ASTVผู้จัดการรายวัน-"คมนาคม"ยันเดินหน้าปากบาราเป็นท่าเรือน้ำลึกเตรียมรวบรวมรายละเอียดเพิ่มพร้อมทำความเข้าใจประชาชนก่อนชงครม.อีก5-6เดือน ยอมรับไม่ทันรัฐบาลชุดนี้ "สุพจน์"เผยแบบพร้อมประมูล ผ่านสิ่งแวดล้อมเรียบร้อย "จักรมณฑ์"ชี้ต้องเร่งตัดสินใจยิ่งช้าประเทศยิ่งเสียประโยชน์ยันภาคใต้ไทยต้องมีท่าเรือด้านสมาคมเรือกรุงเทพฯ ค้าน ชี้ปริมาณสิน้ามีน้อยลงทุนไม่คุ้ม ขณะที่หอการค้าสงขลาหนุนยันสินค้ามีพอและเติบโตทุกปี
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูลในงานสัมมนา "ท่าเรือน้ำลึกปากบาราเศรษฐกิจไทย ได้หรือเสีย" วานนี้ (22มี.ค.) ว่า กระทรวงคมนาคมยืนยันนโยบายในการก่อสร้างท่าเรือปากบาราเป็นท่าเรือน้ำลีก โดยจะรวบรวมข้อมูลรายละเอียดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้ง โดยขณะนี้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว พร้อมทั้งมีแบบและเอกสารพร้อมสำหรับการประกวดราคารวมถึงได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้วเช่นกัน โดยไม่สามารถเสนอได้ทันรัฐบาลชุดนี้ เนื่องจากคาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ5-6เดือนในการทำรายละเอียดเพิ่มเติมตามที่ครม.มีมติ ใน3เรื่อง ให้ศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ เมื่อมีท่าเรือปากบารา ระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่งและแผนดำเนินการท่าเรือสงขลา2
ทั้งนี้ หากโครงการได้รับความเห็นชอบจากครม.แล้ว อาจจะต้องมีการประเมินค่าก่อสร้างอีกครั้ง และจะเปิดประกวดราคาแบบนานาชาติ (International Bidding) ส่วนกรณีที่มีการคัดค้านว่าจะทำให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้น กระทรวงคมนาคมยืนยันว่า พื้นที่ท่าเรือจะอยู่ในทะเลทั้งหมด4,700ไร่ และไม่มีพื้นที่หลังท่าสำหรับทำอุตสาหกรรมใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งระหว่างนี้ กรมเจ้าท่า (จท.) จะเร่งลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนที่ยังได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม การก่อสร้่างเป็นท่าเรือน้ำลึกจะเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น สามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ประมาณ60,000ล้านบาทต่อปี จากการส่งออกที่ปากบาราแทนปีนังและสิงคโปร์และลดเวลาในการขนส่งไปอเมริกาและยุโรป และยังเป็นจุดรองรับสินค้าจากจีนตอนล่างที่มาโดยรถไฟ ซึ่งจีนจะลงทุนมาถึงสิงคโปร์
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี) กล่าวว่า พื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยจำเป็นต้องมีท่าเทียบเรือน้ำลึกเป็นแลนด์บริดจ์ เพื่อเชื่อมระหว่างฝั่งอันดามันกับอ่าวไทย ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพและเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ ส่วนกรณีที่มีการคัดค้านของคนในพื้นที่ด้านสิ่งแวดล้อมนั้น เห็นว่าทุกโครงการมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งต้องนำมาเปรียบเทียบกันและตัดสินใจเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมในระยะยาว ในขณะเดียวประเด็นที่เป็นผลกระทบก็ต้องหาแนวทางลดความสูญเสีย โดยเห็นว่าหากตัดสินใจดำเนินโครงการล่าช้ามากเท่าไรก็ยิ่งทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสมากเท่านั้น
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิริ อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า ตามแผนท่าเรือสงขลาจะมีพื้นที่หลังท่าสำหรับอุตสาหรรมต่างๆประมาณ2,300ไร่ ดังนั้น จะมีระบบคมนาคมขนส่งสามารถเชื่อมการใช้ประโยชน์ของทั้งท่าเรือสงขลา2และปากบาราได้และไม่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมแน่นอน นอกจากนี้ จะต้องมีการปรับแผนดำเนินการออกไปอีก1ปี เนื่องจากต้องรอการทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่และการเสนอครม.อีกครั้ง
นายสุวัฒน์ อัศวทองกุล นายกสมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพฯ กล่าวว่า ในฐานะผู้ประกอบการไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้่างท่าเรือปากบารา เนื่องจากภาคใต้ตอนล่างมีสินค้าส่งออกจำนวนจำกัดประมาณ1.5แสนทีอียูเท่านั้น เช่น ยางพาราและอาหารทะเล และส่งออกทางท่าเรือสงขลา1ประมาณ7หมื่นทีอียูที่เหลือส่งออกทางท่าเรือปีนัง ส่วนภาคใต้ตอนบนมีสินค้า7-8หมื่นทีอียูต่อปีใช้ท่าเรือแหลมฉบัง โดยขนส่งทางรถไฟ และเรือชายฝั่ง โดยเห็นว่าภาครัฐควรเร่งรัดการก่อสร้างท่าเรือสงขลา2เพื่อดึงสินค้าที่ส่งออกทางท่าเรือปีนังมาใช้ เพราะมีความสะดวกกว่า
นายสุรชัย จิตภักดีบดินทร์ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลากล่าวว่า สนับสนุนท่าเรือปากบาราเต็มที่ เพราะข้อเท็จจริงขณะนี้ปริมาณสินค้าผ่านทางด่านสะเดาสูงถึง5แสนทีอียูและปี 2555 จะเพิ่มเป็น8 แสนทีอียู ทำให้ขณะนี้มีปัญหาจรจาอย่างมากโดยการเดินทางจากหาดใหญ่ถึงสะเดาระยะทาง60กิโลเมตรจากที่ใช้เวลา45นาทีเป็น1.30ชั่วโมงแล้ว ดังนั้น การมีท่าเรือในประเทศจึงจำเป็นและลดปัญหาได้มาก
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูลในงานสัมมนา "ท่าเรือน้ำลึกปากบาราเศรษฐกิจไทย ได้หรือเสีย" วานนี้ (22มี.ค.) ว่า กระทรวงคมนาคมยืนยันนโยบายในการก่อสร้างท่าเรือปากบาราเป็นท่าเรือน้ำลีก โดยจะรวบรวมข้อมูลรายละเอียดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้ง โดยขณะนี้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว พร้อมทั้งมีแบบและเอกสารพร้อมสำหรับการประกวดราคารวมถึงได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้วเช่นกัน โดยไม่สามารถเสนอได้ทันรัฐบาลชุดนี้ เนื่องจากคาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ5-6เดือนในการทำรายละเอียดเพิ่มเติมตามที่ครม.มีมติ ใน3เรื่อง ให้ศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ เมื่อมีท่าเรือปากบารา ระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่งและแผนดำเนินการท่าเรือสงขลา2
ทั้งนี้ หากโครงการได้รับความเห็นชอบจากครม.แล้ว อาจจะต้องมีการประเมินค่าก่อสร้างอีกครั้ง และจะเปิดประกวดราคาแบบนานาชาติ (International Bidding) ส่วนกรณีที่มีการคัดค้านว่าจะทำให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้น กระทรวงคมนาคมยืนยันว่า พื้นที่ท่าเรือจะอยู่ในทะเลทั้งหมด4,700ไร่ และไม่มีพื้นที่หลังท่าสำหรับทำอุตสาหกรรมใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งระหว่างนี้ กรมเจ้าท่า (จท.) จะเร่งลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนที่ยังได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม การก่อสร้่างเป็นท่าเรือน้ำลึกจะเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น สามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ประมาณ60,000ล้านบาทต่อปี จากการส่งออกที่ปากบาราแทนปีนังและสิงคโปร์และลดเวลาในการขนส่งไปอเมริกาและยุโรป และยังเป็นจุดรองรับสินค้าจากจีนตอนล่างที่มาโดยรถไฟ ซึ่งจีนจะลงทุนมาถึงสิงคโปร์
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี) กล่าวว่า พื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยจำเป็นต้องมีท่าเทียบเรือน้ำลึกเป็นแลนด์บริดจ์ เพื่อเชื่อมระหว่างฝั่งอันดามันกับอ่าวไทย ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพและเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ ส่วนกรณีที่มีการคัดค้านของคนในพื้นที่ด้านสิ่งแวดล้อมนั้น เห็นว่าทุกโครงการมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งต้องนำมาเปรียบเทียบกันและตัดสินใจเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมในระยะยาว ในขณะเดียวประเด็นที่เป็นผลกระทบก็ต้องหาแนวทางลดความสูญเสีย โดยเห็นว่าหากตัดสินใจดำเนินโครงการล่าช้ามากเท่าไรก็ยิ่งทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสมากเท่านั้น
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิริ อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า ตามแผนท่าเรือสงขลาจะมีพื้นที่หลังท่าสำหรับอุตสาหรรมต่างๆประมาณ2,300ไร่ ดังนั้น จะมีระบบคมนาคมขนส่งสามารถเชื่อมการใช้ประโยชน์ของทั้งท่าเรือสงขลา2และปากบาราได้และไม่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมแน่นอน นอกจากนี้ จะต้องมีการปรับแผนดำเนินการออกไปอีก1ปี เนื่องจากต้องรอการทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่และการเสนอครม.อีกครั้ง
นายสุวัฒน์ อัศวทองกุล นายกสมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพฯ กล่าวว่า ในฐานะผู้ประกอบการไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้่างท่าเรือปากบารา เนื่องจากภาคใต้ตอนล่างมีสินค้าส่งออกจำนวนจำกัดประมาณ1.5แสนทีอียูเท่านั้น เช่น ยางพาราและอาหารทะเล และส่งออกทางท่าเรือสงขลา1ประมาณ7หมื่นทีอียูที่เหลือส่งออกทางท่าเรือปีนัง ส่วนภาคใต้ตอนบนมีสินค้า7-8หมื่นทีอียูต่อปีใช้ท่าเรือแหลมฉบัง โดยขนส่งทางรถไฟ และเรือชายฝั่ง โดยเห็นว่าภาครัฐควรเร่งรัดการก่อสร้างท่าเรือสงขลา2เพื่อดึงสินค้าที่ส่งออกทางท่าเรือปีนังมาใช้ เพราะมีความสะดวกกว่า
นายสุรชัย จิตภักดีบดินทร์ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลากล่าวว่า สนับสนุนท่าเรือปากบาราเต็มที่ เพราะข้อเท็จจริงขณะนี้ปริมาณสินค้าผ่านทางด่านสะเดาสูงถึง5แสนทีอียูและปี 2555 จะเพิ่มเป็น8 แสนทีอียู ทำให้ขณะนี้มีปัญหาจรจาอย่างมากโดยการเดินทางจากหาดใหญ่ถึงสะเดาระยะทาง60กิโลเมตรจากที่ใช้เวลา45นาทีเป็น1.30ชั่วโมงแล้ว ดังนั้น การมีท่าเรือในประเทศจึงจำเป็นและลดปัญหาได้มาก