สึนามิเพรียกหาสึนามิตร
ทุกชีวิตทุกวัยเหมือนใกล้ค่ำ
มาเถิดมิตรเผชิญหน้าชะตากรรม
ร่วมเช็ดน้ำตาช่วยด้วยน้ำมิตรฯ
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์/16 มี.ค.54
สึนามิลูกไหนๆ ไม่แรงเท่า
สึนามิความขลาดเขลาเอาแต่ได้
สึนามิการเมืองเน่าชำเราไทย
สึนามิการล่าไล่ของกรรมเวร
ผู้อ่าน /20 มี.ค. 54
...................................................
อากาศแปรปรวน สุขภาพไม่ค่อยสมบูรณ์สมองไม่สดใส ผมเลยเอาบทกวีของ “พี่เนาว์” และท่านผู้อ่านที่ส่งเข้าโทรศัพท์มือถือของผมมานำทางอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย หรือไม่มีอะไรมากไปกว่าชอบบทกวีทั้ง 2 ชิ้น ชิ้นแรกอ่านแล้วได้อารมณ์ความรักในมวลมนุษย์และสัจธรรมของชีวิตของโลก ส่วนชิ้นหลังได้อารมณ์ความรู้สึกความหดหู่ต่อการเมืองไทย แต่ก็ไม่สิ้นหวังเสียทีเดียวเพราะยังมีวลีที่ว่า “การล่าไล่ของกรรมเวร”
ครับ นั่งอ่านข่าวชมข่าวยามนี้แล้วรู้สึกหัวใจแป้วๆ เหี่ยวๆ อย่างไรก็บอกไม่ถูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีการที่ประเทศมหาอำนาจในนาม “พันธมิตร” ปฏิบัติการถล่มลิเบียกันอย่างไม่ยั้งมือยั้งเท้า ในขณะที่ผู้นำที่ผูกขาดอำนาจมายาวนาน 42 ปีอย่าง “กัดดาฟี” ก็ประกาศสู้ตาย...และประเทศไทยเองก็อิหลักอิเหลื่อในการเข้าร่วมขบวนการคว่ำบาตรลิเบีย...
ทำไมโลกใบนี้ถึงได้เข่นฆ่ากันได้ไม่รู้จักจบเยี่ยงนี้...จะมีวันที่ “สึนามิตร” แผ่คลุมโอบอุ้มโลกใบนี้ไหมหนอ...ถ้าโลกสามารถพูดได้มันคงร้องตะโกนว่า..พอแล้วโว้ย หยุดฆ่ากันได้แล้วโว้ย กูเบื่อแล้วโว้ย....รึเปล่า!?
ครับ บ่นเล่นๆ ไปยังงั้นแหละครับ บ่นแก้เซ็ง...
อันที่จริงถ้าย้อนมองการลุกฮือของประชาชนในแอฟริกาเหนือ จนมาถึงโลกอาหรับ ตั้งแต่ตูนิเซียจนมาถึงลิเบียและอีกหลายประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นโลกมุสลิม ก็พอจะได้ข้อสรุปร่วมถึงสาเหตุของการลุกฮือได้ 2 ประการสำคัญ..
1) แม้โลกอาหรับจะเป็นแหล่งน้ำมัน แทบทุกประเทศร่ำรวยมหาศาลจากน้ำมัน แต่ภายในประเทศผู้คนส่วนใหญ่ยังยากจน ว่างงาน มีความเหลื่อมล้ำอย่างมากระหว่างประชาชนกับชนชั้นปกครองหรือชนชั้นนำผู้ครองนคร
2) ความเก็บกดหรือแรงกดดันทางการเมือง อันเนื่องจากผู้นำส่วนใหญ่จะยึดครองอำนาจต่อเนื่องยาวนาน โดยเมื่อขึ้นมามีอำนาจแล้วก็ใช้อำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญเปิดทางให้ตัวเองอยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาทิ
- ตูนิเซีย ผู้นำอย่างเบล อาลีแก้รัฐธรรมนูญให้ผู้นำอยู่ในอำนาจได้ไม่จำกัดวาระและเขาก็อยู่ได้ถึง 23 ปี ก่อนถูกโค่น
- อียิปต์ มูบารัคเป็นผู้นำติดต่อกัน 4 สมัยๆ ละ 6 ปี
- เยเมน ดินแดนที่กลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะห์ใช้เป็นฐานเคลื่อนไหวใหญ่ ผู้นำคนปัจจุบันเป็นประธานาธิบดีมาแล้ว 3 วาระๆ ละ 7 ปี
-ลิเบีย พันเอกโมอัมมาร์ กัดดาฟีอยู่ในอำนาจมาแล้ว 42 ปี
ฯลฯ
โดยภาพรวมความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นโรคระบาด จึงมิใช่เพราะการแทรกแซงของกลุ่มอัลกออิดะห์ที่ชูธง “รัฐอิสลาม” แต่มันคือสึนามิการลุกฮือของประชาชนที่ยากจนข้นแค้นมีความเก็บกดทางการเมือง สะท้อนถึงความไม่พอใจต่อผู้นำของตัวเอง เป็นการต่อสู้เรียกร้องเพื่อเสรีภาพประชาธิปไตยขั้นพื้นฐานของมนุษย์ จึงไม่แปลกที่ไม่ว่ากรณีตูนิเซียหรืออียิปต์ ซึ่งเป็นประเทศที่โปรอเมริกาแท้ๆ แต่อเมริกาก็ไม่ปกป้องผู้นำที่ถูกขับไล่
หากหันมามองในบ้านเรา ก็สามารถกล่าวได้ว่าประชาชนได้ลุกฮือขึ้นต่อสู้เพราะ “ความเก็บกดทางการเมือง” มาแล้วหลายครั้ง ครั้งที่ยิ่งใหญ่มากก็คือ 14 ตุลาคม 2516 ขับไล่รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เรียกร้องรัฐธรรมนูญ, กรณีพฤษภาทมิฬ 2535 ที่คณะนายทหารภายใต้รหัส 0143 นำโดย จปร.5 วางแผนยึดครองอำนาจนานนับ 10 ปี แต่ถูกประชาชนขับไล่ และล่าสุดกรณีขับไล่รัฐบาลทักษิณ เมื่อปี 2549 อันเนื่องจากการคอร์รัปชันเชิงนโยบายและวางแผนอยู่ในอำนาจนานนับสิบปีภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่มีทุนนิยมสามานย์กำกับควบคุม...
จะว่าไปโจทย์ของประเทศไทยนั้น วันนี้แม้ปัญหาเศรษฐกิจจะ “รวยกระจุก จนกระจาย” แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นวิกฤตเหมือนหลายๆ ประเทศในโลกนี้ และในทางการเมืองก็ได้ข้ามพ้นการยึดครองผูกขาดอำนาจแต่ผู้เดียวอย่างหลายประเทศในโลกอาหรับมาระดับหนึ่งแล้ว โจทย์จึงไม่น่าจะอยู่ตรงนี้ หากแต่อยู่ที่ปัญหาการทุจริตคดโกงที่หนักหน่วงรุนแรงมากขึ้นทุกวัน โดยมีนักการเมืองไม่กี่กลุ่มผลัดกันสวาปามผลประโยชน์และรัฐไทยไม่สามารถหยุดวงจรนี้ได้...หรือยังไม่สามารถออกแบบการเมืองที่จะลดทอนความเลวร้ายเหล่านี้ลงได้...
จึงไม่แปลกที่เป็นเวลาไม่น้อยกว่าทศวรรษมาแล้ว ที่ประชาชนในหลายภาคส่วนเรียกร้อง เคลื่อนไหวให้มีการปฏิรูปใหญ่ประเทศไทย แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จเป็นชิ้นเป็นอัน ความสำเร็จที่เกิดขึ้นบ้างก็เป็นเพียงบางบริบทหรือบางกรณีเท่านั้น และส่วนใหญ่ก็จะเป็นประเด็นทางการเมือง เช่นปี 2535 แก้ไขให้นายกรัฐมนตรีมาจาก ส.ส. (ซึ่งวันนี้ก็มีหลายสุ้มเสียงบอกว่าเป็นปัญหา), ปี 2540 ได้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน หรือกรณีเล็กๆ ล่าสุดปี 2553 นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตกใจจากกรณีความเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง ก็ตั้งคณะปฏิรูปขึ้นมา 2 ชุด ที่ยังไม่สามารถตอบโจทย์อะไรได้...
วันนี้มีเสียงเรียกร้อง มีความเคลื่อนไหวให้ปฏิรูปใหญ่ประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง แต่จะเป็นสึนามิลูกใหญ่หรือไม่อย่างไรต้องรอดูกันอีกที..!?
samr_rod@hotmail.com
ทุกชีวิตทุกวัยเหมือนใกล้ค่ำ
มาเถิดมิตรเผชิญหน้าชะตากรรม
ร่วมเช็ดน้ำตาช่วยด้วยน้ำมิตรฯ
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์/16 มี.ค.54
สึนามิลูกไหนๆ ไม่แรงเท่า
สึนามิความขลาดเขลาเอาแต่ได้
สึนามิการเมืองเน่าชำเราไทย
สึนามิการล่าไล่ของกรรมเวร
ผู้อ่าน /20 มี.ค. 54
...................................................
อากาศแปรปรวน สุขภาพไม่ค่อยสมบูรณ์สมองไม่สดใส ผมเลยเอาบทกวีของ “พี่เนาว์” และท่านผู้อ่านที่ส่งเข้าโทรศัพท์มือถือของผมมานำทางอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย หรือไม่มีอะไรมากไปกว่าชอบบทกวีทั้ง 2 ชิ้น ชิ้นแรกอ่านแล้วได้อารมณ์ความรักในมวลมนุษย์และสัจธรรมของชีวิตของโลก ส่วนชิ้นหลังได้อารมณ์ความรู้สึกความหดหู่ต่อการเมืองไทย แต่ก็ไม่สิ้นหวังเสียทีเดียวเพราะยังมีวลีที่ว่า “การล่าไล่ของกรรมเวร”
ครับ นั่งอ่านข่าวชมข่าวยามนี้แล้วรู้สึกหัวใจแป้วๆ เหี่ยวๆ อย่างไรก็บอกไม่ถูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีการที่ประเทศมหาอำนาจในนาม “พันธมิตร” ปฏิบัติการถล่มลิเบียกันอย่างไม่ยั้งมือยั้งเท้า ในขณะที่ผู้นำที่ผูกขาดอำนาจมายาวนาน 42 ปีอย่าง “กัดดาฟี” ก็ประกาศสู้ตาย...และประเทศไทยเองก็อิหลักอิเหลื่อในการเข้าร่วมขบวนการคว่ำบาตรลิเบีย...
ทำไมโลกใบนี้ถึงได้เข่นฆ่ากันได้ไม่รู้จักจบเยี่ยงนี้...จะมีวันที่ “สึนามิตร” แผ่คลุมโอบอุ้มโลกใบนี้ไหมหนอ...ถ้าโลกสามารถพูดได้มันคงร้องตะโกนว่า..พอแล้วโว้ย หยุดฆ่ากันได้แล้วโว้ย กูเบื่อแล้วโว้ย....รึเปล่า!?
ครับ บ่นเล่นๆ ไปยังงั้นแหละครับ บ่นแก้เซ็ง...
อันที่จริงถ้าย้อนมองการลุกฮือของประชาชนในแอฟริกาเหนือ จนมาถึงโลกอาหรับ ตั้งแต่ตูนิเซียจนมาถึงลิเบียและอีกหลายประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นโลกมุสลิม ก็พอจะได้ข้อสรุปร่วมถึงสาเหตุของการลุกฮือได้ 2 ประการสำคัญ..
1) แม้โลกอาหรับจะเป็นแหล่งน้ำมัน แทบทุกประเทศร่ำรวยมหาศาลจากน้ำมัน แต่ภายในประเทศผู้คนส่วนใหญ่ยังยากจน ว่างงาน มีความเหลื่อมล้ำอย่างมากระหว่างประชาชนกับชนชั้นปกครองหรือชนชั้นนำผู้ครองนคร
2) ความเก็บกดหรือแรงกดดันทางการเมือง อันเนื่องจากผู้นำส่วนใหญ่จะยึดครองอำนาจต่อเนื่องยาวนาน โดยเมื่อขึ้นมามีอำนาจแล้วก็ใช้อำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญเปิดทางให้ตัวเองอยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาทิ
- ตูนิเซีย ผู้นำอย่างเบล อาลีแก้รัฐธรรมนูญให้ผู้นำอยู่ในอำนาจได้ไม่จำกัดวาระและเขาก็อยู่ได้ถึง 23 ปี ก่อนถูกโค่น
- อียิปต์ มูบารัคเป็นผู้นำติดต่อกัน 4 สมัยๆ ละ 6 ปี
- เยเมน ดินแดนที่กลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะห์ใช้เป็นฐานเคลื่อนไหวใหญ่ ผู้นำคนปัจจุบันเป็นประธานาธิบดีมาแล้ว 3 วาระๆ ละ 7 ปี
-ลิเบีย พันเอกโมอัมมาร์ กัดดาฟีอยู่ในอำนาจมาแล้ว 42 ปี
ฯลฯ
โดยภาพรวมความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นโรคระบาด จึงมิใช่เพราะการแทรกแซงของกลุ่มอัลกออิดะห์ที่ชูธง “รัฐอิสลาม” แต่มันคือสึนามิการลุกฮือของประชาชนที่ยากจนข้นแค้นมีความเก็บกดทางการเมือง สะท้อนถึงความไม่พอใจต่อผู้นำของตัวเอง เป็นการต่อสู้เรียกร้องเพื่อเสรีภาพประชาธิปไตยขั้นพื้นฐานของมนุษย์ จึงไม่แปลกที่ไม่ว่ากรณีตูนิเซียหรืออียิปต์ ซึ่งเป็นประเทศที่โปรอเมริกาแท้ๆ แต่อเมริกาก็ไม่ปกป้องผู้นำที่ถูกขับไล่
หากหันมามองในบ้านเรา ก็สามารถกล่าวได้ว่าประชาชนได้ลุกฮือขึ้นต่อสู้เพราะ “ความเก็บกดทางการเมือง” มาแล้วหลายครั้ง ครั้งที่ยิ่งใหญ่มากก็คือ 14 ตุลาคม 2516 ขับไล่รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เรียกร้องรัฐธรรมนูญ, กรณีพฤษภาทมิฬ 2535 ที่คณะนายทหารภายใต้รหัส 0143 นำโดย จปร.5 วางแผนยึดครองอำนาจนานนับ 10 ปี แต่ถูกประชาชนขับไล่ และล่าสุดกรณีขับไล่รัฐบาลทักษิณ เมื่อปี 2549 อันเนื่องจากการคอร์รัปชันเชิงนโยบายและวางแผนอยู่ในอำนาจนานนับสิบปีภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่มีทุนนิยมสามานย์กำกับควบคุม...
จะว่าไปโจทย์ของประเทศไทยนั้น วันนี้แม้ปัญหาเศรษฐกิจจะ “รวยกระจุก จนกระจาย” แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นวิกฤตเหมือนหลายๆ ประเทศในโลกนี้ และในทางการเมืองก็ได้ข้ามพ้นการยึดครองผูกขาดอำนาจแต่ผู้เดียวอย่างหลายประเทศในโลกอาหรับมาระดับหนึ่งแล้ว โจทย์จึงไม่น่าจะอยู่ตรงนี้ หากแต่อยู่ที่ปัญหาการทุจริตคดโกงที่หนักหน่วงรุนแรงมากขึ้นทุกวัน โดยมีนักการเมืองไม่กี่กลุ่มผลัดกันสวาปามผลประโยชน์และรัฐไทยไม่สามารถหยุดวงจรนี้ได้...หรือยังไม่สามารถออกแบบการเมืองที่จะลดทอนความเลวร้ายเหล่านี้ลงได้...
จึงไม่แปลกที่เป็นเวลาไม่น้อยกว่าทศวรรษมาแล้ว ที่ประชาชนในหลายภาคส่วนเรียกร้อง เคลื่อนไหวให้มีการปฏิรูปใหญ่ประเทศไทย แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จเป็นชิ้นเป็นอัน ความสำเร็จที่เกิดขึ้นบ้างก็เป็นเพียงบางบริบทหรือบางกรณีเท่านั้น และส่วนใหญ่ก็จะเป็นประเด็นทางการเมือง เช่นปี 2535 แก้ไขให้นายกรัฐมนตรีมาจาก ส.ส. (ซึ่งวันนี้ก็มีหลายสุ้มเสียงบอกว่าเป็นปัญหา), ปี 2540 ได้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน หรือกรณีเล็กๆ ล่าสุดปี 2553 นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตกใจจากกรณีความเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง ก็ตั้งคณะปฏิรูปขึ้นมา 2 ชุด ที่ยังไม่สามารถตอบโจทย์อะไรได้...
วันนี้มีเสียงเรียกร้อง มีความเคลื่อนไหวให้ปฏิรูปใหญ่ประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง แต่จะเป็นสึนามิลูกใหญ่หรือไม่อย่างไรต้องรอดูกันอีกที..!?
samr_rod@hotmail.com