เมื่อเวลา 13.30 น. วานนี้ (17 มี.ค.) ที่รัฐสภา คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยื่นหนังสือต่อนายจิตพจน์ วิริยะโรจน์ ประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา เพื่อให้ตรวจสอบคณะอนุกรรมการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและราปบรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ชุดที่มีนายภักดี โพธิศิริ กรรมการป.ป.ช.เป็นประธาน เนื่องจากได้กระทำการไต่สวนไม่ชอบในกรณีการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ 900 ล้าน ของกระทรวงสาธารณสุข
โดยคุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า คดีนี้เกิดหลังรัฐประหาร 49 โดย ป.ป.ช.ได้แจ้งข้อกล่าวหาตนว่า สมัยตนเป็น รมว.สาธารณสุข ได้ยกเลิกโครงการดังกล่าวโดยมิชอบ ส่อทุจริตต่อหน้าที่ ทั้งที่การยกเลิกการจัดซื้อนั้น เป็นเพราะบริษัทที่เสนอราคาต่ำสุด จัดของให้ต่ำกว่าคุณสมบัติที่กำหนดในทีโออาร์ ทำให้รัฐเสียประโยชน์ หากผู้จัดซื้อดำเนินการต่อไปก็จะผิดกฎหมาย อีกทั้งกรรมการตรวจรับพัสดุ กรมบัญชีกลาง และอัยการสูงสุด เคยชี้แล้วว่า บริษัทได้จัดของคุณสมบัติต่ำกว่าที่กำหนดในทีโออาร์จริง ครม.สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ จึงยกเลิกการประมูลทั้งหมด ราชการไม่เสียหาย แต่หลังรัฐประหาร ตนกลับถูกป.ป.ช. ตั้งข้อกล่าวหาว่า การยกเลิกการประมูลเป็นการทุจริต
คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า บริษัทเอกชนรายนี้ยังไปฟ้องเรียกค่าเสียหาย 1,300 ล้านบาทกับศาลปกครอง แต่ศาลก็ได้ตัดสินว่า การยกเลิกประมูลชอบด้วยกฎหมายแล้ว เป็นประโยชน์ต่อราชการ แต่อนุกรรมการป.ป.ช. ชุดนี้ ก็ยังตรวจสอบต่อ ถือว่าผิดตาม พร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป.ป.ช. มาตรา 82 ที่บัญญัติว่า หากศาลวินิจฉัยแล้วต้องยุติการไต่สวน
" ดิฉันสู้มา 5 ปี กับกระบวนการไม่เป็นธรรม นอกจากนี้ ประธานอนุกรรมการป.ป.ช.ชุดนี้ สมัยที่เป็นรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ก็เป็นคนรับผิดชอบทำทีโออาร์ ซึ่งเขาอาจจะไม่พอใจที่เป็นแคนดิเดตปลัด แต่ไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นปลัด เมื่อปี 2547 จึงสอบต่อ ทั้งที่ตามกฎหมายแล้วสอบต่อไม่ได้ ซึ่งทำให้บริษัทเอกชน ไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด แถมสำนวนสอดคล้องกับที่อนุกรรมการป.ป.ช.ไต่สวน ใช้พยานคนเดียวกัน ดิฉันจึงมาขอให้คณะกรรมาธิการตรวจสอบ เพราะอาจทำให้รัฐเสียประโยชน์ และคนที่ปกป้องผลประโยชน์ของรัฐกลับถูกฟ้อง ขอให้กระบวนการของ ป.ป.ช. เป็นมาตรฐานเดียว ไม่สอบสวนอย่างมีอคติหรือผลประประโยชน์ ซึ่งขอให้ป.ป.ช.พิจารณาด้วย อย่าให้คนๆเดียวทำองคืกรมัวหมอง" คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าว
..........
โดยคุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า คดีนี้เกิดหลังรัฐประหาร 49 โดย ป.ป.ช.ได้แจ้งข้อกล่าวหาตนว่า สมัยตนเป็น รมว.สาธารณสุข ได้ยกเลิกโครงการดังกล่าวโดยมิชอบ ส่อทุจริตต่อหน้าที่ ทั้งที่การยกเลิกการจัดซื้อนั้น เป็นเพราะบริษัทที่เสนอราคาต่ำสุด จัดของให้ต่ำกว่าคุณสมบัติที่กำหนดในทีโออาร์ ทำให้รัฐเสียประโยชน์ หากผู้จัดซื้อดำเนินการต่อไปก็จะผิดกฎหมาย อีกทั้งกรรมการตรวจรับพัสดุ กรมบัญชีกลาง และอัยการสูงสุด เคยชี้แล้วว่า บริษัทได้จัดของคุณสมบัติต่ำกว่าที่กำหนดในทีโออาร์จริง ครม.สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ จึงยกเลิกการประมูลทั้งหมด ราชการไม่เสียหาย แต่หลังรัฐประหาร ตนกลับถูกป.ป.ช. ตั้งข้อกล่าวหาว่า การยกเลิกการประมูลเป็นการทุจริต
คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า บริษัทเอกชนรายนี้ยังไปฟ้องเรียกค่าเสียหาย 1,300 ล้านบาทกับศาลปกครอง แต่ศาลก็ได้ตัดสินว่า การยกเลิกประมูลชอบด้วยกฎหมายแล้ว เป็นประโยชน์ต่อราชการ แต่อนุกรรมการป.ป.ช. ชุดนี้ ก็ยังตรวจสอบต่อ ถือว่าผิดตาม พร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป.ป.ช. มาตรา 82 ที่บัญญัติว่า หากศาลวินิจฉัยแล้วต้องยุติการไต่สวน
" ดิฉันสู้มา 5 ปี กับกระบวนการไม่เป็นธรรม นอกจากนี้ ประธานอนุกรรมการป.ป.ช.ชุดนี้ สมัยที่เป็นรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ก็เป็นคนรับผิดชอบทำทีโออาร์ ซึ่งเขาอาจจะไม่พอใจที่เป็นแคนดิเดตปลัด แต่ไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นปลัด เมื่อปี 2547 จึงสอบต่อ ทั้งที่ตามกฎหมายแล้วสอบต่อไม่ได้ ซึ่งทำให้บริษัทเอกชน ไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด แถมสำนวนสอดคล้องกับที่อนุกรรมการป.ป.ช.ไต่สวน ใช้พยานคนเดียวกัน ดิฉันจึงมาขอให้คณะกรรมาธิการตรวจสอบ เพราะอาจทำให้รัฐเสียประโยชน์ และคนที่ปกป้องผลประโยชน์ของรัฐกลับถูกฟ้อง ขอให้กระบวนการของ ป.ป.ช. เป็นมาตรฐานเดียว ไม่สอบสวนอย่างมีอคติหรือผลประประโยชน์ ซึ่งขอให้ป.ป.ช.พิจารณาด้วย อย่าให้คนๆเดียวทำองคืกรมัวหมอง" คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าว
..........