แค่โลกหมุนรอบตัวเองหนึ่งครั้งก็ยั้งหยุดชีวิตคนไทยไปได้ถึง 35-40 คน ตลอดจนนำคนอีกกว่า 3,000 ชีวิตไปเข้าโรงพยาบาลแทนที่จะได้กลับบ้านเรือน และเพียงโลกโคจรหมุนรอบดวงอาทิตย์หนึ่งครั้งก็ยั้งหยุดชีวิตคนไทยไปได้กว่า 10,000 คน ตลอดจนผลาญความสูญเสียของประเทศชาติประมาณ 2-3 แสนล้านบาท หรือราวร้อยละ 2.8 ของ GDP ที่สำคัญยังคุกคามคุณภาพชีวิตคนไทยไว้ในอันตรายร้ายแรงจากความเสี่ยงที่จะประสบอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อเมื่อเดินทางบนท้องถนน ทั้งๆ ที่ผลการศึกษาในต่างประเทศก็ยืนยันหนักแน่นว่า ถ้ามีวินัยจราจรจะลดอุบัติได้ถึงร้อยละ 40
อัตราการบาดเจ็บพลัดพรากจากอุบัติเหตุจราจรที่จะลดลงจากการปฏิบัติตามวินัยจราจรที่ทวีสูงขึ้น จึงนับเป็นความแปรผันที่สามารถแก้ไขวิกฤตอุบัติเหตุถาวรของประเทศไทยได้ ด้วยจะลดทอนเงื่อนไขในการประสบอุบัติเหตุของกลุ่มเยาวชนที่ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงแต่ก็เป็น ‘ไม้อ่อนดัดง่าย’ ได้ ถ้าได้รับการฝึกฝนจนเป็นนิสัย ในขณะเดียวกันก็กวดขันบังคับใช้กับกลุ่มผู้ใหญ่ที่เป็น ‘ไม้แก่ดัดยาก’ ทำตามอำเภอใจได้ด้วย
โดยบันไดไต่เต้าเข้าสู่โหมดที่ผู้ใช้รถใช้ถนนเคร่งครัดในระเบียบวินัยจราจรนั้นจักต้องตั้งต้นที่การบังคับใช้กฎหมาย (Law enforcement) เป็นสำคัญ เพราะแต่ละก้าวย่างเหยียบขึ้นไปหมายถึงการขยับเข้าใกล้ความสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง โดยเอกสารเรื่อง ‘365 วันอันตราย หยุดความตายด้วยวินัยจราจร’ โดยความร่วมมือของศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่เผย ‘สเตปขั้นบันได’ หรือการบังคับใช้กฎหมายให้ได้ผลจะทำให้ในการหมุนรอบตัวเองหนึ่งวันของโลกคนไทยถึง 40 คนไม่ต้องสูญสิ้นชีวิตอย่างไร้โอกาสเอ่ยคำร่ำลาครอบครัวเพื่อนมิตรขณะที่จิตยังผูกพันกันอยู่ได้
บันไดขั้นแรกที่ผู้ปฏิบัติงานต้องตระหนักคือการคำนึงถึงความปลอดภัยควบคู่ไปกับการอำนวยการจราจร (Implementation) เนื่องจากปัจจุบันยังเน้นเรื่องการจัดการจราจรเป็นหลัก อำนวยความสะดวกมากกว่าจัดการด้านความปลอดภัย จนไม่มีเวลาบังคับใช้กฎหมายเพื่อความปลอดภัย ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับประชาชนที่คาดหวังบทบาทการแก้ไขปัญหาจราจรมากกว่าดูแลความปลอดภัย
ในขั้นนี้ต้องกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่สร้างสมดุลระหว่างการจัดการจราจรกับการดูแลความปลอดภัย สื่อสารกลยุทธ์แก่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ โดยเฉพาะแนวคิดการแก้ปัญหาอุบัติเหตุ
บันไดขั้นที่ 2 ต้องพัฒนาข้อมูลอุบัติเหตุจราจรเพื่อใช้แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง (Information & intelligent) เนื่องจากปัจจุบันขาดการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ นำเสนอเป็นระบบและสม่ำเสมอ มักเน้นเฉพาะช่วงเทศกาล จนผู้ปฏิบัติงานขาดข้อมูลที่ช่วยสะท้อนให้เกิดการเรียนรู้และปรับปรุงวิธีการทำงาน รวมทั้งขาดการรวบรวม วิเคราะห์เป็นรายบุคคล ทำให้ไม่สามารถแจกแจงข้อมูลเชิงลึกได้
ในขั้นนี้ต้องจัดทำแผนที่อุบัติเหตุที่ระบุข้อมูลด้านสถานที่ ช่วงเวลา และกลุ่มเป้าหมายที่ประสบอุบัติเหตุ มีข้อมูลเชิงคุณภาพที่สะท้อนพฤติกรรมเสี่ยงสำคัญ และมีช่องทางที่ผู้ใช้รถใช้ถนนแจ้งข่าวพฤติกรรมและจุดเสี่ยงบนถนน ตลอดจนมีข้อมูลตัวชี้วัดที่สะท้อนความสำเร็จของงาน
บันไดขั้นที่ 3 ต้องแสวงหาความร่วมมือการแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจรกับภาคีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Integration & integrity) เนื่องจากปัจจุบันภาคีที่ดำเนินการอยู่มีเฉพาะภาครัฐ และไร้เวทีเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งๆ ที่หลายพื้นที่ดึงการมีส่วนร่วมจากท้องถิ่นได้ทั้งแง่งบประมาณตั้งด่านและฝึกอบรมอาสาสมัครจราจร
ในขั้นนี้ต้องระดมทรัพยากรจากภาคีที่เกี่ยวข้องทุกๆ ด้าน มีเจ้าภาพใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา เช่น อบจ. เทศบาล/ อบต. มีแผนงานการแก้ปัญหาอุบัติเหตุร่วมกับตำรวจ และมีเวทีพบปะระหว่างคนทำงาน
บันไดขั้นที่ 4 ต้องแก้ไขกฎหมายจราจรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (Improvement of law and regulation) เนื่องจากปัจจุบันขาดการบังคับใช้กฎหมายในพฤติกรรมเสี่ยงสำคัญ ขาดอุปกรณ์ทันสมัยในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ กฎหมายหลายข้อล้าสมัย ประชาชนไม่ทราบข้อกฎหมาย โดยเฉพาะเรื่องใหม่ๆ ยิ่งในกรณีการตรวจวัดแอลกอฮอล์ ประชาชนยังมีช่องทางที่จะปฏิเสธได้
ในขั้นนี้ต้องกำหนดกฎหมายและข้อปฏิบัติให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาพปัญหา ทบทวนเพื่อปรับปรุงให้มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการบังคับกฎหมาย มีกระบวนการสื่อสารกฎหมายไปสู่ประชาชนสม่ำเสมอและต่อเนื่อง รวมถึงมีกระบวนการตัดสินคดีจราจรที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ
บันไดขั้นที่ 5 ต้องส่งเสริมความภาคภูมิใจและระบบแรงจูงใจให้ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมืออาชีพและมีประสิทธิภาพ (Integrity) เนื่องจากปัจจุบันผู้ปฏิบัติงานหลายคนไม่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างเป็นระบบ ขาดความเป็นมืออาชีพด้านการจัดการปัญหาอุบัติเหตุจราจร ขาดสื่อความรู้ที่ปรับวิธีทำงาน ที่สำคัญคนส่วนหนึ่งยังเห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายเป็นการแสวงหาประโยชน์ จนผู้ปฏิบัติหน้าที่ไม่ภูมิใจ
ในขั้นนี้ต้องสร้างระบบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานทั้งด้านค่าตอบแทน ความก้าวหน้าในวิชาชีพ มีหลักสูตรฝึกอบรมที่เน้นการแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจร และมีช่องทางให้ผู้ปฏิบัติงานได้วิเคราะห์ปัญหา และอุปสรรค พร้อมทั้งนำเสนอให้ผู้บริหารช่วยแก้ไขอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ
บันไดในการบังคับใช้กฎหมายให้ได้ผลทั้ง 5 ขั้นข้างต้น จะเปลี่ยนแปลงโลกของคนไทยที่เคยหมุนเวียนวนคร่ำครวญอยู่กับข่าวคราวอุบัติเหตุจากสื่อสารมวลชน คนเล่าปากต่อปาก หรือจากน้ำตาของเพื่อนมิตรครอบครัวขณะพลัดพรากคนรักลงจนสลายสิ้นได้ ด้วยการปฏิบัติตามวินัยจราจรอย่างมีส่วนร่วมของประชาชนจะอำนวยทั้งความสะดวกการจราจรและความปลอดภัย
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
อัตราการบาดเจ็บพลัดพรากจากอุบัติเหตุจราจรที่จะลดลงจากการปฏิบัติตามวินัยจราจรที่ทวีสูงขึ้น จึงนับเป็นความแปรผันที่สามารถแก้ไขวิกฤตอุบัติเหตุถาวรของประเทศไทยได้ ด้วยจะลดทอนเงื่อนไขในการประสบอุบัติเหตุของกลุ่มเยาวชนที่ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงแต่ก็เป็น ‘ไม้อ่อนดัดง่าย’ ได้ ถ้าได้รับการฝึกฝนจนเป็นนิสัย ในขณะเดียวกันก็กวดขันบังคับใช้กับกลุ่มผู้ใหญ่ที่เป็น ‘ไม้แก่ดัดยาก’ ทำตามอำเภอใจได้ด้วย
โดยบันไดไต่เต้าเข้าสู่โหมดที่ผู้ใช้รถใช้ถนนเคร่งครัดในระเบียบวินัยจราจรนั้นจักต้องตั้งต้นที่การบังคับใช้กฎหมาย (Law enforcement) เป็นสำคัญ เพราะแต่ละก้าวย่างเหยียบขึ้นไปหมายถึงการขยับเข้าใกล้ความสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง โดยเอกสารเรื่อง ‘365 วันอันตราย หยุดความตายด้วยวินัยจราจร’ โดยความร่วมมือของศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่เผย ‘สเตปขั้นบันได’ หรือการบังคับใช้กฎหมายให้ได้ผลจะทำให้ในการหมุนรอบตัวเองหนึ่งวันของโลกคนไทยถึง 40 คนไม่ต้องสูญสิ้นชีวิตอย่างไร้โอกาสเอ่ยคำร่ำลาครอบครัวเพื่อนมิตรขณะที่จิตยังผูกพันกันอยู่ได้
บันไดขั้นแรกที่ผู้ปฏิบัติงานต้องตระหนักคือการคำนึงถึงความปลอดภัยควบคู่ไปกับการอำนวยการจราจร (Implementation) เนื่องจากปัจจุบันยังเน้นเรื่องการจัดการจราจรเป็นหลัก อำนวยความสะดวกมากกว่าจัดการด้านความปลอดภัย จนไม่มีเวลาบังคับใช้กฎหมายเพื่อความปลอดภัย ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับประชาชนที่คาดหวังบทบาทการแก้ไขปัญหาจราจรมากกว่าดูแลความปลอดภัย
ในขั้นนี้ต้องกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่สร้างสมดุลระหว่างการจัดการจราจรกับการดูแลความปลอดภัย สื่อสารกลยุทธ์แก่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ โดยเฉพาะแนวคิดการแก้ปัญหาอุบัติเหตุ
บันไดขั้นที่ 2 ต้องพัฒนาข้อมูลอุบัติเหตุจราจรเพื่อใช้แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง (Information & intelligent) เนื่องจากปัจจุบันขาดการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ นำเสนอเป็นระบบและสม่ำเสมอ มักเน้นเฉพาะช่วงเทศกาล จนผู้ปฏิบัติงานขาดข้อมูลที่ช่วยสะท้อนให้เกิดการเรียนรู้และปรับปรุงวิธีการทำงาน รวมทั้งขาดการรวบรวม วิเคราะห์เป็นรายบุคคล ทำให้ไม่สามารถแจกแจงข้อมูลเชิงลึกได้
ในขั้นนี้ต้องจัดทำแผนที่อุบัติเหตุที่ระบุข้อมูลด้านสถานที่ ช่วงเวลา และกลุ่มเป้าหมายที่ประสบอุบัติเหตุ มีข้อมูลเชิงคุณภาพที่สะท้อนพฤติกรรมเสี่ยงสำคัญ และมีช่องทางที่ผู้ใช้รถใช้ถนนแจ้งข่าวพฤติกรรมและจุดเสี่ยงบนถนน ตลอดจนมีข้อมูลตัวชี้วัดที่สะท้อนความสำเร็จของงาน
บันไดขั้นที่ 3 ต้องแสวงหาความร่วมมือการแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจรกับภาคีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Integration & integrity) เนื่องจากปัจจุบันภาคีที่ดำเนินการอยู่มีเฉพาะภาครัฐ และไร้เวทีเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งๆ ที่หลายพื้นที่ดึงการมีส่วนร่วมจากท้องถิ่นได้ทั้งแง่งบประมาณตั้งด่านและฝึกอบรมอาสาสมัครจราจร
ในขั้นนี้ต้องระดมทรัพยากรจากภาคีที่เกี่ยวข้องทุกๆ ด้าน มีเจ้าภาพใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา เช่น อบจ. เทศบาล/ อบต. มีแผนงานการแก้ปัญหาอุบัติเหตุร่วมกับตำรวจ และมีเวทีพบปะระหว่างคนทำงาน
บันไดขั้นที่ 4 ต้องแก้ไขกฎหมายจราจรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (Improvement of law and regulation) เนื่องจากปัจจุบันขาดการบังคับใช้กฎหมายในพฤติกรรมเสี่ยงสำคัญ ขาดอุปกรณ์ทันสมัยในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ กฎหมายหลายข้อล้าสมัย ประชาชนไม่ทราบข้อกฎหมาย โดยเฉพาะเรื่องใหม่ๆ ยิ่งในกรณีการตรวจวัดแอลกอฮอล์ ประชาชนยังมีช่องทางที่จะปฏิเสธได้
ในขั้นนี้ต้องกำหนดกฎหมายและข้อปฏิบัติให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาพปัญหา ทบทวนเพื่อปรับปรุงให้มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการบังคับกฎหมาย มีกระบวนการสื่อสารกฎหมายไปสู่ประชาชนสม่ำเสมอและต่อเนื่อง รวมถึงมีกระบวนการตัดสินคดีจราจรที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ
บันไดขั้นที่ 5 ต้องส่งเสริมความภาคภูมิใจและระบบแรงจูงใจให้ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมืออาชีพและมีประสิทธิภาพ (Integrity) เนื่องจากปัจจุบันผู้ปฏิบัติงานหลายคนไม่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างเป็นระบบ ขาดความเป็นมืออาชีพด้านการจัดการปัญหาอุบัติเหตุจราจร ขาดสื่อความรู้ที่ปรับวิธีทำงาน ที่สำคัญคนส่วนหนึ่งยังเห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายเป็นการแสวงหาประโยชน์ จนผู้ปฏิบัติหน้าที่ไม่ภูมิใจ
ในขั้นนี้ต้องสร้างระบบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานทั้งด้านค่าตอบแทน ความก้าวหน้าในวิชาชีพ มีหลักสูตรฝึกอบรมที่เน้นการแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจร และมีช่องทางให้ผู้ปฏิบัติงานได้วิเคราะห์ปัญหา และอุปสรรค พร้อมทั้งนำเสนอให้ผู้บริหารช่วยแก้ไขอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ
บันไดในการบังคับใช้กฎหมายให้ได้ผลทั้ง 5 ขั้นข้างต้น จะเปลี่ยนแปลงโลกของคนไทยที่เคยหมุนเวียนวนคร่ำครวญอยู่กับข่าวคราวอุบัติเหตุจากสื่อสารมวลชน คนเล่าปากต่อปาก หรือจากน้ำตาของเพื่อนมิตรครอบครัวขณะพลัดพรากคนรักลงจนสลายสิ้นได้ ด้วยการปฏิบัติตามวินัยจราจรอย่างมีส่วนร่วมของประชาชนจะอำนวยทั้งความสะดวกการจราจรและความปลอดภัย
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org