xs
xsm
sm
md
lg

บี้ผบ.ตร.แจงเหตุปล่อย"กษิต" พ้นคดีก่อการร้ายยึดสนามบิน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงข่าวกรณีการสอบสวนคดีของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หลังจากที่มีการให้ข่าวจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ว่าพล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้ช่วย ผบ.ตร. ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน เสนอสั่งฟ้อง 25 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในคดีก่อกการ้ายยึดสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมืองไปยัง พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร. แต่มีข่าวว่า ผบ.ตร. สั่งฟ้องแค่ 15 คน โดยยกเว้น นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ , พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ , น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก , นายประพันธ์ คูณมี นายวีระ สมความคิด ฯลฯ สิ่งสำคัญคือ ทราบว่าการที่ พล.ต.ท.สมยศ สั่งฟ้องคดีนี้ แต่พล.ต.อ.วิเชียร กลับตัดออกสิบคนนั้น น่าจะมีการกดดันจากฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะกรณีนายกษิต เพราะหากสั่งฟองนายกษิต จะทำให้รัฐบาลเสียภาพลักษณ์
เรื่องนี้แปลกแต่จริงว่า อะไรก็เกิดขึ้นได้ ฉะนั้นพรรคจะสอบถาม ผบ.ตร. ว่า เหตุผลใดจึงไม่สั่งฟ้องบุคลข้างต้น เพราะบุคคลเหล่านี้น่าจะใกล้ชิดกับรัฐบาล เรื่องนี้สุ่มเสี่ยงการปฏิบัติหน้าที่ และหากไม่มีเหตุผลเพียงพอ พรรคจะยื่นเรื่องต่อป.ป.ช. เช่นกัน รวมทั้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ต้องตอบให้ชัดว่าปล่อยให้เกิดขึ้นได้อย่างไร มันต้องมีเหตุผลอื่นที่ไม่ใช่เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของรัฐบาล อย่าเลือกปฏิบัติ เพราะเรื่องนี้มันยิ่งกว่าสองมาตรฐาน

** อัด"ธาริต"เอาดีเอสไอรับใช้รัฐบาล
นายพร้อมพงศ์ ยังกล่าวถึงกรณี นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ( ดีเอสไอ) เปิดเผยว่า ดีเอสไอมีมติให้ดำเนินคดีกับ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย ใน 3 ฐานความผิด ได้แก่ 1. ปลอมเอกสารราชการ เพราะตัดต่อข้อความบางส่วน 2 . นายจตุพร เข้ามาล่วงรู้ความลับในสำนวนการสอบสวนแล้วนำไปเปิดเผย อันอาจเกิดความเสียหายต่อพยานหลักฐาน และเสียหายต่อทางรูปคดี 3. นายจตุพรใส่ร้ายผู้อื่นให้อาจต้องรับโทษทางอาญา ทั้งที่ยังไม่มีมูลความผิด ภายหลังจากที่นายจตุพร ได้เอาเรื่องการสลายการชุมนุมไปอภิปรายในที่ประชุมสภานั้น ตนคิดว่า การดำเนินการของรัฐบาล เหมือนการนำเอาดีเอสไอ เป็นเครื่องมือทางการเมือง และตนจะเอาเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมพรรคเพื่อไทย เพื่อดำเนินคดีต่อดีเอสไอ ในข้อหาปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ สนองความต้องการของรัฐบาล
กำลังโหลดความคิดเห็น