ASTVผู้จัดการรายวัน-กบง.เห็นชอบชดเชยราคาดีเซลเพิ่มอีกลิตรละ 40 สตางค์ ตรึงราคาไม่ให้เกิน 30 บาท ส่งผลให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอุ้มดีเซล รวมแล้ว 5.10 บาทต่อลิตร ฐานะกองทุนน้ำมันเหลือ 1.5 หมื่นล้านบาท ยันดูแลได้ถึงสิ้นเม.ย. แต่ต้องเกาะติดตามตลาดโลกใกล้ชิด ยังผวาตะวันออกกลางไม่จบน้ำมันส่อแตะ 140 เหรียญสหรัฐ
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยหลังการเป็นประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) วานนี้ (22 มี.ค.) ว่า กบง.ได้มีมติเห็นชอบให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชดเชยราคาน้ำมันดีเซล (บี 2) ให้กับผู้ค้าน้ำมันเพิ่มอีกลิตรละ 40 สตางค์ เพื่อตรึงราคาขายปลีกดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ตามนโยบายรัฐบาล ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ ชดเชยราคาดีเซลรวมเป็น 5.10 บาทต่อลิตรจากเดิม 4.70 บาทต่อลิตร โดยสถานะกองทุนน้ำมันฯ ที่มีเงินสุทธิ ประมาณ 15,000 ล้านบาท หากราคาน้ำมันอยู่ในระดับดังกล่าว จะยังตรึงราคาดีเซลไปได้ถึงสิ้นเดือนเม.ย.นี้
ทั้งนี้ หากกบง.ไม่ชดเชย ผู้ค้าต้องขึ้นราคาดีเซล เนื่องจากค่าการตลาดต่ำ โดยน้ำมันดิบดูไบเมื่อวันที่ 21 มี.ค.อยู่ที่ระดับ 108.77 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปรับขึ้นมาถึง 2.82 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เมื่อเทียบกับวันที่ 17 มี.ค. ซึ่งอยู่ที่ 105.95 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เช่นเดียวกับราคาดีเซลตลาดสิงคโปร์วันที่ 21มี.ค.อยู่ที่ 131.80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปรับขึ้นมาถึง 1.19
เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เมื่อเทียบกับวันที่ 17มี.ค.ที่ดีเซลอยู่ระดับ 129.89 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จึงส่งผลให้ค่าการตลาดดีเซลลดต่ำเหลือเพียง 71 สตางค์ต่อลิตร เมื่อกองทุนน้ำมันฯ เข้ามาชดเชยเพิ่ม ทำให้ค่าการตลาดขยับเป็น 1.14 บาทต่อลิตร
“การชดเชยของกองทุนน้ำมันฯ ครั้งนี้ ทำให้เงินไหลออกจากกองทุนน้ำมันฯ จากวันละ 285.9 ล้านบาทเพิ่มเป็นวันละ 307.1 ล้านบาท หรือจากเดือนละ 8,862 ล้านบาท เพิ่มเป็น 9,520 ล้านบาทต่อเดือน ขณะที่การชดเชยที่ผ่านมา ได้ใช้เงินไปแล้วทั้งสิ้น 13,724 ล้านบาท”
สำหรับการเข้าควบคุมสถานการณ์ในลิเบียโดยชาติพันธมิตร ส่งผลให้ระดับราคาน้ำมันดิบตลาดโลกมีการอ่อนตัวมาระดับหนึ่ง แต่ภาพรวมขณะนี้ราคาน้ำมันดิบคงจะยืนอยู่เหนือระดับ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ยังไม่สามารถจะคาดเดาได้ว่าจะไปในทิศทางใดกันแน่ ซึ่งหากเลวร้ายขึ้น ยอมรับว่าจะส่งผลต่อระดับราคาน้ำมันให้ปรับตัวสูงขึ้นได้อัก โดยมีโอกาสที่จะสูงถึง 140 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในช่วงวิกฤติน้ำมันปี 2551
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพลังงานได้มีแผนการส่งเสริมแนวทางการประหยัดและการใช้พลังงานทดแทน เพื่อลดผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการประหยัดพลังงานนั้นยอมรับว่าส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของจิตสำนึก ทุกฝ่ายจะต้องรวมมือกัน และการประหยัดทีได้ผลดี คือ การวางระบบขนส่งที่จะต้องหันไปพึ่งพิงระบบรางให้มากขึ้น
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยหลังการเป็นประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) วานนี้ (22 มี.ค.) ว่า กบง.ได้มีมติเห็นชอบให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชดเชยราคาน้ำมันดีเซล (บี 2) ให้กับผู้ค้าน้ำมันเพิ่มอีกลิตรละ 40 สตางค์ เพื่อตรึงราคาขายปลีกดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ตามนโยบายรัฐบาล ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ ชดเชยราคาดีเซลรวมเป็น 5.10 บาทต่อลิตรจากเดิม 4.70 บาทต่อลิตร โดยสถานะกองทุนน้ำมันฯ ที่มีเงินสุทธิ ประมาณ 15,000 ล้านบาท หากราคาน้ำมันอยู่ในระดับดังกล่าว จะยังตรึงราคาดีเซลไปได้ถึงสิ้นเดือนเม.ย.นี้
ทั้งนี้ หากกบง.ไม่ชดเชย ผู้ค้าต้องขึ้นราคาดีเซล เนื่องจากค่าการตลาดต่ำ โดยน้ำมันดิบดูไบเมื่อวันที่ 21 มี.ค.อยู่ที่ระดับ 108.77 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปรับขึ้นมาถึง 2.82 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เมื่อเทียบกับวันที่ 17 มี.ค. ซึ่งอยู่ที่ 105.95 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เช่นเดียวกับราคาดีเซลตลาดสิงคโปร์วันที่ 21มี.ค.อยู่ที่ 131.80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปรับขึ้นมาถึง 1.19
เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เมื่อเทียบกับวันที่ 17มี.ค.ที่ดีเซลอยู่ระดับ 129.89 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จึงส่งผลให้ค่าการตลาดดีเซลลดต่ำเหลือเพียง 71 สตางค์ต่อลิตร เมื่อกองทุนน้ำมันฯ เข้ามาชดเชยเพิ่ม ทำให้ค่าการตลาดขยับเป็น 1.14 บาทต่อลิตร
“การชดเชยของกองทุนน้ำมันฯ ครั้งนี้ ทำให้เงินไหลออกจากกองทุนน้ำมันฯ จากวันละ 285.9 ล้านบาทเพิ่มเป็นวันละ 307.1 ล้านบาท หรือจากเดือนละ 8,862 ล้านบาท เพิ่มเป็น 9,520 ล้านบาทต่อเดือน ขณะที่การชดเชยที่ผ่านมา ได้ใช้เงินไปแล้วทั้งสิ้น 13,724 ล้านบาท”
สำหรับการเข้าควบคุมสถานการณ์ในลิเบียโดยชาติพันธมิตร ส่งผลให้ระดับราคาน้ำมันดิบตลาดโลกมีการอ่อนตัวมาระดับหนึ่ง แต่ภาพรวมขณะนี้ราคาน้ำมันดิบคงจะยืนอยู่เหนือระดับ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ยังไม่สามารถจะคาดเดาได้ว่าจะไปในทิศทางใดกันแน่ ซึ่งหากเลวร้ายขึ้น ยอมรับว่าจะส่งผลต่อระดับราคาน้ำมันให้ปรับตัวสูงขึ้นได้อัก โดยมีโอกาสที่จะสูงถึง 140 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในช่วงวิกฤติน้ำมันปี 2551
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพลังงานได้มีแผนการส่งเสริมแนวทางการประหยัดและการใช้พลังงานทดแทน เพื่อลดผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการประหยัดพลังงานนั้นยอมรับว่าส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของจิตสำนึก ทุกฝ่ายจะต้องรวมมือกัน และการประหยัดทีได้ผลดี คือ การวางระบบขนส่งที่จะต้องหันไปพึ่งพิงระบบรางให้มากขึ้น