ที่รัฐสภา วานนี้(23 มี.ค.) มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานประชุม หลังพิจารณาเรื่องที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาเสร็จแล้วจบ น.ส.ผ่องศรี ธาราภูมิ ส.ส.ลพบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เสนอขอเลื่อนวาระเรื่องด่วนอันดับที่ 19-21 ได้แก่ ร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ขึ้นมาพิจารณาก่อนตามข้อบังคับข้อที่ 46 พร้อมเสนอให้ยกเว้นข้อบังคับข้อที่ 21 เพื่อให้สามารถพิจารณาได้ทันที โดยระบุได้หารือวิปสองฝ่ายแล้วเห็นชอบตรงกัน อย่างไรก็ตาม นายชัย ขอให้มีการพิจารณาในวันที่วันที่ 24 มีนาคม หลังกระทู้ถามจบ จะสะดวกทุกฝ่ายและไม่มีปัญหา
นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.พระนครศรีอยุทธยา พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน แย้งว่า ไม่ขัดข้องหากจะมีการพิจารณาในทันที แต่อยากถามนายกฯ ยืนยันว่ายุบสภาแน่นอนใช่หรือไม่ อยากให้สมาชิกได้รับฟังโดยทั่ว เพราะได้ทราบแต่หน้าหนังสือพิมพ์ ขณะที่ น.พ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย อภิปรายสนับสนุนให้เลื่อนวาระขึ้นมาพิจารณา และยกเว้นข้อบังคับให้สามารถพิจารณาในทันที ทำให้นายชัยต้องถอนข้อเสนอของตัวเองออกไป
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลุกขึ้นชี้แจงว่า ขอยืนยันว่าจะนำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ เพื่อให้มีการยุบสภาภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมนี้ และขอความร่วมมือสมาชิกสภาผ่านร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับด้วย
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบตาม น.ส.ผ่องศรี เสนอ 315 ต่อ 0 เสียง ต่อมานายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นำเสนอหลักการและเหตุผลรวมทั้ง 3 ฉบับ เพื่อพิจารณารวมกัน แล้วลงมติแยกรายฉบับ
**ฝ่ายค้านหนุนกกต.แก้กม.ลูก3ฉบับ
จากนั้นที่ประชุมสภาผู้แทนราษฏร ได้มีการพิจารณารหลักการวาระ 1 ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ จากการเสนอของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต) ประกอบด้วย ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. ฉบับที่... พ.ศ. ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ฉบับที่... พ.ศ. และร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ฉบับที่ ... พ.ศ. โดยมีหลักการและเหตุผลสำคัญ คือมีการแก้ไขเพิ่มเติมนิยามเขตเลือกตั้ง ยกเลิกคำนิยามกลุ่มจังหวัด เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบชองสภา ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 500 คน โดยแบ่งเป็นส.ส.แบบเขต 375 คน และระบบบัญชีรายชื่อ 125 คน แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของกกต.ในส่วนที่เกี่ยวกับการแบ่งเขตเลือกตั้ง และเปลี่ยนคำว่าการเลือกตั้งแบบสัดส่วนเป็นการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ยังมีการเสนอ ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. ฉบับที่... พ.ศ. ของนายพีระพันธ์ พาลุสุข ส.ส. ยโสธร พรรคเพื่อไทย เสนอประกบเข้ามาด้วย ซึ่งสาระสำคัญคือ เสนอให้ลดจำนวนวันเลือกตั้งล่วงหน้าเหลือเพียง 1 วัน
อย่างไรก็ตามสมาชิกส่วนใหญ่อภิปรายเห็นด้วยกับหลักการและเหตุผลในการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับ โดยเฉพาส.ส.พรรคเพื่อไทย ต่างอภิปรายสนับสนุนร่างของนายพีระพันธ์ ที่มีการลดวันเลือกตั้งล่วงหน้าเหลือ 1 วัน เพราะถือเป็นจุดอ่อนเปิดโอกาสให้มีการซื้อเสียงอย่างถูกกฏหมาย ยากจะตรวจสอบได้ จึงจะเป็นช่องทางที่ช่วยลดการทุจริตเลือกตั้งได้ในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันก็มองว่าการกำหนดวันยุบสภาก่อนที่ร่างกฏหมายที่มารองรับการเลือกตั้งไม่ผ่านสภา จะทำให้เกิดปัญหาตามมา นอกจากนี้ยังวิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ของกกต.ว่าไม่อยู่บนความเป็นธรรม และกกต.ไม่มีภูมิคุ้มกันในตัวเอง เพราะมาจากรัฐธรรมนูญปี 50 โดยผู้ถือปืนเป็นคนออกแบบ ท่ามกลางข้อครหาต่างๆ
**จี้“มาร์ค” รับผิดชอบหากไม่ผ่านสภา
นายสงวน พงษ์มณี สส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า แม้รัฐธรรมนูญจะให้อำนาจนายกรัฐมนตรีตัดสินใจยุบสภา แต่กระบวนการออกกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับเป็นกระบวนการของสภานิติบัญญัติ แต่นายกฯกลับออกมายืนยันได้อย่างไรว่าจะมีการยุบสภาก่อนวันที่10 พ.ค. เพราะเมื่อพิจารณาร่างกฏหมายเสร็จก็ต้องส่งต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญอีกหากมีเหตุบางประการให้ไม่เสร็จ จะโยนไปให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต.ออกระเบียบเองใช่หรือไม่ หากมีคนไปร้องว่าระเบียบที่กกต.ออกมาไม่ชอบ นายกฯต้องรับความผิดทางการเมืองถ้ามีอะไรเกิดขึ้น ตอนนี้ถือว่ามีความพยายามแล้ว เสนอกฎหมายเข้าสภาถือว่ากตต.มีความรับผิดชอบสูงสุดเกิดขึ้นแล้ว แต่นายกฯเลือกที่จะทำผิดด้วยการยุบสภาในขณะที่ไม่มีความพร้อมทางกฏหมาย
ว่าที่ร.ต.พงศ์พันธ์ สุนทรชัย ส.ส.หนองคาย พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าตน เห็นด้วยกับการแก้ไขทั้ง 3 ฉบับ แต่ ตั้งข้อสังเกตถึงการเลือกตั้งล่วงหน้าว่า รัฐธรรมนูญมี วัตถุประสงค์จริงๆให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้านอกราชอาณาจักร ก็มีการตีความให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า จนเป็นที่มาของการก่อให้เกิดการทุจริต ซื้อสิทธิ์ ขายเสียงล่วงหน้าได้ แม้จะเป็นการให้โอกาสกับคนที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งได้ แต่หลักทฤษฏี กับหลักปฏิบัติไม่ไปด้วยกัน ที่ผ่านมามีบางกลุ่มบางพรรคเกณฑ์คนไปเลือกตั้งล่วงหน้า ไม่สามารถป้องกันได้เลย เพราะกกต. ไม่มีอำนาจไปบังคับไม่ให้ไปใช้สิทธิ์ล่วงหน้า และยังมีการเปิดโอกาสรณรงค์ให้ออกไปใช้สิทธิ์ล่วงหน้า จนเกิดปัญหาซื้อสิทธิ์ ขายเสียง มีความกังวลว่าจะมีการเปลี่ยนหีบบัตรถึงขั้นต้องมีการเฝ้าหีบ ทำให้ภาพลักษณ์ไม่ดี จึงควรจะมีระเบียบที่ชัดเจนว่า ถ้าไม่จำเป็นจริงๆจะไปใช้สิทธิ์ล่วงหน้าไม่ได้
นอกจากนี้ตนเห็นด้วยกับการให้ลดจำนวนวันเลือกตั้ง หากไม่สามารถบังคับใช้กฏหมาย หริอปิดช่องทางได้มาก ก็ยังช่วยลดปริมาณการทุจริตน้อยลงได้บ้าง แต่ถ้ามีการกำกับลงไปว่า ถ้าตรวจสอบว่ามีบางคนไปใช้สิทธิ์ล่วงหน้าแล้วออกมาชูหน้าสลอนในวันเลือกตั้งทั่วไป ก็น่าจะมีบทลงโทษ หรือ ถ้ายกเลิก โดยให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าเฉพาะคนไทยนอกราชอาณาจักรก็จะเป็นการดี
ว่าที่ร.ต.พงศ์พันธ์ กล่าวถึงการแบ่งเขตลือกตั้งใหม่ ว่า การเปลี่ยนจากเขตใหญ่ให้เป็นเขตเล็ก ถ้ามีการชี้นำจะเกิดการไม่ยุติธรรม และเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ โดยเฉพาะพรรคการเมืองที่มีบทบาท หรือมีอำนาจ อิทธิพล ไปชี้นำแบ่งการเขตเลือกตั้ง จึงควรจะมีการเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมพิจารณาในการแบ่งเขคเลือกตั้งด้วย อย่างน้อยก็ได้รับทราบที่มาที่ไปร่วมกัน ไม่ใช่ปล่อยให้กกต.แบ่งเขตตามใจคนบางคนหรือบางพรรค
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส. น่าน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เห็นด้วยที่กกต.จัดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้า 1 วัน เพราะจะเป็นการลดความไม่สุจริตได้ส่วนหนึ่ง เพราะกกต.เองก็เคยให้ความเห็นว่าการเลือกตั้งล่วงหน้าไม่สามารถควบคุมให้มีความเที่ยงธรรมเหมือนเลือกตั้งทั่วไปได้ ถือเป็นข้อด้อย เรื่องเหตุผลที่ไปใช้สิทธิ์ล่วงหน้า 2วันมีคนไปเป็นหมื่นๆถือเป็นเรื่องแปลก เพราะเจตนาจริงๆต้องการให้ที่ไม่สามารถมาได้จริงๆ แต่กลับนำไปสู่การทุจริตการเลือกตั้ง หลายครั้งที่คะแนนเลือกตั้งทั่วไปสู่สี แต่พอเอาผลคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าไปบวกทำให้ชนะ หรือ แพ้ทันที
นายสภาพร มณีรัตน์ ส.ส. ลำพูน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า สภาไม่ควรผ่านกฏหมายอย่างลุกลี้ลุกลน ตนขอเตือนว่า ระวังทำอะไรลวกๆแผ่นดินจะลุกเป็นไฟ อยากถามว่าการที่นายกฯประกาศจะยุบสภาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ กกต.ไม่มีการซักซ้อมรับมือหรือ มีความพร้อมแล้วหรือ ที่สำคัญกกต.จังหวัดที่จะหมดอายุเดือนกรกฏาคมนี้จะทำอย่างไร กกต.ชุดใหญ่ในกรุงเทพไม่เข้าใจว่าปัญหาคุกกรุ่นขนาดไหน อยากให้มีการตั้งสติ การเสนอกฏหมายไม่ควรมีนัยสนองตอบฝ่ายบริการ กกต.ต้องมีความเป็นอิสระ ที่ผ่านมาต้องยอมรับมีหลายสิ่งที่คาใจสังคม ที่กกต.ต้องเตรียมคำตอบให้ได้ ถ้าพลาดนิดเดียวมีสิทธิ์ติดคุกเหมือนกกต.ชุดเก่าๆ
“อยากให้กกต.ตั้งสติอย่าลุกลี้ลุกลน ไม่ใช่มาคอยจับเฉพาะนักการเมืองต้องจับพวกของท่านด้วย ดูโครงสร้างองค์กรแล้วหรือว่าสามารถรองรับการเลือกตั้งใหญ่ได้หรือไม่ วางแผนไว้รับมืออย่างไร พวกผมไม่หวั่นอยู่แล้ว ระฆังยกแรกก็สู้กันแล้ว แต่กกต.จะเอาอย่างไร เตรียมกำลังคนที่จะมาแทนกกต.จังหวัดที่จะไปยกชุดอย่างไร “
นายสถาพรยังเสนอว่า ควรจะยกเลิกการเลือกตั้งล่วงหน้า เพราะไม่เห็นความจำเป็น มีธุระอะไรถึงมาเลือกตั้งล่วงหน้า3หมื่นคน มีการเอารถปื๊กอัพขนคนมาท่วมท้น กกต.ไม่สงสัยเลยหรือ แต่ตนสงสัยว่ามีนัยยะซ้อนเร้าปกปิดอำพราง ประเด็นการเปลี่ยนหีบ สมมุติมีการเอาหีบไปไว้ในค่าย หรือเกณฑ์คนมาเลี้ยงขนมจีนเสร็จแล้วไปลงคะแนนในค่ายจะทำอย่างไร
“ หวังว่ากกต.จะไม่ถอดใจชิงลาออกก่อนการเลือกตั้งที่จะมาถึง สมมุติลาไปซักสามคนยุ่งแน่เพราะนายกฯยุบสภาแล้ว สภาก็ไม่มีจะทำอย่างไร กกต. ต้องออกมายืนยันว่าไม่ลาออก จะทำหน้าที่ต่อไป ไม่ใช่ว่ามีมือที่มองไม่เห็นมาบีบให้ลาออกไปจะยุ่งแน่ ยิ่งที่ข่าวลือต่างๆ เช่นเรื่องปฏิวัติอยู่หนาหู ถ้ากกต.เอียงนิดเดียวจะเป็นจุดชนวนให้สังคมระแวงสงสัย และการปรองดองก็จะทำไม่ได้”
น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม กล่าวว่าขณะนี้เริ่มมีการประมูลงานเกิดขึ้นเมื่อรู้ว่าจะมีการเลือกตั้งในเร็วๆนี้ เช่นพาคนไปดูงาน เอาเงินหลวงมาซื้อเสียง กกต.จ้องจับผิดแต่ส.ส. แต่ผู้ที่จะสมัครกลับไม่มีการตรวจสอบ ต้องเปลี่ยนความคิดไม่ใช่จ้องจับเฉพาะซื้อเสียง
นายธนิตพล ไชยนันทน์ ส.ส.ตาก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กกต. ควรเน้นเรื่องการป้องกันซื้อสิทธิขายเสียง เพื่อให้การเลือกตั้งครั้งหน้าจะได้ผู้แทนดีดีเข้ามาสภา การเมืองไทยจะได้พัฒนา แต่มีความเป็นเรื่องห่วงหลักเกณฑ์ของกกต. ควรจะมีการระบุออกมาให้ชัดเจนว่า อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ เพื่อให้ผู้จะลงสมัครได้รับทราบล่วงหน้า และกรณีบางพรรคการเมืองที่มีการเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ชุมนุม เมื่อมีการเลือกตั้งมักจะมีการเคลื่อนไหวขัดขวางการเลือกตั้ง กกต.ควรเข้มงวดกำหนดบทลงโทษให้ชัดเจน
รายงานข่าวแจ้งว่า ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) 36 คน ใน ค่ำวานนี้(23 มี.ค.) โดยใช้เวลาพิจารณา 2 สัปดาห์
**วิปรัฐฯคาดกลางเมษาฯฉลุย
นายวิทยา แก้วภราดัย ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ในชั้นกรรมาธิการทางกกต.ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมในชุดนี้ด้วย พร้อมยืนยันจะเดินหน้าตามแผนที่นายกรัฐมนตรีได้วางไว้ ซึ่งคาดว่ากลางเดือนเมษายนจะพิจารณาในส่วนของสภาผู้แทนราษฎรแล้วเสร็จ และจะส่งให้วุฒิสภาพิจาณาต่อ ทั้งนี้หากร่างดังกล่าวไม่ผ่านหรือเสร็จไม่ทัน นายกรัฐมนตรีก็สามารถยุบสภาได้ เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจกับทางกกต.ในการออกกฎหมายเพื่อเตรียมการเลือกตั้ง
**วิปวุฒิฯ คาดไม่เกิน 11 เม.ย.
นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ในฐานะประธานวิปวุฒิสภา กล่าวว่า ได้มอบหมายให้คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ ได้ศึกษาร่างกฎหมายไปก่อน ซึ่งวุฒิสภาได้วางกรอบเวลาว่าหากสภาพิจารณาเสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 เม.ย. ก็สามารรถบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมทันทีได้ในวันที่ 4 เม.ย.โดยกำหนดการแปรญัตติและพิจารณาในชั้นกรรมาธิการประมาณ 7 วัน จากนั้นจะเข้าสู่การพิจารณาในวาระ2-3 ในวันที่ 11เม.ย.จึงเชื่อว่าวุฒิสภาจะพิจารณาเสร็จสิ้นก่อนช่วงสงกรานต์.
นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.พระนครศรีอยุทธยา พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน แย้งว่า ไม่ขัดข้องหากจะมีการพิจารณาในทันที แต่อยากถามนายกฯ ยืนยันว่ายุบสภาแน่นอนใช่หรือไม่ อยากให้สมาชิกได้รับฟังโดยทั่ว เพราะได้ทราบแต่หน้าหนังสือพิมพ์ ขณะที่ น.พ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย อภิปรายสนับสนุนให้เลื่อนวาระขึ้นมาพิจารณา และยกเว้นข้อบังคับให้สามารถพิจารณาในทันที ทำให้นายชัยต้องถอนข้อเสนอของตัวเองออกไป
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลุกขึ้นชี้แจงว่า ขอยืนยันว่าจะนำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ เพื่อให้มีการยุบสภาภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมนี้ และขอความร่วมมือสมาชิกสภาผ่านร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับด้วย
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบตาม น.ส.ผ่องศรี เสนอ 315 ต่อ 0 เสียง ต่อมานายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นำเสนอหลักการและเหตุผลรวมทั้ง 3 ฉบับ เพื่อพิจารณารวมกัน แล้วลงมติแยกรายฉบับ
**ฝ่ายค้านหนุนกกต.แก้กม.ลูก3ฉบับ
จากนั้นที่ประชุมสภาผู้แทนราษฏร ได้มีการพิจารณารหลักการวาระ 1 ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ จากการเสนอของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต) ประกอบด้วย ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. ฉบับที่... พ.ศ. ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ฉบับที่... พ.ศ. และร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ฉบับที่ ... พ.ศ. โดยมีหลักการและเหตุผลสำคัญ คือมีการแก้ไขเพิ่มเติมนิยามเขตเลือกตั้ง ยกเลิกคำนิยามกลุ่มจังหวัด เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบชองสภา ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 500 คน โดยแบ่งเป็นส.ส.แบบเขต 375 คน และระบบบัญชีรายชื่อ 125 คน แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของกกต.ในส่วนที่เกี่ยวกับการแบ่งเขตเลือกตั้ง และเปลี่ยนคำว่าการเลือกตั้งแบบสัดส่วนเป็นการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ยังมีการเสนอ ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. ฉบับที่... พ.ศ. ของนายพีระพันธ์ พาลุสุข ส.ส. ยโสธร พรรคเพื่อไทย เสนอประกบเข้ามาด้วย ซึ่งสาระสำคัญคือ เสนอให้ลดจำนวนวันเลือกตั้งล่วงหน้าเหลือเพียง 1 วัน
อย่างไรก็ตามสมาชิกส่วนใหญ่อภิปรายเห็นด้วยกับหลักการและเหตุผลในการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับ โดยเฉพาส.ส.พรรคเพื่อไทย ต่างอภิปรายสนับสนุนร่างของนายพีระพันธ์ ที่มีการลดวันเลือกตั้งล่วงหน้าเหลือ 1 วัน เพราะถือเป็นจุดอ่อนเปิดโอกาสให้มีการซื้อเสียงอย่างถูกกฏหมาย ยากจะตรวจสอบได้ จึงจะเป็นช่องทางที่ช่วยลดการทุจริตเลือกตั้งได้ในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันก็มองว่าการกำหนดวันยุบสภาก่อนที่ร่างกฏหมายที่มารองรับการเลือกตั้งไม่ผ่านสภา จะทำให้เกิดปัญหาตามมา นอกจากนี้ยังวิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ของกกต.ว่าไม่อยู่บนความเป็นธรรม และกกต.ไม่มีภูมิคุ้มกันในตัวเอง เพราะมาจากรัฐธรรมนูญปี 50 โดยผู้ถือปืนเป็นคนออกแบบ ท่ามกลางข้อครหาต่างๆ
**จี้“มาร์ค” รับผิดชอบหากไม่ผ่านสภา
นายสงวน พงษ์มณี สส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า แม้รัฐธรรมนูญจะให้อำนาจนายกรัฐมนตรีตัดสินใจยุบสภา แต่กระบวนการออกกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับเป็นกระบวนการของสภานิติบัญญัติ แต่นายกฯกลับออกมายืนยันได้อย่างไรว่าจะมีการยุบสภาก่อนวันที่10 พ.ค. เพราะเมื่อพิจารณาร่างกฏหมายเสร็จก็ต้องส่งต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญอีกหากมีเหตุบางประการให้ไม่เสร็จ จะโยนไปให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต.ออกระเบียบเองใช่หรือไม่ หากมีคนไปร้องว่าระเบียบที่กกต.ออกมาไม่ชอบ นายกฯต้องรับความผิดทางการเมืองถ้ามีอะไรเกิดขึ้น ตอนนี้ถือว่ามีความพยายามแล้ว เสนอกฎหมายเข้าสภาถือว่ากตต.มีความรับผิดชอบสูงสุดเกิดขึ้นแล้ว แต่นายกฯเลือกที่จะทำผิดด้วยการยุบสภาในขณะที่ไม่มีความพร้อมทางกฏหมาย
ว่าที่ร.ต.พงศ์พันธ์ สุนทรชัย ส.ส.หนองคาย พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าตน เห็นด้วยกับการแก้ไขทั้ง 3 ฉบับ แต่ ตั้งข้อสังเกตถึงการเลือกตั้งล่วงหน้าว่า รัฐธรรมนูญมี วัตถุประสงค์จริงๆให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้านอกราชอาณาจักร ก็มีการตีความให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า จนเป็นที่มาของการก่อให้เกิดการทุจริต ซื้อสิทธิ์ ขายเสียงล่วงหน้าได้ แม้จะเป็นการให้โอกาสกับคนที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งได้ แต่หลักทฤษฏี กับหลักปฏิบัติไม่ไปด้วยกัน ที่ผ่านมามีบางกลุ่มบางพรรคเกณฑ์คนไปเลือกตั้งล่วงหน้า ไม่สามารถป้องกันได้เลย เพราะกกต. ไม่มีอำนาจไปบังคับไม่ให้ไปใช้สิทธิ์ล่วงหน้า และยังมีการเปิดโอกาสรณรงค์ให้ออกไปใช้สิทธิ์ล่วงหน้า จนเกิดปัญหาซื้อสิทธิ์ ขายเสียง มีความกังวลว่าจะมีการเปลี่ยนหีบบัตรถึงขั้นต้องมีการเฝ้าหีบ ทำให้ภาพลักษณ์ไม่ดี จึงควรจะมีระเบียบที่ชัดเจนว่า ถ้าไม่จำเป็นจริงๆจะไปใช้สิทธิ์ล่วงหน้าไม่ได้
นอกจากนี้ตนเห็นด้วยกับการให้ลดจำนวนวันเลือกตั้ง หากไม่สามารถบังคับใช้กฏหมาย หริอปิดช่องทางได้มาก ก็ยังช่วยลดปริมาณการทุจริตน้อยลงได้บ้าง แต่ถ้ามีการกำกับลงไปว่า ถ้าตรวจสอบว่ามีบางคนไปใช้สิทธิ์ล่วงหน้าแล้วออกมาชูหน้าสลอนในวันเลือกตั้งทั่วไป ก็น่าจะมีบทลงโทษ หรือ ถ้ายกเลิก โดยให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าเฉพาะคนไทยนอกราชอาณาจักรก็จะเป็นการดี
ว่าที่ร.ต.พงศ์พันธ์ กล่าวถึงการแบ่งเขตลือกตั้งใหม่ ว่า การเปลี่ยนจากเขตใหญ่ให้เป็นเขตเล็ก ถ้ามีการชี้นำจะเกิดการไม่ยุติธรรม และเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ โดยเฉพาะพรรคการเมืองที่มีบทบาท หรือมีอำนาจ อิทธิพล ไปชี้นำแบ่งการเขตเลือกตั้ง จึงควรจะมีการเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมพิจารณาในการแบ่งเขคเลือกตั้งด้วย อย่างน้อยก็ได้รับทราบที่มาที่ไปร่วมกัน ไม่ใช่ปล่อยให้กกต.แบ่งเขตตามใจคนบางคนหรือบางพรรค
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส. น่าน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เห็นด้วยที่กกต.จัดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้า 1 วัน เพราะจะเป็นการลดความไม่สุจริตได้ส่วนหนึ่ง เพราะกกต.เองก็เคยให้ความเห็นว่าการเลือกตั้งล่วงหน้าไม่สามารถควบคุมให้มีความเที่ยงธรรมเหมือนเลือกตั้งทั่วไปได้ ถือเป็นข้อด้อย เรื่องเหตุผลที่ไปใช้สิทธิ์ล่วงหน้า 2วันมีคนไปเป็นหมื่นๆถือเป็นเรื่องแปลก เพราะเจตนาจริงๆต้องการให้ที่ไม่สามารถมาได้จริงๆ แต่กลับนำไปสู่การทุจริตการเลือกตั้ง หลายครั้งที่คะแนนเลือกตั้งทั่วไปสู่สี แต่พอเอาผลคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าไปบวกทำให้ชนะ หรือ แพ้ทันที
นายสภาพร มณีรัตน์ ส.ส. ลำพูน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า สภาไม่ควรผ่านกฏหมายอย่างลุกลี้ลุกลน ตนขอเตือนว่า ระวังทำอะไรลวกๆแผ่นดินจะลุกเป็นไฟ อยากถามว่าการที่นายกฯประกาศจะยุบสภาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ กกต.ไม่มีการซักซ้อมรับมือหรือ มีความพร้อมแล้วหรือ ที่สำคัญกกต.จังหวัดที่จะหมดอายุเดือนกรกฏาคมนี้จะทำอย่างไร กกต.ชุดใหญ่ในกรุงเทพไม่เข้าใจว่าปัญหาคุกกรุ่นขนาดไหน อยากให้มีการตั้งสติ การเสนอกฏหมายไม่ควรมีนัยสนองตอบฝ่ายบริการ กกต.ต้องมีความเป็นอิสระ ที่ผ่านมาต้องยอมรับมีหลายสิ่งที่คาใจสังคม ที่กกต.ต้องเตรียมคำตอบให้ได้ ถ้าพลาดนิดเดียวมีสิทธิ์ติดคุกเหมือนกกต.ชุดเก่าๆ
“อยากให้กกต.ตั้งสติอย่าลุกลี้ลุกลน ไม่ใช่มาคอยจับเฉพาะนักการเมืองต้องจับพวกของท่านด้วย ดูโครงสร้างองค์กรแล้วหรือว่าสามารถรองรับการเลือกตั้งใหญ่ได้หรือไม่ วางแผนไว้รับมืออย่างไร พวกผมไม่หวั่นอยู่แล้ว ระฆังยกแรกก็สู้กันแล้ว แต่กกต.จะเอาอย่างไร เตรียมกำลังคนที่จะมาแทนกกต.จังหวัดที่จะไปยกชุดอย่างไร “
นายสถาพรยังเสนอว่า ควรจะยกเลิกการเลือกตั้งล่วงหน้า เพราะไม่เห็นความจำเป็น มีธุระอะไรถึงมาเลือกตั้งล่วงหน้า3หมื่นคน มีการเอารถปื๊กอัพขนคนมาท่วมท้น กกต.ไม่สงสัยเลยหรือ แต่ตนสงสัยว่ามีนัยยะซ้อนเร้าปกปิดอำพราง ประเด็นการเปลี่ยนหีบ สมมุติมีการเอาหีบไปไว้ในค่าย หรือเกณฑ์คนมาเลี้ยงขนมจีนเสร็จแล้วไปลงคะแนนในค่ายจะทำอย่างไร
“ หวังว่ากกต.จะไม่ถอดใจชิงลาออกก่อนการเลือกตั้งที่จะมาถึง สมมุติลาไปซักสามคนยุ่งแน่เพราะนายกฯยุบสภาแล้ว สภาก็ไม่มีจะทำอย่างไร กกต. ต้องออกมายืนยันว่าไม่ลาออก จะทำหน้าที่ต่อไป ไม่ใช่ว่ามีมือที่มองไม่เห็นมาบีบให้ลาออกไปจะยุ่งแน่ ยิ่งที่ข่าวลือต่างๆ เช่นเรื่องปฏิวัติอยู่หนาหู ถ้ากกต.เอียงนิดเดียวจะเป็นจุดชนวนให้สังคมระแวงสงสัย และการปรองดองก็จะทำไม่ได้”
น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม กล่าวว่าขณะนี้เริ่มมีการประมูลงานเกิดขึ้นเมื่อรู้ว่าจะมีการเลือกตั้งในเร็วๆนี้ เช่นพาคนไปดูงาน เอาเงินหลวงมาซื้อเสียง กกต.จ้องจับผิดแต่ส.ส. แต่ผู้ที่จะสมัครกลับไม่มีการตรวจสอบ ต้องเปลี่ยนความคิดไม่ใช่จ้องจับเฉพาะซื้อเสียง
นายธนิตพล ไชยนันทน์ ส.ส.ตาก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กกต. ควรเน้นเรื่องการป้องกันซื้อสิทธิขายเสียง เพื่อให้การเลือกตั้งครั้งหน้าจะได้ผู้แทนดีดีเข้ามาสภา การเมืองไทยจะได้พัฒนา แต่มีความเป็นเรื่องห่วงหลักเกณฑ์ของกกต. ควรจะมีการระบุออกมาให้ชัดเจนว่า อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ เพื่อให้ผู้จะลงสมัครได้รับทราบล่วงหน้า และกรณีบางพรรคการเมืองที่มีการเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ชุมนุม เมื่อมีการเลือกตั้งมักจะมีการเคลื่อนไหวขัดขวางการเลือกตั้ง กกต.ควรเข้มงวดกำหนดบทลงโทษให้ชัดเจน
รายงานข่าวแจ้งว่า ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) 36 คน ใน ค่ำวานนี้(23 มี.ค.) โดยใช้เวลาพิจารณา 2 สัปดาห์
**วิปรัฐฯคาดกลางเมษาฯฉลุย
นายวิทยา แก้วภราดัย ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ในชั้นกรรมาธิการทางกกต.ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมในชุดนี้ด้วย พร้อมยืนยันจะเดินหน้าตามแผนที่นายกรัฐมนตรีได้วางไว้ ซึ่งคาดว่ากลางเดือนเมษายนจะพิจารณาในส่วนของสภาผู้แทนราษฎรแล้วเสร็จ และจะส่งให้วุฒิสภาพิจาณาต่อ ทั้งนี้หากร่างดังกล่าวไม่ผ่านหรือเสร็จไม่ทัน นายกรัฐมนตรีก็สามารถยุบสภาได้ เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจกับทางกกต.ในการออกกฎหมายเพื่อเตรียมการเลือกตั้ง
**วิปวุฒิฯ คาดไม่เกิน 11 เม.ย.
นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ในฐานะประธานวิปวุฒิสภา กล่าวว่า ได้มอบหมายให้คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ ได้ศึกษาร่างกฎหมายไปก่อน ซึ่งวุฒิสภาได้วางกรอบเวลาว่าหากสภาพิจารณาเสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 เม.ย. ก็สามารรถบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมทันทีได้ในวันที่ 4 เม.ย.โดยกำหนดการแปรญัตติและพิจารณาในชั้นกรรมาธิการประมาณ 7 วัน จากนั้นจะเข้าสู่การพิจารณาในวาระ2-3 ในวันที่ 11เม.ย.จึงเชื่อว่าวุฒิสภาจะพิจารณาเสร็จสิ้นก่อนช่วงสงกรานต์.