอกจากนี้ ได้รับรายงานจากหัวหน้าพิพิธภัณฑ์เชียงแสนว่า มีโบราณวัตถุหล่นจากชั้นวางหลายชิ้น จึงได้สั่งการว่าหากจำเป็นให้ปิดชั่วคราวเพื่อจัดการให้เรียบร้อย และดูแลป้องกันเรื่องอัคคีภัยด้วย โดยวันวันที่ 26 มี.ค.นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) และตนจะลงพื้นที่ จ.เชียงราย เพื่อตรวจสภาพความเสียหาย ส่วนเรื่องงบประมาณจะพิจารณาเสนอตามความเสียหายที่เกิดขึ้น.